ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เทรนด์ของผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงไป และสิ่งที่เราเห็นว่ามีการพูดถึงขึ้นมากขึ้น คือเทรนด์ของการดูแลตัวเองของคนไทย โดยเฉพาะในแง่ของสุขภาพและความงาม
จากการศึกษาของ Nielsen CMV พบว่าในปีพ.ศ. 2565 ( ค.ศ.2022) คนไทยมีการซื้อผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสุขภาพและความงามถึง 84% โดยกลุ่มสุขภาพ เช่น วิตามิน อาหารเสริม มีการเติบโตขึ้น 229% จากปีพ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019)
โดยผู้บริโภคมีการใช้ช่องทางออนไลน์ในการช้อปปิ้งสินค้าเพื่อสุขภาพและความงามเพิ่มขึ้นถึง 292% และยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริโภคชาวไทยยังมีนิสัยที่รักสวยรักงาม โดยจากผลสำรวจ พบว่า 60% ต้องการดูอ่อนกว่าวัย และ 44% ต้องการมีผิวที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสทองสำหรับแบรนด์ในการทำการตลาด
เมื่อเทรนด์ของผู้บริโภคมีแนวโน้มสูงขึ้น แบรนด์เองก็มีการอัดเงินโฆษณาเพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์และแคมเปญต่างๆ จากข้อมูลของ Nielsen WizzAd+ ที่มีการจัดเก็บเม็ดเงินโฆษณา และข้อมูลการโฆษณาของแบรนด์ต่างๆ พบว่าแบรนด์ในกลุ่มสุขภาพและความงาม มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาในปีพ.ศ.2565มากกว่า 6.3 พันล้านบาท ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นๆ ที่ใช้เม็ดเงินโฆษณามากที่สุดในประเทศไทย
เพื่อสอดรับกับเทรนด์ของการช้อปปิ้งออนไลน์ แบรนด์ต่างๆ มีการเพิ่มเงินในการโฆษณา โดยเฉพาะช่องทางดิจิทัล โดย Nielsen WizzAd+ พบว่าจำนวน Impression หรือคนที่เห็นโฆษณาที่เกี่ยวกับสุขภาพและความงามในช่องทางดิจิทัลของช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาสูงถึง 632 ล้านครั้ง โดยส่วนใหญ่มาจากกลุ่มวิตามินและอาหารเสริม รองลงมาคือกลุ่มสกินแคร์ (กันแดด/ไวท์เทนนิ่ง)
นอกจากนี้ยังพบว่าในปี 2022 อุตสาหกรรมสุขภาพและความงามมีการแข่งขันในการโฆษณาที่สูงมาก โดย Nielsen WizzAd+ พบว่าในปี 2022 มีผลิตภัณฑ์ที่ลงเงินไปกับการโฆษณามากกว่า 1,300 ผลิตภัณฑ์โดยมีมีเดียครีเอทีฟในช่องทางดิจิทัลมากกว่า 36,000 ชิ้น ซึ่งแต่ละแบรนด์มีกลยุทธ์ในการออกแบบเพื่อให้สามารถดึงลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป โดย 93% เป็นโฆษณาแบบดิสเพลย์ เช่น รูปภาพโฆษณาหรือแบนเนอร์ ซึ่งเป็นสื่อที่สามารถสร้าง engagement และเข้าถึงผู้บริโภคได้ดี และมีเพียง 7% เท่านั้นที่ใช้วิดีโอ
จะเห็นว่าการแข่งขันมีความดุเดือดมาก แบรนด์ที่จะก้าวเข้ามาในตลาดจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะศึกษากลยุทธ์คู่แข่ง กิจกรรมทาการตลาด เพื่อมาปรับใช้ในแผนการตลาดของตน ซึ่ง Nielsen WizzAd+ นอกจากจะสามารถดูเม็ดเงินโฆษณาของแบรนด์ต่างๆ ได้แล้ว ยังสามารถดูข้อมูลครีเอทีฟ รวมถึงแผนการตลาดว่าแบรนด์คู่แข่งใช้เงินที่่ช่องทางไหน อย่างไร และเท่าไหร่ ซึ่งข้อมูลชุดนี้จะช่วยแบรนด์ในการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น
จากการศึกษาของ Nielsen CMV พบว่าในปีพ.ศ. 2565 ( ค.ศ.2022) คนไทยมีการซื้อผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสุขภาพและความงามถึง 84% โดยกลุ่มสุขภาพ เช่น วิตามิน อาหารเสริม มีการเติบโตขึ้น 229% จากปีพ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019)
โดยผู้บริโภคมีการใช้ช่องทางออนไลน์ในการช้อปปิ้งสินค้าเพื่อสุขภาพและความงามเพิ่มขึ้นถึง 292% และยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริโภคชาวไทยยังมีนิสัยที่รักสวยรักงาม โดยจากผลสำรวจ พบว่า 60% ต้องการดูอ่อนกว่าวัย และ 44% ต้องการมีผิวที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสทองสำหรับแบรนด์ในการทำการตลาด
เมื่อเทรนด์ของผู้บริโภคมีแนวโน้มสูงขึ้น แบรนด์เองก็มีการอัดเงินโฆษณาเพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์และแคมเปญต่างๆ จากข้อมูลของ Nielsen WizzAd+ ที่มีการจัดเก็บเม็ดเงินโฆษณา และข้อมูลการโฆษณาของแบรนด์ต่างๆ พบว่าแบรนด์ในกลุ่มสุขภาพและความงาม มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาในปีพ.ศ.2565มากกว่า 6.3 พันล้านบาท ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นๆ ที่ใช้เม็ดเงินโฆษณามากที่สุดในประเทศไทย
เพื่อสอดรับกับเทรนด์ของการช้อปปิ้งออนไลน์ แบรนด์ต่างๆ มีการเพิ่มเงินในการโฆษณา โดยเฉพาะช่องทางดิจิทัล โดย Nielsen WizzAd+ พบว่าจำนวน Impression หรือคนที่เห็นโฆษณาที่เกี่ยวกับสุขภาพและความงามในช่องทางดิจิทัลของช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาสูงถึง 632 ล้านครั้ง โดยส่วนใหญ่มาจากกลุ่มวิตามินและอาหารเสริม รองลงมาคือกลุ่มสกินแคร์ (กันแดด/ไวท์เทนนิ่ง)
นอกจากนี้ยังพบว่าในปี 2022 อุตสาหกรรมสุขภาพและความงามมีการแข่งขันในการโฆษณาที่สูงมาก โดย Nielsen WizzAd+ พบว่าในปี 2022 มีผลิตภัณฑ์ที่ลงเงินไปกับการโฆษณามากกว่า 1,300 ผลิตภัณฑ์โดยมีมีเดียครีเอทีฟในช่องทางดิจิทัลมากกว่า 36,000 ชิ้น ซึ่งแต่ละแบรนด์มีกลยุทธ์ในการออกแบบเพื่อให้สามารถดึงลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป โดย 93% เป็นโฆษณาแบบดิสเพลย์ เช่น รูปภาพโฆษณาหรือแบนเนอร์ ซึ่งเป็นสื่อที่สามารถสร้าง engagement และเข้าถึงผู้บริโภคได้ดี และมีเพียง 7% เท่านั้นที่ใช้วิดีโอ
จะเห็นว่าการแข่งขันมีความดุเดือดมาก แบรนด์ที่จะก้าวเข้ามาในตลาดจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะศึกษากลยุทธ์คู่แข่ง กิจกรรมทาการตลาด เพื่อมาปรับใช้ในแผนการตลาดของตน ซึ่ง Nielsen WizzAd+ นอกจากจะสามารถดูเม็ดเงินโฆษณาของแบรนด์ต่างๆ ได้แล้ว ยังสามารถดูข้อมูลครีเอทีฟ รวมถึงแผนการตลาดว่าแบรนด์คู่แข่งใช้เงินที่่ช่องทางไหน อย่างไร และเท่าไหร่ ซึ่งข้อมูลชุดนี้จะช่วยแบรนด์ในการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น