xs
xsm
sm
md
lg

“ปรม.22 “สถาบันพระปกเกล้า จับมือ สวส. สร้างโมเดลกลุ่มชุมชน สานภูมิปัญญาหัตถกรรมท้องถิ่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คณะนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารภาครัฐและกฎหมายมหาชน รุ่นที่ 22 (ปรม.22) สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม(สวส.), เทศบาลอำเภอสันทรายหลวง, หน่วยงานพันธมิตรในจังหวัดเชียงใหม่ (พัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่, ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่, สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคเหนือ, สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่) และ กลุ่มชาวบ้านหัตถกรรมบ้านแม่ย่อย ร่วมสร้างโมเดลแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการสนับสนุน เพื่อส่งเสริมศิลปะและภูมิปัญญาท้องถิ่น ของกลุ่มหัตถกรรมบ้านแม่ย่อย ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน กับโครงการ “ศิลป์สืบสาน หัตถกรรมบ้านแม่ย่อย”

ทั้งนี้กลุ่มนักศึกษา ปรม.22 ได้ลงพื้นที่ อำเภอสันทรายหลวง จังหวดเชียงใหม่  เพื่อศึกษาปัญหากับกลุ่มชาวบ้านบ้านแม่ย่อย พบว่า ศิลปะ หัตถกรรม การแกะสลักลายบนโลหะที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน กำลังจะสูญหายไป ทางนักศึกษา ปรม.22 จึงริเริ่มโครงการ “ศิลป์สืบสาน หัตถกรรมบ้านแม่ย่อย” ซึ่งเป็นโครงการพัฒนากลุ่มชาวบ้าน ที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในชุมชนและมีเอกลักษณ์ของตนเอง ให้สามารถสร้างและพัฒนาธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวคิดและวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ โดยนักศึกษา ได้ร่วมมือกับ สวส. ในการจดทะเบียนกลุ่มกิจการบ้านแม่ย่อยเป็นกลุ่มกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อให้ได้รับการพัฒนาและสนับสนุนอย่างเป็นระบบ รวมทั้งดึงหน่วยงานการท่องเที่ยวในท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนแผนงาน โดยอาศัยเทศบาลตำบลสันทรายหลวง เป็นตัวช่วยขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนได้ในอนาคต ซึ่งจะประโยชน์ที่ได้รับ มีดังต่อไปนี้

การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน: ส่งเสริมการสร้างรายได้และอาชีพให้กับชุมชนท้องถิ่น ซึ่งช่วยลดอัตราการว่างงานและความยากจนในพื้นที่

การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น: ช่วยอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตและก้าวหน้าของชุมชนในระยะยาว

สร้างความร่วมมือและความสามัคคีในชุมชน: สร้างสัมพันธภาพ ช่วยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ก่อนสร้างสรรค์โครงการหรือแผนงาน รวมทั้งส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในชุมชนและหน่วยงานรัฐ

สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น: สร้างความมีค่าและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และบริการท้องถิ่น ซึ่งส่งเสริมการตลาดและการส่งออกในภูมิภาค
 
โดยท้ายสุดความสำเร็จของการเข้าร่วมการจดทะเบียนเป็นกลุ่มกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) และ แผนพัฒนาและปฎิบัติการ ที่ทำร่วมกันจากคนในชุมชน โดยมีเทศบาลตำบลช่วยขับเคลื่อน จะสามารถต่อยอดเป็นโมเดลทางเลือกให้ชุมชนอื่นเป็นแนวทางในการปฎิบัติ เพื่อคงไว้ซึ่งภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ในท้องถิ่นให้คงอยู่ อย่างยั่งยืน


กำลังโหลดความคิดเห็น