ไทยออยล์หั่นกำลังการผลิตน้ำมันเจ็ตเหลือ 10% หลังดีมานด์หด รวมทั้งตัดลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อบริหารต้นทุนต่อหน่วยให้ต่ำที่สุด
นางสาวภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านการเงินและบัญชี บมจ.ไทยออยล์ (TOP) เปิดเผยว่า ความต้องการใช้น้ำมันโลกที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้โรงกลั่นน้ำมันทั่วโลกต้องปรับลดการกลั่นน้ำมันลง รวมถึงโรงกลั่นในไทยที่ลดการผลิตลงไปราว 20% จากกำลังการกลั่นของประเทศที่ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน โดยส่วนใหญ่เป็นการปรับลดลงในส่วนของน้ำมันอากาศยาน (เจ็ต) ที่ได้รับผลกระทบมากจากการหยุดบินตามมาตรการล็อกดาวน์ของหลายประเทศ
ไทยออยล์ได้ปรับลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเจ็ตจาก 20% เหลือ 10% เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความต้องการใช้ รวมถึงการวางแผนควบคุมต้นทุนต่างๆ ให้มีต้นทุนที่ลดลง และตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อให้คงการเป็นหนึ่งในผู้นำโรงกลั่นที่มีการผลิตที่มีต้นทุนต่ำที่สุด (Cost leadership) ซึ่งปัจจุบันโรงกลั่นไทยออยล์มีกำลังการกลั่นอยู่ที่ 2.75 แสนบาร์เรล/วัน
ด้านสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงมาอย่างมากในช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่กว่า 20 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จากช่วงต้นปีอยู่ที่ 30-40 เหรียสหรัฐ/บาร์เรล มีผลต่อธุรกิจพลังงานทั่วโลก โดยเฉพาะธุรกิจสำรวจและผลิตน้ำมัน (E&P) ในโลกที่มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 20-30 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งจะกระทบต่อ E&P ทั้งในสหรัฐฯ และแคนาดา ซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่ากลุ่มตะวันออกกลางและรัสเซียค่อนข้างมาก ซึ่งการที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงในครั้งนี้กลุ่มโรงกลั่นได้รับผลกระทบในเรื่องของการขาดทุนสต๊อกน้ำมันในช่วงไตรมาส 1/63 นี้ด้วยซึ่งรวมถึงไทยออยล์
นางสาวภัทรลดากล่าวถึงโครงการลงทุนของบริษัทในปีนี้ว่า การลงทุนของบริษัทในส่วนการลงทุนที่ดำเนินการไปแล้ว คือ โครงการพลังงานสะอาด (CFP) ยังคงดำเนินการก่อสร้างตามแผนที่วางไว้ คาดว่าเดินเครื่องจักรผลิตในไตรมาส 1/66 ส่วนการลงทุนโครงการใหม่นอกจากนี้อาจจะต้องมีการกลับมาพิจารณาอีกครั้ง โดยในปัจจุบันยอมรับว่าแผนการดำเนินงานต่างๆ ของบริษัทต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน โดยเฉพาะการวางแผนการผลิตที่ต้องมีความยืดหยุ่น สามารถปรับแผนการผลิตได้ทันทีเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูง
นางสาวภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านการเงินและบัญชี บมจ.ไทยออยล์ (TOP) เปิดเผยว่า ความต้องการใช้น้ำมันโลกที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้โรงกลั่นน้ำมันทั่วโลกต้องปรับลดการกลั่นน้ำมันลง รวมถึงโรงกลั่นในไทยที่ลดการผลิตลงไปราว 20% จากกำลังการกลั่นของประเทศที่ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน โดยส่วนใหญ่เป็นการปรับลดลงในส่วนของน้ำมันอากาศยาน (เจ็ต) ที่ได้รับผลกระทบมากจากการหยุดบินตามมาตรการล็อกดาวน์ของหลายประเทศ
ไทยออยล์ได้ปรับลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเจ็ตจาก 20% เหลือ 10% เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความต้องการใช้ รวมถึงการวางแผนควบคุมต้นทุนต่างๆ ให้มีต้นทุนที่ลดลง และตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อให้คงการเป็นหนึ่งในผู้นำโรงกลั่นที่มีการผลิตที่มีต้นทุนต่ำที่สุด (Cost leadership) ซึ่งปัจจุบันโรงกลั่นไทยออยล์มีกำลังการกลั่นอยู่ที่ 2.75 แสนบาร์เรล/วัน
ด้านสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงมาอย่างมากในช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่กว่า 20 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จากช่วงต้นปีอยู่ที่ 30-40 เหรียสหรัฐ/บาร์เรล มีผลต่อธุรกิจพลังงานทั่วโลก โดยเฉพาะธุรกิจสำรวจและผลิตน้ำมัน (E&P) ในโลกที่มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 20-30 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งจะกระทบต่อ E&P ทั้งในสหรัฐฯ และแคนาดา ซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่ากลุ่มตะวันออกกลางและรัสเซียค่อนข้างมาก ซึ่งการที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงในครั้งนี้กลุ่มโรงกลั่นได้รับผลกระทบในเรื่องของการขาดทุนสต๊อกน้ำมันในช่วงไตรมาส 1/63 นี้ด้วยซึ่งรวมถึงไทยออยล์
นางสาวภัทรลดากล่าวถึงโครงการลงทุนของบริษัทในปีนี้ว่า การลงทุนของบริษัทในส่วนการลงทุนที่ดำเนินการไปแล้ว คือ โครงการพลังงานสะอาด (CFP) ยังคงดำเนินการก่อสร้างตามแผนที่วางไว้ คาดว่าเดินเครื่องจักรผลิตในไตรมาส 1/66 ส่วนการลงทุนโครงการใหม่นอกจากนี้อาจจะต้องมีการกลับมาพิจารณาอีกครั้ง โดยในปัจจุบันยอมรับว่าแผนการดำเนินงานต่างๆ ของบริษัทต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน โดยเฉพาะการวางแผนการผลิตที่ต้องมีความยืดหยุ่น สามารถปรับแผนการผลิตได้ทันทีเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูง