xs
xsm
sm
md
lg

“ร้านโชวห่วย” และ “ร้านสะดวกซื้อ” ความเหมือนที่แตกต่างอยู่คู่สังคมไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่ากระแสย้อนยุคไม่ว่าจะเป็นสีสันของยุค 90s เทรนด์ Y2K กำลังกลับมาฮิตและพูดถึงกันอีกรอบ ทำให้อดคิดถึงบรรยากาศเก่าๆ ที่โลกยังไม่มีโซเชียลมีเดีย หรือสื่อสังคมออนไลน์ เข้ามา Disrupt เหมือนในปัจจุบันได้
 
หากย้อนเวลาไปในยุค 90s เราคงจะมีชีวิตที่อยู่ในช่วงอายุ 12 ปีขึ้นไป หรือราวๆ ค.ศ. 1990-1999 หรือ พ.ศ. 2533-2542 เป็นยุคสมัยที่มีเสน่ห์และมีความโดดเด่นเฉพาะตัว เป็นยุคที่คาบเกี่ยวระหว่างยุคแอนะล็อกกับยุคดิจิทัลที่ทุกสิ่งทุกอย่างยังไม่ได้เชื่อมโยงถึงกันได้ง่ายดายและรวดเร็วดังเช่นทุกวันนี้ รวมถึงความสนุกและสีสันด้านสังคม วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นการละเล่นของเด็กๆ เพลง แฟชั่น ข้าวของเครื่องใช้ ภาพยนตร์ การ์ตูน เป็นต้น
 
หากลองคิดเปรียบเทียบภาพความทรงจำในวันวานและความเป็นปัจจุบันที่เราพบเจอ เชื่อว่าหลายๆ คนก็คงได้สัมผัสกับบรรยากาศของการย้อนยุคที่จับต้องได้ ผ่านสิ่งที่เราพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน แค่เพียงการก้าวออกมาจากบ้าน ภาพจำนั้นก็จะปรากฏให้เราเห็นได้ง่าย นั่นคือ “ร้านโชวห่วย” และ “ร้านสะดวกซื้อ” ความเหมือนที่แตกต่างกันเพียงแค่... เราก็จะได้สัมผัสเสน่ห์ของวัฒนธรรมความเหมือนที่แตกต่าง ที่อยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว
 
ย้อนบรรยากาศ “เสน่ห์ความคลาสสิก” ของร้านโชวห่วย
- ร้านโชวห่วยส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้ หรือ อยู่ในชุมชน
- สินค้าราคาถูกหรือราคาเป็นกันเอง แถมต่อรองราคาได้
- รับของก่อน จ่ายทีหลัง
- มีสินค้าแบ่งขายตามความต้องการ
- มีสินค้าที่ต้องการเฉพาะ หรือสินค้าที่เป็นที่ต้องการในชุมชนนั้นๆ
- มีความคุ้นเคยหรือมีความสัมพันธ์ที่ดีเสมือนญาติพี่น้อง
- เป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ในชุมชน
 
“ร้านสะดวกซื้อ” ตอบโจทย์ด้วยเทคโนโลยีและสอดรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
>- สินค้าสดใหม่ ทันสมัย สะอาด ติดแอร์
-  เปิดตลอด 24 ชั่วโมง
- มีโปรโมชัน ลด แลก แจก แถม
- เชื่อมระบบทั้งออนไลน์และออฟไลน์
- มีบริการส่งสินค้าถึงบ้าน
- มีบริการชำระเงินค่าใช้จ่ายอื่นๆ
 
อดีตไม่เลือนหายไปจากสังคมไทย ด้วยปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการธุรกิจโชวห่วยขนาดเล็กประมาณ 400,000 ราย และโชวห่วยขนาดกลาง จำนวนกว่า 18,000 ราย ธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย กลุ่มใหญ่ยังคงอยู่ที่ “ร้านโชวห่วย” ในสัดส่วนแบ่งทางการตลาด 44% รองลงมาคือร้านสะดวกซื้อ 31.8% และไฮเปอร์มาร์เกต 24.1% ซึ่งร้านโชวห่วยยังคงมีทั้งร้านที่เก่าแก่อยู่มานานส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ถึงแม้จะมีจำนวนของร้านที่ปิดตัวลงไปบ้าง แต่ในเวลาเดียวกันก็มีร้านเกิดใหม่ตลอดเวลา
 
บทสรุปของความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง “ร้านโชวห่วย” กับ “ร้านสะดวกซื้อ” คงไม่มีคำจำกัดความได้เพียงแค่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่การที่ทั้ง 2 ยังอยู่คู่กับสังคมไทย การปรับตัวให้เข้าตามยุค ตามสมัย เสน่ห์ของความดั้งเดิมและความใกล้ชิดกับสังคมไทย วัฒนธรรมไทยที่อยู่กันอย่างญาติพี่น้อง ยอมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ ที่มาพร้อมกับการมอบสินค้าและบริการความสะดวกให้แก่ลูกค้าในทุกชุมชนเหมือนกัน ไม่ว่าเราจะผ่านช่วงเวลาในยุคไหน ต่างก็มีความทรงจำและภาพจำที่เราผูกพัน เป็นความเหมือนที่แตกต่างร่วมกันของสังคมไทยที่เราคุ้นเคยกันมานานหลายสิบปี                  


กำลังโหลดความคิดเห็น