xs
xsm
sm
md
lg

จุฬาฯ ผนึกรัฐและองค์กรชั้นนำเร่งผุดระบบเซ็นเซอร์ 500 จุด วัดฝุ่น PM 2.5

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินหน้าพัฒนาโครงการ Sensor for All ปีที่ 3 ภายใต้ความร่วมมือกับ GISTDA พร้อมด้วยองค์กรชั้นนำของไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การเคหะแห่งชาติ ไมโครซอฟท์ ทรู และเอไอเอส หวังกระจายระบบตรวจวัดสภาพอากาศและมลพิษที่คิดค้นโดยคนไทยให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ 500 จุด

นายสุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เปิดเผยว่า โครงการ Sensor for All ปีที่ 3 นี้ เป็นโครงการที่ร่วมมือระหว่างคณะวิศวฯ กับภาคอุตสาหกรรม หรือ ILP เพื่อเป็นแกนหลักในการผนึกพลังทุกภาคส่วนในการลดปัญหา PM2.5 และมลภาวะทางอากาศตลอดจนภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ที่นับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นโดยในปีที่ 3 นี้ คณะวิศวกรรมฯ จุฬาฯ และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชนชั้นนำของไทย ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การเคหะแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จํากัด ได้ร่วมมือขยายเครือข่ายเซนเซอร์ตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 โดยตั้งเป้าขยายให้ได้มากกว่า 500 จุด ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ พร้อมกับพัฒนาระบบวิเคราะห์และพยากรณ์สถานการณ์ฝุ่นล่วงหน้า ด้วยการสนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูลจาก บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

“ปีแรกได้พัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 และทดลองติดตั้งในพื้นที่โดยรอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 2 พัฒนาระบบการส่งและแสดงผลข้อมูล ตลอดจนขยายการตรวจวัดปริมาณฝุ่นให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภายใต้ความร่วมมือกับหลายหน่วยงาน นอกจากนี้จะได้พัฒนาระบบแสดงผลผ่านทางเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันสำหรับขยายผลไปสู่การสร้างการรับรู้ร่วมกับการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบหนังสือ บอร์ดเกม และอีกหลากหลายช่องทาง เพื่อมุ่งสู่การสร้างความรู้ที่ถูกต้องของสังคมเกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่น อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.จะนำระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าของ กฟผ.มาบูรณาการร่วมกับโครงการ Sensor for all ในการขยายขอบเขตให้ครอบคลุมพื้นที่ชุมชนเมือง พร้อมสนับสนุนการติดตั้งเซ็นเซอร์เพิ่มเติมและร่วมกับพันธมิตรพัฒนาแพลตฟอร์มระดับประเทศในการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ซึ่ง กฟผ.สามารถนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ประโยชน์ประกอบการวางแผนการเดินเครื่องและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าของ กฟผ.ได้ด้วย นอกจากนี้ กฟผ.จะสนับสนุนทุนผ่านกิจกรรมระดมทุนในโครงการนี้ เพื่อร่วมติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศรวม 200 จุด ในบริเวณพื้นที่ กฟผ. และเครือข่ายโรงเรียนในโครงการ “ห้องเรียนสีเขียว” ทั่วประเทศ
กำลังโหลดความคิดเห็น