โน้ตบุ๊ก MSI ตระกูล "FX" ในท้องตลาดจะเน้นจับกลุ่มตลาดผู้ใช้ระดับกลางเป็นหลัก ซึ่งจุดที่น่าสนใจของโน้ตบุ๊กรุ่นนี้อยู่ที่การบรรจุฟังก์ชันใช้งานมาครบครัน คุ้มค่าราคาไม่เกิน 3 หมื่นบาท
Specifications and Design
สำหรับโน้ตบุ๊ก MSI FX420 จากรูปลักษณ์ภายนอก บอดี้ของโน้ตบุ๊กส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติกที่มีการลงรายละเอียดพื้นผิวให้มีความขรุขระบนการออกแบบบนเทคโนโลยี Scratch-proof เพื่อจะได้จับถือกระชับมือและบอดี้ป้องกันรอยขีดข่วน ปราศจากรอยมือโดยขนาดของ FX420 จะอยู่ที่ 350x234x33.5 มิลลิเมตรและมีน้ำหนักอยู่ประมาณ 2.2 กิโลกรัม
ด้านคียบอร์ดจะเป็น Chiclet keyboard ตามสมัยนิยมและสำหรับใน FX Series นี้ได้บรรจุปุ่มฟังก์ชันพิเศษมาให้ 6 ปุ่ม ที่เรียกว่า "S-Bar" ประกอบด้วยปุ่มฟีเจอร์หลักๆ คือ ปุ่มจัดการพลังงานในตัวโน้ตบุ๊ก - Cinema Pro และปุ่มเปิด-ปิดตัวเครื่อง พร้อมลำโพงขนาบ 2 ข้างที่ทำงานบนซอฟท์แวร์ THX TruStudio Pro แบบเดียวกับรุ่น G-Series ของทาง MSI
ในส่วนพอร์ตเชื่อมต่อรอบๆ ตัวเครื่องเริ่มจากด้านซ้ายประกอบด้วย ช่องเชื่อมต่อ Adapter / พอร์ตแลน RJ45 / ช่องระบายความร้อน / พอร์ต D-Sub / USB 3.0 / HDMI / USB 3.0
มาที่ด้านขวาของตัวเครื่อง (จากซ้ายมือ) จะเป็นช่องเชื่อมต่อหูฟัง-ไมโครโฟน - USB 2.0 2 พอร์ต - ช่องอ่านการ์ดหน่วยความจำ (Card Reader) - ช่องใส่สายคล้องป้องกันขโมย และไดร์ฟดีวีดี
สำหรับสเปกของ MSI FX420 หลักๆ แล้วตัวเครื่องจะขับเคลื่อนด้วยหน่วยประมวลผล Intel Core i5 2410M ความเร็ว 2.30GHz โดยในส่วนคอร์ทำงานจะอยู่ที่ 2 คอร์ 4 Threads มีหน่วยความจำ (RAM) อยู่ที่ 4GB (Single Channel) แบบ DDR3
ในส่วนกราฟิกชิปจะสามารถสลับใช้งานได้ผ่านระบบ AMD Switchable Graphics ระหว่างกราฟิกออนชิป Intel HD Graphics 3000 และกราฟิกชิปแยก AMD Radeon HD 6470M โดยการเลือกปรับกราฟิกชิปทั้ง 2 ตัวสามารถทำได้ผ่านซอฟท์แวร์ Catalyst Control Center ในส่วนของ Switchable Graphics (ตามภาพประกอบด้านบน) โดยผู้ใช้สามารถเลือกระหว่าง High Performance (เปิดใช้งาน AMD Radeon HD 6470M) และ Power Save (เปิดใช้งาน Intel HD Graphics 3000)
สุดท้ายในเรื่องของฟังก์ชันและคุณสมบัติพิเศษต่างๆ เช่น Cinema Pro THX TruStudio หรือ ECO Engine ทางทีมงานผู้จัดการไซเบอร์เคยได้กล่าวถึงไปแล้วในรีวิว MSI GE620
ทดสอบประสิทธิภาพ
3DMark 05 คะแนนทดสอบที่ได้คือ 7,012 คะแนนบนความละเอียดหน้าจอ 1,280x768 + Shader Model 3
3DMark 06 คะแนนทดสอบที่ได้คือ 4,659 คะแนนโดยแบ่งเป็นคะแนน Shader Model 2 = 1,602 คะแนน, HDR/Shader Model 3 = 1,932 คะแนน ส่วนคะแนนประมวลผลซีพียูจะอยู่ที่ 2,702 คะแนน ที่ความละเอียด 1,280x768 พิกเซล
3DMark 11 คะแนนรวมทดสอบที่ได้คือ 638 คะแนน
PCMark Vantage สามารถทำคะแนนรวมได้ที่ 5,114 คะแนน แบ่งเป็น Memories Score = 3,568 คะแนน, TV and Movies Score = 2,651 คะแนน, Gaming Score = 4,310 คะแนน, Music Score = 5,268 คะแนน, Communications Score = 5,140 คะแนน, Productivity Score = 4,708 คะแนน และ HDD Score = 3,377 คะแนน
Cinebench R11.5 x64 ในส่วนของการทดสอบด้วยการให้ซีพียูวาดภาพ 3 มิติผลคะแนนที่ได้คือ ในการใช้ซีพียูวาดคะแนนจะอยู่ที่ 2.14pts ส่วนกราฟิกแบบ OpenGL จะอยู่ที่ 7.59fps
HD Tach 3.0 มาที่การทดสอบฮาร์ดไดร์ฟจะมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลเฉลี่ยอยู่ที่ 72.7 MB/s ที่ Random access 19.1ms
x264 HD BENCHMARK 3.0 ในส่วนของการทดสอบการถอดรหัสไฟล์วิดีโอความละเอียด 720p จะได้ค่าดังต่อไปนี้
encoded 1442 frames, 43.75 fps, 3901.21 kb/s
encoded 1442 frames, 44.44 fps, 3900.68 kb/s
encoded 1442 frames, 44.27 fps, 3900.68 kb/s
encoded 1442 frames, 44.57 fps, 3901.21 kb/s
encoded 1442 frames, 11.84 fps, 3971.75 kb/s
encoded 1442 frames, 11.90 fps, 3971.54 kb/s
encoded 1442 frames, 11.91 fps, 3971.24 kb/s
encoded 1442 frames, 11.93 fps, 3971.01 kb/s
Hyper Pi - 32M ทดสอบการคำนวณค่าพาย 32 ล้านครั้ง โดยผลการทดสอบที่แสดงออกมาจะใช้เวลาทั้งสิ้น 22.36 นาที (สำหรับค่าของคอร์แรก)
SiSoftware Sandra
Processor Arithmetic - มีคะแนนในส่วน Dhrystone ALU อยู่ที่ 45.23GIPS ส่วนคะแนนใน Whetstone FPU จะอยู่ที่ 27.18GFLOPS
Memory Bandwidth - มีคะแนนในส่วน Integer Memory Bandwidth อยู่ที่ 9.32GB/s ส่วนคะแนนใน Float Memory Bandwidth จะอยู่ที่ 9.313GB/s
Multi-Core Efficiency - มีคะแนนในส่วน Inter-Core Bandwidth อยู่ที่ 17.951GB/s ส่วนคะแนนใน Inter-Core Latencyจะอยู่ที่ 49ns
Windows 7 Score
HD Movie Test ในส่วนการทดสอบรับชมภาพยนตร์ Full HD 1080p ที่เข้ารหัส MPEG4AVC ในฟอร์แมต Blu-Ray ด้วยการเปิดใช้งาน Hardware Acceleration ของกราฟิกชิปแยก ทำให้ปริมาณการใช้งานหน่วยประมวลผลไม่สูงและสามารถเปิดใช้งานโปรแกรมอื่นได้พร้อมๆ กับรับชมภาพยนตร์ความละเอียดสูง
Games Performance Test
Heaven Benchmark 2.1
ตั้งความละเอียดหน้าจอที่ 1,280x720 / Shaders : High / Textures : High / DirectX 11 พบว่าสามารถทำคะแนนเฟรมเรทอยู่ที่ 6.9 เฟรมต่อวินาที และคะแนนรวมอยู่ที่ 174 คะแนน
Lost Planet 2 DEMO
ตั้งความละเอียดหน้าจอที่ 1,280x720 เปิด Motion Blur ปรับ Texture Details, Rendering Level เป็น High และปรับ Shadow Details เป็น Middle ผลที่ได้คือคะแนนเฟรมเรทจากการทดสอบที่ฉาก A อยู่ที่ 23.8 เฟรมต่อวินาที
Street Fighter IV
สุดท้ายกับการทดสอบเกม Street Fighter IV ด้วยการตั้งความละเอียดทั้งหมดอยู่ในช่วงกลางและสูง ทำให้คะแนนเฟรมเรทตกอยู่ที่ประมาณ 31.22 เฟรมต่อวินาที แต่ถ้ามีการปรับค่ากราฟิกให้ต่ำลงมากว่านี้คะแนนเฟรมเรทที่ทำได้จะสูงขึ้นถึงสูงสุดเกือบ 60 เฟรมต่อวินาทีได้อย่างสบาย
Battery Test
ในส่วนการทดสอบแบตเตอรีด้วยการตั้งค่าพลังงานเป็น High Performance พบว่าการชาร์จไฟหนึ่งครั้งสามารถใช้โน้ตบุ๊กได้ประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง - 3 ชัวโมงครึ่ง
สรุป
สำหรับ MSI FX420 ยังคงคอนเซ็ปต์โน้ตบุ๊กประสิทธิภาพสูงและมีราคาที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่สามารถสัมผัสได้ (ไม่เกิน 3 หมื่นบาท) ตามแบบฉบับของ MSI ไว้เหมือนเดิม โดยในส่วนของบอดี้และการเก็บรายละเอียดของงานถึงแม้จะอยู่แค่ในระดับน่าพอใจ ไม่เนียบและเนียนเหมือนหลายๆ แบรนด์ แต่ในด้านฟังก์ชันและสเปกก็ถือว่าตอบโจทย์คนที่ต้องการโน้ตบุ๊กสเปกแรงแต่ไม่ต้องการราคาที่สูงมากได้อย่างน่าสนใจ
แต่ทั้งนี้เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นโน้ตบุ๊กที่บรรจุฟังก์ชันมาอย่างครบครันทำให้น้ำหนักตัวของ MSI FX420 จึงอยู่ที่ประมาณ 2 กิโลกรัมกว่าๆ และเมื่อรวมน้ำหนักกับ Adapter แปลงไฟแล้ว น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นอีกเล็กน้อยก็อาจจะทำให้การพกพาใส่กระเป๋าหลังเพื่อนำติดตัวไปท่องเที่ยวหรือพกพาไปทำงานนอกสถานที่ทำได้ไม่สะดวกนัก นอกจากนั้นฟังก์ชัน AMD Switchable Graphics ที่ทำงานคล้ายกับ NVIDIA Optimus ก็มีปัญหาเรื่องการสับเปลี่ยนกราฟิกชิปไม่แพ้กันทั้ง 2 ค่าย เช่น อาการสลับกราฟิกชิปแล้วไม่มองไม่เห็นกราฟิกชิปที่ต้องการเปลี่ยนหรือบางครั้งมีอาการ Driver Stop ทำให้ต้อง Restart เครื่องก่อนใช้งานเสมอ
ขอชม
- ราคาจับต้องได้เมื่อเทียบกับสเปกและฟังก์ชันที่ให้มา
- บอดี้กันรอยขีดข่วน จับกระชับมือ
- ลำโพงให้เสียงที่ดี
ขอติ
- การเก็บงานยังไม่เรียบร้อยนัก
- น้ำหนักรวมค่อนข้างหนัก
Company Related Link :
MSI