xs
xsm
sm
md
lg

ไม่คุ้มค่า!เอกชนเมินยื่นชิงทางด่วน"กะทู้-ป่าตอง" ชี้ลงทุนสูง กทพ.จ่อรวบ 2 เฟส"เมืองใหม่-เกาะแก้ว"เพิ่มดีมานด์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอกชนเมิน ยื่นประมูลทางด่วน"กะทู้-ป่าตอง" ชี้ลงทุนสูงไม่คุ้มค่า กทพ.รับค่าก่อสร้างเพิ่ม จ่อรวบ 2 เฟส ปั้นรวม PPP"เมืองใหม่-เกาะแก้ว"เพิ่มดีมานด์

รายงานข่าวจาก การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า จากที่ กทพ.ได้ออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ระยะทางรวม 3.98 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 14,670 ล้านบาท โดยขายเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชน (RFP) ตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค. 2565 ถึงวันที่ 25 ม.ค. 2566 ปรากฏว่ามีบริษัทเข้าซื้อซอง RFP รวมทั้งสิ้น 13 ราย โดยกำหนดรับซองเอกสารข้อเสนอในวันที่ 7 เม.ย. 2566 เวลา 09.00-15.00 น. นั้น ปรากฎว่า ไม่มีเอกชนรายใด เข้ายื่นข้อเสนอร่วมลงทุนโครงการฯ

รายงานข่าวแจ้งว่า สาเหตุ ที่เอกชนไม่เข้ายื่นประมูลครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่า โครงการมีมูลค่าลงทุนสูง และ มีผลตอบแทนไม่คุ้มค่าและไม่จูงใจในการร่วมลงทุนฯ ขณะที่ก่อนหน้านี้ กทพ.เองยอมรับว่าวงเงินค่าลงทุนโครงการ ปรับเพิ่มขึ้น อีกประมาณ 1,700 ล้านบาท แต่การประมูลยังไม่ได้ปรับมูลค่าลงทุนเพิ่ม อีกทั้งโครงการยังได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์โควิด 19 ที่ส่งผลทำให้นักท่องเที่ยวลดน้อยลงจากประมาณการผลการศึกษาเดิม และคาดว่าจะส่งผลให้ ปนิมาณจราจรลดลงจากการศึกษาด้วย


รายงานข่าวจาก กทพ.แจ้งว่า หลังจากนี้ กทพ.จะนำโครงการกลับมาพิจารณาทบทวนการดำเนินโครงการโดยอาจดำเนินโครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง (โครงการระยะที่ 1) ร่วมกับโครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ (โครงการระยะที่ 2) รวมเป็นโครงการเดียว เพื่อจูงใจให้เอกชนสนใจร่วมลงทุนมากยิ่งขึ้น โดยจะพิจารณามูลค่าลงทุนของโครงการ รวมทั้งระยะเวลาการให้สัมปทานเอกชนให้มีความสอดคล้องกับสภาะปัจจุบัน

สำหรับโครงการระยะที่ 2 คือ ทางพิเศษสายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ ระยะทาง 30 กม. มูลค่าลงทุน 35,800 ล้านบาท ซึ่งระหว่างศึกษาความเหมาะสมฯ โครงการ ฯ โดย โครงการในระยะที่ 2สายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ มีดีมานด์ และมีผลตอบแทนการลงทุนดี

อย่างไรก็ตามกทพ.จะมี ปรับ TOR ของโครงการใหม่ จากนั้นจึงจะเปิดประมูลใหม่ คาดล่าช้าอย่างน้อย2 ปี

สำหรับเอกชน 13 รายที่เข้าซื้อซอง ทางด่วนสายกะทู้-ป่าตอง ประกอบด้วย

1. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC
2. บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
3. บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD
4. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ
5. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM
6. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS
7. บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) หรือ NWR
8. บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ RT
9. บริษัท ช การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK
10. บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือ DMT
11. บริษัท EGIS
12. SRGB Bridge Engineering
13. ไชน่า เรลเวย์ 20 บิวโร กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด


กำลังโหลดความคิดเห็น