xs
xsm
sm
md
lg

ซีอีโอ BDMS เปิดยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนความยั่งยืน ครองแชมป์อันดับ 1 กลุ่มบริการแพทย์ ชู 3 มิติขึ้นอันดับโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



แพทย์หญิง ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน BDMS สู่ความยั่งยืนว่า ปัจจุบันบริษัททั่วโลกให้ความสำคัญต่อการบริหารและจัดการองค์กรอย่างยั่งยืน สำหรับเรื่องนี้ต้องมองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยเกณฑ์การประเมินของประเทศไทยและต่างประเทศจะอยู่บนพื้นฐาน 3 ข้อเหมือนกัน คือ หลักการ E S G โดยในส่วนของ BDMS เริ่มจากเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ THSI (Thailand Sustainability Investment) ก่อน เมื่อเราผ่านเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แล้ว BDMS ก็ตั้งเป้าหมายไปสู่ DJSI ซึ่งนับเป็นความท้าทาย ผู้บริหารและทีมงานในองค์กรจึงหารือว่าเราพร้อมจะก้าวต่อไปแล้วหรือยัง คำตอบก็คือว่า “ต้องไป ไม่ไปไม่ได้” เมื่อพิจารณาแล้วว่าในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังไม่มีบริษัทใดเลยที่เป็นต้นแบบของความยั่งยืนในกลุ่มธุรกิจ Health Care จึงเป็นความท้าทายอันดับหนึ่งของ BDMS 

"ในที่สุดเมื่อตัดสินใจที่จะทำแล้ว เราจึงขับเคลื่อนให้ทั้งองค์กรเห็นเป้าหมายร่วมกันผ่านการสื่อสารในทุกระดับ เพราะการทำความเข้าใจภายในองค์กรเป็นเรื่องที่สำคัญ เราตั้งใจจะไม่ทำ Top down หรือเป็นคำสั่งลงมา แต่ต้องทำไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการในหลายมิติ ซึ่งได้ลงมือทำมาตลอดสามปีที่ผ่านมา ซึ่งรวบรวมข้อมูลภายในองค์กรทั้ง 3 เรื่อง ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล และพบว่ามีบางส่วนที่เราดำเนินการอยู่แล้ว จากโรงพยาบาลทั้งหมด 50 กว่าแห่งทั่วประเทศ” แพทย์หญิง ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กล่าว

สำหรับพันธกิจที่มุ่งมั่นมอบการบริการที่เป็นเลิศ BDMS ได้ขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่คุณค่าใหม่ให้แก่สังคม สร้างความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงการให้บริการด้านสุขภาพ ส่งเสริมการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำและต้นแบบด้านการบริการสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีบนวิถีแห่งความยั่งยืน ที่ตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน พร้อมสร้างเครือข่ายการพัฒนาธุรกิจการแพทย์อย่างยั่งยืนทั้งห่วงโซ่อุปทานภายในปี 2030

ชูโมเดลมิติ  ESG สร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ
      
ทั้งนี้ BDMS ได้กำหนดกรอบการดำเนินงานเพื่อใช้ในการสื่อสารแนวปฏิบัติสำหรับองค์กรธุรกิจในเครือ รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง พร้อมได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรมในมิติ ESG ได้แก่

มิติด้านเศรษฐกิจ ร่วมพัฒนานวัตกรรม สร้างขีดความสามารถการรักษาพยาบาลเพื่อส่งคืนคุณค่าสู่สังคม ในการปรับตัวสู่การเป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะ และมุ่งสู่การเป็นผู้นำการให้บริการด้านสุขภาพนวัตกรรมครบวงจร และตอบสนองความคาดหวังของกลุ่มผู้รับบริการที่มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ตามหลักการพัฒนาธุรกิจสุขภาพอย่างยั่งยืน เช่น

     - การพัฒนา BeDee Telehealth platform เพื่อบริการการแพทย์และดูแลสุขภาพอย่างทันท่วงที 24 ชั่วโมง 7 วัน โดยผู้เชี่ยวชาญจาก BDMS เสมือนการเข้ารับบริการในโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล 

    - นวัตกรรมการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมด้วยเทคนิคใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ (Direct Anterior Approach Hip Replacement หรือ DAA) ส่งคืนประโยชน์ด้านสุขภาพแก่ประชาชนชาวไทย ลดระยะเวลาวันนอนพักรักษาตัว มากกว่าร้อยละ 50 การฟื้นตัวรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังได้มีการอบรมความรู้นวัตกรรมการผ่าตัดที่ได้รับการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับ ทั้งมหาวิทยาลัยในไทย และต่างประเทศ กว่า 20 แห่ง

มิติด้านสิ่งแวดล้อม กำหนดเกณฑ์ BDMS Green Healthcare มุ่งสู่ Net Zero

โครงการ BDMS Green Healthcare จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่เป็นข้อกำหนดการจัดการสิ่งแวดล้อมของ BDMS และส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดําเนินธุรกิจ สนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ผ่านกลไกการกำหนดเกณฑ์การประเมินการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในกลุ่มโรงพยาบาล และหน่วยงานในเครือ BDMS โดยดำเนินการเป็นปีที่ 3 ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 50 ของกลุ่มธุรกิจ

มิติด้านสังคม ส่งเสริมความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ

สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล มุ่งส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่บุคลากร และการดำเนินการเคารพสิทธิมนุษยชน (Human Rights) รอบด้านอย่างต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยปีที่ผ่านมาเรามุ่งเน้นการสร้างความเท่าเทียม ไม่แบ่งแยก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมในแต่ละสาขาวิชาชีพ หมอ พยาบาล พนักงานสนับสนุน เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน 

นอกจากนี้ BDMS ยังตระหนักถึงความสำคัญในการขยายโอกาสในการเข้าถึงการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ โดยนำองค์ความรู้ขององค์กรผ่านการจัดโครงการเพื่อสังคม “BDMS อบรมการช่วยชีวิต” ซึ่งอบรมแก่ผู้มีส่วนได้เสียครอบคลุมทั่วประเทศไทยมากกว่า 60,000 ราย โดยร่วมกับมูลนิธิเวชดุสิตฯ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและมอบโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาผ่าน “โครงการอิ่มบุญ” “โครงการผ่าเข่าในกลุ่มผู้ป่วยยากไร้” มากกว่า 170 เข่า และสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาพยาบาล “โครงการเวชดุสิต ปลูกต้นกล้า สร้างพยาบาล” มากกว่า 102 ทุน 

ในความท้าทายสำคัญ สำหรับการพัฒนาไม่ว่าในด้านใดสำหรับองค์กร ได้แก่ การสื่อสารความมุ่งมั่นเป้าหมาย ให้ทุกภาคส่วนในองค์กรมีความเข้าใจ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียว และมีส่วนร่วมในการนำพาองค์กรก้าวสู่การธุรกิจยั่งยืน BDMS มีการสื่อสารถึงกรอบแนวคิด เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจ และมุ่งมั่นถึง BDMS (Beyond excellence : Developmental innovation :Meaningful sustainability engagement : Social contribution)

จากการสื่อสาร และความร่วมมือเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ก่อให้เกิดการพัฒนายั่งยืนที่มีประสิทธิภาพในทุกมิติ ส่งผลให้สามารถรวบรวมข้อมูลสำคัญครบทุกภาคธุรกิจของ BDMS แบบ 100% ซึ่งสิ่งที่ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ BDMS สามารถวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมขององค์กร ประกอบกับการประเมินจากองค์กรภายนอก เช่น DJSI ทำให้เรามองเห็นจุดที่เราสามารถพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อให้เห็นถึงความเสี่ยงที่อาจเกิด สามารถวางแผนการพัฒนาองค์กรธุรกิจให้เกิดความยั่งยืนได้อย่างมีทิศทาง และมั่นคง

อย่างไรก็ตามBDMS กำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เป็นระบบ โดยเริ่มจากการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย ผู้แทนจากผู้บริหารในทุกกลุ่มธุรกิจ และทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อกลั่นกรอง และกำหนดเป้าหมาย และนโยบาย เพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดพื้นที่เพื่อกระตุ้นให้พนักงานในทุกระดับได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อความยั่งยืน ผ่านเวที BDMS Awards ประกอบด้วย การอบรมความรู้ด้านนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน และการบ่มเพาะโครงการนวัตกรรมด้านความยั่งยืน รวมถึงโครงการนวัตกรรมสีเขียว และการมีส่วนร่วมต่อชุมชน เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดย BDMS Awards ได้จัดการประกวดอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปี โดยในปี 2567 ได้มีการโครงการเข้าร่วมจากทุกกลุ่มธุรกิจมากกว่า 700 โครงการ

วางกลยุทธ์เป็น Global Medical  Hub
     
แพทย์หญิง ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) กล่าวต่อไปถึงแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ของภาครัฐที่มุ่งพัฒนาประเทศไทยในการก้าวเข้าสู่การเป็น Global Medical  Hub และจากกระแสความสนใจด้านสุขภาพในปัจจุบัน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ถือเป็นหนึ่งในโอกาสสำคัญที่ธุรกิจด้านการแพทย์และบริการสุขภาพจะสามารถพัฒนามาตรฐานการบริการ เพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการ เพื่อประสบการณ์ที่เป็นเลิศ

อย่างไรก็ดี ธุรกิจด้านการแพทย์ในปัจจุบันยังมีความท้าทายจากการบริหารจัดการด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งถือเป็นกลุ่มคนที่มีความขาดแคลน และการบริหารจัดการกระบวนการบริการการแพทย์ที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ เช่น การใช้ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อลดภาระงานของแพทย์ และเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค รวมถึงการใช้นวัตกรรมสีเขียว เพื่อติดตามการใช้พลังงาน และปรับให้เกิดความสมดุล อันจะส่งผลให้เกิดการสร้างมลพิษน้อยที่สุด

ทั้งนี้ สิ่งท้าทายสำคัญคือ การรักษาสมดุลในการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม และการรักษามาตรฐานด้านบริการ และความปลอดภัยทางการแพทย์ รวมถึงการวิเคราะห์เชิงลึก เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการใช้นวัตกรรมสีเขียว เพื่อส่งมอบการบริการการแพทย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการคงค่าใช้จ่าย โดยไม่ผลักภาระสู่ผู้รับบริการ เพื่อให้สามารถส่งมอบการบริการทางการแพทย์ที่มีคุณค่าให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงได้

ตั้งเป้า BDMS มุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนทั้ง 3 มิติ 
   
แพทย์หญิง ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินงานในปี 2024-2026 BDMS มุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนทั้ง 3 มิติ 

    - ด้านสิ่งแวดล้อม เน้นการก้าวสู่ Net Zero ในปี 2050 ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน มุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเน้นหลักด้านจัดการขยะจากโรงพยาบาล โดยการ upcycling ถุงน้ำเกลือ เพื่อผลิตเป็นชุด PPE นอกจากนี้ยังมุ่งพัฒนาโรงงานยา และน้ำเกลือของธุรกิจในเครือ ซึ่งถือเป็นห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญของการบริการการแพทย์ เพื่อพัฒนาเป็นระบบอุตสาหกรรมสีเขียว

    - ด้านสังคม ยังคงให้ความสำคัญต่อการดูแลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ทั้งบุคลากรภายใน พันธมิตรธุรกิจ และชุมชนโดยรอบ เพื่อให้ความเป็นอยู่ที่ดี สามารถเข้าถึงบริการการแพทย์และการดูแลสุขภาพได้อย่างเสมอภาค ผ่านโครงการอบรมทักษะการช่วยชีวิต การใช้ Tele Mental Health ดูแลสุขภาพใจ โดยเน้นในกลุ่มสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นแหล่งรวมของเหล่าคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ และพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในห่วงโซ่อุปทานสำหรับธุรกิจการแพทย์

    - ด้านเศรษฐกิจ มุ่งกระตุ้นการพัฒนานวัตกรรม ทั้งจากการส่งเสริมการวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำ เพื่อยกระดับมาตรฐานการบริการ ควบคู่กับการร่วมมือกับคู่ค้า เพื่อการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานสีเขียว พัฒนากระบวนการทำงาน เพื่อลดการเบียดเบียนต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลทางธุรกิจ


กำลังโหลดความคิดเห็น