xs
xsm
sm
md
lg

ตรวจจุดเด่น Nikon D810 พร้อมตัวอย่างภาพถ่าย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online




หลังจาก D800 สร้างชื่อเสียงให้กับนิคอนด้วยจุดเด่นในเรื่องคุณภาพไฟล์และการรองรับความละเอียดภาพที่มากถึง 36.3 ล้านพิกเซลจนกลายเป็นกล้อง DSLR ฟูลเฟรมระดับมืออาชีพที่ถูกเลือกใช้ในงานที่มีรายละเอียดสูง เช่น บันทึกภาพสถาปัตยกรรมหรือภาพวิวทิวทัศน์ต่างๆ จน Nikon ต้องคลอด D800E ที่ตัด low-pass filter ออกมาอีกครั้งเพื่อใช้ในงานเฉพาะทาง

และในวันนี้ก็ถึงเวลาที่นิคอนจะปล่อยทายาทรุ่นต่อไปของตระกูล D800 กับ Nikon D810 กับการปรับเปลี่ยนฟีเจอร์และสเปกภายในใหม่หมดทุกส่วนรวมถึงลบข้อจำกัดที่เคยเกิดขึ้นกับ DSLR ของนิคอนแทบทุกรุ่นลงจนหมด ซึ่งในวันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซจะพาทุกท่านมาเจาะลึกสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปใน Nikon D810 พร้อมพรีวิวภาพเล็กน้อยจากในงาน Workshop



สเปกคงเดิมแต่ปรับปรุงประสิทธิภาพ



สำหรับสเปกหลักของ Nikon D810 ยังคงใช้เซ็นเซอร์ความละเอียด 36.3 ล้านพิกเซล เหมือน D800 แต่ส่วนที่แตกต่างกันคือโฟโต้ไดโอดที่รับแสงได้มากกว่ารวมถึงเซ็นเซอร์รับภาพได้ตัด OLPF (Optical low pass filter) มาทันที ทำให้ภาพที่ได้จะมีความคมชัดของเส้นขอบต่างๆ สูงมาก และที่สำคัญสำหรับผู้ใช้ที่บ่นเรื่องขนาดไฟล์ RAW ที่ใหญ่มากใน D810 ทางนิคอนได้เพิ่มคุณสมบัติ RAW-S ความละเอียด 9 ล้านพิกเซล (12-bit uncompressed) หรือไฟล์ RAW ขนาดเล็กมาให้สำหรับการใช้งานทั่วไปแล้ว



นอกจากนั้นทางนิคอนยังได้ปรับปรุงหน่วยประมวลผลภาพใหม่ในชื่อ EXPEED 4 และปรับปรุงส่วนของค่าความไวแสงใหม่ให้สามารถตั้งค่าได้ต่ำสุดที่ ISO 64 สูงสุด ISO 12,800 รวมถึงความเร็วสูงสุดในการถ่ายภาพต่อเนื่องยังเพิ่มสูงขึ้นเป็น 7 เฟรมต่อวินาทีสำหรับครอปโหมด และฟูลเฟรมที่ 5 เฟรมต่อวินาทีและยังสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องที่ความไวชัตเตอร์ต่ำกว่า 4 วินาทีได้อย่างต่อเนื่องจนกว่าการ์ดความจำจะเต็ม

เซ็นเซอร์วัดแสงรูปแบบใหม่



ใน Nikon D810 ยังคงใช้เซ็นเซอร์วัดแสง 91k pixels RGB เหมือน D800 แต่มีการเพิ่มระบบวัดแสงใหม่ในชื่อ ”Highlight Weighted” ขึ้นมาเพื่อใช้ร่วมกับการถ่ายภาพที่มีความต่างของแสงที่มาก เช่น ถ่ายภาพนักร้องในงานคอนเสิร์ตที่พื้นหลังมืด โดยปกติถ้าตั้งระบบวัดแสงเป็น Matrix เมื่อกดถ่ายภาพไม่ใบหน้านักร้องหรือไม่ก็เสื้อผ้ามักจะติดโอเวอร์และส่วนใหญ่จะแก้ไขได้ด้วยการวัดแสงแบบ Spot ที่ต้องใช้ความแม่นยำและรวดเร็วในการควบคุมกล้อง

แต่เมื่อใช้ระบบวัดแสงแบบ Highlight Weighted ภาพทั้งหมดจะถูกปรับความสมดุลใหม่โดยเฉพาะส่วนสว่างสุดของภาพจะถูกปรับให้สอดคล้องกันทุกส่วนเพียงแค่เล็งและถ่ายภาพเท่านั้น ทฤษฎีการวัดแสงแทบจะโยนทิ้งไปได้ทันทีเมื่อเปิดใช้โหมดนี้



และนอกจากระบบวัดแสงใหม่แล้ว ทางนิคอนยังใส่ Picture Control ตัวใหม่มาให้ 2 ตัวในชื่อ Flat ที่จะช่วยลดสีสันและคอนทราสต์ที่สูงมากเกินไปเพื่อการปรับแต่งภาพในภายหลังที่ง่ายขึ้น ส่วนตัวที่ 2 คือ Clarity หรือตัวเลือกปรับเพิ่มความคมชัดของภาพโดยไม่รบกวนส่วนที่เป็นรายละเอียดและสีสันของภาพ โดยสามารถปรับได้ละเอียดถึง 0.25 สเตป

ถ่ายวิดีโอฉลาดขึ้น


ภาพยนตร์สั้น “Dream Park” ใช้ Nikon D810 ถ่ายทำทั้งหมด

จากเดิมเรื่องการถ่ายวิดีโอแทบจะเป็นข้อด้อยของนิคอนมาโดยตลอด ใน D810 นิคอนปรับปรุงแบบยกแผงใหม่หมดตั้งแต่ความสามารถในการเลือกใช้ระบบวัดแสงแบบ Highlight Weighted ระบบ Auto ISO ที่เวลาเราล็อคค่าแสงหรือรูรับแสงไว้แล้วเกิดสภาพแสงเปลี่ยนไป ปกติภาพจะโอเวอร์ อันเดอร์หรือไม่ก็รูรับแสงเปลี่ยนค่าไปในทันทีแต่สำหรับระบบถ่ายวิดีโอใหม่นี้ เมื่อแหล่งกำเนิดแสงเปลี่ยนระบบกล้องจะใช้วิธีปรับค่าความไวแสง (ISO) อัตโนมัติ ในขณะที่รูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์จะคงที่จนสามารถปรับตัวเองได้อย่างนุ่มนวลเมื่อสภาพแสงเปลี่ยนไปอย่างมาก อีกทั้งโหมดวิดีโอใหม่นี้ยังสามารถถ่ายวิดีโอที่ค่าความไวแสง ISO 64 เพื่อช่วยลดความจำเป็นในการใช้ ND Filter

และที่สำคัญโหมดวิดีโอใหม่นี้ยังรองรับการถ่ายวิดีโอคุณภาพไฟล์ 1,920x1,080 พิกเซลที่ความเร็ว 60 เฟรมต่อวินาที แถมยังรองรับการบันทึกวิดีโอไปยัง External Harddisk ผ่าน HDMI ได้ด้วย

อีกทั้งในส่วนของการบันทึกเสียง นิคอนก็ได้มีการปรับปรุงเพิ่มระบบตัดเสียงลม (Wind Noise reduction) และสามารถกำหนดช่วงกว้างความถี่ในการตอบสนองเสียงได้ 2 ระดับได้แก่ Wide (รับเสียงสภาพแวดล้อม) และ Vocal (เน้นเสียงสนทนา/เสียงนักร้อง) พร้อมแถบ Monitor เสียงสำหรับการเชื่อมต่อกับไมโครโฟนภายนอก

สุดท้ายในส่วนสเปกอื่นๆ Nikon D810 มาพร้อมหน้าจอพรีวิวภาพขนาด 3.2 นิ้วความละเอียด 1,229k RGBW ช่องมองภาพแบบ Organic EL รองรับการ์ดความจำทั้ง CF และ SD Card แบตเตอรีใช้รหัสเดิมกับ D800 EN-EL15 แต่ระบบกล้องปรับปรุงเรื่องการบริโภคพลังงานใหม่ทำให้ถ่ายภาพได้มากถึง 1,200 ภาพต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้ง รวมถึงกลไกลชัตเตอร์ภายในมีการปรับปรุงใหม่ให้ทำงานได้เงียบขึ้น มาพร้อมโหมดถ่ายภาพต่อเนื่องแบบ Quiet (Qc) และรูปทรงตัวเครื่อง ปุ่มกดต่างๆ ออกแบบใหม่ให้จับใช้งานได้ถนัดมือมากขึ้น



และก่อนจากกัน เนื่องจากทีมงานนำโดยผม @dorapenguin ได้มีโอกาสไปร่วม Workshop กับทางนิคอนประเทศไทย ก็เลยมีโอกาสได้ลองสัมผัส Nikon D810 ร่วมกับเลนส์ 35 มิลลิเมตร นาโน f1.4 และชุดการแสดงโขนเป็นเวลาสั้นๆ ผมเลยนำไฟล์ภาพจากกล้อง Nikon D810 มาให้ผู้อ่านได้รับชมกัน โดยค่ากล้องจะตั้ง Picture Style เป็น Flat ใช้ระบบวัดแสง Highlight Weighted เป็นหลัก และตั้งคุณภาพไฟล์เป็นแบบ JPEG คุณภาพสูงสุด ส่วน ISO จะอยู่ที่ประมาณ 100-200 เท่านั้น

RMN_0347
RMN_0347cutscreen
รูปบนคือรูปขนาดจริงถ่ายที่ความละเอียดสูงสุด 36.3 ล้านพิกเซล ส่วนภาพล่างครอปที่ความละเอียดเพียง 2.9 ล้านพิกเซล

RMN_0350

RMN_0346

Company Related Link :
Nikon

ตอนนี้ CyberBiz ของเราได้เปิด Instagram เพิ่มอีก 1 ช่องทาง ผู้อ่านทุกท่านสามารถไปกดติดตามได้ครับที่ http://instagram.com/cbizonline

CyberBiz Social





กำลังโหลดความคิดเห็น