xs
xsm
sm
md
lg

“โออิชิ” รักษ์โลก ลดปัญหาอาหารส่วนเกิน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

  • • ปัญหาอาหารสูญเสีย (Food Loss) และอาหารเหลือทิ้ง (Food Waste) ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • • ปริมาณอาหารที่เหลือทิ้งนั้นสูงมาก เป็นส่วนเกินที่ไม่จำเป็น


อีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน มาจากปัญหาอาหารที่สูญเสียระหว่างกระบวนการผลิตและส่วนที่เหลือจากการบริโภค (Food Loss and Food Waste) ที่เป็นส่วนเกินเหลือทิ้งไปอย่างเปล่าประโยชน์จำนวนมาก ซึ่งควรได้รับความร่วมมือแก้ไขอย่างจริงจังและเร่งด่วนจากทุกภาคส่วนของสังคม

ด้าน บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ให้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นรายใหญ่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรอาหาร และเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้วางนโยบายและแผนกลยุทธ์การขับเคลื่อนรูปแบบการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน โดยการลดปริมาณอาหารส่วนเกิน และการบริหารจัดการอาหารส่วนเกินให้ได้ประโยชน์สูงสุด ผ่านกิจกรรม และการดำเนินงานรูปแบบต่าง ๆ อย่างรอบด้าน อาทิ โครงการ #กินหมดเกลี้ยง CHALLENGE หรือแม้แต่โครงการ ไม่กินบอก...เอาออกให้ เป็นต้น อีกหนึ่งในโครงการสำคัญ คือ ภารกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนอาหารส่วนเกินให้มีประโยชน์สูงสุด โดยการส่งต่อให้กับชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือด้านอาหาร พร้อมประสานความร่วมมือ เชื่อมโยงธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิ สู่องค์กรการกุศล และชุมชน (ที่มีความต้องการอาหาร) เพื่อร่วมขับเคลื่อนและสร้างความเท่าเทียมทางอาหารในสังคมไปด้วยกัน


สำหรับภารกิจฯ ดังกล่าวนี้ เป็นการส่งมอบวัตถุดิบและอาหารส่วนเกินที่มีคุณภาพและความปลอดภัย สามารถนำไปบริโภคหรือปรุงประกอบเป็นอาหารได้ ซึ่งคัดสรรเป็นอย่างดีจากร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิ ประกอบด้วยแบรนด์ต่าง ๆ เบื้องต้น ได้แก่ (1) โออิชิ บุฟเฟต์ (2) โออิชิ อีทเทอเรียม (3) ชาบูชิ และ (4) นิกุยะ จำนวนกว่า 20 สาขา ให้กับผู้คนและชุมชนเป้าหมายที่มีความต้องการ แต่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ ภายใต้ความร่วมมือในโครงการ “รักษ์อาหาร” โดย มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ ในประเทศไทย (SOS THAILAND) หรือมูลนิธิกู้ภัยอาหารแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นตัวกลางในการดำเนินการ และร่วมจัดการอาหารส่วนเกินนี้

โดยก่อนเริ่มดำเนินการ ในทุก ๆ สาขาที่เข้าร่วมภารกิจฯ ทีมพนักงานจะได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ฝ่ายประกันคุณภาพ (QA) ของบริษัทฯ ตามข้อกำหนดร่วมกันของ เอสโอเอส ประเทศไทย ในเรื่องการจัดการอาหารส่วนเกิน และการจัดการวัตถุดิบอาหารอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ตลอดจนขั้นตอนการจัดการอาหารส่วนเกินอย่างถูกสุขลักษณะและปลอดภัย พร้อมสำหรับการส่งมอบ ต่อไป


ทั้งนี้ ภารกิจฯ ดังกล่าว เริ่มดำเนินการครั้งแรกตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 ขณะที่ปัจจุบันยังคงดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว และยังตั้งเป้าเตรียมขยายการสนับสนุนจากร้านอาหารในเครือสาขาอื่น ๆ เพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย

“โออิชิ” เรามีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนประเด็นวาระการจัดการอาหารส่วนเกินในกระบวนการผลิตและการจัดจำหน่าย เปลี่ยนอาหารส่วนเกินเป็นคุณค่าโภชนาการ เพื่อส่งต่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม อันมีส่วนช่วยในการลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศลงได้อีกทางหนึ่ง










กำลังโหลดความคิดเห็น