จากทหารหนุ่มที่ทุ่มชีวิตให้กับการปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ก่อนประสบเหตุร้ายในเหตุการณ์ลอบวางระเบิด ทำให้สูญเสียขาข้างซ้ายไป และในขณะที่ชีวิตกำลังเคว้งคว้างภายหลังลาออกจากราชการ อดีตทหารกล้าก็คล้ายได้รับชีวิตใหม่คืนมาอีกครั้ง กับบทบาท “บาริสต้า” หลังเคาน์เตอร์คาเฟ่อเมซอน
น.อ.ศักดิ์มงคล น้อยทรง หรือที่ใครต่อใครเรียกขานด้วยความนับถือว่า “พี่โต้ง” เป็นชาวจังหวัดมุกดาหาร หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมศึกษา ด้วยฐานะทางบ้านที่ไม่ดีเท่าไรนัก เขาจึงเลือกที่จะสวมเครื่องแบบนักเรียนจ่าทหารเรือ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ เพราะคิดว่าน่าจะเป็นอาชีพที่มีเกียรติและเสียสละเพื่อชาติ สามารถสร้างอนาคตและแบ่งเบาภาระของพ่อแม่ได้
“พ่อแม่ของผมเป็นชาวไร่ชาวนา ในใจผมก็คิดว่า ถ้าไปเรียนมหาวิทยาลัย คงต้องไปกู้เงินเรียน และลำบากพ่อแม่อีก ผมจึงตัดสินใจสมัครเข้าเรียนทหาร เพราะเห็นว่า เป็นโรงเรียนประจำและไม่ต้องมีค่าเทอมหรือค่าใช้จ่ายอะไรมากนัก อีกทั้งในระหว่างเรียน ก็มีเงินเดือน มีเบี้ยเลี้ยง พ่อแม่ก็ไม่ต้องลำบาก”
ภายใต้สังกัดหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองพันทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี “ศักดิ์มงคล น้อยทรง” ผ่านการฝึกฝนตามหลักสูตรนักเรียนทหารจนครบถ้วน ก่อนจะขออนุญาตต้นสังกัด ลงไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส
“ผมได้ยินเรื่องราวใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2547 ตอนที่ยังเป็นนักเรียนอยู่ พอเรียนจบปี 2551 และอยู่ที่สัตหีบอีก 1 ปี ซึ่งตามจริงแล้ว ปีที่กองพันของผมบังคับให้ต้องไปลงพื้นที่คือปี 2554 แต่พอปี 2553 ผมขอลงไปก่อน และเมื่อถึงปี 2554 มีกำหนดกลับ แต่ผมขออยู่ต่ออีกในปี 2555 เพื่อดูแลเพื่อน ๆ คุณครูและนักเรียนซึ่งเป็นปีที่ผมประสบเหตุดังกล่าว”
7 โมงเช้าของวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ขณะที่ น.อ.ศักดิ์มงคล น้อยทรง และชุดปฏิบัติการ กำลังเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ 4 คัน มุ่งไปยังโรงเรียนเพื่อรักษาความปลอดภัยให้คุณครู ได้มีผู้ก่อความไม่สงบ ซุ่มวางระเบิดข้างถนน จนนำมาสู่การบาดเจ็บและสูญเสีย
“ผมถูกสะเก็ดระเบิด ทางด้านซ้าย ทั้งขาและลำตัว” น.อ.ศักดิ์มงคล เล่าย้อนถึงเหตุการณ์ ณ วันนั้นที่เขาไม่มีวันลืมเลือน...
หลังจากแพทย์ดูอาการ และต้องตัดสินใจตัดขาข้างซ้ายที่ได้รับผลกระทบหนัก น.อ.ศักดิ์มงคล นอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานนับปี โดยได้รับความช่วยเหลือดูแลเป็นอย่างดีจากหน่วยงานที่สังกัด ขณะที่กำลังใจจากคนรอบข้าง ก็เปรียบประหนึ่งแรงผลักดันที่ทำให้พร้อมจะยืนหยัดต่อไป แม้ในสภาพร่างกายที่ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว
“ถ้าเรามีความคิดน้อยเนื้อต่ำใจ ไม่มีกำลังใจ คนรอบข้างก็จะพลอยไม่สบายใจไปด้วย และในขณะนั้น ผมคบกับแฟนได้ยังไม่ถึงปี ซึ่งหลังจากที่ผมประสบเหตุ เธอก็ไม่เคยทอดทิ้งผม และบอกว่าพร้อมจะรับได้ในสภาพที่ผมเป็น ก็ทำให้ผมมีกำลังใจในการมีชีวิตอยู่ต่อไป”
“ผมคิดเสมอว่า ยังดีที่ยังมีชีวิตอยู่ เราแค่สูญเสียอวัยวะ” น.อ.ศักดิ์มงคล เว้นวรรคเล็กน้อย ก่อนจะเล่าถึงความรู้สึกของการได้ปฏิบัติหน้าที่ทหารบนพื้นที่เสี่ยงเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี
“เราได้ดูแลคุ้มครองชาวบ้านให้เขามีชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย รวมทั้งรักษาความปลอดภัยให้กับครู ในช่วง 2-3 ปีที่เราอยู่ที่นั่น ครูก็ได้มอบความรู้ให้แก่เด็กได้เยอะ ดังนั้น เราก็ภูมิใจที่ได้เสียสละให้คนอื่นได้รับสิ่งดี ๆ หลายอย่าง ถึงจะเสียขาไป ก็ไม่ไร้ความหมาย เราไม่ได้เสียขาไปฟรี ๆ เพราะยังมีสิ่งที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้นต่อผู้อื่น ต่อสังคมไม่น้อยเหมือนกัน”
ด้วยสภาพร่างกายที่ขาด้านซ้ายต้องใส่ขาเทียม ส่งผลให้การเคลื่อนไหวไม่สะดวกเช่นเดิม ทหารหนุ่มตัดสินใจลาออกจากราชการทหารและใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านด้วยเงินบำนาญ ขณะที่ในใจลึก ๆ ก็รู้สึกอยู่เรื่อย ๆ ว่าตนเองน่าจะทำอะไรกว่านี้ได้บ้าง และทันทีที่ “โอกาส” จากโครงการ Café Amazon for chance เดินทางมาถึง เขาก็ไม่รีรอที่จะคว้าโอกาสนั้นไว้
โครงการ Café Amazon for chance เป็นหนึ่งในโครงการธุรกิจเพื่อสังคมที่ตั้งขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์มุ่งหวังสร้างโอกาสการทำงานให้กับผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษให้มีงานประจำที่มีรายได้แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการทางการได้ยิน ผู้บกพร่องทางการเรียนรู้ ตลอดจนทหารผ่านศึกที่บาดเจ็บและสูญเสียอวัยวะระหว่างปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติ เฉกเช่น “น.อ.ศักดิ์มงคล น้อยทรง” ผู้นี้
จากอดีตทหารกล้าผู้ถือปืนปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชน น.อ.ศักดิ์มงคล กลายเป็นหนุ่มบาริสต้า หยิบจับเครื่องชงกาแฟ มอบความสดชื่นหอมกรุ่นจากกาแฟและเครื่องดื่มหลากหลายเมนูดูแลลูกค้า หลังเคาน์เตอร์คาเฟ่อเมซอน สาขานาวิกโยธิน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างกองทัพเรือ, หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และกลุ่ม ปตท. ชีวิตของเขาเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงอีกครั้งหนึ่ง ...
“โครงการ Café Amazon for chance เขาให้โอกาสผู้พิการทุกรูปแบบน่ะครับ” อดีตทหารกล้า กล่าวถึงโครงการที่เข้ามาพลิกชีวิตของเขา “...ทั้งพิการทางการเคลื่อนไหว ทางการได้ยิน เพราะว่าคนพวกนี้ โอกาสของพวกเขาจะน้อยลง โดยเฉพาะเรื่องการทำงาน โครงการนี้ก็ถือว่าได้ให้โอกาสแก่คนที่ด้อยโอกาส ทำให้มีงานทำ มีรายได้”
จากความภาคภูมิใจในฐานะทหารผู้ปฏิบัติหน้าที่รับใช้ชาติ สู่ความภาคภูมิใจในฐานะมนุษย์คนหนึ่งซึ่งแม้จะมีสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ดังเดิม แต่ก็สามารถทำงานหาเงินหล่อเลี้ยงชีวิตและครอบครัว ซึ่ง น.อ.ศักดิ์มงคล กล่าวย้ำอย่างหนักแน่นไม่ทิ้งลายทหารกล้า ว่าสิ่งนี้คงจะเกิดขึ้นได้ยาก หากไม่มี “โอกาส” จากโครงการ Café Amazon for chance
“ผมคิดว่าตรงนี้เป็นการทำบุญอย่างมหาศาลเลยครับ ที่ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อนร่วมชาติด้วยกัน โดยที่ไม่ได้เอาเงินไปแจกเขา แต่สร้างอาชีพให้เขา และสำหรับคนที่ด้อยโอกาส เมื่อเขาได้อาชีพ เขาก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพของเขาให้เติบโตขึ้นมาอีก ให้เขามีที่ยืนในสังคม ด้วยความภาคภูมิใจ คือเขาสามารถหาเงินได้ด้วยตัวของเขาเอง เขาก็ภูมิใจ ด้วยภาระร่างกายที่มีอยู่อย่างจำกัด เขาก็สามารถทำงานให้เต็มที่ได้”
ในปี 2562 และต้นปี 2563 โครงการ Café Amazon for chance ได้เปิดร้านกาแฟ Café Amazon for chance เป็นจำนวน 8 สาขา สามารถสร้างอาชีพให้แก่ผู้พิการทางการได้ยิน, ผู้พิการทางการเรียนรู้, และทหารผ่านศึกที่พิการและครอบครัว
แน่นอนว่า ภารกิจในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ จะยังไม่สิ้นสุดลงเพียงเท่านี้ เพราะ Café Amazon for chance มีแผนที่จะขยายผลไปอีกหลายสาขา เพราะ “โอกาสดี ๆ” คือสิ่งที่ล้ำค่า และมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังเฝ้าคอยจะได้รับ “โอกาส” นั้น
น.อ.ศักดิ์มงคล น้อยทรง หรือที่ใครต่อใครเรียกขานด้วยความนับถือว่า “พี่โต้ง” เป็นชาวจังหวัดมุกดาหาร หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมศึกษา ด้วยฐานะทางบ้านที่ไม่ดีเท่าไรนัก เขาจึงเลือกที่จะสวมเครื่องแบบนักเรียนจ่าทหารเรือ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ เพราะคิดว่าน่าจะเป็นอาชีพที่มีเกียรติและเสียสละเพื่อชาติ สามารถสร้างอนาคตและแบ่งเบาภาระของพ่อแม่ได้
“พ่อแม่ของผมเป็นชาวไร่ชาวนา ในใจผมก็คิดว่า ถ้าไปเรียนมหาวิทยาลัย คงต้องไปกู้เงินเรียน และลำบากพ่อแม่อีก ผมจึงตัดสินใจสมัครเข้าเรียนทหาร เพราะเห็นว่า เป็นโรงเรียนประจำและไม่ต้องมีค่าเทอมหรือค่าใช้จ่ายอะไรมากนัก อีกทั้งในระหว่างเรียน ก็มีเงินเดือน มีเบี้ยเลี้ยง พ่อแม่ก็ไม่ต้องลำบาก”
ภายใต้สังกัดหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองพันทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี “ศักดิ์มงคล น้อยทรง” ผ่านการฝึกฝนตามหลักสูตรนักเรียนทหารจนครบถ้วน ก่อนจะขออนุญาตต้นสังกัด ลงไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส
“ผมได้ยินเรื่องราวใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2547 ตอนที่ยังเป็นนักเรียนอยู่ พอเรียนจบปี 2551 และอยู่ที่สัตหีบอีก 1 ปี ซึ่งตามจริงแล้ว ปีที่กองพันของผมบังคับให้ต้องไปลงพื้นที่คือปี 2554 แต่พอปี 2553 ผมขอลงไปก่อน และเมื่อถึงปี 2554 มีกำหนดกลับ แต่ผมขออยู่ต่ออีกในปี 2555 เพื่อดูแลเพื่อน ๆ คุณครูและนักเรียนซึ่งเป็นปีที่ผมประสบเหตุดังกล่าว”
7 โมงเช้าของวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ขณะที่ น.อ.ศักดิ์มงคล น้อยทรง และชุดปฏิบัติการ กำลังเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ 4 คัน มุ่งไปยังโรงเรียนเพื่อรักษาความปลอดภัยให้คุณครู ได้มีผู้ก่อความไม่สงบ ซุ่มวางระเบิดข้างถนน จนนำมาสู่การบาดเจ็บและสูญเสีย
“ผมถูกสะเก็ดระเบิด ทางด้านซ้าย ทั้งขาและลำตัว” น.อ.ศักดิ์มงคล เล่าย้อนถึงเหตุการณ์ ณ วันนั้นที่เขาไม่มีวันลืมเลือน...
หลังจากแพทย์ดูอาการ และต้องตัดสินใจตัดขาข้างซ้ายที่ได้รับผลกระทบหนัก น.อ.ศักดิ์มงคล นอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานนับปี โดยได้รับความช่วยเหลือดูแลเป็นอย่างดีจากหน่วยงานที่สังกัด ขณะที่กำลังใจจากคนรอบข้าง ก็เปรียบประหนึ่งแรงผลักดันที่ทำให้พร้อมจะยืนหยัดต่อไป แม้ในสภาพร่างกายที่ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว
“ถ้าเรามีความคิดน้อยเนื้อต่ำใจ ไม่มีกำลังใจ คนรอบข้างก็จะพลอยไม่สบายใจไปด้วย และในขณะนั้น ผมคบกับแฟนได้ยังไม่ถึงปี ซึ่งหลังจากที่ผมประสบเหตุ เธอก็ไม่เคยทอดทิ้งผม และบอกว่าพร้อมจะรับได้ในสภาพที่ผมเป็น ก็ทำให้ผมมีกำลังใจในการมีชีวิตอยู่ต่อไป”
“ผมคิดเสมอว่า ยังดีที่ยังมีชีวิตอยู่ เราแค่สูญเสียอวัยวะ” น.อ.ศักดิ์มงคล เว้นวรรคเล็กน้อย ก่อนจะเล่าถึงความรู้สึกของการได้ปฏิบัติหน้าที่ทหารบนพื้นที่เสี่ยงเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี
“เราได้ดูแลคุ้มครองชาวบ้านให้เขามีชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย รวมทั้งรักษาความปลอดภัยให้กับครู ในช่วง 2-3 ปีที่เราอยู่ที่นั่น ครูก็ได้มอบความรู้ให้แก่เด็กได้เยอะ ดังนั้น เราก็ภูมิใจที่ได้เสียสละให้คนอื่นได้รับสิ่งดี ๆ หลายอย่าง ถึงจะเสียขาไป ก็ไม่ไร้ความหมาย เราไม่ได้เสียขาไปฟรี ๆ เพราะยังมีสิ่งที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้นต่อผู้อื่น ต่อสังคมไม่น้อยเหมือนกัน”
ด้วยสภาพร่างกายที่ขาด้านซ้ายต้องใส่ขาเทียม ส่งผลให้การเคลื่อนไหวไม่สะดวกเช่นเดิม ทหารหนุ่มตัดสินใจลาออกจากราชการทหารและใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านด้วยเงินบำนาญ ขณะที่ในใจลึก ๆ ก็รู้สึกอยู่เรื่อย ๆ ว่าตนเองน่าจะทำอะไรกว่านี้ได้บ้าง และทันทีที่ “โอกาส” จากโครงการ Café Amazon for chance เดินทางมาถึง เขาก็ไม่รีรอที่จะคว้าโอกาสนั้นไว้
โครงการ Café Amazon for chance เป็นหนึ่งในโครงการธุรกิจเพื่อสังคมที่ตั้งขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์มุ่งหวังสร้างโอกาสการทำงานให้กับผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษให้มีงานประจำที่มีรายได้แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการทางการได้ยิน ผู้บกพร่องทางการเรียนรู้ ตลอดจนทหารผ่านศึกที่บาดเจ็บและสูญเสียอวัยวะระหว่างปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติ เฉกเช่น “น.อ.ศักดิ์มงคล น้อยทรง” ผู้นี้
จากอดีตทหารกล้าผู้ถือปืนปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยให้กับประชาชน น.อ.ศักดิ์มงคล กลายเป็นหนุ่มบาริสต้า หยิบจับเครื่องชงกาแฟ มอบความสดชื่นหอมกรุ่นจากกาแฟและเครื่องดื่มหลากหลายเมนูดูแลลูกค้า หลังเคาน์เตอร์คาเฟ่อเมซอน สาขานาวิกโยธิน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างกองทัพเรือ, หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และกลุ่ม ปตท. ชีวิตของเขาเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงอีกครั้งหนึ่ง ...
“โครงการ Café Amazon for chance เขาให้โอกาสผู้พิการทุกรูปแบบน่ะครับ” อดีตทหารกล้า กล่าวถึงโครงการที่เข้ามาพลิกชีวิตของเขา “...ทั้งพิการทางการเคลื่อนไหว ทางการได้ยิน เพราะว่าคนพวกนี้ โอกาสของพวกเขาจะน้อยลง โดยเฉพาะเรื่องการทำงาน โครงการนี้ก็ถือว่าได้ให้โอกาสแก่คนที่ด้อยโอกาส ทำให้มีงานทำ มีรายได้”
จากความภาคภูมิใจในฐานะทหารผู้ปฏิบัติหน้าที่รับใช้ชาติ สู่ความภาคภูมิใจในฐานะมนุษย์คนหนึ่งซึ่งแม้จะมีสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ดังเดิม แต่ก็สามารถทำงานหาเงินหล่อเลี้ยงชีวิตและครอบครัว ซึ่ง น.อ.ศักดิ์มงคล กล่าวย้ำอย่างหนักแน่นไม่ทิ้งลายทหารกล้า ว่าสิ่งนี้คงจะเกิดขึ้นได้ยาก หากไม่มี “โอกาส” จากโครงการ Café Amazon for chance
“ผมคิดว่าตรงนี้เป็นการทำบุญอย่างมหาศาลเลยครับ ที่ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อนร่วมชาติด้วยกัน โดยที่ไม่ได้เอาเงินไปแจกเขา แต่สร้างอาชีพให้เขา และสำหรับคนที่ด้อยโอกาส เมื่อเขาได้อาชีพ เขาก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพของเขาให้เติบโตขึ้นมาอีก ให้เขามีที่ยืนในสังคม ด้วยความภาคภูมิใจ คือเขาสามารถหาเงินได้ด้วยตัวของเขาเอง เขาก็ภูมิใจ ด้วยภาระร่างกายที่มีอยู่อย่างจำกัด เขาก็สามารถทำงานให้เต็มที่ได้”
ในปี 2562 และต้นปี 2563 โครงการ Café Amazon for chance ได้เปิดร้านกาแฟ Café Amazon for chance เป็นจำนวน 8 สาขา สามารถสร้างอาชีพให้แก่ผู้พิการทางการได้ยิน, ผู้พิการทางการเรียนรู้, และทหารผ่านศึกที่พิการและครอบครัว
แน่นอนว่า ภารกิจในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ จะยังไม่สิ้นสุดลงเพียงเท่านี้ เพราะ Café Amazon for chance มีแผนที่จะขยายผลไปอีกหลายสาขา เพราะ “โอกาสดี ๆ” คือสิ่งที่ล้ำค่า และมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังเฝ้าคอยจะได้รับ “โอกาส” นั้น