xs
xsm
sm
md
lg

เจาะกลยุทธ์ “ฟิลิปส์” ลุยตลาดเครื่องมือแพทย์ ยุคโควิด-19ระบาด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การตลาด – เปิดกลยุทธ์ ฟิลิปส์ ลุยตลาดเฮลท์แคร์ โหมหนักอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ระบาดหนัก เผยแนวทางการทำตลาด พร้อมชี้ 4 เทรนด์ มาแรง

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปลายปี พ.ศ.2562 นำมาซึ่งวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของโลกที่ทำให้ธุรกิจต่างๆล้วนได้รับผลกระทบ หนึ่งในนั้นคือธุรกิจอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ที่มีความต้องการใช้สูงเพื่อช่วยดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วโลก ทั้ง หน้ากากอนามัย, ชุด PPE, เครื่องช่วยหายใจ, ถังออกซิเจน เป็นต้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้แน่นอนว่าไม่มีใครคาดคิดมาก่อน และนับเป็นความท้าทายของทุกประเทศทั่วโลกที่ต้องปรับแผนรับมือกับวิกฤติที่เกิดขึ้นให้ทันท่วงที ในขณะเดียวกันธุรกิจเครื่องมือแพทย์เองก็ต้องเร่งเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ จากอุปสงค์ที่เกิดขึ้นนี้จึงส่งผลให้ธุรกิจเครื่องมือแพทย์เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงปี พ.ศ. 2563-2564 ที่ผ่านมา

ภาพรวมธุรกิจเฮลท์แคร์มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 6-7% ระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2564-2565 โดยมีการคาดการณ์ว่าธุรกิจเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จะมีเติบโตขึ้นมากที่สุด เมื่อดูจากในระดับโลก อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มจะเติบโตอย่างต่อเนื่องเพราะมีขนาดของตลาดใหญ่ที่สุด1 ตามมาด้วยจีน ส่วนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของฟิลิปส์ ประเทศที่ถือเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ คือ ไทยและอินโดนีเซีย แต่ประเทศเวียดนามนั้นมีการขยายตัวของตลาดในอัตราที่สูงมาก


นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ PHILIPS กล่าวว่า อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และสุขภาพในประเทศไทยนั้น มีมูลค่ากว่า 230,000 ล้านบาท อัตราเฉลี่ยเติบโตประมาณ 4% ต่อปีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาต่อเนื่อง โดยแบ่งเป็น

`1. ผลิตภัณฑ์กลุ่มวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ (Disposable Medical Devices) กลุ่มนี้มีมูลค่าประมาณ 180000 ล้านบาท ในช่วงปี2563ที่ผ่านมา

2. กลุ่มคุรุภัณฑ์ทางการแพทย์ (Durable Medical Devices) กลุ่มนี้รองลงมามีมูลค่าประมาณ 47,000 ล้านบาท และเติบโตประมาณ 2-3% ในปี 2563 (ซึ่งผลิตภัณฑ์ของฟิลิปส์อยูู่ในกลุ่มนี้)

3. กลุ่มน้ำยาและชุดตรวจวินิจฉัยโรค (Reagent and Test Kits) มีมูลค่าประมาณ 18,000 ล้านบาท ในปี 2563


สาเหตุที่ตลาดรวมเป็นไปในทิศทางที่ดี เป็นผลมาจากปัจจัยหลากหลายประการ ทั้ง 1. จำนวนผู้สูงอายุที่ยังคงเพิ่มอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอัตราการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งและเบาหวาน หรือกลุ่มที่มีอัตราการป่วยในกลุ่มโรค NCDs สูงที่เพิ่มสูงขึ้น, 2.หากยังมีการระบาดของโควิด-19อีก ความต้องการเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโควิด-19จะเพิ่มขึ้น
3. เกิดการลงทุนขยายจำนวนโรงพยาบาลขนาดกลางและขนาดใหญ่ ทั้งภาครัฐและเอกชน หากเข้าถึงวัคซีนที่มีมากขึ้น การลดอัตรารุนแรงและการเสียชีวิตของโควิด-19ได้จะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้ตามปรกติ และความเชื่อมั่นด้านการลงทุนก็จะกลับมา และ 4. นโยบายการเปิดประเทศในช่วงไตรมาสที่สี่ปี2564 และการกลับมาเร่งขับเคลื่อนนโยบายเมดิคัลฮับ (Medical Hub) น่าจะช่วยนำให้ผู้ป่วยต่างชาติกลับเข้ามารักษาในไทยและการเติบโตของธุรกิจเครื่องมือแพทย์จะมีมากขึ้น

สำหรับแนวโน้มของภาพรวมในไทยนั้น คาดว่าในปี 2565 นี้ตลาดรวมก็ยังคงมีการเติบโตประมาณ 6-7% โดยเฉพาะเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19


นายวิโรจน์ ได้พูดถึงความท้าทายที่บริษัทต้องเผชิญในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมาว่า ความท้าทายที่ฟิลิปส์ต้องเจอในช่วงโควิดเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งจากปัจจัยกำลังการผลิตไม่เพียงพอในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ช่วงแรกๆและการขาดแคลนตัวชิปที่ต้องนำเข้าจากประเทศจีนเท่านั้น แต่ในช่วงนั้นฟิลิปส์ก็ได้เพิ่มกำลังการผลิตอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในกลุ่มเครื่องช่วยหายใจที่มีความต้องการสูงที่สุดโดยเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 4 เท่า และโรงงานก็ได้เพิ่มระยะเวลาการทำงาน 24/7 ชั่วโมง ซึ่งทำให้ปัจจุบันกำลังการผลิตเรากลับมาเป็นปกติแล้ว

โดยฐานการผลิตของฟิลิปส์ตั้งอยู่ในหลายประเทศ ทั้งในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งจะเน้นผลิตเครื่อง MRI และเครื่องสวนหลอดเลือดหัวใจ ในขณะที่เครื่อง CT Scan เรามีฐานการผลิตในประเทศอิสราเอลและจีน ในขณะที่ เครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุกหัวใจ เครื่องติดตามสัญญาณชีพจะผลิตในสหรัฐอเมริกาซึ่งจากความต้องการเครื่องมือแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดโควิดส่งผลให้ธุรกิจเฮลท์แคร์ของเราเติบโตสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดในปี 2564 โดยมีส่วนแบ่งในตลาดประเทศไทยติด 1 ใน 3

ด้วยความที่ฟิลิปส์ ต้องนำเข้าเครื่องมือแพทย์มาจากต่างประเทศ จึงต้องเผชิญกับความหลากหลายปัจจัยก่อนหน้านี้ในช่วงโควิด นอกจากเรื่องของกำลังการผลิตแล้วปัจจัยกำลังการผลิตไม่เพียงพอ ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังมีเรื่องของปัจจัยด้านการขนส่ง และค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในการขนส่ง และปัจจัยด้านภาษี หากเครื่องมือหรือชิ้นส่วนบางอย่างไม่ได้ถูกตีความเป็นเครื่องมือแพทย์


อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การทำตลาดในไทยของฟิลิปส์ยังคงให้ความสำคัญหลักกับนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์ต่างๆ เช่นเดียวกันทั่วโลกทุกตลาด

เมื่อพูดถึงเทรนด์การแพทย์ในปี พ.ศ. 2565 นี้ นายวิโรจน์กล่าวว่า ภาพรวมทั่วโลกจะเน้นไปที่ด้านดิจิทัลมากขึ้น โดยปีที่แล้วเทรนด์ดิจิทัลเฮลท์แคร์ มีมูลค่ารวมมากถึง 96.5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐทั่วโลก และมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นอีก 15.1% ต่อปีเลยทีเดียวซึ่งถือเป็นปริมาณที่มาก


สำหรับเทรนด์การแพทย์ที่จะมาแรงคาดว่าจะมีอยู่ 4 เทรนด์หลักๆ ได้แก่

1.บริการทางการแพทย์ทางไกล หรือ Telehealth ซึ่งจะครอบคลุมกว่า ระบบ Telemedicine ตรงที่เราสามารถรักษาหรือวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยจากที่บ้านไปสู่โรงพยาบาลได้เลย คาดว่าการใช้เทเลเฮลท์จะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 38 เท่าหลังเกิดวิกฤติโควิด-19 ระบาดทั่วโลกคาดการณ์ว่ามูลค่าการตลาดจะเพิ่มขึ้นจาก 79 พันล้านในปีพ.ศ.2563 เป็น 3.9 แสนล้านในปีพ.ศ. 2570

2.เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ/ AI ( Artificial Intelligence) ถูกพูดถึงในวงกว้าง โดยเฉพาะในธุรกิจเฮลท์แคร์เพราะ AI สามารถช่วยในการวิเคราะห์ ประมวลผล และวินิจฉัยโรค หรือเฝ้าติดตามอาการผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ทำให้แพทย์สามารถตัดสินใจให้การรักษาได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่า AI จะก้าวเข้ามาแทนที่บุคลากรทางการแพทย์แต่อย่างใด

3. Cloud Computing มีการนำระบบไอทีเข้ามามีบทบาททางการแพทย์มากขึ้น ทั้งการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ตรวจวินิจฉัย ประมวลผล และการจัดการระบบข้อมูลทางการแพทย์เพื่อการเรียกดูได้ง่ายของบุคลากรทางการแพทย์ และยังสามารถส่งข้อมูลผู้ป่วยทางไกลได้ด้วย ทั้งนี้ในโลกอนาคตข้างหน้า ข้อมูลในโรงพยาบาลทุกอย่างจะถูกเก็บไว้บนระบบ Cloud เช่น ภาพเอกซเรย์ ภาพสแกนต่างๆ แทนที่จะเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์หรือเป็นระบบเอกสารซึ่งเปลืองพื้นที่ซึ่งตลาด คลาวด์ คอมพิวติ้ง มีแนวโน้มว่าจะมีมูลค่าการตลาดเติบโตมากถึง 64.7 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปีพ.ศ. 2568

4. การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (Predictive Analytics): เป็นการใช้ เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์และติดตามอาการของผู้ป่วย ซึ่งจะสามารถ คาดการณ์แนวโน้มอาการผู้ป่วยหากอาการทรุดลง เพื่อให้แพทย์สามารถรักษาได้ ทันท่วงที ถือเป็นการคาดการณ์อย่างแม่นยำด้วยข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือ AI ตอนนี้ในประเทศไทยมีการนำมาใช้บ้างแล้ว คนไข้ที่อาการไม่หนักมากและสามารถกลับบ้านได้เพื่อเฝ้าสังเกตอาการก็จะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระบบกับทางโรงพยาบาลซึ่งระบบนี้จะคอยประเมินอาการคนไข้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน ข้อดีคือผู้ป่วยก็ไม่จำเป็นต้องใช้เวลารักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลานานและทำให้โรงพยาบาลมีพื้นที่ในการรองรับผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มเติมได้


ด้วยเทรนด์การแพทย์ที่กำลังเปลี่ยนไปนี้ ฟิลิปส์ก็ได้เตรียมพร้อมวางกลยุทธ์เพื่อขยายตลาดและเทรนด์ใหม่ๆในอนาคตเอาไว้เช่นกัน “เครื่องมือแพทย์ส่วนใหญ่ที่ถูกผลิตออกมาช่วงหลังจากนี้แน่นอนว่าจำเป็นต้องมี AI เป็นองค์ประกอบ เพราะสามารถเข้ามาช่วยแพทย์ให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น หลักๆ ที่ฟิลิปส์เราจะมุ่งเป้าไปที่เรื่อง Health informatics หรือสารสนเทศทางการแพทย์ ซึ่งเน้นไปที่การจัดการข้อมูลคนไข้อย่างมีระบบระเบียบและมีประสิทธิภาพ มีเครื่องมือเก็บสถิติข้อมูลทำให้ง่ายต่อการวินิจฉัยของแพทย์ และการตัดสินใจในการซื้ออุปกรณ์การแพทย์ของฝ่ายบริหารด้วย เพราะข้อมูลจะบอกรายละเอียดมากขึ้นว่าเครื่องมือนี้ทำงานอย่างไร ถูกใช้งานบ่อยแค่ไหน ใช้ทำอะไรบ้าง

“ปัจจุบันระบบนี้ฟิลิปส์ได้ใช้ใส่ลงไปในแง่ของเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจเป็นหลัก และมีแผนที่จะขยายการพัฒนาระบบนี้ต่อไปยังเครื่องมืออื่นๆ ทั้งนี้การมีเครื่องมือแพทย์มีเทคโนโลยีทันสมัยจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ทั้งในแง่ของคุณภาพชีวิตประชากรในประเทศไทย และการเติบโตของธุรกิจทางการแพทย์ในอนาคต” นายวิโรจน์กล่าว


โดยแนวทางการตลาดของฟิลิปส์ มีดังนี้

1. เน้นการนำเสนอนวัตกรรม มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย นําเสนอนวัตกรรม อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนวัตกรรมที่ผสานเทคโนโลยี AI

2. เน้นการน่าเสนอ Total Solution ที่ครอบคลุมทั้งตัวเครื่องมือและระบบไอที เพื่อช่วยการ ทํางานของบุคลากรทางการแพทย์ในการลดการสัมผัสและติดเชื้อ

3. เน้นการทํางานร่วมกับคู่ค้าในการนำเสนอทางเลือกด้านนวัตกรรมและการบริการในรูปแบบเช่า ซื้อ ให้เหมาะสมกับงบประมาณของลูกค้า

ส่วนเครื่องมือทางการแพทย์ที่เป็นไฮไลท์นวัตกรรมล่าสุดของฟิลิปส์ เช่น

1.Ingenia MRI Elition 3.0Tesla/ Ambition1.5Tesla – เทคโนโลยี Compress Sense
ช่วยให้สแกนได้เร็วขึ้น และเทคโนโลยี Comfort Tone ช่วยลดเสียงรบกวนขณะสแกน ทำให้ลดความกังวลให้ผู้ป่วยที่ต้องเข้าตรวจ MRI ในขณะที่รุ่น Ambition ยังเป็น MRI เครื่องแรกของโลกที่ลดการใช้ก๊าซฮีเลียมจาก 1500ลิตร เหลือเพียง 7ลิตร
2. Azurion5 – เครื่องสวนหลอดเลือดหัวใจรุ่นล่าสุด ที่มาพร้อม Smart Solution ให้
ภาพคมชัดแบบ 3มิติ
3. Spectral CT - เป็น CT Scan เครื่องแรกและเครื่องเดียวของโลก ที่สามารถสแกนผู้ป่วยแบบ Real Time Spectral ช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนในการวินิจฉัย ด้วยภาพ Spectral
4. Tempus - เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าขนาดเล็กที่มาพร้อมจอติดตามสัญญาณชีพประสิทธิภาพสูงครั้งแรกในประเทศไทย ที่มาพร้อมฟังก์ชั่นการจัดเก็บ วิเคราะห์ และส่งต่อข้อมูลแบบเรียลไทม์




















กำลังโหลดความคิดเห็น