xs
xsm
sm
md
lg

BEM เผยปีนี้ สั่งซื้อรถไฟฟ้า 53 ขบวน ปี 71 เปิด”สีส้ม”ส่งต่อผู้โดยสารดันยอด”สีน้ำเงิน”แตะ 6 แสนคน/วัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



BEM เตรียมสั่งซื้อรถไฟฟ้า 53 ขบวน แบ่งเป็น”สีส้ม” 32 ขบวน และสีน้ำเงิน21 ขบวน เพื่อองรองรับผู้โดยสารเพิ่ม คาดเปิดสายสีส้ม ปี71 ส่งต่อผู้โดยสาร80% เข้าสีน้ำเงินดันยอดแตะ 6 แสนคน/วัน ถึงคุ้มทุนมีกำไร

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทฯ ได้ลงนามสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) จะทำให้ธุรกิจของบริษัทได้รับผลดี โดยคาดว่า สายสีส้ม จะมีผู้โดยสารมากกว่า 1 แสนคน-เที่ยว/วัน โดยจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้ม ประมาณ 80% จะเข้ามาเติมในระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่ง มีจุดเชื่อมต่อที่สถานีศูนย์วัฒนธรมแห่งประเทศไทย ซึ่งจะทำให้จำนวนผู้โดยสารสายสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นไปแตะ 6 แสนคน-เที่ยว/วัน ซึ่งจะถึงจุดคุ้มทุน (Breakeven) และเริ่มมีกำไร ส่วน ประเมินว่ารถไฟฟ้าสายสีส้ม จะใช้เวลาหลังเปิดเดินรถฝั่งตะวันออก ประมาณ 6-7 ปี จึงจะถึงจุดคุ้มทุน

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา BEM เติบโตแบบ ค่อยเป็นค่อยไป โดยผู้โดยสารรถไฟฟ้าจะเติบโตประมาณปีละ 4-5% เพราะปัจจัยมาจากการพัฒนาในพื้นที่ตามแนวสายทาง เปิดคอนโด หรือ ออฟฟิค ศูนย์การค้าต่างๆ แต่หลังเปิดสายสีส้ม ในปี 2571 จะเป็นการเติบโตแบบ Big Jump เพราะเป็นการส่งผู้โดยสารล็อตใหญ่ การที่มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 1 แสนคน จากผู้โดยสาร 5 แสนคน เท่ากับเพิ่มขึ้น 20% รายได้และกำไรก็โตตามไปด้วย และมีผลต่อรายได้ของบริษัท ที่ปัจจุบัน สัดส่วนรายได้จากธุรกิจทางด่วน 60% และรายได้ธุรกิจรถไฟฟ้า สัดส่วน 40% จะกลับด้านเป็น รายได้จากธุรกิจรถไฟฟ้า สัดส่วน 60% รายได้จากธุรกิจทางด่วน 40% แต่ธุรกิจทางด่วน จะมีกำไรมากกว่าธุรกิจรถไฟฟ้า เพราะธุรกิจทางด่วนไม่มีการตัดค่าเสื่อมอีกแล้ว

“ตั้งแต่ ปี 2571 เป็นต้นไป ภาพของBEM จะเปลี่ยนไปจากปัจจุบัน เพราะนอกจากเปิดสายสีส้มที่จะส่วผู้โดยสารเข้ามาในระบบสายสีน้ำเงินประมาณ 1 แสนคน/วันแล้ว คาดว่าประมาณปี 2572 รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ น่าจะเปิดให้บริการ ซึ่งคาดว่าจะมีการส่งต่อผู้โดยสารเข้าสายน้ำเบินอีกประมาณ 1 แสนคน /วัน

นายสมบัติ กล่าวว่า บริษัทเตรียมสั่งซื้อขบวนรถไฟฟ้าขบวน ๆละ 3 ตู้ เพื่อใช้ในการเดินรถโครงการสายสีส้ม จำนวน 32 ขบวน วงเงินลงทุนกว่า 3 หมื่นล้านบาท และให้บริการ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน อีก 21 ขบวน (ปัจจุบันสายสีน้ำเงินมีรถไฟฟ้าอยู่ 54 ขบวน) เพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสาร สายสีน้ำเงินที่จะเพิ่มขึ้นจากสายสีส้มที่ส่งต่อเข้ามา โดยหลักการจะสั่งซื้อ รถทั้ง 2 ชุดนี้พร้อมกัน ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาเทคโนโลยี และข้อเสนอด้านราคาของผู้ผลิตที่เหมาะสม


กำลังโหลดความคิดเห็น