By Lady Manager
ผู้หญิงหลายคนอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ว่ากิจวัตรที่ทำอยู่ในแต่ละวันคือ การทำร้ายเท้า!
ไม่ว่าจะเป็นการยืนบนรองเท้าส้นสูงทั้งวัน การใส่รองเท้าที่ไม่พอดีกับเท้า การเดินผิดวิธี รวมถึงการเลือกรองเท้าที่มีพื้นแบนเกินไป
เราจึงขอเก็บตกการจัดกิจกรรม Scholl Biomechanics Press Briefing โดยภายในงานมีการพูดคุยเรื่องภาวะเท้าแบนกับ นายแพทย์ เชิดพงศ์ หังสสูต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเท้า เวชศาสตร์ฟื้นฟู มาด้วยค่ะ
ภัยเงียบ! ภาวะเท้าแบน คนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว
คุณหมอเชิดพงษ์ บอกด้วยว่า คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีรูปทรงเท้าแบบใด และภาวะเท้าแบนมาเยือนโดยไม่รู้ตัว
“ในปัจจุบันนี้อาการปวดส้นเท้า ปวดเข่า และหลังส่วนล่างเกิดขึ้นบ่อย ซึ่งสาเหตุที่เกิดอาจเป็นเพราะรองเท้าที่เราสวมใส่ หรือบางครั้งอาจเป็นสาเหตุที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ตัว นั่นคือ "ภาวะเท้าแบน”
เพราะโดยปกติแล้วสรีระเท้าที่ถูกต้องนั้นจะต้องมีอุ้งเท้า ในสมัยก่อนที่โลกเรายังไม่พัฒนาเราก็จะเดินบนพื้นหญ้าดินหรือทราย พื้นผิวธรรมชาติเหล่านี้จะช่วยรองรับอุ้งเท้า แต่ในปัจจุบันเราเดินบนพื้นปูนแข็งๆ แบนราบ และเมื่อเท้าเรากระทบกับพื้นราบ แบน แข็ง ที่ไม่สามารถรองรับกับอุ้งเท้าของเรา ซึ่งเป็นส่วนโค้งเว้า ก็จะทำให้เท้าบิดเข้าด้านในที่ละน้อย และเกิดภาวะเท้าแบนในที่สุด
โดยในปัจจุบันมีภาวะเท้าแบบเกิดขึ้นกว่า 70 % ซึ่งเมื่อเป็นภาวะเท้าแบนแล้ว จะทำให้เกิดอาการปวดส้นเท้า และปวดต่อเนื่องไปจนถึงหัวเข่าและหลังส่วนล่างได้ การใช้ยานวดหรือ ทานยาคลายกล้ามเนื้อเป็นวิธีการรักษาที่ปลายเหตุ
ฉะนั้น เมื่อมีอาการเกิดขึ้นเป็นประจำ เราควรรักษาที่ต้นเหตุก่อน สำหรับผู้มีภาวะเท้าแบนควรเลือกรองเท้าที่มีส่วนเสริมปรับสภาพเท้าเพื่อให้เท้าถูกปรับสภาพให้ถูกต้องตลอดเวลาหรือให้เกิดอุ้งเท้าขณะใส่นั่นเอง เมื่อสรีระเท้าของเรากลับไปอยู่ในภาวะเหมือนที่มีอุ้งเท้าปกติ เส้นเอ็นก็ถูกลดการยึดตึง อาการปวดก็จะบรรเทาลง”
คุณหมอเชิดพงศ์ กล่าวด้วยว่า ภาวะเท้าแบนแบ่งได้เป็น 2 แบบ
1. เท้าแบนแบบยืดหยุ่น (Flexible Flat Feet) คือ เมื่อยกเท้าขึ้นจากพื้นจะพบว่า มีอุ้งเท้าได้เหมือนเดิม แต่เมื่อยืนลงน้ำหนัก ส่วนโค้งเว้าด้านในจะลดลงหรือหายไป ซึ่งลักษณะนี้พบบ่อยที่สุดคือประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของคนทั่วไป บางรายอาจมีอาการเจ็บบริเวณเท้า ข้อเท้าเอ็นร้อยหวาย หรือสังเกตได้ว่ารองเท้าสึกบริเวณด้านในมากกว่าด้านนอก เนื่องจากน้ำหนักของฝ่าเท้าที่ลงด้านนี้มากกว่า โดยมักพบในวัยรุ่นที่มีน้ำหนักตัวมาก
2. เท้าแบนแบบยืดติด (Rigid Flat Feet) มักพบได้น้อยกว่าเท้าแบนแบบยืดหยุ่น วิธีสังเกตคือไม่ว่าจะลงน้ำหนักหรือไม่ก็ตาม เท้าก็จะแข็งแบนผิดรูปในลักษณะนั้นตลอด
ส่วนการดูแลอาการเท้าแบนในระยะแรกก็เหมือนการจัดฟัน คือ มุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้มีการผิดรูปของเท้า ทว่า การแก้ไขอาการเท้าแบนเราก็ต้องมีตัวช่วย เริ่มต้นตั้งแต่ปัจจัยที่ควบคุมด้วยตัวเองได้อย่างการควบคุมน้ำหนัก การปรับกิจกรรม การทำกายภาพบำบัด หรือการใช้ตัวช่วยอย่างรองเท้าที่ปรับรูปเท้า “ คุณหมอ กล่าว
เลือกรองเท้าให้เหมาะกับเท้าเรา
1. รองเท้าต้องมีลักษณะเหมือนรูปเท้าของผู้สวมใส่ และต้องสวมใส่พอดีกับเท้า การที่รองเท้ากว้างหรือแคบจนเกินไป จะทำให้เท้าได้รับบาดเจ็บง่าย
2. รองเท้าต้องทำจากวัสดุที่สามารถกันกระแทกได้ และไม่ลื่น พื้นรองเท้าที่ทำจากยางจะมีประสิทธิภาพดีกว่าหนังสัตว์
3. รองเท้าที่ดีต้องไม่มีตะเข็บแข็งๆ ในบริเวณที่อาจทำให้เราได้รับบาดเจ็บ เช่น บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า
4. รองเท้าที่ดีต้องไม่มีน้ำหนักมากจนเกินไป โดยเฉพาะรองเท้าที่ส่วนหัวรองเท้าทำจากยาง และมีขนาดใหญ่ เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
5. รองเท้าที่ดีต้องไม่แบนจนเกินไป เพราะรองเท้าที่มีลักษณะแบนราบไปกับพื้น ไม่มีส่วนโค้งรับกับเท้า อาจเป็นสาเหตุให้เรามีอาการเจ็บเข่า สะโพก และหลังได้ และอาจจะทำให้มีอาการเอ็นฝ่าเท้าอักเสบอีกด้วย
6. รองเท้าที่ดีไม่ควรสูงเกิน 1 นิ้ว หรือถ้าหากสาวๆ จำเป็นต้องใส่ส้นสูง ก็ไม่ควรใส่ติดต่อกันเกิน 3 ชั่วโมงในแต่ละครั้ง และหารองเท้าเพื่อสุขภาพมาเปลี่ยนเพื่อผ่อนคลายเท้าในระหว่างวัน
เพราะการใส่รองเท้าส้นสูงจะทำให้น้ำหนักลงบริเวณฝ่าเท้าด้านหน้ามากกว่าส้นเท้า ทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณฝ่าเท้าด้านหน้า อาจมีหนังด้านแข็ง หรือการอักเสบของเอ็นที่เท้าตามมาด้วย บางคนใส่รองเท้าส้นสูงเดินทั้งวัน จนเกิดอาการปวดน่องในเวลากลางคืนและบางคนถึงกับเป็นตะคริวเพราะการยืนเขย่งบนรองเท้าส้นสูงนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อน่องต้องทำงานหนักขึ้น จนน่องเกร็งเป็นลูกก็มี
เก็บตกบรรยากาศ
ทั้งนี้ Scholl ยังจัดกิจกรรมเปิดโอกาสให้แฟนเพจ www.facebook.com/SchollThailand ร่วมสนุกและลุ้นรางวัล โดยชวนเพื่อนๆ มาโชว์หน้าเซ็งกับรองเท้ามากมายที่ใส่ไม่สบายเท้า ใครทำหน้าเซ็งได้ถูกใจกรรมการมากที่สุด จะได้รับตั๋วเครื่องบินไปกลับ กรุงเทพฯ - สิงคโปร์ สำหรับผู้ที่มีคะแนนโหวตสูงสุด 10 ท่าน จะได้รับรองเท้าคู่ใหม่ Scholl Biomechanics และของรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย
* ช่วยคลิก Like ด้วยนะคะ เพื่อเป็นแฟนเพจ Lady Manager รับข่าวสารแซ่บๆ ของผู้หญิงในแวดวงสุขภาพความงาม แฟชั่น และความสัมพันธ์ (**)
พิเศษสำหรับแฟนเพจ! ส่งความสวย เตรียมรับปี58 เชิญทำทรีตเมนต์ฟรี ประเดิมด้วยโปรแกรมล้างพิษผม "Hair Reform"เพียงร่วมสนุกง่ายๆ เริ่มแล้ว 3-16 พย.ศกนี้
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net
ผู้หญิงหลายคนอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ว่ากิจวัตรที่ทำอยู่ในแต่ละวันคือ การทำร้ายเท้า!
ไม่ว่าจะเป็นการยืนบนรองเท้าส้นสูงทั้งวัน การใส่รองเท้าที่ไม่พอดีกับเท้า การเดินผิดวิธี รวมถึงการเลือกรองเท้าที่มีพื้นแบนเกินไป
เราจึงขอเก็บตกการจัดกิจกรรม Scholl Biomechanics Press Briefing โดยภายในงานมีการพูดคุยเรื่องภาวะเท้าแบนกับ นายแพทย์ เชิดพงศ์ หังสสูต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเท้า เวชศาสตร์ฟื้นฟู มาด้วยค่ะ
ภัยเงียบ! ภาวะเท้าแบน คนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว
คุณหมอเชิดพงษ์ บอกด้วยว่า คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีรูปทรงเท้าแบบใด และภาวะเท้าแบนมาเยือนโดยไม่รู้ตัว
“ในปัจจุบันนี้อาการปวดส้นเท้า ปวดเข่า และหลังส่วนล่างเกิดขึ้นบ่อย ซึ่งสาเหตุที่เกิดอาจเป็นเพราะรองเท้าที่เราสวมใส่ หรือบางครั้งอาจเป็นสาเหตุที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ตัว นั่นคือ "ภาวะเท้าแบน”
เพราะโดยปกติแล้วสรีระเท้าที่ถูกต้องนั้นจะต้องมีอุ้งเท้า ในสมัยก่อนที่โลกเรายังไม่พัฒนาเราก็จะเดินบนพื้นหญ้าดินหรือทราย พื้นผิวธรรมชาติเหล่านี้จะช่วยรองรับอุ้งเท้า แต่ในปัจจุบันเราเดินบนพื้นปูนแข็งๆ แบนราบ และเมื่อเท้าเรากระทบกับพื้นราบ แบน แข็ง ที่ไม่สามารถรองรับกับอุ้งเท้าของเรา ซึ่งเป็นส่วนโค้งเว้า ก็จะทำให้เท้าบิดเข้าด้านในที่ละน้อย และเกิดภาวะเท้าแบนในที่สุด
โดยในปัจจุบันมีภาวะเท้าแบบเกิดขึ้นกว่า 70 % ซึ่งเมื่อเป็นภาวะเท้าแบนแล้ว จะทำให้เกิดอาการปวดส้นเท้า และปวดต่อเนื่องไปจนถึงหัวเข่าและหลังส่วนล่างได้ การใช้ยานวดหรือ ทานยาคลายกล้ามเนื้อเป็นวิธีการรักษาที่ปลายเหตุ
ฉะนั้น เมื่อมีอาการเกิดขึ้นเป็นประจำ เราควรรักษาที่ต้นเหตุก่อน สำหรับผู้มีภาวะเท้าแบนควรเลือกรองเท้าที่มีส่วนเสริมปรับสภาพเท้าเพื่อให้เท้าถูกปรับสภาพให้ถูกต้องตลอดเวลาหรือให้เกิดอุ้งเท้าขณะใส่นั่นเอง เมื่อสรีระเท้าของเรากลับไปอยู่ในภาวะเหมือนที่มีอุ้งเท้าปกติ เส้นเอ็นก็ถูกลดการยึดตึง อาการปวดก็จะบรรเทาลง”
คุณหมอเชิดพงศ์ กล่าวด้วยว่า ภาวะเท้าแบนแบ่งได้เป็น 2 แบบ
1. เท้าแบนแบบยืดหยุ่น (Flexible Flat Feet) คือ เมื่อยกเท้าขึ้นจากพื้นจะพบว่า มีอุ้งเท้าได้เหมือนเดิม แต่เมื่อยืนลงน้ำหนัก ส่วนโค้งเว้าด้านในจะลดลงหรือหายไป ซึ่งลักษณะนี้พบบ่อยที่สุดคือประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของคนทั่วไป บางรายอาจมีอาการเจ็บบริเวณเท้า ข้อเท้าเอ็นร้อยหวาย หรือสังเกตได้ว่ารองเท้าสึกบริเวณด้านในมากกว่าด้านนอก เนื่องจากน้ำหนักของฝ่าเท้าที่ลงด้านนี้มากกว่า โดยมักพบในวัยรุ่นที่มีน้ำหนักตัวมาก
2. เท้าแบนแบบยืดติด (Rigid Flat Feet) มักพบได้น้อยกว่าเท้าแบนแบบยืดหยุ่น วิธีสังเกตคือไม่ว่าจะลงน้ำหนักหรือไม่ก็ตาม เท้าก็จะแข็งแบนผิดรูปในลักษณะนั้นตลอด
ส่วนการดูแลอาการเท้าแบนในระยะแรกก็เหมือนการจัดฟัน คือ มุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้มีการผิดรูปของเท้า ทว่า การแก้ไขอาการเท้าแบนเราก็ต้องมีตัวช่วย เริ่มต้นตั้งแต่ปัจจัยที่ควบคุมด้วยตัวเองได้อย่างการควบคุมน้ำหนัก การปรับกิจกรรม การทำกายภาพบำบัด หรือการใช้ตัวช่วยอย่างรองเท้าที่ปรับรูปเท้า “ คุณหมอ กล่าว
เลือกรองเท้าให้เหมาะกับเท้าเรา
1. รองเท้าต้องมีลักษณะเหมือนรูปเท้าของผู้สวมใส่ และต้องสวมใส่พอดีกับเท้า การที่รองเท้ากว้างหรือแคบจนเกินไป จะทำให้เท้าได้รับบาดเจ็บง่าย
2. รองเท้าต้องทำจากวัสดุที่สามารถกันกระแทกได้ และไม่ลื่น พื้นรองเท้าที่ทำจากยางจะมีประสิทธิภาพดีกว่าหนังสัตว์
3. รองเท้าที่ดีต้องไม่มีตะเข็บแข็งๆ ในบริเวณที่อาจทำให้เราได้รับบาดเจ็บ เช่น บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า
4. รองเท้าที่ดีต้องไม่มีน้ำหนักมากจนเกินไป โดยเฉพาะรองเท้าที่ส่วนหัวรองเท้าทำจากยาง และมีขนาดใหญ่ เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
5. รองเท้าที่ดีต้องไม่แบนจนเกินไป เพราะรองเท้าที่มีลักษณะแบนราบไปกับพื้น ไม่มีส่วนโค้งรับกับเท้า อาจเป็นสาเหตุให้เรามีอาการเจ็บเข่า สะโพก และหลังได้ และอาจจะทำให้มีอาการเอ็นฝ่าเท้าอักเสบอีกด้วย
6. รองเท้าที่ดีไม่ควรสูงเกิน 1 นิ้ว หรือถ้าหากสาวๆ จำเป็นต้องใส่ส้นสูง ก็ไม่ควรใส่ติดต่อกันเกิน 3 ชั่วโมงในแต่ละครั้ง และหารองเท้าเพื่อสุขภาพมาเปลี่ยนเพื่อผ่อนคลายเท้าในระหว่างวัน
เพราะการใส่รองเท้าส้นสูงจะทำให้น้ำหนักลงบริเวณฝ่าเท้าด้านหน้ามากกว่าส้นเท้า ทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณฝ่าเท้าด้านหน้า อาจมีหนังด้านแข็ง หรือการอักเสบของเอ็นที่เท้าตามมาด้วย บางคนใส่รองเท้าส้นสูงเดินทั้งวัน จนเกิดอาการปวดน่องในเวลากลางคืนและบางคนถึงกับเป็นตะคริวเพราะการยืนเขย่งบนรองเท้าส้นสูงนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อน่องต้องทำงานหนักขึ้น จนน่องเกร็งเป็นลูกก็มี
เก็บตกบรรยากาศ
ทั้งนี้ Scholl ยังจัดกิจกรรมเปิดโอกาสให้แฟนเพจ www.facebook.com/SchollThailand ร่วมสนุกและลุ้นรางวัล โดยชวนเพื่อนๆ มาโชว์หน้าเซ็งกับรองเท้ามากมายที่ใส่ไม่สบายเท้า ใครทำหน้าเซ็งได้ถูกใจกรรมการมากที่สุด จะได้รับตั๋วเครื่องบินไปกลับ กรุงเทพฯ - สิงคโปร์ สำหรับผู้ที่มีคะแนนโหวตสูงสุด 10 ท่าน จะได้รับรองเท้าคู่ใหม่ Scholl Biomechanics และของรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย
* ช่วยคลิก Like ด้วยนะคะ เพื่อเป็นแฟนเพจ Lady Manager รับข่าวสารแซ่บๆ ของผู้หญิงในแวดวงสุขภาพความงาม แฟชั่น และความสัมพันธ์ (**)
พิเศษสำหรับแฟนเพจ! ส่งความสวย เตรียมรับปี58 เชิญทำทรีตเมนต์ฟรี ประเดิมด้วยโปรแกรมล้างพิษผม "Hair Reform"เพียงร่วมสนุกง่ายๆ เริ่มแล้ว 3-16 พย.ศกนี้
>> อัพเดตข่าวในแวดวงสังคม ก็อซซิป แฟชั่น ความงาม และเที่ยว กิน ดื่ม เพิ่มเติมได้ที่ http://www.celeb-online.net