xs
xsm
sm
md
lg

นิด้าจัดสัมมนาการพัฒนาที่ยั่งยืนและการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในสภาวะทางเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ‘ชีวิตที่ดี’ ของเรา ไม่ได้วัดกันที่รายได้ทางเศรษฐกิจแต่เพียงลำพัง แต่ยังสะท้อนผ่านหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม อิสรภาพในการแสดงความคิดเห็น ชีวิตคู่ เป็นต้น การเพิ่มมูลค่าให้กับชีวิตซึ่งก็คือ “คน” นำไปสู่การสร้างมูลค่าให้กับ “องค์กร” เพื่อก้าวต่อไปใน
 การขับเคลื่อนประเทศและโลก แม้ในปัจจุบันบริบทของทุกประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับสภาวะความผันผวนทางเศรษฐกิจ และสภาวะของปัญหาเงินฝืด - เงินเฟ้ออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การทำความเข้าใจในหลักเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยความสุข ซึ่งเป็นผลผลิตของการตัดสินใจเลือกระหว่างการพัฒนาทางจิตใจกับความเจริญทางวัตถุ ในระดับบุคคล ความสุขที่มิได้ถูกกำหนดจากสภาพทางวัตถุแต่เพียงอย่างเดียว แต่องค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งมาจากเงื่อนไขทางจิตใจที่แตกต่างกันของมนุษย์ ในการสร้างความสุขและการผ่อนคลายตนเองจากความทุกข์ อีกทั้งการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างความสุขในแบบที่ตัวเราเลือกเองได้ ก็จะช่วยให้ตัวเราสามารถยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางความผันผวนทางเศรษฐกิจของประเทศและความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็นศูนย์ศึกษา รวบรวมองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการศึกษาการบริหารการพัฒนาประชาคมอาเซียน ซึ่งปัจจุบันมี รองศาสตราจารย์ พันตำรวจโท ดร.เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์ เป็นผู้อำนวยการ ได้จัดทำโครงการสัมมนาเพื่อร่วมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่เข้าใจง่าย พร้อมนำไปปฏิบัติได้จริงให้กับผู้ที่สนใจและประชาชนทั่วไป โดยมีหัวข้อการสัมมนา 2 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ 1) “เศรษฐศาสตร์แห่งความสุข” มีพระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ (ดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย) เป็นผู้บรรยาย และ 2) “ความสุขที่คุณเลือกได้” มี คุณธันย - ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ เป็นวิทยากร โดยจัดที่ห้องประชุม ดร.สมศักดิ์ และ คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ชั้น 2 อาคารสยามบรมราชกุมารี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  ในวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00 –16.30 น. ซึ่งเปิดให้ลงทะเบียนเข้ารับฟังโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนผ่าน QR Code หรือ ติดต่อผู้ประสานได้ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โทร 0 2727 3645 , 0 2727 3605 หรือ E-mail: SuDSESC@nida.ac.th


กำลังโหลดความคิดเห็น