คอลัมน์ : Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์
ผมกลับมาถึงเมืองไทยด้วยความปลอดภัยแล้วครับ หลังจากที่ได้เดินทางไปเก็บภาพสัตว์ป่าที่เคนย่ามาเป็นเวลาสองอาทิตย์ ผมเก็บภาพชีวิตที่น่าสนใจของสัตว์ป่ามาได้มากพอสมควรเลยล่ะครับ และจะทยอยนำมาภาพแบ่งปันให้ทุกท่านได้ชมร่วมกันในอาทิตย์ต่อ ๆ ไปนะครับ
ผมอยากจะขอขอบคุณย้อนหลังต่อผู้อ่านทุกท่าน ที่กรุณาเข้ามาเยี่ยมชมคอลัมน์นี้ และที่ฝากข้อความคอมเมนท์ไว้กับงานในช่วงเวลาที่ผมไม่อยู่ กำลังใจจากทุกท่าน เป็นเหมือนรางวัลชีวิตสำหรับผมเสมอ ขอบคุณมากครับ
เหตุผลหลักที่ผมเดินทางไปเคนย่าในครั้งนี้ เพราะผมต้องการกลับไปพบเพื่อนเก่าที่เป็นไกด์ของที่นั่นด้วย เรารู้จักกันตั้งแต่ปี ค.ศ 2006 ตอนที่ผมพาครอบครัวไปท่องซาฟารีเป็นครั้งแรก เราถูกอัธยาศัยกันมาก จนติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
เปรียบเทียบกับไกด์ท้องถิ่นคนอื่น เพื่อนของผมคนนี้ เป็นไกด์ที่มีประสบการณ์เรื่องนำเที่ยวในซาฟารีที่มีคุณภาพสูงมาก ผมกับเพื่อนเลยคุยกันถึงเรื่องการนำความชำนาญของเราทั้งสองคน มาวางแผนและจะจัดเป็นทริปพิเศษสำหรับคนที่รักการถ่ายภาพสัตว์ป่าและธรรมชาติขึ้นช่วงสิ้นปีนี้
ผมเชื่อว่า ผมมีเทคนิคการถ่ายภาพสัตว์ให้ออกมาแล้วดูเป็นธรรมชาติหลายอย่างที่หลายคนอาจจะนึกไม่ถึง ในขณะที่ไกด์ของผมก็รู้จักแหล่งอาศัยของสัตว์ รู้พฤติกรรมแตกต่างของพวกมัน ประสบการณ์ของพวกเราที่คุ้นเคยเรื่องมุมกล้องกับอิริยาบถแปลกตาของพวกสัตว์ น่าจะช่วยให้ช่างภาพที่จะเดินทางไปกับเรามีประสบการณ์ที่น่าจดจำไม่น้อย
ผมเคยเกริ่นเรื่องการจัดทริปพิเศษนี้กับทางกองบรรณาธิการไว้บ้างแล้ว ผมไม่ได้กำลังเสียมารยาทมาโฆษณาตัวเอง โดยไม่ได้รับอนุญาตนะครับ และผมขอใช้โอกาสนี้ เชิญชวนทุกท่านที่สนใจอยากจะรู้ข้อมูลโดยละเอียด กรุณาติดต่อกับผมได้โดยตรงครับที่ natureimpressions@yahoo.com
หลายท่านที่เคยอ่านคอลัมน์นี้มาก่อน คงจะทราบดีว่า สัตว์ตระกูลแมวใหญ่ เป็นกลุ่มสัตว์ที่ผมชื่นชอบมาก และเมื่อเดินทางถึงเคนย่า ผมจึงกระหยิ่มยิ้มย่องใจเป็นพิเศษ เพราะผมรู้ดีว่ามีอุทยานแห่งชาติในเคนย่าที่พวกแมวใหญ่ใช้ชีวิตอย่างสุขสบายตามธรรมชาติกันอยู่มากที่ “มาไซมาร่า”
ผมต้องขอยอมรับก่อนนะครับ ว่าเมื่อก่อนนี้ ผมมักจะแอบหวั่นใจเสมอในช่วงแรก ๆ ของวันยามที่ต้องออกตามรอยสัตว์แต่ละชนิด ผมจะรู้สึกเป็นห่วงว่าสถานภาพอากาศของวันนั้นจะเป็นอย่างไรบ้าง ทั้ง ๆ ที่ผมน่าจะรู้อยู่แก่ใจดีว่า ผมไม่มีสิทธิ์จะคาดหวังหรือสามารถควบคุมอะไรได้เลย
“พระแม่ธรณี” ผู้เปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดินเท่านั้นที่จะดลบันดาลให้แต่ละวันเป็นเช่นไร บางวันท่านก็มอบความอบอุ่นให้พร้อมกับแสงสว่างไสวตลอดทั้งวัน จนถึงยามเย็นที่ฟ้าเป็นสีส้มทอง แต่บางวันท่านก็ดูซึมเศร้า เหมือนไม่มีอารมณ์จะสบตากับพระอาทิตย์ ดึงเอาเมฆหมอกสีเทามาคลุมพรางร่างไว้ทั้งแผ่นดิน
ผมเคยคิดนะครับว่า บางทีสภาพแวดล้อมแตกต่างของทุกวันกำลังจะบอกอะไรแก่เราอยู่หรือเปล่า ผมเชื่อว่าทุกอย่างในโลกนี้ล้วนมีเหตุผล ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องบังเอิญ วันที่เรามีอุปสรรคมากมาย อาจจะมีไว้เพื่อเปรียบเทียบกับวันดี ๆ ที่เราเคยมีหรือเปล่า เพื่อให้เราสำนึกว่าความหวังจะคงอยู่เสมอ
ภาพถ่ายของผมทั้งหมด ได้มาจากการเรียนรู้ที่จะคล้อยตามธรรมชาติ คอยหาจังหวะที่จะสร้างโอกาสให้กับตัวเอง แต่หลายภาพเหมือนกันครับที่มีโชคแถมพ่วงเข้ามาด้วย และบ่อยครั้งเหลือเกินที่ผมรู้สึกว่างานของผมบางชิ้นออกมาแบบฟ้าประทาน
สองอาทิตย์ในมาไซมาร่า ผมเก็บภาพสัตว์ป่ามาหลากหลายสายพันธุ์เลยครับ เช่น จิ้งจอกหูค้างคาว, กระทิง, พังพอนสองชนิด, แอนทีลอฟห้าสายพันธุ์, ช้างหลายโขลง, ยีราฟ, ม้าลาย, ฮิปโป, ไฮยีน่าลายจุด, ไฮแร็กซ์,บาบูน, ลิงวาเว็ด, หมาป่า และกิ่งก่าอโกม่า
ที่สุดของความปลาบปลื้มของผม คือผมได้เห็นและสามารถเก็บภาพ สิงโต 18 ตัว, ชีตาร์ 7 ตัว และเสือดาวอีก 4 ตัว นอกจากนี้ผมยังเก็บภาพนกต่างสายพันธุ์ได้อีก 46 ชนิด ซึ่งนับว่ามากกว่า 10 เปอร์เซนต์ของจำนวนนกต่างสายพันธุ์ทั้งหมดที่ถูกเก็บบันทึกไว้ว่าอาศัยอยู่ในเขตสงวนมาไซมาร่า มันเป็นการเดินทางที่ลืมเรื่องเหนื่อยไปเลย
อาทิตย์นี้ผมขอนำภาพถ่ายของสิงโต ที่ผมได้พบเห็นในวันแรกมาแบ่งปันกับทุกท่านนะครับ ผมเริ่มออกเดินทางจากแคมป์ที่พักตอนประมาณตีห้า และเริ่มจะเห็นครอบครัวนี้เดินตามกันอยู่ในทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ตอนก่อนแปดโมงเช้าเพียงนิดเดียว
ครอบครัวนี้ประกอบด้วย พ่อสิงห์ แม่สิงห์ และลูกอีกสี่ตัว ผมคาดเดาจากขนาดตัวของพวกลูกสิงห์ว่าน่าจะมีอายุราว 14-18 เดือน ก่อนที่ผมจะมาถึง ครอบครัวนี้คงจะเอร็ดอร่อยและอิ่มกับมื้อเช้ากันไปเรียบร้อยแล้วล่ะครับ เพราะผมเห็นซากควายป่าเคราะห์ร้ายตัวหนึ่งอยู่ไม่ไกลนัก และในขณะที่ครอบครัวสิงโตเดินห่างซากออกไป นกแร้ง 30-40ตัว หรืออาจจะมากกว่านั้น ก็ร่อนลงมาแย่งกันทึ้งเนื้อติดกระดูกที่ยังเหลืออยู่
ผมมองดูลูกสิงโตตัวที่วิ่งนำหน้า มีหางยาวของควายป่าอยู่ในปากด้วย อีกสามตัวก็วิ่งตาม พยามยามจะแย่งกันคาบหางให้ได้ เห็นแล้วก็ทำให้นึกถึงตอนที่เด็กแย่งของเล่นกัน ผมถ่ายภาพชุดนี้ไว้หลายภาพ เลือกแทบไม่ถูกเลยครับว่าจะเอาภาพช่วงไหนให้คุณดูก่อนดี
สิงโตตัวพ่อในภาพแรกที่คุณเห็น กำลังอ่อนแรงน่าดูเลยล่ะครับ มันคงจะเจ็บตัวและเหนื่อยล้าพอสมควรกว่าจะล้มเหยื่อได้ เพราะเจ้าควายป่าก็ต้องดิ้นรนสู้สุดฤทธิ์เหมือนกันกว่าจะยอมล้มนอนรับชะตากรรม ผมเห็นใจทั้งผู้ล่าและผู้ถูกล่า แต่ผมไม่เศร้าหมอง เพราะผมเข้าใจว่ามันเป็นห่วงโซ่อาหารและนั่นคือวิถีชีวิต
ผมเฝ้ามองผ่านเลนส์อยู่ห่าง ๆ ผมเห็นพ่อสิงห์ยืนนิ่งไกลจากครอบครัว มันยืดอกเงยหน้าขึ้นฟ้า ผมเกือบจะรับรู้ว่าพ่อสิงห์ยืนสงบเพื่อซึมซับหน้าที่ของตัวเอง มันยืนอยู่ท่านั้นสักพัก ก็มีสายลมอ่อนโชยมาปะทะใบหน้า เหมือนปลอบประโลมและให้กำลังใจ เหมือนสายลมจะช่วยพัดพาและปัดเป่าความเจ็บปวดของพ่อสิงห์ให้เบาบางลงบ้าง ผมชอบภาพพ่อสิงโตใบนี้มาก ผมจึงโฟกัสไปที่ตัวสิงโตเพียงอย่างเดียว ทั้ง ๆ ที่ในกรอบมีฝูงแอนติลอฟฝูงใหญ่กำลังหากินอยู่ไม่ไกลนัก
สิงโตตัวผู้แยกตัวไปก่อนครอบครัวของมัน ตัวเมียยังคอยคุ้มกันให้ลูกทั้งสี่เล่นด้วยกันอยู่ห่าง ๆ ก่อนทีจะค่อย ๆ ต้อนทุกตัวให้เดินตามตัวพ่อไปหาที่พัก ที่พักของสิงโตเป็นเนินหินขนาดใหญ่ที่มีร่มเงาไว้ให้หลบแดดอาทิตย์นี้ผมได้เลือกภาพสิงโตมาให้ทุกท่านชมก่อนสี่ใบ และผมจะหาโอกาสต่อไปข้างหน้า เลือกภาพสิงโตในอิริยาบถใหม่ ๆ และหาเรื่องราวน่าประทับใจอย่างอื่นมาบอกเล่าและแบ่งปันกับทุกท่านอีกนะครับ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชมเยี่ยมภาพถ่ายและอ่านบทความของผมด้วยนะครับ ขอให้ทุกท่านมีความสุขตลอดทั้งอาทิตย์ พบกันใหม่อาทิตย์หน้าครับ
รู้จัก...แอชลีย์ วินเซนต์
ชาวอังกฤษเชื้อสายอิสราเอล ที่ผันตัวเองจากการทำธุรกิจด้านเรียลเอสเตท มาทำงานเป็นช่างภาพถ่ายภาพสัตว์ป่าอย่างเต็มตัว เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน นอกจากเปิดร้าน Nature Impressions จำหน่ายผลงานของตัวเอง ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่กล่าวกันว่า เป็นสวนสัตว์เปิดที่ใหญ่อันดับ 1 ของโลก เขายังทำงานให้กับสวนสัตว์แห่งนี้ ในฐานะอาสาสมัครเก็บภาพสัตว์ป่าไปพร้อมกันด้วย
ผลงานภาพถ่าย “บุษบา” เสือโคร่งเพศเมีย ถ่ายจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ของแอชลีย์ได้รับการประกาศให้เป็น สุดยอดภาพถ่าย National Geographic 2012
เสมือนบอกย้ำให้กำลังใจช่างภาพหลายๆ คนว่า “ภาพถ่ายสัตว์ป่าที่ดี ไม่ต้องไปถึงเคนยา”
ติดตามอ่าน ...Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์ ได้ทุกอาทิตย์ ทาง ART EYE VIEW
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ http://www.facebook.com/arteyeviewnews
ผมกลับมาถึงเมืองไทยด้วยความปลอดภัยแล้วครับ หลังจากที่ได้เดินทางไปเก็บภาพสัตว์ป่าที่เคนย่ามาเป็นเวลาสองอาทิตย์ ผมเก็บภาพชีวิตที่น่าสนใจของสัตว์ป่ามาได้มากพอสมควรเลยล่ะครับ และจะทยอยนำมาภาพแบ่งปันให้ทุกท่านได้ชมร่วมกันในอาทิตย์ต่อ ๆ ไปนะครับ
ผมอยากจะขอขอบคุณย้อนหลังต่อผู้อ่านทุกท่าน ที่กรุณาเข้ามาเยี่ยมชมคอลัมน์นี้ และที่ฝากข้อความคอมเมนท์ไว้กับงานในช่วงเวลาที่ผมไม่อยู่ กำลังใจจากทุกท่าน เป็นเหมือนรางวัลชีวิตสำหรับผมเสมอ ขอบคุณมากครับ
เหตุผลหลักที่ผมเดินทางไปเคนย่าในครั้งนี้ เพราะผมต้องการกลับไปพบเพื่อนเก่าที่เป็นไกด์ของที่นั่นด้วย เรารู้จักกันตั้งแต่ปี ค.ศ 2006 ตอนที่ผมพาครอบครัวไปท่องซาฟารีเป็นครั้งแรก เราถูกอัธยาศัยกันมาก จนติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
เปรียบเทียบกับไกด์ท้องถิ่นคนอื่น เพื่อนของผมคนนี้ เป็นไกด์ที่มีประสบการณ์เรื่องนำเที่ยวในซาฟารีที่มีคุณภาพสูงมาก ผมกับเพื่อนเลยคุยกันถึงเรื่องการนำความชำนาญของเราทั้งสองคน มาวางแผนและจะจัดเป็นทริปพิเศษสำหรับคนที่รักการถ่ายภาพสัตว์ป่าและธรรมชาติขึ้นช่วงสิ้นปีนี้
ผมเชื่อว่า ผมมีเทคนิคการถ่ายภาพสัตว์ให้ออกมาแล้วดูเป็นธรรมชาติหลายอย่างที่หลายคนอาจจะนึกไม่ถึง ในขณะที่ไกด์ของผมก็รู้จักแหล่งอาศัยของสัตว์ รู้พฤติกรรมแตกต่างของพวกมัน ประสบการณ์ของพวกเราที่คุ้นเคยเรื่องมุมกล้องกับอิริยาบถแปลกตาของพวกสัตว์ น่าจะช่วยให้ช่างภาพที่จะเดินทางไปกับเรามีประสบการณ์ที่น่าจดจำไม่น้อย
ผมเคยเกริ่นเรื่องการจัดทริปพิเศษนี้กับทางกองบรรณาธิการไว้บ้างแล้ว ผมไม่ได้กำลังเสียมารยาทมาโฆษณาตัวเอง โดยไม่ได้รับอนุญาตนะครับ และผมขอใช้โอกาสนี้ เชิญชวนทุกท่านที่สนใจอยากจะรู้ข้อมูลโดยละเอียด กรุณาติดต่อกับผมได้โดยตรงครับที่ natureimpressions@yahoo.com
หลายท่านที่เคยอ่านคอลัมน์นี้มาก่อน คงจะทราบดีว่า สัตว์ตระกูลแมวใหญ่ เป็นกลุ่มสัตว์ที่ผมชื่นชอบมาก และเมื่อเดินทางถึงเคนย่า ผมจึงกระหยิ่มยิ้มย่องใจเป็นพิเศษ เพราะผมรู้ดีว่ามีอุทยานแห่งชาติในเคนย่าที่พวกแมวใหญ่ใช้ชีวิตอย่างสุขสบายตามธรรมชาติกันอยู่มากที่ “มาไซมาร่า”
ผมต้องขอยอมรับก่อนนะครับ ว่าเมื่อก่อนนี้ ผมมักจะแอบหวั่นใจเสมอในช่วงแรก ๆ ของวันยามที่ต้องออกตามรอยสัตว์แต่ละชนิด ผมจะรู้สึกเป็นห่วงว่าสถานภาพอากาศของวันนั้นจะเป็นอย่างไรบ้าง ทั้ง ๆ ที่ผมน่าจะรู้อยู่แก่ใจดีว่า ผมไม่มีสิทธิ์จะคาดหวังหรือสามารถควบคุมอะไรได้เลย
“พระแม่ธรณี” ผู้เปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดินเท่านั้นที่จะดลบันดาลให้แต่ละวันเป็นเช่นไร บางวันท่านก็มอบความอบอุ่นให้พร้อมกับแสงสว่างไสวตลอดทั้งวัน จนถึงยามเย็นที่ฟ้าเป็นสีส้มทอง แต่บางวันท่านก็ดูซึมเศร้า เหมือนไม่มีอารมณ์จะสบตากับพระอาทิตย์ ดึงเอาเมฆหมอกสีเทามาคลุมพรางร่างไว้ทั้งแผ่นดิน
ผมเคยคิดนะครับว่า บางทีสภาพแวดล้อมแตกต่างของทุกวันกำลังจะบอกอะไรแก่เราอยู่หรือเปล่า ผมเชื่อว่าทุกอย่างในโลกนี้ล้วนมีเหตุผล ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องบังเอิญ วันที่เรามีอุปสรรคมากมาย อาจจะมีไว้เพื่อเปรียบเทียบกับวันดี ๆ ที่เราเคยมีหรือเปล่า เพื่อให้เราสำนึกว่าความหวังจะคงอยู่เสมอ
ภาพถ่ายของผมทั้งหมด ได้มาจากการเรียนรู้ที่จะคล้อยตามธรรมชาติ คอยหาจังหวะที่จะสร้างโอกาสให้กับตัวเอง แต่หลายภาพเหมือนกันครับที่มีโชคแถมพ่วงเข้ามาด้วย และบ่อยครั้งเหลือเกินที่ผมรู้สึกว่างานของผมบางชิ้นออกมาแบบฟ้าประทาน
สองอาทิตย์ในมาไซมาร่า ผมเก็บภาพสัตว์ป่ามาหลากหลายสายพันธุ์เลยครับ เช่น จิ้งจอกหูค้างคาว, กระทิง, พังพอนสองชนิด, แอนทีลอฟห้าสายพันธุ์, ช้างหลายโขลง, ยีราฟ, ม้าลาย, ฮิปโป, ไฮยีน่าลายจุด, ไฮแร็กซ์,บาบูน, ลิงวาเว็ด, หมาป่า และกิ่งก่าอโกม่า
ที่สุดของความปลาบปลื้มของผม คือผมได้เห็นและสามารถเก็บภาพ สิงโต 18 ตัว, ชีตาร์ 7 ตัว และเสือดาวอีก 4 ตัว นอกจากนี้ผมยังเก็บภาพนกต่างสายพันธุ์ได้อีก 46 ชนิด ซึ่งนับว่ามากกว่า 10 เปอร์เซนต์ของจำนวนนกต่างสายพันธุ์ทั้งหมดที่ถูกเก็บบันทึกไว้ว่าอาศัยอยู่ในเขตสงวนมาไซมาร่า มันเป็นการเดินทางที่ลืมเรื่องเหนื่อยไปเลย
อาทิตย์นี้ผมขอนำภาพถ่ายของสิงโต ที่ผมได้พบเห็นในวันแรกมาแบ่งปันกับทุกท่านนะครับ ผมเริ่มออกเดินทางจากแคมป์ที่พักตอนประมาณตีห้า และเริ่มจะเห็นครอบครัวนี้เดินตามกันอยู่ในทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ตอนก่อนแปดโมงเช้าเพียงนิดเดียว
ครอบครัวนี้ประกอบด้วย พ่อสิงห์ แม่สิงห์ และลูกอีกสี่ตัว ผมคาดเดาจากขนาดตัวของพวกลูกสิงห์ว่าน่าจะมีอายุราว 14-18 เดือน ก่อนที่ผมจะมาถึง ครอบครัวนี้คงจะเอร็ดอร่อยและอิ่มกับมื้อเช้ากันไปเรียบร้อยแล้วล่ะครับ เพราะผมเห็นซากควายป่าเคราะห์ร้ายตัวหนึ่งอยู่ไม่ไกลนัก และในขณะที่ครอบครัวสิงโตเดินห่างซากออกไป นกแร้ง 30-40ตัว หรืออาจจะมากกว่านั้น ก็ร่อนลงมาแย่งกันทึ้งเนื้อติดกระดูกที่ยังเหลืออยู่
ผมมองดูลูกสิงโตตัวที่วิ่งนำหน้า มีหางยาวของควายป่าอยู่ในปากด้วย อีกสามตัวก็วิ่งตาม พยามยามจะแย่งกันคาบหางให้ได้ เห็นแล้วก็ทำให้นึกถึงตอนที่เด็กแย่งของเล่นกัน ผมถ่ายภาพชุดนี้ไว้หลายภาพ เลือกแทบไม่ถูกเลยครับว่าจะเอาภาพช่วงไหนให้คุณดูก่อนดี
สิงโตตัวพ่อในภาพแรกที่คุณเห็น กำลังอ่อนแรงน่าดูเลยล่ะครับ มันคงจะเจ็บตัวและเหนื่อยล้าพอสมควรกว่าจะล้มเหยื่อได้ เพราะเจ้าควายป่าก็ต้องดิ้นรนสู้สุดฤทธิ์เหมือนกันกว่าจะยอมล้มนอนรับชะตากรรม ผมเห็นใจทั้งผู้ล่าและผู้ถูกล่า แต่ผมไม่เศร้าหมอง เพราะผมเข้าใจว่ามันเป็นห่วงโซ่อาหารและนั่นคือวิถีชีวิต
ผมเฝ้ามองผ่านเลนส์อยู่ห่าง ๆ ผมเห็นพ่อสิงห์ยืนนิ่งไกลจากครอบครัว มันยืดอกเงยหน้าขึ้นฟ้า ผมเกือบจะรับรู้ว่าพ่อสิงห์ยืนสงบเพื่อซึมซับหน้าที่ของตัวเอง มันยืนอยู่ท่านั้นสักพัก ก็มีสายลมอ่อนโชยมาปะทะใบหน้า เหมือนปลอบประโลมและให้กำลังใจ เหมือนสายลมจะช่วยพัดพาและปัดเป่าความเจ็บปวดของพ่อสิงห์ให้เบาบางลงบ้าง ผมชอบภาพพ่อสิงโตใบนี้มาก ผมจึงโฟกัสไปที่ตัวสิงโตเพียงอย่างเดียว ทั้ง ๆ ที่ในกรอบมีฝูงแอนติลอฟฝูงใหญ่กำลังหากินอยู่ไม่ไกลนัก
สิงโตตัวผู้แยกตัวไปก่อนครอบครัวของมัน ตัวเมียยังคอยคุ้มกันให้ลูกทั้งสี่เล่นด้วยกันอยู่ห่าง ๆ ก่อนทีจะค่อย ๆ ต้อนทุกตัวให้เดินตามตัวพ่อไปหาที่พัก ที่พักของสิงโตเป็นเนินหินขนาดใหญ่ที่มีร่มเงาไว้ให้หลบแดดอาทิตย์นี้ผมได้เลือกภาพสิงโตมาให้ทุกท่านชมก่อนสี่ใบ และผมจะหาโอกาสต่อไปข้างหน้า เลือกภาพสิงโตในอิริยาบถใหม่ ๆ และหาเรื่องราวน่าประทับใจอย่างอื่นมาบอกเล่าและแบ่งปันกับทุกท่านอีกนะครับ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชมเยี่ยมภาพถ่ายและอ่านบทความของผมด้วยนะครับ ขอให้ทุกท่านมีความสุขตลอดทั้งอาทิตย์ พบกันใหม่อาทิตย์หน้าครับ
รู้จัก...แอชลีย์ วินเซนต์
ชาวอังกฤษเชื้อสายอิสราเอล ที่ผันตัวเองจากการทำธุรกิจด้านเรียลเอสเตท มาทำงานเป็นช่างภาพถ่ายภาพสัตว์ป่าอย่างเต็มตัว เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน นอกจากเปิดร้าน Nature Impressions จำหน่ายผลงานของตัวเอง ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่กล่าวกันว่า เป็นสวนสัตว์เปิดที่ใหญ่อันดับ 1 ของโลก เขายังทำงานให้กับสวนสัตว์แห่งนี้ ในฐานะอาสาสมัครเก็บภาพสัตว์ป่าไปพร้อมกันด้วย
ผลงานภาพถ่าย “บุษบา” เสือโคร่งเพศเมีย ถ่ายจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ของแอชลีย์ได้รับการประกาศให้เป็น สุดยอดภาพถ่าย National Geographic 2012
เสมือนบอกย้ำให้กำลังใจช่างภาพหลายๆ คนว่า “ภาพถ่ายสัตว์ป่าที่ดี ไม่ต้องไปถึงเคนยา”
ติดตามอ่าน ...Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์ ได้ทุกอาทิตย์ ทาง ART EYE VIEW
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ http://www.facebook.com/arteyeviewnews