xs
xsm
sm
md
lg

น้ำเชี่ยวล้นตลิ่ง! กรมเจ้าท่าประกาศคุมเดินเรือ "เจ้าพระยา-ป่าสัก"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมเจ้าท่าออกประกาศฉบับที่ 2 ควบคุมการเดินเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก หลังกรมชลประทานแจ้งระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา และเขื่อนพระราม 6 เพิ่ม งดเดินเรือบริเวณวัดพนัญเชิงวรวิหาร

รายงานข่าวจากกรมเจ้าท่า (จท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2565 นาวาโท รัชตะ ผกาฟุ้ง ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 กรมเจ้าท่า ได้ออกประกาศสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 ที่ 52565 เรื่อง การควบคุมการเดินเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักเป็นการเฉพาะชั่วคราว (เพิ่มเติมครั้งที่ 2)

ด้วยกรมเจ้าท่า โดยสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 ได้ประกาศเขตควบคุมการจราจรทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสักเป็นการเฉพาะคราว เนื่องจากกรมชลประทานมีความจำเป็นที่จะต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้นจากเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท และเขื่อนพระราม 6 อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดต่อกันเป็นช่วงระยะเวลาต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และแม่น้ำป่าสักตั้งแต่เขื่อนพระราม 6 มีปริมาณน้ำสูงขึ้นและล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อยู่สองริมฝั่งแม่น้ำ ประกอบกับมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวซึ่งอาจเป็นสาเหตุในการเกิดอุบัติเหตุทางน้ำได้ จึงต้องเพิ่มมาตรการป้องกันอุบัติเหตุทางน้ำ และป้องกันมิให้คลื่นจากเรือลากจูง เรือลำเลียงสินค้า ขึ้น-ล่อง ในแม่น้ำเจ้าพระยา
และแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์ดังกล่าว
เริ่มคลี่คลายลง โดยระดับน้ำริมตลิ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก มีระดับลดลงอย่างต่อเนื่อง


ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 52 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2520 ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 ผู้รับมอบอำนาจจากอธิบดีกรมเจ้าท่าในฐานะ "เจ้าท่า" จึงประกาศดังต่อไปนี้

1. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศ
2. ให้ยกเลิกข้อ 5.1 ของประกาศสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 ที่ 4/2565 เรื่อง การควบคุมการเดินเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักเป็นการเฉพาะชั่วคราว (เพิ่มเติมครั้งที่ 2) ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2565 และใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

"5.1 ให้เรือลากจูง เรือลำเลียงสินค้า เรือลากจูงซึ่งทำการลากจูงเรือลำเลียงสินค้าและเรือบรรทุกสินค้า ซึ่งเดินในบริเวณเขตควบคุมการเดินเรือตามข้อ 4 ปฏิบัติ ดังนี้

5.1.1 เรือลำเลียงสินค้า เรือลากจูงซึ่งทำการลากจูงเรือลำเลียงสินค้า และเรือบรรทุกสินค้า ขาขึ้น ในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้

5.1.1.1 ให้ผู้ควบคุมเรือ งดการนำเรือผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา จากบริเวณวัดพนัญเชิงวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนถึงโรงงานน้ำตาลไทยรวมทุน อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง

5.1.1.2 ให้ผู้ควบคุมเรือ งดการนำเรือผ่านแม่น้ำป่าสัก จากบริเวณวัดพนัญเชิงวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนถึงพื้นที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

5.1.2 ให้เรือลากจูงซึ่งเดินเรือ โดยมิได้ทำการลากจูงเรือลำเลียง เดินเรือโดยใช้ความเร็วปลอดภัยในอัตราต่ำสุด เพื่อมิให้เกิดคลื่นน้ำกระทบผู้ที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ หรือสถานที่สำคัญ ซึ่งหากคาดหมายว่าการเดินเรือนั้นอาจส่งผลกระทบจนเกิดความเสียหาย ให้ผู้ควบคุมเรือ ระงับ หรือยับยั้ง การเดินเรือดังกล่าวก่อนเกิดความเสียหาย

5.1.3 เรือลากจูง เรือลำเลียงลินค้า เรือลากจูงซึ่งทำการลากจูงเรือลำเลียงสินค้าและเรือบรรทุกสินค้า ขาล่อง ในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้

ผู้ควบคุมเรือลากจูง เรือลำเลียงสินค้า ที่ควบคุมเรือจากท่าเทียบเรือหรือจุดจอดเรือต้นทาง เพื่อเดินทางออกจากพื้นที่อำเภอ ท่าเรือ อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือเดินเรือผ่านแม่น้ำบำาสัก บริเวณวัดพนัญเชิงวรวิหาร หรือผู้ควบคุมเรือลากจูง เรือลำเลียงสินค้า ที่ควบคุมเรือจากท่าเทียบเรือ หรือจุดจอดเรือต้นทาง เพื่อเดินทางออกจากพื้นที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง หรือเดินเรือผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดพนัญเชิงวรวิหาร ให้เดินเรือด้วยความระมัดระวังสูงสุด โดยให้ปฏิบัติไม่น้อยกว่า ดังนี้

5.1.3.1 การลากจูงเรือลำเลียงที่บรรทุกสินค้าในแม่น้ำปาสัก ต้องมีเรือดึงท้ายหรือโต่งท้าย ซึ่งมีกำลังของเครื่องจักรไม่น้อยกว่ากำลังของเครื่องจักรเรือลากจูง ในระยะ 500 เมตร หลังออกจากพื้นที่อำเภอนครหลวง จนถึงสะพานอโยธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รามถึงต้องจัดให้มีคนประจำเรืออย่างน้อยหนึ่งคน ประจำอยู่ที่หัวเรือลำเลียงทุกลำ

5.1.3.2 การลากจูงเรือลำเลียงที่บรรทุกสินค้าในแม่น้ำเจ้าพระยา ต้องมีเรือดึงท้ายหรือโต่งท้าย ซึ่งมีกำลังของเครื่องจักรไม่น้อยกว่ากำลังของเครื่องจักรเรือลากจูงในระยะ 500 เมตรหลังออกจากพื้นที่ที่กำหนด รามถึงต้องจัดคนประจำเรืออย่างน้อยหนึ่งคน ประจำอยู่ที่หัวเรือลำเลียงทุกลำช่วงโรงงานน้ำตาลไทยรวมทุน อำเภอบำโมก จังหวัดอ่างทอง จนถึงสะพานอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา"




กำลังโหลดความคิดเห็น