กำลังเป็นที่กล่าวถึงอย่างมากในแวดวงนักลงทุน ทั้งไทยและต่างประเทศ สำหรับ โครงการ 5G x UAV SANDBOX WANGCHAN VALLEY ซึ่ง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตร เปิดมิติใหม่ในการนำเทคโนโลยี 5G มาเพิ่มขีดความสามารถการใช้งานโดรน เพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ผู้สนใจร่วมทดสอบเพื่อการวิจัยเป็นแห่งแรกของประเทศ พร้อมรับสิทธิพิเศษในการพัฒนาธุรกิจระยะยาว ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาวังจันทร์วัลเลย์ ให้เป็นเมืองนวัตกรรม ที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม นำไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) ที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต
เราได้มีโอกาสสนทนากับ “ขุนพล ด้าน Innovation” ของ ปตท. “วิทวัส สวัสดิ์-ชูโต” ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม ถึงความเป็นมาและความสำคัญของโครงการดังกล่าวบนพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ที่ก้าวสู่การเป็น Smart City อย่างเต็มรูปแบบแล้ว...
“วิทวัส สวัสดิ์-ชูโต” ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม
ในเบื้องต้น อยากทราบถึงมุมมองของคุณวิทวัส เกี่ยวกับการเป็นผู้บุกเบิก วังจันทร์วัลเลย์ ให้เป็น Smart City อย่างเต็มรูปแบบ คิดว่าเพราะอะไร ประเทศไทย จึงจำเป็นต้องมี Smart City ที่ว่านี้
อันที่จริงผมคิดว่า ทุกๆ ประเทศสามารถมี Smart City ได้ ถ้าเขาคิดจะทำ ซึ่งโดยความหมายของ Smart City นั้น มันเหมือนเป็นพื้นที่ที่นำเอา Innovation ทั้งหลายมาใส่ไว้ เช่น ในห้องหนึ่งห้อง เรามีไฟฟ้า แล้วถ้าสมมติเราสามารถสั่งเปิดปิดไฟฟ้าด้วยการใช้เสียงได้ นั่นก็คือ ถือเป็น Smart City อย่างหนึ่ง ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วนั้น ความเป็น Smart City มันมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 ด้าน แต่ไม่ได้หมายความว่าในที่ๆ หนึ่ง จะต้องมีครบในทุกด้านถึงจะเรียกว่า Smart City เพียงแค่มี 3-4 ด้านในพื้นที่นั้นก็สามารถพูดได้แล้วว่าเป็น Smart City
สำหรับพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ที่ทาง ปตท. ได้บุกเบิกให้เป็น Smart City นั้น ที่มาก็คือ แต่เดิม เนื้อที่ตรงนั้นเป็นที่ดินของ ไออาร์พีซี (บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)) ซึ่งตอนนั้น ผมไปดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (สายแผนธุรกิจองค์กร) และเป็นคนที่เข้าไปดูเรื่องนี้ โดยทาง ปตท. มีความคิดว่าเราควรจะมีที่สักที่เพื่อทำเป็นพื้นที่นวัตกรรมให้กับประเทศ และจากความเห็นของ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร กรรมการบริษัท ปตท. ตั้งแต่สมัยดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ท่านมองว่าพื้นที่ตรงนี้ น่าจะนำมาทำเป็นมหาวิทยาลัย ต่อมาทางไออาร์พีซีจึงดำเนินการขายพื้นที่แปลงนี้ ให้กับ ปตท. จนกลายมาเป็น VISTEC (สถาบันวิทยสิริเมธี), KVIS (โรงเรียนกำเนิดวิทย์) และมีสถาบันปลูกป่าเกิดขึ้น โดยใช้เนื้อที่ไปประมาณ 900 ไร่
อย่างไรก็ดี เนื้อที่ตรงนั้น มีรวมกันประมาณ 3,500 ไร่ ดร.ไพรินทร์ ถามว่า ส่วนที่เหลือจะทำอะไรต่อดี แล้วพอดีตอนนั้น รัฐบาลประกาศ EEC (โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก) ท่าน ดร.ไพรินทร์ บอกว่า ถ้าอย่างนั้นเราควรช่วยประเทศชาติ จึงได้มีการเริ่มคุยกับทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม) และ สวทช. ว่าเราควรจะทำพื้นที่ตรงนี้ให้กลายเป็นพื้นที่ทำนวัตกรรมของ EEC เราเลยตั้งชื่อว่า EECi (Eastern Economic Corridor of Innovation) โดยมุ่งเน้นพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ให้เป็นเหมือนกับซิลิคอนวัลเลย์ของอเมริกา
ณ ตอนนี้ โครงการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ มีความคืบหน้าไปมากน้อยแค่ไหนอย่างไร
ต้องบอกว่า เข้าใกล้ความเป็นสมาร์ทซิตี้อย่างเต็มรูปแบบแล้ว เพราะล่าสุดเราเพิ่งไปเข้ารับประกาศนียบัตรลงทะเบียนความเป็น Smart City ซึ่งอย่างที่บอกว่า Smart City มีทั้งหมด 7 ด้าน ตอนนี้เราทำได้ 6 ด้านแล้ว ส่วนอีกหนึ่งด้านกำลังดำเนินการอยู่ อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดถึงความเป็น Smart City ของพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ถือว่างานเราสำเร็จแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังต้องทำเพิ่มไปเรื่อยๆ เพราะสมัยนี้ เทคโนโลยีเดินหน้าอยู่ตลอดเวลาและเปลี่ยนเร็ว เราจึงต้องมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาเช่นกัน อะไรที่มันล้าหลังแล้ว ก็ต้องเปลี่ยนเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยเหตุนี้ ความเป็น Smart City จึงไม่ใช่ว่า พอทำได้สำเร็จเสร็จสิ้นแล้วจะหยุดอยู่แค่นั้น แต่เราต้องเดินหน้าต่อ ตามต่อ และต้องคงความเป็น Smart City ไว้ตลอดเวลา
เห็นว่า ในพื้นที่แห่งนี้ มีโครงการ 5G x UAV SANDBOX WANGCHAN VALLEY ขอเรียนถามเป็นความรู้ครับว่า มันคืออะไร และมีเป้าหมายอย่างไร
โครงการ 5G x UAV SANDBOX เป็นการเปิดพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ให้ผู้สนใจทุกภาคส่วนได้เข้ามาทดสอบและทดลองนวัตกรรมต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพความเร็วในการรับส่งข้อมูล เพื่อการตอบสนองที่ไวขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้นำศักยภาพของ 5G ไปทดลองใช้เป็น Use cases ต่างๆ รวมถึง UAV (Unmanned Aerial Vehicle) และการจัดการการบิน
โครงการนี้มีพันธมิตรคือใคร หน่วยงานใดบ้าง และมีส่วนร่วมหรือบทบาทในการร่วมพัฒนาพื้นที่ 5G x UAV SANDBOX WANGCHAN VALLEY อย่างไร
โครงการนี้ ปตท. ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มาร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี ทั้ง CAAT (สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย) ซึ่งสนับสนุนให้พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์สามารถบินโดรนเพื่อการทดลองและทดสอบได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และช่วยให้การอนุญาตปฏิบัติแตกต่างจากเงื่อนไขที่กำหนด
ขณะที่ กสทช. (สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ก็เข้ามาช่วยบริหารและจัดสรรคลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สนับสนุนการทดสอบ 5G ในพื้นที่ เพื่อใช้งานในเชิงพาณิชย์ ส่วน สวทช. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะผู้บริหารจัดการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ก็ให้การสนับสนุนด้านการดำเนินการ UAV Sandbox ได้อย่างสะดวกและประสบความสำเร็จ ขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยี ทักษะ ความรู้ด้านการบินโดรนแก่กลุ่มเป้าหมายที่สนใจ
นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายสัญญาณ อย่าง “เอไอเอส” (บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)) ที่ทำงานร่วมกับ VISTEC ในการทดสอบและพัฒนาโดรนวิศวกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาสินทรัพย์ ขณะที่ “ทรู” (บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)) ได้เข้ามาช่วยในด้านการทดสอบและพัฒนาโดรนลาดตระเวนติดกล้องที่ควบคุมและเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ True5G เพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยของพื้นที่ ส่วน “ดีแทค” (บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน)) ร่วมพัฒนาการทดสอบสู่กล้องตรวจการณ์อัจฉริยะ 5G สำหรับควบคุมจากทางไกลและถ่ายทอดข้อมูลความละเอียดสูง ให้การสั่งการรวดเร็วและภาพที่คมชัด
เมื่อพูดถึง 5G ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ นี่คือสัญญาณที่ดีที่จะดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาด้วย ตรงนี้คุณวิทวัสมองอย่างไร
ผมมองว่า คนที่จะเข้ามาลงทุน เขาจะนำเอาเครื่องไม้เครื่องมือ หรือ Innovation เข้ามาด้วย ซึ่งเครื่องไม้เครื่องมือสมัยใหม่บางประเภท จำเป็นต้องใช้ 5G อย่างเช่น VR (Virtual Reality) ซึ่งถ้ามี 5G ก็จะช่วยให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ช่วยลดการดีเลย์ รวมถึงบริษัทจากต่างประเทศที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในประเทศเรา ในพื้นที่ EECi หากเขาเห็นว่าเรามี 5G เขาจะบอกว่าทันสมัย เครื่องไม้เครื่องมือที่เขานำมา สามารถใช้งาน 5G ได้เลย นั่นคื อความสำคัญของมัน ทำให้ผู้ที่สนใจอยากเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เชื่อมั่นได้ว่า เมื่อมาร่วมลงทุนแล้ว จะมีพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีรองรับ ซึ่งที่วังจันทร์วัลเลย์เราได้เตรียมความพร้อมในด้านนี้ไว้อย่างครบครันและดีที่สุดแล้ว
ในส่วนของ ปตท. คาดหวังว่า เทคโนโลยี 5G ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ จะเข้ามามีส่วนช่วยเสริมอุตสาหกรรมที่เป็น New S-Curve อย่างไรบ้าง
ทาง ปตท. มีความตั้งใจมากในเรื่องนี้ จากการมองเห็นเทรนด์โลกที่เปลี่ยนไป แต่เดิมทาง ปตท. ทำ Oil & Gas มาโดยตลอด แต่เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป เป็นยุค 5G มีการ รถยนต์ไฟฟ้า เราจะถูก Disrupt ผู้ใหญ่ก็เลยตั้งตำแหน่ง CTO (Chief Technology Officer) นี้ขึ้นมา เพื่อที่จะหา New S-Curve ฟังดี ๆ นะครับ S-Curve กับ New S-Curve นั้นต่างกัน S-Curve ของ ปตท. เราทำน้ำมันมา แต่วันนี้ S-Curve เริ่มเปลี่ยน เพราะว่ารถยนต์ไฟฟ้าเริ่มมา Hydrogen เริ่มมา ก็ส่งผลให้ S-Curve เราเริ่มแฟลช ถามว่าเราพยายามดิ้นรนไหม ก็ดิ้นรน อย่างเช่น ออกน้ำมันชนิดใหม่ขึ้นมา อันนั้นคือการต่อยอดของ S-Curve เดิม ก็เกิดเป็น New S-Curve แต่ New S-Curve อันนี้ มันจะไปได้อีกนิดเดียว ก็จะเริ่มแฟลชแล้ว
การทำ New S-Curve คือ สมมติว่า ปตท.อยากจะทำยา นี่คือ New S-Curve ของ ปตท. เพราะ ปตท.ไม่เคยยุ่งกับยา ด้วยเหตุนี้ ซีทีโอถูกตั้งขึ้นมา เพื่อให้หา New S-Curve เป็นหลัก ซึ่งผมพูดได้เลยว่าหายากมาก แต่ผมก็ไม่หยุด และมีอะไรหลายๆ อย่างที่พอจะเริ่มเห็นแสงบ้างแล้ว
แน่นอนว่า นี่คืออีกหนึ่งภารกิจที่มีความท้าทายสูง คุณวิทวัสมีวิธีคิดหรือแนวทางการบริหารงานอย่างไร เพื่อนำพาองค์กรฝ่าข้ามความท้าทาย ก้าวไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย
ผมได้พยายามเน้นผลักดันในเรื่อง Innovation และมองหาสิ่งที่จะเป็น New S-Curve ผมพูดได้เลยว่ายากมาก ... ยากที่ผมจะพูดถึงสิ่งใหม่ๆ แล้วคนจะเข้าใจ เพราะสิ่งใหม่ๆ มันเป็นอะไรที่ไม่เป็นที่รู้จัก ดังนั้น คนที่จะมาทำตรงนี้ได้นั้น ต้องมีความรู้สึกในความเป็นเจ้าของงาน ต้องมีแรงบัลดาลใจที่จะทำ มีความอดทนอย่างสูง ที่จะฟันฝ่าอุปสรรคทุกสิ่ง ทุกอย่างและต้องไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคครับ
ไม่ว่าจะอย่างไร ตอนนี้ โครงการ 5G x UAV SANDBOX WANGCHAN VALLEY เป็นรูปเป็นร่างแล้ว อยากให้คุณวิทวัส ชักชวนนักลงทุนเป็นการส่งท้าย ณ ตรงนี้ครับว่า พวกเขาจะได้รับประโยชน์หรือความสะดวกในด้านใดบ้าง เมื่อเข้ามายังวังจันทร์วัลเลย์แห่งนี้
ในมุมมองของผม ผมคิดว่า 5G Playground UAV SANDBOX มีพลังในการเชื้อเชิญในตัวอยู่แล้ว และเป็นพื้นที่เดียวที่ทั้ง สวทช., กสทช. และ CAAT มารวมอยู่ในที่แห่งนี้ เพราะฉะนั้น สำหรับนักลงทุน ถ้าเขาได้เห็น เขาสนใจแน่นอน อย่างไรก็ตาม เรื่องของ 5G SANDBOX มันเป็นแค่เรื่องวันนี้ เพราะจริงๆ แล้ว ในพื้นที่ตรงนี้ ผมอยากให้มันเป็น SANDBOX ในทุกๆ อย่าง เป็นไปได้ในทุกๆ เรื่อง
และที่สำคัญ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิพิเศษจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในการพัฒนาธุรกิจในระยะยาว ได้แก่ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี, ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ, ภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ร้อยละ 17 ซึ่งต่ำที่สุดในเอเชีย, สมาร์ทวีซ่าสำหรับผู้เชี่ยวชาญและครอบครัว, พื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบในการทำนวัตกรรม (Regulatory Sandbox) และศูนย์บริการด้านการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว (One Stop Service) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนด้วยครับ
นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ผู้สนใจร่วมทดสอบเพื่อการวิจัยเป็นแห่งแรกของประเทศ พร้อมรับสิทธิพิเศษในการพัฒนาธุรกิจระยะยาว ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาวังจันทร์วัลเลย์ ให้เป็นเมืองนวัตกรรม ที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม นำไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) ที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต
เราได้มีโอกาสสนทนากับ “ขุนพล ด้าน Innovation” ของ ปตท. “วิทวัส สวัสดิ์-ชูโต” ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม ถึงความเป็นมาและความสำคัญของโครงการดังกล่าวบนพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ที่ก้าวสู่การเป็น Smart City อย่างเต็มรูปแบบแล้ว...
“วิทวัส สวัสดิ์-ชูโต” ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม
ในเบื้องต้น อยากทราบถึงมุมมองของคุณวิทวัส เกี่ยวกับการเป็นผู้บุกเบิก วังจันทร์วัลเลย์ ให้เป็น Smart City อย่างเต็มรูปแบบ คิดว่าเพราะอะไร ประเทศไทย จึงจำเป็นต้องมี Smart City ที่ว่านี้
อันที่จริงผมคิดว่า ทุกๆ ประเทศสามารถมี Smart City ได้ ถ้าเขาคิดจะทำ ซึ่งโดยความหมายของ Smart City นั้น มันเหมือนเป็นพื้นที่ที่นำเอา Innovation ทั้งหลายมาใส่ไว้ เช่น ในห้องหนึ่งห้อง เรามีไฟฟ้า แล้วถ้าสมมติเราสามารถสั่งเปิดปิดไฟฟ้าด้วยการใช้เสียงได้ นั่นก็คือ ถือเป็น Smart City อย่างหนึ่ง ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วนั้น ความเป็น Smart City มันมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 ด้าน แต่ไม่ได้หมายความว่าในที่ๆ หนึ่ง จะต้องมีครบในทุกด้านถึงจะเรียกว่า Smart City เพียงแค่มี 3-4 ด้านในพื้นที่นั้นก็สามารถพูดได้แล้วว่าเป็น Smart City
สำหรับพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ที่ทาง ปตท. ได้บุกเบิกให้เป็น Smart City นั้น ที่มาก็คือ แต่เดิม เนื้อที่ตรงนั้นเป็นที่ดินของ ไออาร์พีซี (บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)) ซึ่งตอนนั้น ผมไปดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (สายแผนธุรกิจองค์กร) และเป็นคนที่เข้าไปดูเรื่องนี้ โดยทาง ปตท. มีความคิดว่าเราควรจะมีที่สักที่เพื่อทำเป็นพื้นที่นวัตกรรมให้กับประเทศ และจากความเห็นของ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร กรรมการบริษัท ปตท. ตั้งแต่สมัยดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ท่านมองว่าพื้นที่ตรงนี้ น่าจะนำมาทำเป็นมหาวิทยาลัย ต่อมาทางไออาร์พีซีจึงดำเนินการขายพื้นที่แปลงนี้ ให้กับ ปตท. จนกลายมาเป็น VISTEC (สถาบันวิทยสิริเมธี), KVIS (โรงเรียนกำเนิดวิทย์) และมีสถาบันปลูกป่าเกิดขึ้น โดยใช้เนื้อที่ไปประมาณ 900 ไร่
อย่างไรก็ดี เนื้อที่ตรงนั้น มีรวมกันประมาณ 3,500 ไร่ ดร.ไพรินทร์ ถามว่า ส่วนที่เหลือจะทำอะไรต่อดี แล้วพอดีตอนนั้น รัฐบาลประกาศ EEC (โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก) ท่าน ดร.ไพรินทร์ บอกว่า ถ้าอย่างนั้นเราควรช่วยประเทศชาติ จึงได้มีการเริ่มคุยกับทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม) และ สวทช. ว่าเราควรจะทำพื้นที่ตรงนี้ให้กลายเป็นพื้นที่ทำนวัตกรรมของ EEC เราเลยตั้งชื่อว่า EECi (Eastern Economic Corridor of Innovation) โดยมุ่งเน้นพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ให้เป็นเหมือนกับซิลิคอนวัลเลย์ของอเมริกา
ณ ตอนนี้ โครงการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ มีความคืบหน้าไปมากน้อยแค่ไหนอย่างไร
ต้องบอกว่า เข้าใกล้ความเป็นสมาร์ทซิตี้อย่างเต็มรูปแบบแล้ว เพราะล่าสุดเราเพิ่งไปเข้ารับประกาศนียบัตรลงทะเบียนความเป็น Smart City ซึ่งอย่างที่บอกว่า Smart City มีทั้งหมด 7 ด้าน ตอนนี้เราทำได้ 6 ด้านแล้ว ส่วนอีกหนึ่งด้านกำลังดำเนินการอยู่ อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดถึงความเป็น Smart City ของพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ถือว่างานเราสำเร็จแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังต้องทำเพิ่มไปเรื่อยๆ เพราะสมัยนี้ เทคโนโลยีเดินหน้าอยู่ตลอดเวลาและเปลี่ยนเร็ว เราจึงต้องมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาเช่นกัน อะไรที่มันล้าหลังแล้ว ก็ต้องเปลี่ยนเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยเหตุนี้ ความเป็น Smart City จึงไม่ใช่ว่า พอทำได้สำเร็จเสร็จสิ้นแล้วจะหยุดอยู่แค่นั้น แต่เราต้องเดินหน้าต่อ ตามต่อ และต้องคงความเป็น Smart City ไว้ตลอดเวลา
เห็นว่า ในพื้นที่แห่งนี้ มีโครงการ 5G x UAV SANDBOX WANGCHAN VALLEY ขอเรียนถามเป็นความรู้ครับว่า มันคืออะไร และมีเป้าหมายอย่างไร
โครงการ 5G x UAV SANDBOX เป็นการเปิดพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ให้ผู้สนใจทุกภาคส่วนได้เข้ามาทดสอบและทดลองนวัตกรรมต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพความเร็วในการรับส่งข้อมูล เพื่อการตอบสนองที่ไวขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้นำศักยภาพของ 5G ไปทดลองใช้เป็น Use cases ต่างๆ รวมถึง UAV (Unmanned Aerial Vehicle) และการจัดการการบิน
โครงการนี้มีพันธมิตรคือใคร หน่วยงานใดบ้าง และมีส่วนร่วมหรือบทบาทในการร่วมพัฒนาพื้นที่ 5G x UAV SANDBOX WANGCHAN VALLEY อย่างไร
โครงการนี้ ปตท. ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มาร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี ทั้ง CAAT (สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย) ซึ่งสนับสนุนให้พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์สามารถบินโดรนเพื่อการทดลองและทดสอบได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และช่วยให้การอนุญาตปฏิบัติแตกต่างจากเงื่อนไขที่กำหนด
ขณะที่ กสทช. (สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ก็เข้ามาช่วยบริหารและจัดสรรคลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สนับสนุนการทดสอบ 5G ในพื้นที่ เพื่อใช้งานในเชิงพาณิชย์ ส่วน สวทช. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะผู้บริหารจัดการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ก็ให้การสนับสนุนด้านการดำเนินการ UAV Sandbox ได้อย่างสะดวกและประสบความสำเร็จ ขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยี ทักษะ ความรู้ด้านการบินโดรนแก่กลุ่มเป้าหมายที่สนใจ
นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายสัญญาณ อย่าง “เอไอเอส” (บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)) ที่ทำงานร่วมกับ VISTEC ในการทดสอบและพัฒนาโดรนวิศวกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาสินทรัพย์ ขณะที่ “ทรู” (บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)) ได้เข้ามาช่วยในด้านการทดสอบและพัฒนาโดรนลาดตระเวนติดกล้องที่ควบคุมและเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ True5G เพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยของพื้นที่ ส่วน “ดีแทค” (บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน)) ร่วมพัฒนาการทดสอบสู่กล้องตรวจการณ์อัจฉริยะ 5G สำหรับควบคุมจากทางไกลและถ่ายทอดข้อมูลความละเอียดสูง ให้การสั่งการรวดเร็วและภาพที่คมชัด
เมื่อพูดถึง 5G ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ นี่คือสัญญาณที่ดีที่จะดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาด้วย ตรงนี้คุณวิทวัสมองอย่างไร
ผมมองว่า คนที่จะเข้ามาลงทุน เขาจะนำเอาเครื่องไม้เครื่องมือ หรือ Innovation เข้ามาด้วย ซึ่งเครื่องไม้เครื่องมือสมัยใหม่บางประเภท จำเป็นต้องใช้ 5G อย่างเช่น VR (Virtual Reality) ซึ่งถ้ามี 5G ก็จะช่วยให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ช่วยลดการดีเลย์ รวมถึงบริษัทจากต่างประเทศที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในประเทศเรา ในพื้นที่ EECi หากเขาเห็นว่าเรามี 5G เขาจะบอกว่าทันสมัย เครื่องไม้เครื่องมือที่เขานำมา สามารถใช้งาน 5G ได้เลย นั่นคื อความสำคัญของมัน ทำให้ผู้ที่สนใจอยากเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เชื่อมั่นได้ว่า เมื่อมาร่วมลงทุนแล้ว จะมีพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีรองรับ ซึ่งที่วังจันทร์วัลเลย์เราได้เตรียมความพร้อมในด้านนี้ไว้อย่างครบครันและดีที่สุดแล้ว
ในส่วนของ ปตท. คาดหวังว่า เทคโนโลยี 5G ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ จะเข้ามามีส่วนช่วยเสริมอุตสาหกรรมที่เป็น New S-Curve อย่างไรบ้าง
ทาง ปตท. มีความตั้งใจมากในเรื่องนี้ จากการมองเห็นเทรนด์โลกที่เปลี่ยนไป แต่เดิมทาง ปตท. ทำ Oil & Gas มาโดยตลอด แต่เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป เป็นยุค 5G มีการ รถยนต์ไฟฟ้า เราจะถูก Disrupt ผู้ใหญ่ก็เลยตั้งตำแหน่ง CTO (Chief Technology Officer) นี้ขึ้นมา เพื่อที่จะหา New S-Curve ฟังดี ๆ นะครับ S-Curve กับ New S-Curve นั้นต่างกัน S-Curve ของ ปตท. เราทำน้ำมันมา แต่วันนี้ S-Curve เริ่มเปลี่ยน เพราะว่ารถยนต์ไฟฟ้าเริ่มมา Hydrogen เริ่มมา ก็ส่งผลให้ S-Curve เราเริ่มแฟลช ถามว่าเราพยายามดิ้นรนไหม ก็ดิ้นรน อย่างเช่น ออกน้ำมันชนิดใหม่ขึ้นมา อันนั้นคือการต่อยอดของ S-Curve เดิม ก็เกิดเป็น New S-Curve แต่ New S-Curve อันนี้ มันจะไปได้อีกนิดเดียว ก็จะเริ่มแฟลชแล้ว
การทำ New S-Curve คือ สมมติว่า ปตท.อยากจะทำยา นี่คือ New S-Curve ของ ปตท. เพราะ ปตท.ไม่เคยยุ่งกับยา ด้วยเหตุนี้ ซีทีโอถูกตั้งขึ้นมา เพื่อให้หา New S-Curve เป็นหลัก ซึ่งผมพูดได้เลยว่าหายากมาก แต่ผมก็ไม่หยุด และมีอะไรหลายๆ อย่างที่พอจะเริ่มเห็นแสงบ้างแล้ว
แน่นอนว่า นี่คืออีกหนึ่งภารกิจที่มีความท้าทายสูง คุณวิทวัสมีวิธีคิดหรือแนวทางการบริหารงานอย่างไร เพื่อนำพาองค์กรฝ่าข้ามความท้าทาย ก้าวไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย
ผมได้พยายามเน้นผลักดันในเรื่อง Innovation และมองหาสิ่งที่จะเป็น New S-Curve ผมพูดได้เลยว่ายากมาก ... ยากที่ผมจะพูดถึงสิ่งใหม่ๆ แล้วคนจะเข้าใจ เพราะสิ่งใหม่ๆ มันเป็นอะไรที่ไม่เป็นที่รู้จัก ดังนั้น คนที่จะมาทำตรงนี้ได้นั้น ต้องมีความรู้สึกในความเป็นเจ้าของงาน ต้องมีแรงบัลดาลใจที่จะทำ มีความอดทนอย่างสูง ที่จะฟันฝ่าอุปสรรคทุกสิ่ง ทุกอย่างและต้องไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคครับ
ไม่ว่าจะอย่างไร ตอนนี้ โครงการ 5G x UAV SANDBOX WANGCHAN VALLEY เป็นรูปเป็นร่างแล้ว อยากให้คุณวิทวัส ชักชวนนักลงทุนเป็นการส่งท้าย ณ ตรงนี้ครับว่า พวกเขาจะได้รับประโยชน์หรือความสะดวกในด้านใดบ้าง เมื่อเข้ามายังวังจันทร์วัลเลย์แห่งนี้
ในมุมมองของผม ผมคิดว่า 5G Playground UAV SANDBOX มีพลังในการเชื้อเชิญในตัวอยู่แล้ว และเป็นพื้นที่เดียวที่ทั้ง สวทช., กสทช. และ CAAT มารวมอยู่ในที่แห่งนี้ เพราะฉะนั้น สำหรับนักลงทุน ถ้าเขาได้เห็น เขาสนใจแน่นอน อย่างไรก็ตาม เรื่องของ 5G SANDBOX มันเป็นแค่เรื่องวันนี้ เพราะจริงๆ แล้ว ในพื้นที่ตรงนี้ ผมอยากให้มันเป็น SANDBOX ในทุกๆ อย่าง เป็นไปได้ในทุกๆ เรื่อง
และที่สำคัญ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิพิเศษจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในการพัฒนาธุรกิจในระยะยาว ได้แก่ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี, ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ, ภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ร้อยละ 17 ซึ่งต่ำที่สุดในเอเชีย, สมาร์ทวีซ่าสำหรับผู้เชี่ยวชาญและครอบครัว, พื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบในการทำนวัตกรรม (Regulatory Sandbox) และศูนย์บริการด้านการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว (One Stop Service) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนด้วยครับ