xs
xsm
sm
md
lg

“ใช้คุ้ม แยกเป็น จัดการถูกวิธี” จุดเริ่มต้นสังคมไทยไร้ขยะ สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนได้จริง

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


Waste Management in Actions_SD Symposium 2020 Circular Economy Actions for Sustainable Future
จัดการขยะอย่างเป็นระบบและครบวงจรทำได้จริงหรือ? เป็นคำถามที่คุ้นหูในช่วงที่เราพยายามจะลุกขึ้นมาแก้ปัญหาวิกฤตขยะและการขาดแคลนทรัพยากร จากการเร่งขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ จนทำให้เกิดการบริโภคอย่างฟุ่มเฟือย เพราะมุ่งผลิตสินค้า ใช้ แล้วทิ้งไป (Linear Economy) เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของมนุษย์

เวที “SD Symposium” ที่จัดโดยเอสซีจีและพันธมิตร ได้นำตัวอย่างที่แต่ละภาคส่วนได้ช่วยกันขับเคลื่อนสังคมด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยการนำทรัพยากรหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ เพื่อ “ไม่ให้มีขยะ” มาเผยแพร่ในงาน SD Symposium 2020 “Circular Economy : Actions for Sustainable Future” ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ “ถอดบทเรียนต้นแบบการจัดการขยะ (Waste Management - Recycling Ecosystem and Environmental Saving) เพื่อกระตุ้นและขยายวงให้ทุกคนได้มีส่วนสร้างวงจรที่ช่วยหมุนเวียนนำ “ขยะ” มาสร้างคุณค่าต่อในระบบเศรษฐกิจได้อย่างไม่รู้จบ โดยสามารถลงทะเบียนเพื่อรับชมการนำเสนอแนวปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ ได้ในวันจันทร์ที่ 9 พ.ย. 2563 เวลา 13.30-15.00 น. ในรูปแบบออนไลน์ที่ https://bit.ly/3oSQAXS

Waste Management in Actions_SD Symposium 2020 Circular Economy Actions for Sustainable Future
ตลาดสี่มุมเมือง “กล้าลงทุนจัดการขยะ” เพื่อสร้างธุรกิจยั่งยืน

ปณาลี ภัทรประสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - สายงานสำนักกรรมการผู้จัดการ ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดค้าส่งผักผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เล่าถึงการแก้ไขปัญหาขยะจากตลาดค้าส่งกว่า 230 ตัน ว่าสัดส่วนร้อยละ 80 ของขยะที่เกิดขึ้นในตลาดเป็นขยะอินทรีย์ ซึ่งสามารถนำไปคัดแยกและสร้างมูลค่าได้ด้วย 5 ระบบ คือ 1.) นำเศษผักผลไม้ที่เหลือจากแผงวันละ 90 ตัน ไปทำเป็นอาหารให้กับปลาและวัว 2.) นำขยะอินทรีย์บางส่วนไปพัฒนาคิดค้นสูตรน้ำหมัก EM เพื่อใช้ชำระล้างภายในตลาด โดยอนาคตจะต่อยอดสู่การทำแบรนด์ของตนเอง 3.) จุดทิ้งขยะของทุกตลาดจะมีถังคัดแยกขยะอินทรีย์และขยะทั่วไป และมีจุดรับซื้อขวดน้ำพลาสติก กระป๋อง และลังโฟม เพื่อนำไปรีไซเคิล 4.) จัดสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียที่มาจากตลาดและหมู่บ้าน โดยสามารถบำบัดน้ำเสียได้มากถึงวันละ 6,500 ลบ.ม.ต่อวัน และนำน้ำที่ได้จากการบำบัดไปใช้ล้างพื้นที่รอบตลาดทุกวัน และ 5.) ติดแผงโซลาร์เซลล์บริเวณหลังคาอาคารห้องเย็น เพื่อเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า และสามารถนำกลับมาใช้ได้สูงถึงร้อยละ 20 ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด

Smart Service and Management ร่วมกับลูกบ้านจัดการขยะ
ผลลัพธ์จากการดำเนินงานทั้ง 5 ระบบนี้ ช่วยตอบโจทย์ให้ธุรกิจสามารถลดรายจ่ายสำหรับการจัดการขยะด้วยการฝังกลบได้ถึง 4 ล้านบาทต่อปี และยังทำให้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ “ขยะ” เช่น น้ำหมัก EM ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง อาหารวัว และปุ๋ย ตลอดจนทำให้ตลาดสะอาด ชุมชนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ประโยชน์ร่วมกันจึงส่งผลให้ธุรกิจมั่นคงอย่างยั่งยืน

ความสำเร็จที่เกิดขึ้น นอกจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่กล้าลงทุนในสิ่งที่ยังไม่สามารถวัดผลลัพธ์เป็นกำไรได้อย่างรวดเร็วในวันแรก ยังเกิดจากความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดกว่า 6,000 คน ตั้งแต่การช่วยคัดแยกขยะ มีการออกแบบถังขยะให้ง่ายต่อการคัดแยก ความร่วมมือจึงเกิดขึ้นโดยไม่ต้องบังคับ และทำให้กลายเป็นวินัยของทุกคนในที่สุด “โลกของเรามีทรัพยากรจำกัด จึงต้องทำให้ทรัพยากรนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ส่งผลดีต่อธุรกิจ และลดต้นทุนการกำจัดขยะ และยังเพิ่มมูลค่า เพิ่มรายได้ให้แก่ธุรกิจ”

ตลาดสี่มุมเมือง
ชวนลูกบ้าน “แยกขยะสร้างรายได้” เป็น “ค่าใช้จ่ายส่วนกลางของคอนโด”

ด้าน สปัญญ์ ปาลีวงศ์ Business Development Director, Smart Service and Management Co.,Ltd ผู้บริหารโครงการที่พักอาศัย ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยดูแลคุณภาพชีวิตลูกบ้านใน 284 โครงการ ด้วยการสื่อสารเรื่องการคัดแยกขยะในทุกช่องทาง ทั้งแอปพลิเคชัน โซเชียลมีเดีย และป้ายต่างๆ บริเวณทางเดินและลิฟต์ ให้ลูกบ้านส่วนร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีจากตัวเอง อีกทั้งยังได้จัดประกวดแข่งขันระหว่างลูกบ้าน 2,342 ครัวเรือน ใน 55 โครงการ ใน “โครงการคัดแยกขยะ” เพื่อนำไปขายต่อให้กับผู้รับซื้อสำหรับนำไปรีไซเคิล อีกทั้งล่าสุดได้ร่วมมือกับ SCGP คัดแยกขยะที่เป็นกระดาษ

ChulaZeroWaste
“เงินจากการขายขยะของลูกบ้านกว่า 60,000 บาท ถือเป็นรายได้เข้าสู่ส่วนกลาง นี่คือตัวอย่างที่ทำให้ลูกบ้านเห็นว่าเป็นผลลัพธ์ที่เริ่มต้นจากที่ทุกคนช่วยกัน จึงทำให้มีเงินเข้ามาที่นิติบุคคลโดยไม่ต้องเก็บเงินค่าส่วนกลางกับลูกบ้านเพิ่ม และอยู่ระหว่างการขยายโครงการไปสู่ลูกบ้านในโครงการอื่นๆ นับเป็นการส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับผู้บริโภค ซึ่งภาคธุรกิจต้องมีบทบาทกระตุ้นให้ลูกบ้านลุกขึ้นมาสร้างประโยชน์ที่ดีต่อตัวเอง ครอบครัว และสังคมที่อยู่อาศัย”


3 กลวิธี เปลี่ยนจุฬาฯ เป็น Zero Waste Community

งานเปิดตัว “โครงการถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ”
ขณะที่ วรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรม PETROMAT และผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ Chula Zero Waste มุ่งมั่นที่จะพัฒนาต้นแบบการลดขยะในพื้นที่กลางเมือง ที่มีพื้นที่น้อยแต่มีประชากรหนาแน่นและสร้างขยะจำนวนมาก จึงเริ่มสร้างค่านิยม Zero Waste ด้วยหลัก 3R (Reduce-Reuse-Recycle) คือ ลดการใช้ทรัพยากร นำกลับมาใช้ซ้ำ เพื่อให้เกิดขยะน้อยที่สุด รวมถึงการนำกลับมาเป็นทรัพยากรในการผลิตใหม่ ด้วยการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งสู่การสร้างจิตสำนึกและวางเป้าหมายที่จะลดขยะเหลือทิ้งให้ได้ร้อยละ 30 ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ด้วยหลากหลายวิธีเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมบุคลากรและนิสิต ทั้ง 1.) เก็บเงินค่าถุงพลาสติกใบละ 2 บาท ทำให้ลดการใช้ถุงพลาสติกในมหาวิทยาลัยได้ถึงร้อยละ 90 เพราะทำให้ผู้ใช้เกิดการคิดก่อนใช้ 2.) ติดตั้งตู้กดน้ำ และแจกกระบอกน้ำให้นิสิตและบุคลากร เพื่อกระตุ้นให้ใช้กระบอกน้ำส่วนตัว และ 3.) นำนวัตกรรมวัสดุที่ย่อยสลายได้มาใช้แทนแก้วน้ำพลาสติกและจัดการอย่างครบวงจร ได้แก่จัดการให้มีระบบการแยกทิ้งเฉพาะเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในกระบวนการรีไซเคิล ทำให้สามารถนำแก้วไปหมักให้เกิดการย่อยสลายเป็นชีวมวล (Biomass) หรือส่งให้กรมป่าไม้นำไปใช้ทดแทนถุงดำเพาะชำ ซึ่งเป็นการลดการใช้ถุงพลาสติกและยังช่วยให้ต้นกล้ามีอัตราการรอดสูงขึ้น ทั้งหมดนี้ช่วยลดปัญหาขยะที่เกิดจากแก้วน้ำพลาสติกได้กว่า 2 ล้านใบต่อปี

สปัญญ์ ปาลีวงศ์ Business Development Director, Smart Service and Management Co.,Ltd
“เดิมมีขยะอยู่ประมาณ 2,000 ตันต่อปี จากผลการดำเนินงานหลากหลายกิจกรรมใน 4 ปี ช่วยลดปริมาณขยะได้เกือบ 500 ตัน แต่วัสดุที่ย่อยสลายได้เป็นกับดักใหญ่สำหรับประเทศไทย เพราะส่วนมากวัสดุที่ย่อยสลายได้ในท้องตลาดจะเป็นพลาสติกที่แตกสลายและกลายเป็นไมโครพลาสติก ดังนั้น การใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ต้องใช้วัสดุที่มีมาตรฐาน แยกให้ถูกประเภท และย่อยให้ถูกวิธีด้วยกระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพ หากมีครบทั้ง 3 ปัจจัย ก็มั่นใจได้ว่าสามารถจัดการขยะได้จริงตามหลัก Circular Economy”

“เทคโนโลยี” ตัวช่วยจัดการข้อมูลขยะ

ปณาลี ภัทรประสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ - สายงานสำนักกรรมการผู้จัดการ ตลาดสี่มุมเมือง
รัมภ์รดา นินนาท รองผู้อำนวยการ เครือข่ายความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (TRBN) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ และภาคส่วนต่างๆ โดยมุ่งนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ขับเคลื่อนโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น โครงการ “วิภาวดีไม่มีขยะ” และ “ส่งพลาสติกกลับบ้าน” ผ่านการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน เพื่อลดขยะสู่บ่อฝังกลบ เพิ่มการรีไซเคิล และลดก๊าซเรือนกระจก โดยมีเก็บสะอาด (GEPP S-Ard) เทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มเป็นตัวช่วยเก็บข้อมูลปริมาณขยะ ติดตาม และประเมินผล พร้อมเชื่อมต่อกับ Solution Providers ทั้งแอปพลิเคชัน PAPER X ของ SCGP ในการเก็บขยะประเภทกระดาษ และ AIS e-waste ในการเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ นำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล

“โครงการวิภาวดีไม่มีขยะ ได้รับความร่วมมือจาก 31 องค์กรที่ตั้งอยู่ตลอดถนนวิภาวดี โดยแต่ละองค์กรได้เริ่มจัดการขยะภายในองค์กรตนเอง โดยมีอัตราการรีไซเคิลเฉลี่ยของทั้งโครงการประมาณร้อยละ 8 เป้าหมายต่อไปคือการเพิ่มอัตราการรีไซเคิลได้ขององค์กรในโครงการให้ได้ร้อยละ 40”

วรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรม PETROMAT และผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ Chula Zero Waste
สำหรับโครงการ “ส่งพลาสติกกลับบ้าน” เป็นการบริหารจัดการขยะตลอดเส้นทางสุขุมวิท ด้วยการร่วมกับผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าจัดตั้งจุดคัดแยกขยะ และร่วมกับบริษัทที่รับขยะ นำเข้าสู่ระบบรีไซเคิล รวม 39 ภาคี

“ในช่วง 2 เดือนที่ดำเนินโครงการ ถือว่าได้ผลดีเกินคาด ไม่ใช่เพราะได้ปริมาณขยะถึง 2.2. ตัน แต่กว่าร้อยละ 90 ของขยะที่ผู้บริโภคนำมาทิ้งเป็นขยะที่สะอาด ทำให้เห็นถึงความตั้งใจในการแยกขยะของผู้บริโภค”

รัมภ์รดา นินนาท รองผู้อำนวยการ เครือข่ายความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (TRBN)
ปัจจัยความสำเร็จต้องเกิดขึ้นจากการที่มีนโยบายที่ชัดเจน สร้างการมีส่วนร่วม มีการสื่อสารและสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้มีการแยกขยะได้อย่างถูกต้อง ในขณะที่ต้องมีการเก็บข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อให้ติดตามและประเมินผลได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการหาเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกให้ง่าย เก็บข้อมูลได้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น

นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนที่ทำให้เห็นว่า การจัดการขยะได้เริ่มต้นขึ้นแล้วจากความพยายามของหลายภาคส่วน ด้วยการแก้ปัญหาที่ใช้วิธีการที่แตกต่างกันตามบริบท เพื่อเพิ่มคุณค่าของ “ขยะ” ให้กลายเป็น “ทรัพยากร” ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จริง เมื่อทุกฝ่ายร่วมมือกันแยกขยะตั้งแต่ต้นทางอย่างจริงจัง พร้อมกับการบริหารจัดการขยะเพื่อนำเข้าสู่ระบบการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพ จึงจะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนต่อไปได้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด


ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดและเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3mK09q8 และลงทะเบียนรับชมงาน SD Symposium 2020 “Circular Economy: Actions for Sustainable Future” วันจันทร์ที่ 9 พ.ย. 2563 เวลา 13.30-15.00 น. แบบออนไลน์ได้ที่ https://bit.ly/3oSQAXS หรือ QR Code นี้



QR Code ลงทะเบียนออนไลน์ SD Symposium 2020  Circular Economy Action for Sustainable Future


กำลังโหลดความคิดเห็น