“ซีเมนส์ โมบิลิตี้” ชูประสบการณ์ 20 ปีพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในไทย ดึงนวัตกรรมต่อยอดเทคโนโลยี หวังยกระดับเป็นระบบขนส่งอัจฉริยะ ดันไทยเทียบชั้นนำระดับโลก
วันที่ 6 ต.ค. 64 นายโธมัสค์ มาซัวร์ ประธานกรรมการฝ่ายบริหาร บริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีขนส่งระบบราง เปิดเผยว่า ในปี 2564 เป็นต้นไป ซีเมนส์ โมบิลิตี้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบรถไฟ และระบบรางให้อัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบด้วยระบบ “ดิจิทัล ซีเมนส์ โมบิลิตี้” วิสัยทัศน์ผู้นำด้านขนส่งมวลชนระดับโลก Moving Beyond ที่จะทำให้ ซีเมนส์ โมบิลิตี้ เป็นพันธมิตรที่น่าเชื่อถือสำหรับโซลูชันคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืนและไร้รอยต่อ ทั้งระบบรางและทางบกตั้งแต่กิโลเมตรแรกถึงกิโลเมตรสุดท้ายภายในปี 2568 ที่จะทำให้ทุกการเดินทางก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่อนาคตและส่งมอบสุดยอดเทคโนโลยีขนส่งระบบรางและระบบควบคุมระดับสูง พร้อมสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในกลุ่มธุรกิจ
โดยมีสุดยอดเทคโนโลยีด้านคมนาคมขนส่งระบบรางและระบบควบคุมระดับสูงที่หลายเมืองชั้นนำในโลกใช้ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟ VDE 8 ในประเทศเยอรมนี ที่ช่วยลดอัตราการเดินทางจากเบอร์ลินถึงมิวนิก จาก 6 ชั่วโมง เหลือเพียง 4 ชั่วโมง, รถไฟฟ้า Velaro RUS ในประเทศรัสเซียที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในสภาพอากาศที่รุนแรงของรัสเซีย พร้อมวิ่งระหว่างเมืองเซนส์ปีเตอร์สเบิร์กถึงมอสโกระยะทาง 650 กิโลเมตรด้วยเวลาเดินทางเพียง 3.5 ชั่วโมง หรือแม้กระทั่งรถไฟ Desiro City ในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ 115 ขบวน เป็นจำนวนตู้ทั้งหมด 1,140 ตู้ ฯลฯ
นายโธมัสค์กล่าวว่า ซีเมนส์ โมบิลิตี้ มีประสบการณ์การบริหารจัดการโครงการต่างๆ ด้านระบบรางในประเทศไทยมากว่า 20 ปี ผ่านโครงการต่างๆ จำนวนมาก โดยการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย บริษัทฯ มีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบคมนาคมขนส่งในประเทศที่เชื่อมโยงเข้าหากันอย่างไร้รอยต่อ
ที่ผ่านมาได้มีส่วนสำคัญในการเป็นฟันเฟืองหนึ่งเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนการเดินทางของคนไทยให้ง่ายและสะดวกขึ้น ตอบโจทย์ชีวิตคนในเมือง ลดปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ ผ่านการพัฒนานวัตกรรมระบบขนส่งที่รองรับการเดินทางหลายประเภท และการพัฒนาโครงสร้างการขนส่งระบบรางของประเทศไทยให้ครอบคลุม โดยซีเมนส์ โมบิลิตี้ ยังได้ส่งมอบสุดยอดเทคโนโลยีด้านคมนาคมขนส่งระบบรางและระบบควบคุมระดับสูง ควบคู่มุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ในกลุ่มธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นส่งเสริมพัฒนาการขับเคลื่อนระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) เพื่อสร้างระบบขนส่งที่มีความยืดหยุ่น เข้าถึงง่าย และสะดวกสบาย
ทั้งนี้ เพื่อยกระดับการเดินทางและพัฒนาขับเคลื่อนให้ทุกการเดินทางของคนไทยง่ายขึ้น สะดวกขึ้นและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโนบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนาการขับเคลื่อนระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) โดยมีพันธกิจในการดำเนินงานเพื่อลดปริมาณคาร์บอนให้เป็นศูนย์ภายในปี 2573 เพื่อเป็นมาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรมในด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม สอดรับนโยบายของประเทศไทยในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอัจฉริยะ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจชั้นนำของเอเชีย
ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ได้ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งระบบรางในประเทศไทยในหลากหลายโครงการ ได้แก่ 1. รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ในฐานะที่เป็นการขนส่งแบบครบวงจรแห่งแรกที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย โดยซีเมนส์ โมบิลิตี้ ได้ปรับปรุงระบบของ BTS ให้ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีควบคุมระบบรางอัตโนมัติ ตั้งแต่การเปิดให้ใช้บริการครั้งแรกเมื่อ 20 ปีก่อนจนถึงปัจจุบัน ประกอบไปด้วยสถานีทั้งหมด 59 สถานี รวม 2 เส้นทาง คือ สายสุขุมวิท ให้บริการจากเคหะสมุทรปราการ ถึงคูคต และสายสีลม
2. MRT สายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ซึ่งปัจจุบันรวมสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายทั้งหมดจะมี 38 สถานี ประกอบไปด้วยช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ช่วงหัวลำโพง-บางแค ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งเป็นโครงสร้างทางวิ่งผสมทั้งใต้ดินและยกระดับ
3. ทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์
4. โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กิโลเมตร 26 สถานี ซึ่งบริษัทดูแลงานออกแบบและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม
5. ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) ซึ่งจะพร้อมใช้บริการในปี 2565 ถือเป็นรถไฟฟ้ารางเบาล้อยางไร้คนขับคันแรกของประเทศไทยที่ผลิตโดยซีเมนส์ โมบิลิตี้ ที่นำมาวิ่งใต้อุโมงค์เพื่อเชื่อมระหว่างอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเดิมกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 หรืออาคารแซตเทลไลต์ 1 (SAT-1 )
นอกจากนี้ ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ยังได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ตั้งแต่ปี 2556 จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนความรู้ หรือ Dual Education Program ในการยกระดับและพัฒนาทักษะวิชาชีพ และได้ร่วมในการจัดทำหลักสูตรเกี่ยวกับรถไฟและระบบขนส่งทางราง