คอลัมน์ : Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์
เสือโคร่งทั้งหมด ถูกแบ่งแยกออกเป็นสายพันธุ์ย่อยอีกเก้าชนิด ครั้งหนึ่งในอดีต “อินโดนีเชีย” เคยเป็นแหล่งที่มีบรรดาเสือโคร่งอาศัยอยู่ตามธรรมชาติทั่วประเทศมากถึงสามสายพันธุ์ เมื่อกาลเวลาผ่านไปเรื่อยๆ ประชากรของมนุษย์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกิดการลุกล้ำพื้นที่เข้าไปในป่า และเกิดการล่าสัตว์ขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
มีการบันทึกไว้ว่า “เสือโคร่งบาหลี” (ชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera tigris balica) ตัวสุดท้ายถูกพบว่าถูกยิงเสียชีวิตในเกาะบาหลี เมื่อปี ค.ศ 1937
ผมคิดว่า มันน่าจะเป็นไปได้ ที่อาจจะมีเสือโคร่งบาหลีตัวอื่นหลบหนีซ่อนเร้นจากสายตามนุษย์ได้ และมีชีวิตยืนยาวกว่าตัวที่เราเก็บบันทึกไว้ แต่เพราะเราไม่เคยพบเห็นพวกมันตัวเป็นๆอีกเลย และไม่เคยมีการเลี้ยงอนุรักษ์ไว้เลยด้วย “เสือโคร่งบาหลี” จึงถูกบันทึกสถานะให้เป็น “สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว”
ทางด้านตะวันตกของบาหลี มีเกาะที่มีพื้นที่ใหญ่กว่ามากเรียกว่า “เกาะชวา” มันเคยเป็นเกาะที่มี “เสือโคร่งชวา” (ชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera tigris sondaica)อาศัยอยู่มาอย่างยาวนาน จนถึงปลายศตวรรษที่ 18
ก็ด้วยเหตุผลเดิมๆนั่นแหล่ะครับ เมื่อมนุษย์เพิ่มจำนวนขึ้น เราก็เอาความเจริญของเราล่วงล้ำเข้าไปในผืนป่าที่เป็นบ้านเดิมของพวกสัตว์ “เสือโคร่งชวา” เจ้าถิ่นเดิม เลยถูกลดจำนวนลงเรื่อยๆ และพวกมันก็ถูกยกสถานะให้เป็น “สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์แล้ว” ในที่สุด
“เสือโคร่งชวา” ตัวสุดท้ายที่ถูกเก็บบันทึก พบเจอในเขตทุรกันดารบนภูเขาสูงทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะชวาในปี ค.ศ 1976 “เสือโคร่งชวา” และ “เสือโคร่งบาหลี” เป็นเสือโคร่งในอินโดนีเชียที่มีโชคชะตาเหมือนกัน ไม่เคยมีการเก็บอนุรักษ์ชีวิตของพวกมันไว้ที่อื่นใดในโลก สายพันธุ์ของพวกมันได้ถูกกวาดล้างไปแล้ว จนหมดสิ้นจากโลกใบนี้
เสือโคร่งสายพันธุ์เดียวที่ยังมีเหลืออยู่ในอินโดนีเชียมีชื่อว่า “เสือโคร่งสุมาตรา” (ชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera tigris sumtrae)มันถูกระบุสถานะให้เป็น “สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤตต่อการสูญพันธุ์” (CR) ตั้งแต่ปี ค.ศ 2008 เป็นระดับที่ต่ำกว่าสถานะของ “สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์จากธรรมชาติ” (EW) เพียงขั้นเดียว
ในปัจจุบัน เชื่อว่ายังมีเสือโคร่งสุมาตราที่หากินอยู่เองตามสภาพแวดล้อมเดิมของพวกมันอยู่ไม่เกินสองร้อยตัว น่าซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อกรมป่าไม้ของอินโดนีเชีย และกลุ่มอุทยานแห่งชาติ ร่วมมือกับสวนสัตว์จากออสเตรเลีย ได้ช่วยกันจัดตั้งโครงการเพื่อการอนุรักษ์เสือสุมาตราขึ้นมาในปี ค.ศ 2007
โครงการนี้สนับสนุนให้มีการคุ้มครองพื้นที่อยู่ตามธรรมชาติของเสือสุมาตรา รวมทั้งให้มีการอนุรักษ์ศึกษาพฤติกรรมเพื่อการแพร่พันธุ์อีกด้วย
ตอนนี้ พวกเราสามารถพบเห็นตัวจริงของเสือสุมาตรากันได้แล้วตามสวนสัตว์ หรือตามเขตอนุรักษ์สัตว์ป่า และตามซาฟารีปาร์คทั่วไปทั่วโลก สำหรับตัวผมเอง ผมได้มีโอกาสสบตากับเสือสุมาตราเป็นครั้งแรกแล้วครับ ตอนที่ผมกลับไปเยี่ยมอังกฤษเมื่อตอนปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ผมได้เก็บภาพถ่ายเสือโคร่งสุมาตรามาฝากทุกท่านด้วยครับ ภาพพวกนี้ถ่ายมาจาก The World Heritage Foundation และ Howletts Wildlife Park ทั้งสองแห่งตั้งอยู่ในเคนส์ (Kent)
เสือโคร่งเป็นสัตว์ที่มีขนาดตัวใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ตระกูลแมวใหญ่ทั้งหมด ความยาวของลำตัวที่โตเต็มวัยอาจวัดได้ยาวถึง 3.3 เมตร และอาจมีน้ำหนักตัวถึง 306 กิโลกรัม มันถูกจัดให้เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 รองมาจากหมีสีน้ำตาล และหมีโพล่าที่เป็นอันดับ 1 ของโลก
ในสายตาของคนทั่วไป หลายคนอาจจะไม่เคยสังเกตเห็นความแตกต่างของเสือโคร่ง ไม่รู้ว่าจะจำแนกสายพันธุ์ของพวกมันตรงไหน เพราะลักษณะของมันก็ดูจะมีขนตัวสีเหลืองอมส้มและมีขนสีดำยาวๆพาดขวางตามลำตัวเหมือนกันหมด
วิธีแยกสายพันธุ์ของพวกเสือโคร่ง มองที่ขนาดตัว(ของตัวที่โตเต็มวัย)และลวดลายสีดำบนตัวของพวกมันไงครับ หากคุณสนใจอยากรู้ข้อมูลโดยละเอียด อ่านต่อได้ที่นี่นะครับ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87
ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเสือโคร่งอีกหลายอย่างเลยล่ะครับ ผมวางแผนไว้ว่า จะนำมาเขียนเล่าต่อทุกท่านในโอกาสข้างหน้าที่ผมจะนำเสนอภาพถ่ายของพวกมันไปพร้อมกันเลยด้วย ผมยังไม่อยากให้มีใครเริ่มเบื่อเพราะต้องอ่านข้อมูลที่ยาวยืดเยื้อจนเกินไป จึงขอยุติการรายงานเรื่องเสือโคร่งไว้แค่นี้ก่อนนะครับ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชมงานถ่ายภาพและอ่านบทความของผม ผมขอให้ทุกท่านมีวันและคืนที่สวยงามตลอดทั้งอาทิตย์นะครับ พบกันใหม่อาทิตย์หน้า
รู้จัก...แอชลีย์ วินเซนต์
ชาวอังกฤษเชื้อสายอิสราเอล ที่ผันตัวเองจากการทำธุรกิจด้านเรียลเอสเตท มาทำงานเป็นช่างภาพถ่ายภาพสัตว์ป่าอย่างเต็มตัว เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน นอกจากเปิดร้าน Nature Impressions จำหน่ายผลงานของตัวเอง ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่กล่าวกันว่า เป็นสวนสัตว์เปิดที่ใหญ่อันดับ 1 ของโลก เขายังทำงานให้กับสวนสัตว์แห่งนี้ ในฐานะอาสาสมัครเก็บภาพสัตว์ป่าไปพร้อมกันด้วย
ผลงานภาพถ่าย “บุษบา” เสือโคร่งเพศเมีย ถ่ายจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ของแอชลีย์ได้รับการประกาศให้เป็น สุดยอดภาพถ่าย National Geographic 2012
เสมือนบอกย้ำให้กำลังใจช่างภาพหลายๆ คนว่า “ภาพถ่ายสัตว์ป่าที่ดี ไม่ต้องไปถึงเคนยา”
ติดตามอ่าน ...Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์ ได้ทุกอาทิตย์ ทาง ART EYE VIEW
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ http://www.facebook.com/arteyeviewnews
เสือโคร่งทั้งหมด ถูกแบ่งแยกออกเป็นสายพันธุ์ย่อยอีกเก้าชนิด ครั้งหนึ่งในอดีต “อินโดนีเชีย” เคยเป็นแหล่งที่มีบรรดาเสือโคร่งอาศัยอยู่ตามธรรมชาติทั่วประเทศมากถึงสามสายพันธุ์ เมื่อกาลเวลาผ่านไปเรื่อยๆ ประชากรของมนุษย์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกิดการลุกล้ำพื้นที่เข้าไปในป่า และเกิดการล่าสัตว์ขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
มีการบันทึกไว้ว่า “เสือโคร่งบาหลี” (ชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera tigris balica) ตัวสุดท้ายถูกพบว่าถูกยิงเสียชีวิตในเกาะบาหลี เมื่อปี ค.ศ 1937
ผมคิดว่า มันน่าจะเป็นไปได้ ที่อาจจะมีเสือโคร่งบาหลีตัวอื่นหลบหนีซ่อนเร้นจากสายตามนุษย์ได้ และมีชีวิตยืนยาวกว่าตัวที่เราเก็บบันทึกไว้ แต่เพราะเราไม่เคยพบเห็นพวกมันตัวเป็นๆอีกเลย และไม่เคยมีการเลี้ยงอนุรักษ์ไว้เลยด้วย “เสือโคร่งบาหลี” จึงถูกบันทึกสถานะให้เป็น “สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว”
ทางด้านตะวันตกของบาหลี มีเกาะที่มีพื้นที่ใหญ่กว่ามากเรียกว่า “เกาะชวา” มันเคยเป็นเกาะที่มี “เสือโคร่งชวา” (ชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera tigris sondaica)อาศัยอยู่มาอย่างยาวนาน จนถึงปลายศตวรรษที่ 18
ก็ด้วยเหตุผลเดิมๆนั่นแหล่ะครับ เมื่อมนุษย์เพิ่มจำนวนขึ้น เราก็เอาความเจริญของเราล่วงล้ำเข้าไปในผืนป่าที่เป็นบ้านเดิมของพวกสัตว์ “เสือโคร่งชวา” เจ้าถิ่นเดิม เลยถูกลดจำนวนลงเรื่อยๆ และพวกมันก็ถูกยกสถานะให้เป็น “สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์แล้ว” ในที่สุด
“เสือโคร่งชวา” ตัวสุดท้ายที่ถูกเก็บบันทึก พบเจอในเขตทุรกันดารบนภูเขาสูงทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะชวาในปี ค.ศ 1976 “เสือโคร่งชวา” และ “เสือโคร่งบาหลี” เป็นเสือโคร่งในอินโดนีเชียที่มีโชคชะตาเหมือนกัน ไม่เคยมีการเก็บอนุรักษ์ชีวิตของพวกมันไว้ที่อื่นใดในโลก สายพันธุ์ของพวกมันได้ถูกกวาดล้างไปแล้ว จนหมดสิ้นจากโลกใบนี้
เสือโคร่งสายพันธุ์เดียวที่ยังมีเหลืออยู่ในอินโดนีเชียมีชื่อว่า “เสือโคร่งสุมาตรา” (ชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera tigris sumtrae)มันถูกระบุสถานะให้เป็น “สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤตต่อการสูญพันธุ์” (CR) ตั้งแต่ปี ค.ศ 2008 เป็นระดับที่ต่ำกว่าสถานะของ “สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์จากธรรมชาติ” (EW) เพียงขั้นเดียว
ในปัจจุบัน เชื่อว่ายังมีเสือโคร่งสุมาตราที่หากินอยู่เองตามสภาพแวดล้อมเดิมของพวกมันอยู่ไม่เกินสองร้อยตัว น่าซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อกรมป่าไม้ของอินโดนีเชีย และกลุ่มอุทยานแห่งชาติ ร่วมมือกับสวนสัตว์จากออสเตรเลีย ได้ช่วยกันจัดตั้งโครงการเพื่อการอนุรักษ์เสือสุมาตราขึ้นมาในปี ค.ศ 2007
โครงการนี้สนับสนุนให้มีการคุ้มครองพื้นที่อยู่ตามธรรมชาติของเสือสุมาตรา รวมทั้งให้มีการอนุรักษ์ศึกษาพฤติกรรมเพื่อการแพร่พันธุ์อีกด้วย
ตอนนี้ พวกเราสามารถพบเห็นตัวจริงของเสือสุมาตรากันได้แล้วตามสวนสัตว์ หรือตามเขตอนุรักษ์สัตว์ป่า และตามซาฟารีปาร์คทั่วไปทั่วโลก สำหรับตัวผมเอง ผมได้มีโอกาสสบตากับเสือสุมาตราเป็นครั้งแรกแล้วครับ ตอนที่ผมกลับไปเยี่ยมอังกฤษเมื่อตอนปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ผมได้เก็บภาพถ่ายเสือโคร่งสุมาตรามาฝากทุกท่านด้วยครับ ภาพพวกนี้ถ่ายมาจาก The World Heritage Foundation และ Howletts Wildlife Park ทั้งสองแห่งตั้งอยู่ในเคนส์ (Kent)
เสือโคร่งเป็นสัตว์ที่มีขนาดตัวใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ตระกูลแมวใหญ่ทั้งหมด ความยาวของลำตัวที่โตเต็มวัยอาจวัดได้ยาวถึง 3.3 เมตร และอาจมีน้ำหนักตัวถึง 306 กิโลกรัม มันถูกจัดให้เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 รองมาจากหมีสีน้ำตาล และหมีโพล่าที่เป็นอันดับ 1 ของโลก
ในสายตาของคนทั่วไป หลายคนอาจจะไม่เคยสังเกตเห็นความแตกต่างของเสือโคร่ง ไม่รู้ว่าจะจำแนกสายพันธุ์ของพวกมันตรงไหน เพราะลักษณะของมันก็ดูจะมีขนตัวสีเหลืองอมส้มและมีขนสีดำยาวๆพาดขวางตามลำตัวเหมือนกันหมด
วิธีแยกสายพันธุ์ของพวกเสือโคร่ง มองที่ขนาดตัว(ของตัวที่โตเต็มวัย)และลวดลายสีดำบนตัวของพวกมันไงครับ หากคุณสนใจอยากรู้ข้อมูลโดยละเอียด อ่านต่อได้ที่นี่นะครับ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87
ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเสือโคร่งอีกหลายอย่างเลยล่ะครับ ผมวางแผนไว้ว่า จะนำมาเขียนเล่าต่อทุกท่านในโอกาสข้างหน้าที่ผมจะนำเสนอภาพถ่ายของพวกมันไปพร้อมกันเลยด้วย ผมยังไม่อยากให้มีใครเริ่มเบื่อเพราะต้องอ่านข้อมูลที่ยาวยืดเยื้อจนเกินไป จึงขอยุติการรายงานเรื่องเสือโคร่งไว้แค่นี้ก่อนนะครับ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชมงานถ่ายภาพและอ่านบทความของผม ผมขอให้ทุกท่านมีวันและคืนที่สวยงามตลอดทั้งอาทิตย์นะครับ พบกันใหม่อาทิตย์หน้า
รู้จัก...แอชลีย์ วินเซนต์
ชาวอังกฤษเชื้อสายอิสราเอล ที่ผันตัวเองจากการทำธุรกิจด้านเรียลเอสเตท มาทำงานเป็นช่างภาพถ่ายภาพสัตว์ป่าอย่างเต็มตัว เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบัน นอกจากเปิดร้าน Nature Impressions จำหน่ายผลงานของตัวเอง ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่กล่าวกันว่า เป็นสวนสัตว์เปิดที่ใหญ่อันดับ 1 ของโลก เขายังทำงานให้กับสวนสัตว์แห่งนี้ ในฐานะอาสาสมัครเก็บภาพสัตว์ป่าไปพร้อมกันด้วย
ผลงานภาพถ่าย “บุษบา” เสือโคร่งเพศเมีย ถ่ายจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ของแอชลีย์ได้รับการประกาศให้เป็น สุดยอดภาพถ่าย National Geographic 2012
เสมือนบอกย้ำให้กำลังใจช่างภาพหลายๆ คนว่า “ภาพถ่ายสัตว์ป่าที่ดี ไม่ต้องไปถึงเคนยา”
ติดตามอ่าน ...Nature Impressions โดย แอชลีย์ วินเซนต์ ได้ทุกอาทิตย์ ทาง ART EYE VIEW
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ http://www.facebook.com/arteyeviewnews