ดีแทค จับมือ ปตท. นำ 5G IoT บนคลื่น 26GHz (mmWave) เข้าพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์เพื่อ EECi ประเดิมด้วยการนำไปใช้กับกล้องตรวจการณ์ที่สามารถติดตามเรียลไทม์เสมือนนั่งควบคุมที่ EECi ปตท. มั่นใจการใช้ 5G และดิจิทัลจะช่วยปูทางสู่เมืองวิจัยนวัตกรรมของประเทศ
นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทค มองเส้นทางสู่การพัฒนา 5G ที่ยั่งยืนในประเทศไทยนั้นมีเงื่อนไขแห่งความสำเร็จที่ต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังนั่นคือ การก้าวสู่ 5G
โดยคลื่นความถี่ที่ต้องมาปฏิวัติรูปแบบการใช้งาน หรือ use-case พร้อมกับองค์ประกอบที่เกื้อหนุนกัน และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (collaboration) เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนา 5G ให้เกิดขึ้นทั่วประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติของเทคโนโลยีและรูปแบบการใช้งาน จะเห็นได้ว่าคลื่นความถี่ 26GHz เหมาะสมที่จะพัฒนาการใช้งาน 5G เพื่ออุตสาหกรรมและกลุ่ม B2B ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาด้วยคลื่นที่มีปริมาณความจุเพื่อรองรับการใช้งานและการตอบสนองที่แม่นยำ
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์เพื่อเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ตั้งอยู่ที่ ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง บนพื้นที่ 3,454 ไร่
โครงการนี้ ปตท. มุ่งหวังที่จะสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนช่วยขับเคลื่อนการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมให้เกิดขึ้นและประสบความสำเร็จในระดับที่สามารถนำไปสร้างธุรกิจใหม่ๆ ตามแนวคิด Powering Thailand’s Transformation เพื่อยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันและขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลง พร้อมพัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย
นอกจากกล้องตรวจการณ์อัจฉริยะ 5G ที่ได้ใช้งานแล้ว ดีแทคยังร่วมทดสอบกับ ปตท.ในส่วนของ 5G FWA หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประจำที่ พร้อมทั้งยังมีแผนความร่วมมือต่อไปในส่วนของโซลูชันอื่นๆ เทคโนโลยีการสื่อสารมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในยุคดิจิทัล ทั้งยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวอีกด้วย
ทั้งนี้ ดีแทคยังเตรียมแผนที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมและพันธมิตรต่างๆ ให้ทดสอบและใช้งาน 5G คลื่น 26GHz ใน use case รูปแบบต่างๆ อีกมากมาย เช่น โซลูชันควบคุมไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อธุรกิจ (Smart MDB) ระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ (Smart Security) เซ็นเซอร์คลังสินค้า (Warehouse Sensors) ระบบแจ้งเตือนผล (Intelligent Report) ระบบติดตามรถยนต์ (Smart Tracking - Vehicle) และระบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) เป็นต้น