xs
xsm
sm
md
lg

“คิวเฟรช” จับตาน้ำเสียที่ญี่ปุ่น เร่งขยายพอร์ตโฟรเซ่นส์ซีฟู้ด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้จัดการรายวัน 360 – “คิวเฟรช” จับตาโรงงานที่ญี่ปุ่นปล่อยน้ำเสียลงทะเล ยันยังไม่มีผลกระทบตอนนี้ เพราะสินค้านำเข้รามาก่อนหน้านี้ ชี้เตรียมทางแก้รับมือแล้ว เดินเกมรุก ขยายพอร์ตโฟลิโอมากขึ้น นอกจากกุ้ง เปิดตัวสินค้าใหม่ ดึง “แบงก์-ธิติ” พรีเซ็นเตอร์ เจาะ นิวเจน


นายธนโชติ บุญมีโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยยูเนียน ออนไลน์ จำกัด จัดจำหน่ายอาหารทะเลแช่แข็ง (Frozen Seafood) แบรนด์ คิวเฟรช (Qfresh)ในเครือของไทยยูเนียนกรุ๊ป เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ในประเทศญี่ปุ่นกรณีที่โรงงานผลิตนิวเคลียร์มีการปล่อยนำ้จากระบบการผลิตลงสู่ทะเล ซึ่งทำให้หลายฝ่ายมีความเป็นห่วงเรื่องผลกระทบกับสัตว์ทะเลและความปลอดภัยของสัตว์ทะเล บริษัทฯเองก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก เนื่องจากบริษัทฯก็มีการนำเข้าสินค้าสัตว์ทะเลบางอย่างจากญี่ปุ่่นเข้ามา เช่น หอยโฮตาเตะ ปลาฮามาจิ เป็นต้น

ในขณะนี้ยังไม่มีปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าบริษัทฯจับตาดูใกล้ชิด อย่างไรก็ตามเนื่องจากสินค้าที่นำเข้ามานั้น เป็นสินค้าที่นำเข้ามาก่อนหน้าที่จะเกิดสถานการณ์ดังกล่าวขึ้น และจะมีสต๊อกไปถึงอย่างน้อยถึงสิ้้นปีนี้ จึงยังไม่มีผลกระทบอะไรมากนัก แต่บริษัทก็เตรียมหาทางออกรองรับไว้หากมีปัญหาขึ้นมา โดยจะพิจารณานำเข้าจากแหล่งอื่นประเทศอื่นแทนโดยพิจารณาดููจากความต้องการของูลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งปัจขุบันนำเข้าจากหลายประเทศ ทั้งอมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น


นายธนโชติ กล่าวต่อถึงแผนการดำเนินธุรกิจด้วยว่า บริษัทฯมีแผนที่จะขยายไลน์สินค้าอาหารทะเลแช่แข็งออกไปให้กว้างมากขึ้นหลากหลายมากขึ้น เพื่อให้พอร์ตโฟลิโอมีสินค้ามาก และลดความเสี่ยง จากเดิมที่มุ่งเฉพาะ กุ้ง และเมนูที่มีส่วนหลักมาจากกุ้งเป็นหลัก ซึ่งขณะนี้ก็เริ่มมีมากขึ้ันแล้ว เช่น ปลากะพง สาหร่าย หอย เป็นต้น สัดส่วนมากกว่า 58% แล้ว และ กุ้ง 42% แต่ก็ไม่ได้มีการตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเป็นสัดส่วนเท่าไร ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด เพื่อให้เป็น วันสต๊อปเซอร์วิส สำหรับตลาด ทั้งในกล่มุผู้บริโภคทั่วไป กับกลุ่มธุรกิจฟูดเซอร์วิส

สำหรับภาพรวมธุรกิจของคิวเฟรชครึ่งแรกของปี 2566 มียอดขายรวมอยู่ที่ 130 ล้านบาท โดยสินค้าที่เป็นรายได้หลักของธุรกิจมาจากสินค้ากลุ่มกุ้ง 42% ส่วนที่เหลืออีก 58% เป็นปลา และซีฟู้ดประเภทอื่น ๆ ขณะที่ครึ่งหลังของปี 2566 มีแนวโน้มเติบโตดีกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากคิวเฟรชมีแผนออกสินค้าใหม่ในกลุ่ม Value added ที่เจาะกลุ่มทั้งการขายผลิตภัณฑ์จากเจ้าของธุรกิจสู่ผู้บริโภค (B2C) และธุรกิจบริการร้านอาหาร (Food Service) คาดว่าปีนี้จะมียอดขายรวมราว 230 ล้านบาท

ขณะที่ภาพรวมตลาดโฟรเซ่นซีฟู้ด จากตัวเลขของนีลเส็นระบุว่า ตลาดรวมมีมูลค่า 2,000 ล้านบาท (ไม่นับรวมช่องทางหลักใหญ่ๆเช่น แม็คโคร โลตัส เป็นต้น ) ปีที่แล้วตลาดรวมตกลง 4.6% ( โดยแยกเป็นกลุ่มหลักๆเช่น อาหารกล่องซีฟู้ด, วัตถุดิบที่มาจากซีฟู้ด ติดลบ 12.6%, กลุ่มซีฟู้ดทอด โต 10.2% และกลุ่มแพลนท์เบส ตกลง 7.7%) ส่งผลให้ภาพรวมเฉลี่ยออกมาติดลบ เนื่องจาก เมื่อหลังสถานการณ์โควิดในช่วงปีที่แล้ว ผู้บริโภคโภคออกมาทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น ไม่เหมือนช่วงโควิดระบาดหนัก ผู้คนซื้ออาหารแช่แข็งทานที่้่้บ้านมากขึ้นตลาดรวมจึงโตดี


“จากภาพรวมตลาดซีฟู้ดพร้อมทานในปัจจุบันที่มีอัตราเติบโตต่อเนื่องและมีศักยภาพสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมความอร่อย สะดวกสบาย มีคุณภาพ ทำให้บริษัทฯ ตั้งเป้าขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้นผ่านกลยุทธ์ Fandom เพื่อให้สินค้าคิวเฟรชเป็นที่รู้จักดียิ่งขึ้นจึงได้เลือก “แบงก์ ธิติ มหาโยธารักษ์” เป็นพรีเซ็นเตอร์คนล่าสุดของคิวเฟรช ” นายธนโชติ กล่าว

คิวเฟรชยังได้วางกลยุทธ์การใช้ Media กับ TVC ตัวใหม่ที่มี “แบงก์ ธิติ” นำเสนอใน Theme Magician man ผ่านช่องทางออนไลน์ รวมทั้งสื่อ Out of Home ตามสี่แยกขนาดใหญ่ และมีการจับมือกับเมเจอร์กรุ๊ป ในการใช้ Digital media บริเวณหน้าเมเจอร์และ Blu-O ทุกสาขา เพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างครบวงจร โดยสินค้าใหม่เป็นกลุ่ม pre-fried shrimp (breaded) หรืออาหารทะเลชุบแป้ง เป็นกุ้งชุบแป้งทอด 4 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด คือ กุ้งไส้เชดดาร์และครีมชีส, กุ้งเทมปุระ สไตล์ญี่ปุ่น พร้อมน้ำจิ้มเทมปุระ, ทอดมันกุ้ง พร้อมน้ำจิ้มบ๊วย และ กุ้งกรอบ พร้อมซอสทาร์ทาร์ จำหน่ายในราคาแพ็คละ 145 บาท




กำลังโหลดความคิดเห็น