คอลัมน์ : Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์
สามอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้นำภาพถ่ายของสัตว์ตระกูลแมวใหญ่ทั้งสามชนิดที่อาศัยอยู่ในอัฟริกามาแบ่งปันให้ทุกท่านได้ชมกันไปบ้างแล้ว ทั้งสิงโต เสือดาว และเสือซีตาร์ อาทิตย์นี้ ผมขออนุญาตเลือกภาพถ่ายของสัตว์ที่มีนิสัยเชื่องกว่า มานำเสนอเพื่อเปลี่ยนอารมณ์กันบ้างนะครับ
ในประเทศเคนย่ามี “แอนติโลป”อาศัยอยู่หลากหลายสายพันธุ์เลยครับ แต่โดยส่วนมากแล้ว คุณจะพบเจอพวกมันเพียงหกสายพันธุ์เท่านั้น เพราะหาดูได้ง่าย มีอยู่ทั่วไปตามทุ่งกว้าง คือ โทปิ (Damaliscus korrigum - ภาพ 1) อิมพาลา (Aepyceros melampus - ภาพ 2) ทอมสันกาแซล (Eudorcas thomsoni - ภาพ 3) แกร็นท์กาแซล (Nanger granti - ภาพ 4) ฮาทิบีสท์ (Alceaphus buselaphus cokii - ภาพ 5) และ ไวเดอร์บีส (Connochaetes)
ผมไม่ได้เก็บภาพไวเดอร์บีสมาด้วย เลยไม่มีภาพพวกมันที่เป็นฝีมือของผมให้คุณได้เห็นความแตกต่าง ผมขอชดเชยเรื่องนี้ด้วยการนำลิงค์ของไวเดอร์บีสมาฝากทุกคนแทนนะครับ http://en.wikipedia.org/wiki/Wildebeest
"แอนติโลป" เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในสัตว์ตระกูลวัว และจัดอยู่ในกลุ่ม “สัตว์กีบคู่” ลักษณะเด่นของมันอยู่ที่เขาทั้งสองข้างที่อาจจะงอกขึ้นชี้ตรงหรือยาวเป็นเกลียวบนหัวอย่างถาวร ไม่แยกแตกออกเป็นกิ่งและหลุดออกได้เหมือนเขาของสัตว์จำพวกกวาง ตัวอย่างของ “สัตว์กีบคู่”ชนิดอื่นคือ อูฐ แพะ แกะ ควาย และไบซัน ไงล่ะครับ
“กาแซล” เป็นชื่อเรียกของแอนติโลปพันธุ์ที่มีขนาดตัวเล็ก พวกกาแซลนี่ ยังแบ่งแยกกันออกไปเป็นอีกหลายสายพันธุ์ด้วยครับ แอนติโลปกินพืชเป็นอาหาร พวกหญ้า ใบไม้ และต้นไม้ พวกมันมีฟันและระบบการย่อยอาหารที่เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการเป็นมังสวิรัติ
แอนติโลปเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งในการเป็นอาหารทุกมื้อของพวกสัตว์กินเนื้อ เช่น สิงโต เสือดาว และเสือชีตาร์ และเมื่อสัตว์กินเนื้ออิ่มหมีพลีมันและพอกับอาหารของมันแล้ว พวกสัตว์กินซาก เช่น ไฮยีน่า จาร์เกิล และนกแร้ง ที่เฝ้ารอจังหวะอยู่ ก็จะเข้ามารุมจัดการกับเศษเนื้อติดกระดูกที่เหลืออยู่จนเกลี้ยง มันเป็นวงจรชีวิตในป่าสะวันน่าแห่งอัฟริกาครับ
นาน ๆ ครั้ง ที่คุณอาจจะเห็นแอนติโลปเดินแยกตัวหากินอยู่เพียงตัวเดียวบ้าง ตามปรกติแล้ว พวกมันมักจะอยู่ร่วมกันเป็นฝูงครับ พวกมันต้องเกาะกลุ่มกันเอาไว้เพื่อความปลอดภัยของชีวิต ยิ่งฝูงมีสมาชิกมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเหมือนมีหูมีตาเพิ่มมากขึ้น หากตัวไหนสังเกตเห็นเงาหรือได้กลิ่นของนักล่าขึ้นมา จะได้ส่งเสียงร้องเตือนภัยกันให้ทันก่อนที่จะมีสัตว์ตัวไหนต้องตกเป็นเหยื่อ
แอนติโลปมักจะรวมกลุ่มอยู่กับพวกพันธุ์เดียวกัน แต่ก็ไม่แปลกนะครับ ถ้าพวกต่างสายพันธุ์จะหากินหรือพักผ่อนอยู่ในละแวกใกล้เคียงด้วย พวกมันอยู่ใกล้ชิดกันได้อย่างสงบครับ ทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ไพศาล มีอาหารเหลือเฟือสำหรับทุกตัว และพวกมันก็จะคอยระวังภัยให้กันและกันด้วย เนื่องจากมีโชคชะตาและมีศัตรูประเภทเดียวกัน
ผมไม่รู้หรอกนะครับ ว่าพวกแอนติโลปเขาโหวตหาผู้นำหรือเลือกยามกันอย่างไร แต่ผมจะสังเกตเห็นบ่อย ๆ ว่า เมื่อพวกมันอยู่ด้วยกันหลายพันธุ์ มักจะมี “โทปิ” บางตัวที่ยืนคอยระวังภัยให้กับทั้งหมดอยู่บนเนินที่สูงกว่าระดับพื้นที่เพื่อนมันหากินอยู่ เนินที่ว่านี้ มักจะสามารถมองเห็นวิวได้โดยรอบ หากจะมีเสือสักตัวคอยซุ่มรอจู่โจมพวกมันอยู่ เจ้าโทปิตัวที่เลือกอยู่บนเนินนั่นแหล่ะครับ ที่น่าจะได้กลิ่นและเห็นเงาของเพชฌฆาตก่อนใคร จนสามารถส่งเสียงร้องเตือนเพื่อนฝูงให้หนีทัน
แอนติโลปบางพันธุ์ เช่น อิมพาลา แกรนท์กาแซล และทอมสันกาแซล มีรูปแบบการรวมกลุ่มกันอยู่สองชนิดครับ อย่างแรกคือมีตัวผู้เป็นใหญ่ในฝูงตัวเดียว อาศัยอยู่กับกลุ่มตัวเมียหลายตัว และจะสืบพันธุ์กับทุกตัวด้วย อีกอย่างคือฝูงที่มีแต่พวกตัวผู้เท่านั้น ตัวผู้ที่อยู่ในฝูงหลังนี่ วัน ๆ ไม่ค่อยทำอะไรหรอกครับ นอกจากจะเล็มหญ้าไปเรื่อย ๆ แล้วก็ท้าประลองพลังกับตัวผู้ตัวอื่นด้วยการชนเขา
การต่อสู้ก็ดูจะไม่ก้าวร้าวดุดันสักเท่าไหร่ ผมมองว่า พวกมันไม่ได้มุ่งมั่นที่จะฆ่า มันเผชิญหน้ากันแค่พอให้รู้ว่าตัวไหนแข็งแรงกว่า และเจ้าตัวที่แกร่งที่สุดจนหาคู่ชนอื่นไม่ได้แล้ว ก็มักจะไปท้าทายตัวผู้ของอีกฝูงที่มีตัวเมีย ผมว่าเป้าหมายหลักของมันอาจจะแค่ต้องการเข้ายึดครองฮาเร็มก็ได้นะครับ
ถึงแม้ว่า ผมจะรู้สึกรักหลงใหลพวกสัตว์ตระกูลแมวใหญ่มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น แต่ผมก็ยินดีมากนะครับเวลาที่ได้พบเห็นสัตว์ต่างสายพันธุ์ชนิดอื่น ผมจะมีความสุขทุกครั้งเวลาที่ได้เฝ้ามอง ศึกษาพฤติกรรม ซึมซับ และเรียนรู้วิถีชีวิตของสัตว์แต่ละชนิด ผมรู้สึกเป็นสุข เวลาที่เห็นสัตว์หลากหลายสายพันธุ์อยู่ร่วมกันได้ ผมชื่นชมที่สุดเวลาที่เห็นพวกมันคอยระวังหลังให้กัน
โลกของแอนติโลปเต็มไปด้วยอันตรายถึงชีวิต ต้องคอยตื่นตัวอยู่เสมอกับการตกเป็นเหยื่อ ศัตรูที่คอยจ้องจะล้มพวกมันเป็นอาหารจะโผล่หน้ามาเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ แต่เท่าที่ผมเห็น พวกมันไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่กันอย่างตื่นตระหนกตลอดเวลา ตอนที่ผมมองดูพวกแอนติโลปหากินด้วยกันอยู่ในทุ่งกว้าง ผมเห็นแต่ความงามของธรรมชาติ เห็นวงจรชีวิตดำเนินไปอย่างที่มันควรจะเป็น และมันทำให้ผมรู้สึกสงบสุข
ธรรมชาติยุติธรรมเสมอครับ ประชากรของแอนติโลปยังคงมีเหลืออยู่อีกมาก ถึงจะต้องถูกล่าเป็นอาหารบ้าง แต่จำนวนของสัตว์กินเนื้อยังไม่มีอิทธิพลพอที่จะลดจำนวนของแอนติโลปได้จนต้องเป็นห่วง แอนติโลปจะยังคงแพร่พันธุ์และสามารถเพิ่มพูนประชากรของพวกมันได้ต่อไปเรื่อย ๆ
ขอบคุณทุกท่านที่กรุณาเข้ามาเยี่ยมชมภาพถ่ายและติดตามอ่านคอลัมน์ของผม ขอขอบคุณเป็นพิเศษต่อท่านที่กรุณาฝากคอมเม้นท์ให้กำลังการทำงานของผมด้วยนะครับ ผมซาบซึ้งใจมาก ผมขอให้ทุกท่านมีวันและคืนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม พบกันใหม่อาทิตย์หน้าครับ
รู้จัก...แอชลีย์ วินเซนต์
ชาวอังกฤษเชื้อสายอิสราเอล ที่ผันตัวเองจากการทำธุรกิจด้านเรียลเอสเตท มาทำงานเป็นช่างภาพถ่ายภาพสัตว์ป่าอย่างเต็มตัว เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน นอกจากเปิดร้าน Nature Impressions จำหน่ายผลงานของตัวเอง ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่กล่าวกันว่า เป็นสวนสัตว์เปิดที่ใหญ่อันดับ 1 ของโลก เขายังทำงานให้กับสวนสัตว์แห่งนี้ ในฐานะอาสาสมัครเก็บภาพสัตว์ป่าไปพร้อมกันด้วย
ผลงานภาพถ่าย “บุษบา” เสือโคร่งเพศเมีย ถ่ายจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ของแอชลีย์ได้รับการประกาศให้เป็น สุดยอดภาพถ่าย National Geographic 2012
เสมือนบอกย้ำให้กำลังใจช่างภาพหลายๆ คนว่า “ภาพถ่ายสัตว์ป่าที่ดี ไม่ต้องไปถึงเคนยา”
ติดตามอ่าน ...Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์ ได้ทุกอาทิตย์ ทาง ART EYE VIEW
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ http://www.facebook.com/arteyeviewnews
สามอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้นำภาพถ่ายของสัตว์ตระกูลแมวใหญ่ทั้งสามชนิดที่อาศัยอยู่ในอัฟริกามาแบ่งปันให้ทุกท่านได้ชมกันไปบ้างแล้ว ทั้งสิงโต เสือดาว และเสือซีตาร์ อาทิตย์นี้ ผมขออนุญาตเลือกภาพถ่ายของสัตว์ที่มีนิสัยเชื่องกว่า มานำเสนอเพื่อเปลี่ยนอารมณ์กันบ้างนะครับ
ในประเทศเคนย่ามี “แอนติโลป”อาศัยอยู่หลากหลายสายพันธุ์เลยครับ แต่โดยส่วนมากแล้ว คุณจะพบเจอพวกมันเพียงหกสายพันธุ์เท่านั้น เพราะหาดูได้ง่าย มีอยู่ทั่วไปตามทุ่งกว้าง คือ โทปิ (Damaliscus korrigum - ภาพ 1) อิมพาลา (Aepyceros melampus - ภาพ 2) ทอมสันกาแซล (Eudorcas thomsoni - ภาพ 3) แกร็นท์กาแซล (Nanger granti - ภาพ 4) ฮาทิบีสท์ (Alceaphus buselaphus cokii - ภาพ 5) และ ไวเดอร์บีส (Connochaetes)
ผมไม่ได้เก็บภาพไวเดอร์บีสมาด้วย เลยไม่มีภาพพวกมันที่เป็นฝีมือของผมให้คุณได้เห็นความแตกต่าง ผมขอชดเชยเรื่องนี้ด้วยการนำลิงค์ของไวเดอร์บีสมาฝากทุกคนแทนนะครับ http://en.wikipedia.org/wiki/Wildebeest
"แอนติโลป" เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในสัตว์ตระกูลวัว และจัดอยู่ในกลุ่ม “สัตว์กีบคู่” ลักษณะเด่นของมันอยู่ที่เขาทั้งสองข้างที่อาจจะงอกขึ้นชี้ตรงหรือยาวเป็นเกลียวบนหัวอย่างถาวร ไม่แยกแตกออกเป็นกิ่งและหลุดออกได้เหมือนเขาของสัตว์จำพวกกวาง ตัวอย่างของ “สัตว์กีบคู่”ชนิดอื่นคือ อูฐ แพะ แกะ ควาย และไบซัน ไงล่ะครับ
“กาแซล” เป็นชื่อเรียกของแอนติโลปพันธุ์ที่มีขนาดตัวเล็ก พวกกาแซลนี่ ยังแบ่งแยกกันออกไปเป็นอีกหลายสายพันธุ์ด้วยครับ แอนติโลปกินพืชเป็นอาหาร พวกหญ้า ใบไม้ และต้นไม้ พวกมันมีฟันและระบบการย่อยอาหารที่เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการเป็นมังสวิรัติ
แอนติโลปเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งในการเป็นอาหารทุกมื้อของพวกสัตว์กินเนื้อ เช่น สิงโต เสือดาว และเสือชีตาร์ และเมื่อสัตว์กินเนื้ออิ่มหมีพลีมันและพอกับอาหารของมันแล้ว พวกสัตว์กินซาก เช่น ไฮยีน่า จาร์เกิล และนกแร้ง ที่เฝ้ารอจังหวะอยู่ ก็จะเข้ามารุมจัดการกับเศษเนื้อติดกระดูกที่เหลืออยู่จนเกลี้ยง มันเป็นวงจรชีวิตในป่าสะวันน่าแห่งอัฟริกาครับ
นาน ๆ ครั้ง ที่คุณอาจจะเห็นแอนติโลปเดินแยกตัวหากินอยู่เพียงตัวเดียวบ้าง ตามปรกติแล้ว พวกมันมักจะอยู่ร่วมกันเป็นฝูงครับ พวกมันต้องเกาะกลุ่มกันเอาไว้เพื่อความปลอดภัยของชีวิต ยิ่งฝูงมีสมาชิกมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเหมือนมีหูมีตาเพิ่มมากขึ้น หากตัวไหนสังเกตเห็นเงาหรือได้กลิ่นของนักล่าขึ้นมา จะได้ส่งเสียงร้องเตือนภัยกันให้ทันก่อนที่จะมีสัตว์ตัวไหนต้องตกเป็นเหยื่อ
แอนติโลปมักจะรวมกลุ่มอยู่กับพวกพันธุ์เดียวกัน แต่ก็ไม่แปลกนะครับ ถ้าพวกต่างสายพันธุ์จะหากินหรือพักผ่อนอยู่ในละแวกใกล้เคียงด้วย พวกมันอยู่ใกล้ชิดกันได้อย่างสงบครับ ทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ไพศาล มีอาหารเหลือเฟือสำหรับทุกตัว และพวกมันก็จะคอยระวังภัยให้กันและกันด้วย เนื่องจากมีโชคชะตาและมีศัตรูประเภทเดียวกัน
ผมไม่รู้หรอกนะครับ ว่าพวกแอนติโลปเขาโหวตหาผู้นำหรือเลือกยามกันอย่างไร แต่ผมจะสังเกตเห็นบ่อย ๆ ว่า เมื่อพวกมันอยู่ด้วยกันหลายพันธุ์ มักจะมี “โทปิ” บางตัวที่ยืนคอยระวังภัยให้กับทั้งหมดอยู่บนเนินที่สูงกว่าระดับพื้นที่เพื่อนมันหากินอยู่ เนินที่ว่านี้ มักจะสามารถมองเห็นวิวได้โดยรอบ หากจะมีเสือสักตัวคอยซุ่มรอจู่โจมพวกมันอยู่ เจ้าโทปิตัวที่เลือกอยู่บนเนินนั่นแหล่ะครับ ที่น่าจะได้กลิ่นและเห็นเงาของเพชฌฆาตก่อนใคร จนสามารถส่งเสียงร้องเตือนเพื่อนฝูงให้หนีทัน
แอนติโลปบางพันธุ์ เช่น อิมพาลา แกรนท์กาแซล และทอมสันกาแซล มีรูปแบบการรวมกลุ่มกันอยู่สองชนิดครับ อย่างแรกคือมีตัวผู้เป็นใหญ่ในฝูงตัวเดียว อาศัยอยู่กับกลุ่มตัวเมียหลายตัว และจะสืบพันธุ์กับทุกตัวด้วย อีกอย่างคือฝูงที่มีแต่พวกตัวผู้เท่านั้น ตัวผู้ที่อยู่ในฝูงหลังนี่ วัน ๆ ไม่ค่อยทำอะไรหรอกครับ นอกจากจะเล็มหญ้าไปเรื่อย ๆ แล้วก็ท้าประลองพลังกับตัวผู้ตัวอื่นด้วยการชนเขา
การต่อสู้ก็ดูจะไม่ก้าวร้าวดุดันสักเท่าไหร่ ผมมองว่า พวกมันไม่ได้มุ่งมั่นที่จะฆ่า มันเผชิญหน้ากันแค่พอให้รู้ว่าตัวไหนแข็งแรงกว่า และเจ้าตัวที่แกร่งที่สุดจนหาคู่ชนอื่นไม่ได้แล้ว ก็มักจะไปท้าทายตัวผู้ของอีกฝูงที่มีตัวเมีย ผมว่าเป้าหมายหลักของมันอาจจะแค่ต้องการเข้ายึดครองฮาเร็มก็ได้นะครับ
ถึงแม้ว่า ผมจะรู้สึกรักหลงใหลพวกสัตว์ตระกูลแมวใหญ่มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น แต่ผมก็ยินดีมากนะครับเวลาที่ได้พบเห็นสัตว์ต่างสายพันธุ์ชนิดอื่น ผมจะมีความสุขทุกครั้งเวลาที่ได้เฝ้ามอง ศึกษาพฤติกรรม ซึมซับ และเรียนรู้วิถีชีวิตของสัตว์แต่ละชนิด ผมรู้สึกเป็นสุข เวลาที่เห็นสัตว์หลากหลายสายพันธุ์อยู่ร่วมกันได้ ผมชื่นชมที่สุดเวลาที่เห็นพวกมันคอยระวังหลังให้กัน
โลกของแอนติโลปเต็มไปด้วยอันตรายถึงชีวิต ต้องคอยตื่นตัวอยู่เสมอกับการตกเป็นเหยื่อ ศัตรูที่คอยจ้องจะล้มพวกมันเป็นอาหารจะโผล่หน้ามาเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ แต่เท่าที่ผมเห็น พวกมันไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่กันอย่างตื่นตระหนกตลอดเวลา ตอนที่ผมมองดูพวกแอนติโลปหากินด้วยกันอยู่ในทุ่งกว้าง ผมเห็นแต่ความงามของธรรมชาติ เห็นวงจรชีวิตดำเนินไปอย่างที่มันควรจะเป็น และมันทำให้ผมรู้สึกสงบสุข
ธรรมชาติยุติธรรมเสมอครับ ประชากรของแอนติโลปยังคงมีเหลืออยู่อีกมาก ถึงจะต้องถูกล่าเป็นอาหารบ้าง แต่จำนวนของสัตว์กินเนื้อยังไม่มีอิทธิพลพอที่จะลดจำนวนของแอนติโลปได้จนต้องเป็นห่วง แอนติโลปจะยังคงแพร่พันธุ์และสามารถเพิ่มพูนประชากรของพวกมันได้ต่อไปเรื่อย ๆ
ขอบคุณทุกท่านที่กรุณาเข้ามาเยี่ยมชมภาพถ่ายและติดตามอ่านคอลัมน์ของผม ขอขอบคุณเป็นพิเศษต่อท่านที่กรุณาฝากคอมเม้นท์ให้กำลังการทำงานของผมด้วยนะครับ ผมซาบซึ้งใจมาก ผมขอให้ทุกท่านมีวันและคืนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม พบกันใหม่อาทิตย์หน้าครับ
รู้จัก...แอชลีย์ วินเซนต์
ชาวอังกฤษเชื้อสายอิสราเอล ที่ผันตัวเองจากการทำธุรกิจด้านเรียลเอสเตท มาทำงานเป็นช่างภาพถ่ายภาพสัตว์ป่าอย่างเต็มตัว เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน นอกจากเปิดร้าน Nature Impressions จำหน่ายผลงานของตัวเอง ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่กล่าวกันว่า เป็นสวนสัตว์เปิดที่ใหญ่อันดับ 1 ของโลก เขายังทำงานให้กับสวนสัตว์แห่งนี้ ในฐานะอาสาสมัครเก็บภาพสัตว์ป่าไปพร้อมกันด้วย
ผลงานภาพถ่าย “บุษบา” เสือโคร่งเพศเมีย ถ่ายจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ของแอชลีย์ได้รับการประกาศให้เป็น สุดยอดภาพถ่าย National Geographic 2012
เสมือนบอกย้ำให้กำลังใจช่างภาพหลายๆ คนว่า “ภาพถ่ายสัตว์ป่าที่ดี ไม่ต้องไปถึงเคนยา”
ติดตามอ่าน ...Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์ ได้ทุกอาทิตย์ ทาง ART EYE VIEW
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ http://www.facebook.com/arteyeviewnews