xs
xsm
sm
md
lg

“ออฟฟิศเมท”ชู3กลยุทธ์สปีดโต จ่อผุดสเปเชียลตี้สโตร์ขยายตลาด

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นางสาววิลาวรรณ ฤกษ์เกรียงไกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ออฟฟิศเมท ออมนิแฟรนไชส์ จำกัด ในเครือเซ็นทรัล เปิดเผยว่า บริษัทฯมีแผนที่จะเร่งการขยายธุรกิจของออฟฟิศเมท ผ่าน 3 กลยุทธ์หลักคือ 1.การขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์ชื่อ ออฟฟิศเมท พลัส 2.การเพิ่มสินค้าและบริการใหม่ๆเข้าไปในสโตร์และในออนไลน์ จากปัจจุบันมี 10 กลุ่มสินค้าหลัก และ 3.การขยายช่องทางจำหน่ายใหม่ๆ 

เนื่องจากมองว่าตลาดอุปกรณ์สำนักงานและอุปกรณ์ทั่วไป หรือร้านสะดวกซื้อเพื่อธุรกิจที่จับตลาดทั้งลูกค้าทั่วไปและลูกค้าองค์กร ยังมีการเติบโตที่ดีและยังไม่มีผู้ประกอบรายใดที่ทำครบวงจรเหมือนออฟฟิศเมท โดยกลุ่มเป้าหมายหลักเช่น เอสเอ็มอีทั่วไทยที่มีมากกว่า 3.1 ล้านราย กลุ่มสถาบันการศึกษา ที่มีมากถึง 45,000 แห่ง รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐที่ต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้มีมากกว่า 392 หน่วยงาน และส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ต้องซื้อซ้ำใหม่เพราะเป็นสินค้าที่ใช้แล้วหมดไป 


โดย 1. แผนการขายแฟรนไชส์ออฟฟิศเมท พลัส ตามเป้าหมายภายในปี 2568 จะเปิดแฟรนไชส์ให้ครบ 150 สาขา ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วไทย จากปัจจุบันมีแฟรนไชส์เปิดแล้ว 4 สาขา และของบริษัท 2 สาขา และตั้งเป้าหมายสิ้นปีนี้จะมีออฟฟิศเมทพลัสรวมเป็น 13 สาขา โมเดลแฟรนไชส์ค่าลงทุน 2.9 – 3.9 ล้านบาท พื้นที่ 50 ตารางเมตร สินค้ามี 2,000 รายการ จ่ายสวนแบ่งรายได้ต่อเดือนที่ต้องชำระ 6% จากยอดขายสินค้า คาดว่ามีรายได้ประมาณ 500,000 – 1,000,000 ล้านบาทต่อเดือนในปีแรก ได้รับผลตอบแทนกำไรจากการขายสูงสุดที่ 30%

ขณะที่ร้านออฟฟิศเมทเดิมของบริษัทฯนั้น ปัจจุบันมีรวม 75 สาขา ครอบคลุมแค่ 20 กว่าจังหวัดเท่านั้นเอง โดยอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล 44 สาขา ยังคงขยายสาขาต่อเนื่อง และมุ่นเน้นขนาดใหญ่ โดยปีหน้าคาดว่าจะเปิดได้ 2 สาขาใหม่ เป็นแฟลกชิบสโตร์ คือ จะเน้นจำหน่ายสินค้า 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มโรงงาน ซึ่งตลาดรวมในกลุ่มนี้มีมากกว่า 20,000 ล้านบาท กลุ่มโฮเรก้า ที่มีตลาดรวมกว่าแสนล้านบาท และกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงในอนาคตมีแผนจะแยกสินค้าแต่ละกลุ่มนี้ออกมาเปิดเป็นร้านแบบสเปเชียลตี้สโตร์หรือร้านเฉพาะทางด้วย 


ส่วนกลยุทธ์ที่ 2.การเพิ่มสินค้าใหม่ๆ ในสโตร์ของแฟรนไชส์จะมีปรมาณ 2,000 – 3,000 เอสเคยู ส่วนในออนไลน์ที่ร้านแฟรนไชส์สามารถเข้ามาใช้บริการได้ มีมากกว่า 60,000 รายการ ส่วนปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มสินค้าใหม่ๆอีกรวมเป็นกว่า 1 แสนเอสเคยู โดยจะมีพันธมิตรซัพพลายเออร์ใหม่ๆ จากขณะนี้มีซัพพลายเออร์มากกว่า 1 พันราย รวมไปถึงการหาบริการใหม่ๆเข้ามาเสริมด้วย
3.การขยายช่องทางใหม่ๆ ปัจจุบันนี้มี 4 ช่องทางหลักคือ หน้าร้านรวมแฟรนไชส์ด้วย สัดส่วนยอดขายหลัก 50% ช่องทางขายผ่านพนักงานขายและระบบหลังร้าน ช่องทางคอลล์แอนด์ชอป และล่าสุดที่เปิดตัวช่วงโควิด-19ระบาดคือ โซเชียลคอมเมิร์ซผ่าน ไลน์และเฟซบุ๊ค ซึ่งทำให้เป็นธุรกิจที่มีการขายแบบออมนิแชนแนลสมบูรณ์แบบ

ทั้งนี้ ในช่วงโควิด-19ที่ผ่านมา ยอมรับว่าได้รับผลกระทบเหมือนกัน เพราะต้องปิดบริการหลายแห่ง ช่วง 6 เดือนแรกยอดขายตกไป 10% แต่ขณะนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นแล้ว คาดว่าในเดือนหน้า(กันยายน)ลูกค้าจะกลับมาปกติ และขณะนี้เปิดร้านครบทุกสาขาแล้ว แต่มีสินค้าบางกลุ่มที่ช่วงโควิด-19 ขายดี เช่น พริ้นเตอร์ สินค้าสุขอนามัยเช่น หน้ากา ก เจลล้างมือ เฟอร์นิเจอร์ โดยสัดส่วนการขายสินค้าของบริษัทเอง 40% และสินค้าของซัพพลายเออร์ 60% ซึ่งปีนี้ใช้งบลงทุนประมาณ 200 ล้านบาท เพื่อวางระบบอินฟราสตรัคเจอร์ต่างๆ จากเดิมตั้งไว้ที่ 250 ล้านบาท โดยมีรายได้เมื่อปีที่แล้ว 7,166 ล้านบาท ปีนี้คาดว่ารายได้ทรงตัว








กำลังโหลดความคิดเห็น