xs
xsm
sm
md
lg

บอร์ดฯ TOP นัดประชุมแต่งตั้ง CEO คนใหม่วันพรุ่งนี้ "วิรัตน์" ส่งต่อภารกิจสานกลยุทธ์ 3V

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



บอร์ดไทยออยล์ประชุมแต่งตั้ง CEO คนใหม่ในพรุ่งนี้ (23 ก.ย.) แทน "วิรัตน์" ที่เกษียณอายุครบ 60 ปีสิ้น ก.ย.นี้ ด้าน “วิรัตน์” ส่งไม้ต่อให้ CEO คนใหม่สานต่อกลยุทธ์ 3V เพื่อนำพาองค์กรไทยออยล์เติบโตอย่างยั่งยืน ขณะที่ผลการดำเนินงานไทยออยล์ปีนี้โตโดดเด่น โดยค่าการกลั่น (GRM) แตะ 7-8 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล สูงขึ้นกว่าปีก่อนที่เฉลี่ย 2.2 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แย้มโครงการ CFP แล้วเสร็จในปี 68 ในช่วงจังหวะ Golden Period ของโรงกลั่น

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (TOP) เปิดเผยว่า ในวันที่ 30 กันยายนนี้ตนจะเกษียนอายุครบ 60 ปี ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 ปีที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง CEO ในไทยออยล์ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่ไทยออยล์จะต้องเร่ง Transform ขนานใหญ่เพื่อรองรับความท้าทายในอนาคต ดังนั้นจึงส่งมอบไม้ต่อให้กับ CEO ไทยออยล์คนใหม่ เพื่อสานต่อกลยุทธ์เพื่อผลักดันองค์กรให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ ผ่านยุทธศาสตร์ 3V ประกอบด้วย Value Maximization โดยบูรณาการต่อยอดห่วงโซ่คุณค่าจากโรงกลั่นสู่ธุรกิจปิโตรเคมี รวมถึงผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงเพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุด

Value Enhancement ขยายตลาดและกระจายผลิตภัณฑ์สู่ต่างประเทศในระดับภูมิภาคอาเซียน เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย และ Value Diversification กระจายการเติบโตสู่ธุรกิจที่มีความมั่นคงของผลกำไรรวมถึงแสวงหาโอกาสในธุรกิจใหม่ที่เป็น New S-Curve เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต เช่น ไบโอเจ็ต ไบโอพลาสติก ไบโอเคมิคอล และไฮโดรเจน

ทั้งนี้ ในวันที่ 23 กันยายน 2565 จะมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไทยออยล์คนใหม่

นายวิรัตน์กล่าวถึงแนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2565 ว่าบริษัทคาดค่าการกลั่น (GRM) ในปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 7-8 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจากในช่วงครึ่งหลังปี 2565 ค่าการกลั่นอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 2/2565 ค่าการกลั่นดีดตัวสูงผิดปกติอยู่ที่ 25 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ทำให้ช่วงครึ่งปีแรกนี้ค่าการกลั่นบริษัทฯ เฉลี่ยอยู่ที่ 10 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่ค่าการกลั่นอยู่ที่ 2.20 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ถือว่าสูงขึ้นมาก ขณะที่ปัจจุบันโรงกลั่นไทยออยล์เดินเครื่องกลั่นกลับสู่ภาวะปกติเกินกว่า 100% ของกำลังการกลั่นรวม 2.75 แสนบาร์เรล/วัน ทำให้ผลการดำเนินงานทั้งรายได้และกำไรเติบโตขึ้นต่อเนื่อง โดยช่วงครึ่งแรกปีนี้บริษัทมีกำไรสุทธิสูงถึง 32,510 ล้านบาท สูงกว่าทั้งปี 2564 ที่มีกำไรสุทธิ 12,578 ล้านบาท

โดยธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันดีขึ้นต่อเนื่องหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นทั้งน้ำมันเบนซิน ดีเซล โดยเฉพาะน้ำมันอากาศยาน (Jet) ที่กลับมาผลิตได้เกือบเท่าเดิม

สำหรับความคืบหน้าโครงการสะอาด (CFP) เป็นโครงการที่เพิ่มประสิทธิภาพโรงกลั่นและขยายกำลังการกลั่นจาก 2.75 แสนบาร์เรลต่อวัน เป็น 4 แสนบาร์เรลต่อวัน มูลค่าลงทุน 1.5 แสนล้านบาท การก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 87% และคาดว่าจะสามารถทยอยเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2567 และสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้เต็มรูปแบบในปี 2568 ซึ่งเป็นช่วงจังหวะ Golden Period ของโรงกลั่น เนื่องจากยังไม่มีโรงกลั่นอื่นๆ ขยายกำลังการผลิตเพิ่ม หรือสร้างใหม่ แม้ว่าราคาน้ำมันดิบอาจไม่กลับไปสูงสุดเหมือนในอดีต แต่คาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ซัปพลายยังมีจำกัด ท่ามกลางดีมานด์ที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง 

ส่วนความคืบหน้าการลงทุนใน PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (CAP) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำในประเทศอินโดนีเซีย ไทยออยล์ได้ร่วมลงทุนใน CAP ในปี 2564 ทำให้ไทยออยล์สามารถก้าวเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินได้อย่างรวดเร็วและทำให้โครงสร้างธุรกิจครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีได้อย่างสมบูรณ์ สร้างโอกาสการเติบโตในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสูงมาก โดย CAP มีโครงการแผนขยาย CAP2 เพิ่มกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกเป็น 8.1-8.2 ล้านตันต่อปี ซึ่ง CAP2 จะมีตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (FID) ภายในไตรมาส 4/2565 และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2569 โดยไทยออยล์ได้เข้าถือหุ้น 15% และปีที่ผ่านมาได้ใส่เงินลงทุนเข้าไปแล้วประมาณ 913 ล้านเหรียญสหรัฐ หากมีตัดสินใจ FID โครงการ CAP2 ก็จะใส่เงินเข้าไปอีกประมาณ 270 ล้านเหรียญสหรัฐ


สำหรับความคืบหน้าโครงการสะอาด (CFP) เป็นโครงการที่เพิ่มประสิทธิภาพโรงกลั่นและขยายกำลังการกลั่นจาก 2.75 แสนบาร์เรลต่อวัน เป็น 4 แสนบาร์เรลต่อวัน มูลค่าลงทุน 1.5 แสนล้านบาท การก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 87% และคาดว่าจะสามารถทยอยเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2567 และสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้เต็มรูปแบบในปี 2568 ซึ่งเป็นช่วงจังหวะ Golden Period ของโรงกลั่น เนื่องจากยังไม่มีโรงกลั่นอื่นๆ ขยายกำลังการผลิตเพิ่ม หรือสร้างใหม่ แม้ว่าราคาน้ำมันดิบอาจไม่กลับไปสูงสุดเหมือนในอดีต แต่คาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ซัปพลายยังมีจำกัด ท่ามกลางดีมานด์ที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง

ส่วนความคืบหน้าการลงทุนใน PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (CAP) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำในประเทศอินโดนีเซีย ไทยออยล์ได้ร่วมลงทุนใน CAP ในปี 2564 ทำให้ไทยออยล์สามารถก้าวเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินได้อย่างรวดเร็วและทำให้โครงสร้างธุรกิจครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีได้อย่างสมบูรณ์ สร้างโอกาสการเติบโตในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสูงมาก โดย CAP มีโครงการแผนขยาย CAP2 เพิ่มกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกเป็น 8.1-8.2 ล้านตันต่อปี ซึ่ง CAP2 จะมีตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (FID) ภายในไตรมาส 4/2565 และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2569 โดยไทยออยล์ได้เข้าถือหุ้น 15% และปีที่ผ่านมาได้ใส่เงินลงทุนเข้าไปแล้วประมาณ 913 ล้านเหรียญสหรัฐ หากมีตัดสินใจ FID โครงการ CAP2 ก็จะใส่เงินเข้าไปอีก ประมาณ 270 ล้านเหรียญสหรัฐ


กำลังโหลดความคิดเห็น