“บี.กริม แอลเอ็นจี” เซ็นสัญญากับ “พีทีที แอลเอ็นจี” เพื่อใช้บริการสถานีแอลเอ็นจี มาบตาพุด ระยะที่ 1 (LMPT-1) ในการเก็บรักษา และแปรสภาพก๊าซธรรมชาติที่ บี.กริม แอลเอ็นจี มีแผนนำเข้าก๊าซ LNG ในต้นปี 66
วันนี้ (15 มี.ค.) บริษัท บี.กริม แอลเอ็นจี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ บี.กริม เพาเวอร์ ถือหุ้น 100% กับบริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด ร่วมลงนามสัญญาการใช้ความสามารถการให้บริการสถานีแอลเอ็นจี มาบตาพุด แห่งที่ 1 (Terminal Use Agreement - TUA) ในการบริการการเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติ
นายฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (BGRIM) เปิดเผยว่า การลงนามสัญญาการใช้ความสามารถการให้บริการสถานีแอลเอ็นจี (Terminal Use Agreement - TUA) ระหว่างบริษัท บริษัท บี.กริม แอลเอ็นจี จำกัด กับ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด ในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย ที่จะทำให้ผู้จัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) เอกชน ได้เข้ามาใช้บริการการเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักที่มีบทบาทสำคัญสำหรับกิจการก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย
ภายหลังจากที่ภาครัฐ โดยกระทรวงพลังงานและ กกพ. ได้กำหนดแนวทางส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ โดยเปิดให้เอกชนสามารถขอใบอนุญาตเป็น Shipper เพื่อนำเข้า LNG ได้ ทั้งนี้ เมื่อนำเข้า LNG เข้ามาแล้ว ต้องมีการนำมาแปรสภาพจากของเหลวเป็นก๊าซที่สถานี LNG Terminal ของ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด และส่งเข้าระบบท่อส่งก๊าซฯ ของ ปตท.เพื่อส่งไปยังลูกค้าปลายทางทั้งโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อไป
ทั้งนี้ บริษัท บี.กริม แอลเอ็นจี จำกัด เป็น shipper 1 ใน 7 รายที่ได้ใบอนุญาตจัดหาค้าส่งก๊าซธรรมชาติจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 โดยบริษัทได้เตรียมความพร้อมทั้งในการเจรจาสัญญาซื้อ LNG กับผู้ขายชั้นนำของโลก ตลอดจนความพร้อมในการขอใช้บริการสถานีแอลเอ็นจี มาบตาพุด แห่งที่ 1 (LMPT-1) แห่งที่ 1 กับ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด โดยได้ยื่นจอง LMPT-1 กับ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 จำนวน 5 แสนตันต่อปี เป็นระยะเวลา 7 ปี (ปี 2566-2572) โดยมติ กกพ. เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 เห็นชอบให้ บริษัท บี.กริม แอลเอ็นจี จำกัด ได้รับการจัดสรรปริมาณการจองใช้ LMPT-1 ปริมาณ 0.5 ล้านตันต่อปี ตั้งแต่ปี 2566-2572 เพื่อส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติระยะที่ 2 ได้อย่างเหมาะสม
“หลังการลงนามในสัญญา TUA ในครั้งนี้ นอกจากเป็นก้าวสำคัญของการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติของประเทศไทยแล้ว จะถือว่า บริษัท บี.กริม แอลเอ็นจี จำกัด เป็นบริษัทเอกชนที่มีความสามารถพร้อมนำเข้า LNG เป็นรายแรกของประเทศ โดยคาดว่าเรือขนส่ง LNG เชิงพาณิชย์เที่ยวแรกจากสัญญาจัดหา LNG ระยะยาวจะสามารถมาส่งมอบที่ LMPT-1 ได้ภายในต้นปี 2566 เพื่อส่งเสริมการแข่งขันเสรีในกิจการก๊าซธรรมชาติระยะที่ 2 ภายในประเทศอย่างแท้จริง” นาย ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าว
นายนพเดช กรรณสูต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน /รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส -การเงินและบัญชี บริษัทบี.กริมเพาเวอร์จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าบริษัทบี.กริมแอลเอ็นจีจำกัดได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (LNG Shipper)ในปริมาณรวมทั้งสิ้น 1.25ล้านตันซึ่งการจัดหาล็อตแรกจำนวน 5แสนตันต่อปีในครั้งนี้เพื่อนำมาใช้สำหรับป้อนโรงไฟฟ้าของกลุ่มบริษัท จำนวน 18โครงการ ซึ่งรวมถึงโครงการ SPP Replacement จำนวน 5โรงกำลังการผลิตรวม 700เมกะวัตต์ที่จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ(COD)ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ คาดว่าเรือขนส่ง LNGเชิงพาณิชย์เที่ยวแรกจากสัญญาจัดหา LNGระยะยาวได้ภายในต้นปี 2566
โดยราคาLNGล็อตแรกจำนวน 5แสนตันนี้บริษัทได้เจาจากับซัพพลายเออร์ตั้งแต่ปี 2564ซึ่งเป็นช่วงที่ราคา LNGยังไม่สูงมากนักส่งผลให้ราคาเฉลี่ยระยะยาวถูกกว่า Pool Gasทำให้บริษัทสามารถบริหารจัดการต้นทุนผลิตไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีในส่วนของโควต้า LNGส่วนที่เหลืออีก 7.5แสนตันต่อปีบริษัทมีแผนนำเข้าเพื่อขายให้กับลูกค้าโรงไฟฟ้านอกกลุ่มบริษัทรวมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความต้องการใช้ LNGซึ่งบริษัทได้มีการเจรจาแล้วหลายราย คาดว่าน่าจะนำเข้าได้ครบทั้ง 1.25ล้านตันในปี 2569
สำหรับแนวโน้มการดำเนินงานบริษัทในไตรมาส 1/2565 ยังคงเติบโตจากยอดขายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมขณะที่ต้นทุนก๊าซที่เพิ่มขึ้นนั้นปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนขายไฟฟ้าให้กับกฟผ. 75%สามารถส่งผ่านต้นทุนได้ส่วนที่เหลือขายให้กับกลุ่ม IUทำให้มาร์จินลดลงบ้าง แต่ทั้งปี2565บริษัทมั่นใจมีรายได้เติบโตตามเป้าที่ตั้งไว้ 15-20%เมื่อเทียบกับปีก่อนและคาดว่าจะสามารถปิดดีลซื้อกิจการ (M&A) ซึ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้าในต่างประเทศประมาณ 2-3 ดีลในเร็วๆนี้เพื่อให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ปีนี้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1,000เมกะวัตต์