คอลัมน์ : Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์
อาทิตย์นี้ผมขอพาทุกท่านกลับไปชมภาพถ่ายจากแคนย่าอีกครั้งครับ ตอนที่ผมท่องซาฟารีเพื่อเก็บภาพสัตว์ป่าในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผมโชคดีมาก ที่ได้พบเห็นสัตว์ตระกูลแมวใหญ่ทั้งสามชนิดที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอัฟริกา พวกมันมีขนาดตัวใหญ่ ไล่กันลงมาตามลำดับคือ สิงโต , เสือดาว และชีตาร์
ผมไม่ใช่ได้เห็นพวกมันเพียงอย่างละตัวสองตัวนะครับ ผมได้เห็นเสือดาวกับชีตาร์หลายตัว และได้เจอกับครอบครัวของสิงโตหลายฝูงหากินอยู่ในทุ่งกว้างของมาไซมาร่า
มันเป็นเวลาสองอาทิตย์ที่ผมรู้สึกปลื้มมาก ที่มีโอกาสเป็นคนกลาง นำพาความงดงามของธรรมชาติออกมาแบ่งปันกับคนนอกผ่านทางภาพถ่ายของผม
เหล่าสิงโตที่คุณเห็นอยู่ในภาพทั้งหมดนี้ เป็นภาพที่ผมถ่ายได้ในช่วงเช้าตรู่ในวันที่เจ็ดของการเดินทางครับ ตามปกติแล้ว เวลาเช้าตรู่และช่วงบ่ายคล้อยของวันจะเป็นจังหวะที่คุณพอคาดหวังได้ ว่าจะได้เห็นฝูงสิงโตกำลังเดินทางกัน หลังจากเก้าโมงเช้าไปแล้ว
พวกสิงโตมักจะหาจุดพักที่มีร่มเงาพอเพื่อหลบแสงแดด พวกมันจะนอนกันเกือบตลอดทั้งวัน จะขยับตัวกันอีกครั้งก็เมื่อพระอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้าโน่นแหล่ะครับ
บางคนอาจจะมองภาพและคิดว่า สิงโตเดินตามกันบนเส้นทางคล้ายถนนที่มนุษย์สร้างขึ้น มองไม่ค่อยเป็นธรรมชาติเท่าไหร่ แต่เส้นทางพวกนี้เป็นถนนในป่าของแคนย่าจริง ๆ นะครับ มันเป็นทางที่ทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักเดินทาง และบ่อยครั้งที่พวกสัตว์ก็จะเดินทางตัดผ่านถนนพวกนี้เช่นกัน
เวลาที่มองเห็นกลุ่มสัตว์กำลังเดินทางกันจากระยะไกล ๆ ช่างภาพอย่างผมจะต้องรีบอ่านสถานการณ์ทันที ผมต้องคิดให้เร็วว่า ตัวเองสมควรจะไปดักรออยู่ที่มุมไหนของป่า เพื่อเก็บภาพกิจกรรมของสัตว์ให้ออกมาได้อย่างน่าสนใจที่สุด
มันเป็นโชคของผมด้วยครับ ที่ในวันนั้น ผมและไกด์คู่ใจเป็นรถท่องซาฟารีคันแรกที่มองเห็นสิงโตฝูงนี้ มันทำให้ผมมีเวลามากพอ ที่จะบอกให้ไกด์ขับรถวนหามุมจอดเพื่อให้ได้เปรียบในการถ่ายภาพ ผมต้องพยายามสร้างโอกาสให้ตัวเองสามารถเก็บภาพในมุมกล้องที่ดีกว่าคนอื่น
ไกด์ที่ขับรถพาลูกทัวร์ท่องซาฟารีโดยทั่วไป ไม่ค่อยมีใครเข้าใจเรื่องมุมกล้องหรอกครับ หน้าที่ของพวกเขา แค่ขับรถพาลูกทัวร์ตระเวณชมสัตว์เท่านั้น คุณพอจะนึกภาพออกไหมล่ะครับ แค่ขับรถตามหลังสัตว์ไปเรื่อย ๆ ภาพที่นักท่องเที่ยวพอจะถ่ายเก็บไว้เป็นที่ระลึกได้บ้าง ส่วนมากมักจะเป็นส่วนด้านหลัง หรือช่วงบั้นท้ายของสัตว์เท่านั้น
เพื่อจัดวางให้ตัวเองสามารถเก็บภาพอยู่ในมุมที่จะเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากผมจะต้องคาดเดาจังหวะการเดินทางของพวกสัตว์ให้ถูกแล้ว ผมยังต้องพยายามอ่านใจคนอีกด้วยนะครับ ผมต้องเดาให้ออกว่า รถนำเที่ยวคันอื่นจะขับตามสัตว์ใกล้สักแค่ไหน เพราะผมก็ไม่อยากได้ภาพรถหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นใดเข้ามาเป็นฉากหลัง(background)ในภาพถ่ายของผมเหมือนกัน
เวลาที่อยู่ในป่า ผมมักจะได้รับพรจากพระแม่ธรณีเสมอครับ ดูเหมือนว่าการตามหาสัตว์จะไม่ใช่ปัญหาของผมเลย ก่อนหน้านี้ผมก็ได้เห็นสิงโตมาแล้วหลายฝูง ผมรู้ว่าสิงโตฝูงนี้ ไม่ใช่ครอบครัวเดียวกันกับที่ผมได้เห็นในวันแรก ๆ ของการเดินทาง เพราะมันมีลูกน้อยที่ดูจะเยาว์วัยกว่าฝูงอื่น ผมใช้เวลากับครอบครัวนี้พักใหญ่ เพื่อซึมซับและเก็บภาพชีวิตน่าประทับใจของพวกมัน
ในขณะที่ผมกำลังเพลิดเพลินกับภาพชีวิตธรรมชาติอยู่ ไกด์ก็บอกผมว่า มีการแจ้งมาทางวิทยุสื่อสารว่ามีคนเห็นเสือดาวอยู่ไม่ไกลจากจุดที่เราอยู่มากนัก ผมต้องตัดสินใจแล้ว ว่าจะอยู่กับสิงโตฝูงนี้ต่อไป หรือจะไปหาเสือดาวตามที่ได้รับข่าวมา
ผมนึกลังเลอยู่เหมือนกัน อยากจะอยู่เก็บภาพพวกเจ้าตัวน้อย ๆ ฝูงนี้ต่ออีกสักหน่อย เพราะเกรงว่าผมอาจจะไม่ได้เห็นลูกสิงโตตัวเล็กน่ารักประมาณนี้อีก(แต่ผมได้เห็นอีกครับ..ฝูงใหม่ในวันถัด ๆ มา)
แต่เสือดาวเป็นสัตว์ที่หาดูตัวจริงได้ยากกว่าสิงโตมาก และมันยังเป็นหนึ่งในสัตว์หลายชนิดที่ผมรักใคร่ ผมอยากจะเห็นเสือดาวทุกครั้งที่โอกาสเอื้ออำนวย ผมจึงต้องตัดใจ อำลาแม่กับลูกสิงโตฝูงนี้ เพื่อจะไปให้ทันเห็นเสือดาว ก่อนที่มันจะพรางตัวและหายเงียบไปกับผืนป่า
ขอบคุณทุกท่านมากครับ ที่ติดตามคอลัมน์นี้ ขอบคุณท่านที่กรุณาฝากข้อความสนับสนุนการทำงานของผม ผมซาบซึ้งใจมากครับ ผมขอให้ทุกท่านมีวันและคืนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม และพบกันใหม่อาทิตย์หน้า
รู้จัก...แอชลีย์ วินเซนต์
ชาวอังกฤษเชื้อสายอิสราเอล ที่ผันตัวเองจากการทำธุรกิจด้านเรียลเอสเตท มาทำงานเป็นช่างภาพถ่ายภาพสัตว์ป่าอย่างเต็มตัว เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน นอกจากเปิดร้าน Nature Impressions จำหน่ายผลงานของตัวเอง ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่กล่าวกันว่า เป็นสวนสัตว์เปิดที่ใหญ่อันดับ 1 ของโลก เขายังทำงานให้กับสวนสัตว์แห่งนี้ ในฐานะอาสาสมัครเก็บภาพสัตว์ป่าไปพร้อมกันด้วย
ผลงานภาพถ่าย “บุษบา” เสือโคร่งเพศเมีย ถ่ายจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ของแอชลีย์ได้รับการประกาศให้เป็น สุดยอดภาพถ่าย National Geographic 2012
เสมือนบอกย้ำให้กำลังใจช่างภาพหลายๆ คนว่า “ภาพถ่ายสัตว์ป่าที่ดี ไม่ต้องไปถึงเคนยา”
ติดตามอ่าน ...Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์ ได้ทุกอาทิตย์ ทาง ART EYE VIEW
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ http://www.facebook.com/arteyeviewnews
อาทิตย์นี้ผมขอพาทุกท่านกลับไปชมภาพถ่ายจากแคนย่าอีกครั้งครับ ตอนที่ผมท่องซาฟารีเพื่อเก็บภาพสัตว์ป่าในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผมโชคดีมาก ที่ได้พบเห็นสัตว์ตระกูลแมวใหญ่ทั้งสามชนิดที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอัฟริกา พวกมันมีขนาดตัวใหญ่ ไล่กันลงมาตามลำดับคือ สิงโต , เสือดาว และชีตาร์
ผมไม่ใช่ได้เห็นพวกมันเพียงอย่างละตัวสองตัวนะครับ ผมได้เห็นเสือดาวกับชีตาร์หลายตัว และได้เจอกับครอบครัวของสิงโตหลายฝูงหากินอยู่ในทุ่งกว้างของมาไซมาร่า
มันเป็นเวลาสองอาทิตย์ที่ผมรู้สึกปลื้มมาก ที่มีโอกาสเป็นคนกลาง นำพาความงดงามของธรรมชาติออกมาแบ่งปันกับคนนอกผ่านทางภาพถ่ายของผม
เหล่าสิงโตที่คุณเห็นอยู่ในภาพทั้งหมดนี้ เป็นภาพที่ผมถ่ายได้ในช่วงเช้าตรู่ในวันที่เจ็ดของการเดินทางครับ ตามปกติแล้ว เวลาเช้าตรู่และช่วงบ่ายคล้อยของวันจะเป็นจังหวะที่คุณพอคาดหวังได้ ว่าจะได้เห็นฝูงสิงโตกำลังเดินทางกัน หลังจากเก้าโมงเช้าไปแล้ว
พวกสิงโตมักจะหาจุดพักที่มีร่มเงาพอเพื่อหลบแสงแดด พวกมันจะนอนกันเกือบตลอดทั้งวัน จะขยับตัวกันอีกครั้งก็เมื่อพระอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้าโน่นแหล่ะครับ
บางคนอาจจะมองภาพและคิดว่า สิงโตเดินตามกันบนเส้นทางคล้ายถนนที่มนุษย์สร้างขึ้น มองไม่ค่อยเป็นธรรมชาติเท่าไหร่ แต่เส้นทางพวกนี้เป็นถนนในป่าของแคนย่าจริง ๆ นะครับ มันเป็นทางที่ทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักเดินทาง และบ่อยครั้งที่พวกสัตว์ก็จะเดินทางตัดผ่านถนนพวกนี้เช่นกัน
เวลาที่มองเห็นกลุ่มสัตว์กำลังเดินทางกันจากระยะไกล ๆ ช่างภาพอย่างผมจะต้องรีบอ่านสถานการณ์ทันที ผมต้องคิดให้เร็วว่า ตัวเองสมควรจะไปดักรออยู่ที่มุมไหนของป่า เพื่อเก็บภาพกิจกรรมของสัตว์ให้ออกมาได้อย่างน่าสนใจที่สุด
มันเป็นโชคของผมด้วยครับ ที่ในวันนั้น ผมและไกด์คู่ใจเป็นรถท่องซาฟารีคันแรกที่มองเห็นสิงโตฝูงนี้ มันทำให้ผมมีเวลามากพอ ที่จะบอกให้ไกด์ขับรถวนหามุมจอดเพื่อให้ได้เปรียบในการถ่ายภาพ ผมต้องพยายามสร้างโอกาสให้ตัวเองสามารถเก็บภาพในมุมกล้องที่ดีกว่าคนอื่น
ไกด์ที่ขับรถพาลูกทัวร์ท่องซาฟารีโดยทั่วไป ไม่ค่อยมีใครเข้าใจเรื่องมุมกล้องหรอกครับ หน้าที่ของพวกเขา แค่ขับรถพาลูกทัวร์ตระเวณชมสัตว์เท่านั้น คุณพอจะนึกภาพออกไหมล่ะครับ แค่ขับรถตามหลังสัตว์ไปเรื่อย ๆ ภาพที่นักท่องเที่ยวพอจะถ่ายเก็บไว้เป็นที่ระลึกได้บ้าง ส่วนมากมักจะเป็นส่วนด้านหลัง หรือช่วงบั้นท้ายของสัตว์เท่านั้น
เพื่อจัดวางให้ตัวเองสามารถเก็บภาพอยู่ในมุมที่จะเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากผมจะต้องคาดเดาจังหวะการเดินทางของพวกสัตว์ให้ถูกแล้ว ผมยังต้องพยายามอ่านใจคนอีกด้วยนะครับ ผมต้องเดาให้ออกว่า รถนำเที่ยวคันอื่นจะขับตามสัตว์ใกล้สักแค่ไหน เพราะผมก็ไม่อยากได้ภาพรถหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นใดเข้ามาเป็นฉากหลัง(background)ในภาพถ่ายของผมเหมือนกัน
เวลาที่อยู่ในป่า ผมมักจะได้รับพรจากพระแม่ธรณีเสมอครับ ดูเหมือนว่าการตามหาสัตว์จะไม่ใช่ปัญหาของผมเลย ก่อนหน้านี้ผมก็ได้เห็นสิงโตมาแล้วหลายฝูง ผมรู้ว่าสิงโตฝูงนี้ ไม่ใช่ครอบครัวเดียวกันกับที่ผมได้เห็นในวันแรก ๆ ของการเดินทาง เพราะมันมีลูกน้อยที่ดูจะเยาว์วัยกว่าฝูงอื่น ผมใช้เวลากับครอบครัวนี้พักใหญ่ เพื่อซึมซับและเก็บภาพชีวิตน่าประทับใจของพวกมัน
ในขณะที่ผมกำลังเพลิดเพลินกับภาพชีวิตธรรมชาติอยู่ ไกด์ก็บอกผมว่า มีการแจ้งมาทางวิทยุสื่อสารว่ามีคนเห็นเสือดาวอยู่ไม่ไกลจากจุดที่เราอยู่มากนัก ผมต้องตัดสินใจแล้ว ว่าจะอยู่กับสิงโตฝูงนี้ต่อไป หรือจะไปหาเสือดาวตามที่ได้รับข่าวมา
ผมนึกลังเลอยู่เหมือนกัน อยากจะอยู่เก็บภาพพวกเจ้าตัวน้อย ๆ ฝูงนี้ต่ออีกสักหน่อย เพราะเกรงว่าผมอาจจะไม่ได้เห็นลูกสิงโตตัวเล็กน่ารักประมาณนี้อีก(แต่ผมได้เห็นอีกครับ..ฝูงใหม่ในวันถัด ๆ มา)
แต่เสือดาวเป็นสัตว์ที่หาดูตัวจริงได้ยากกว่าสิงโตมาก และมันยังเป็นหนึ่งในสัตว์หลายชนิดที่ผมรักใคร่ ผมอยากจะเห็นเสือดาวทุกครั้งที่โอกาสเอื้ออำนวย ผมจึงต้องตัดใจ อำลาแม่กับลูกสิงโตฝูงนี้ เพื่อจะไปให้ทันเห็นเสือดาว ก่อนที่มันจะพรางตัวและหายเงียบไปกับผืนป่า
ขอบคุณทุกท่านมากครับ ที่ติดตามคอลัมน์นี้ ขอบคุณท่านที่กรุณาฝากข้อความสนับสนุนการทำงานของผม ผมซาบซึ้งใจมากครับ ผมขอให้ทุกท่านมีวันและคืนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม และพบกันใหม่อาทิตย์หน้า
รู้จัก...แอชลีย์ วินเซนต์
ชาวอังกฤษเชื้อสายอิสราเอล ที่ผันตัวเองจากการทำธุรกิจด้านเรียลเอสเตท มาทำงานเป็นช่างภาพถ่ายภาพสัตว์ป่าอย่างเต็มตัว เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน นอกจากเปิดร้าน Nature Impressions จำหน่ายผลงานของตัวเอง ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่กล่าวกันว่า เป็นสวนสัตว์เปิดที่ใหญ่อันดับ 1 ของโลก เขายังทำงานให้กับสวนสัตว์แห่งนี้ ในฐานะอาสาสมัครเก็บภาพสัตว์ป่าไปพร้อมกันด้วย
ผลงานภาพถ่าย “บุษบา” เสือโคร่งเพศเมีย ถ่ายจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ของแอชลีย์ได้รับการประกาศให้เป็น สุดยอดภาพถ่าย National Geographic 2012
เสมือนบอกย้ำให้กำลังใจช่างภาพหลายๆ คนว่า “ภาพถ่ายสัตว์ป่าที่ดี ไม่ต้องไปถึงเคนยา”
ติดตามอ่าน ...Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์ ได้ทุกอาทิตย์ ทาง ART EYE VIEW
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ http://www.facebook.com/arteyeviewnews