ราคาน้ำมัน WTI วานนี้ (20 เม.ย.) ดิ่ง 55.90 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล มาอยู่ที่ -37.63 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เหตุถูกแรงเทขายของกองทุนก่อนที่สัญญาส่งมอบเดือน พ.ค.จะสิ้นสุดลง และสหรัฐฯ ไม่มีถังเก็บสำรองน้ำมันเหลือ
รายงานข่าวจาก บมจ.ไทยออยล์ (TOP) แจ้งว่า ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส (WTI ) ปิดเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 63 ลดลง 55.90 เหรียญสหรัฐ มาที่ -37.63 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล น้ำมันดิบเบรนต์ลดลง 2.51 เหรียญสหรัฐ มาที่ 25.57 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้น 0.17 เหรียญสหรัฐ มาที่ 20.95 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลงติดลบเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ หลังได้รับแรงกดดันจากการเทขายทำกำไรของนักลงทุนก่อนที่สัญญาเดือน พ.ค.จะสิ้นสุดในวันที่ 21 เม.ย. 63 และความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงมากจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ตลาดกังวลว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ จะเต็มในเร็วๆ นี้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ผลิตน้ำมันดิบต้องจ่ายเงินเพื่อระบายน้ำมันดิบแทน ขณะที่ซาอุดีอาระเบียเตรียมเสนอให้กลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรเริ่มปรับลดกำลังการผลิตตามข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตเลย จากกำหนดที่จะเริ่มในเดือน พ.ค. 63
สำหรับราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ตลาดสิงคโปร์ปิดเมื่อวานนี้ เบนซิน ออกเทน 95 อยู่ที่ 23.20 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.54 เหรียญสหรัฐ และน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 30.47 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ลดลง 0.55 เหรียญสหรัฐ
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน และผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า น้ำมันดิบเวสต์เทกซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กส่งมอบเดือน พ.ค. ร่วงลง 55.90 เหรียญสหรัฐ หรือ 306% ปิดที่ -37.63 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เป็นครั้งแรกในประวัติการณ์นั้นเป็นเฉพาะเหตุการณ์ในสหรัฐฯ เท่านั้น โดยเหตุการณ์ราคาน้ำมันที่เห็นวันนี้เป็นเพียงความผันผวนช่วงเปลี่ยนสัญญา เนื่องจากราคาน้ำมันดิบ WTI เป็นสัญญาส่งมอบเดือน พ.ค.จะหมดอายุลงในวันนี้ (21 เม.ย.) ทำให้คนที่ถือครองสัญญาต้องรับน้ำมันจริง ทำให้ผู้ที่ไม่ต้องการรับน้ำมันต้องขายสัญญาออกมาก่อนที่จะหมดอายุ
ประกอบกับในสหรัฐฯ มีภาวะโอเวอร์ซัปพลายและไม่มีถังเก็บน้ำมัน เพราะใช้เก็บน้ำมันเกือบเต็มทั้งหมดแล้ว ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐฯ ลดลง 20-30%
นายมนูญกล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบในสหรัฐฯ จะมีความผันผวนเฉพาะในช่วง 1-2 วันนี้เท่านั้น เพราะเมื่อวันที่ 22 เม.ย. ซึ่งเป็นวันเริ่มสัญญาส่งมอบเดือน มิ.ย.ก็จะเห็นราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวขึ้นมา เพราะราคาสัญญาส่งมอบเดือน มิ.ย.ยังอยู่ที่ราว 20 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล โดยราคาดังกล่าวเกิดขึ้นเฉพาะในสหรัฐฯ เท่านั้น ไม่ได้สะท้อนมาที่ตลาดน้ำมันดูไบ ดังนั้น ราคาน้ำมันเบรนต์ และดูไบยังอยู่ในระดับกว่า 20 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
ส่วนทิศทางราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศไทยนั้น ต้องรอดูทิศทางราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ตลาดสิงคโปร์ที่จะปิดในช่วงเย็นนี้ว่าจะสะท้อนราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับลดลงอย่างไร แต่เบื้องต้นมองว่าไม่น่าจะมีผลมากนัก
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นคาดว่าทิศทางราคาขายปลีกน้ำมันของไทยในไตรมาส 2/63 เฉลี่ยน่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงไตรมาสแรก หลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในไทยเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ก็จะทำให้มีการผ่อนคลายการล็อกดาวน์พื้นที่เสี่ยงบางส่วน และกลับมาเปิดเศรษฐกิจได้บ้าง ทำให้คาดว่าทิศทางการใช้น้ำมันน่าจะเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่สถานการณ์โควิดทำให้การใช้น้ำมันในไทยลดลงราว 5-10%
ด้านภาพรวมทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกช่วงไตรมาส 2/63 น่าจะยังอยู่ในระดับต่ำต่อไปบริเวณ 25-30 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
รายงานข่าวจาก บมจ.ไทยออยล์ (TOP) แจ้งว่า ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส (WTI ) ปิดเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 63 ลดลง 55.90 เหรียญสหรัฐ มาที่ -37.63 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล น้ำมันดิบเบรนต์ลดลง 2.51 เหรียญสหรัฐ มาที่ 25.57 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้น 0.17 เหรียญสหรัฐ มาที่ 20.95 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลงติดลบเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ หลังได้รับแรงกดดันจากการเทขายทำกำไรของนักลงทุนก่อนที่สัญญาเดือน พ.ค.จะสิ้นสุดในวันที่ 21 เม.ย. 63 และความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงมากจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ตลาดกังวลว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ จะเต็มในเร็วๆ นี้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ผลิตน้ำมันดิบต้องจ่ายเงินเพื่อระบายน้ำมันดิบแทน ขณะที่ซาอุดีอาระเบียเตรียมเสนอให้กลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรเริ่มปรับลดกำลังการผลิตตามข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตเลย จากกำหนดที่จะเริ่มในเดือน พ.ค. 63
สำหรับราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ตลาดสิงคโปร์ปิดเมื่อวานนี้ เบนซิน ออกเทน 95 อยู่ที่ 23.20 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.54 เหรียญสหรัฐ และน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 30.47 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ลดลง 0.55 เหรียญสหรัฐ
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน และผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า น้ำมันดิบเวสต์เทกซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กส่งมอบเดือน พ.ค. ร่วงลง 55.90 เหรียญสหรัฐ หรือ 306% ปิดที่ -37.63 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เป็นครั้งแรกในประวัติการณ์นั้นเป็นเฉพาะเหตุการณ์ในสหรัฐฯ เท่านั้น โดยเหตุการณ์ราคาน้ำมันที่เห็นวันนี้เป็นเพียงความผันผวนช่วงเปลี่ยนสัญญา เนื่องจากราคาน้ำมันดิบ WTI เป็นสัญญาส่งมอบเดือน พ.ค.จะหมดอายุลงในวันนี้ (21 เม.ย.) ทำให้คนที่ถือครองสัญญาต้องรับน้ำมันจริง ทำให้ผู้ที่ไม่ต้องการรับน้ำมันต้องขายสัญญาออกมาก่อนที่จะหมดอายุ
ประกอบกับในสหรัฐฯ มีภาวะโอเวอร์ซัปพลายและไม่มีถังเก็บน้ำมัน เพราะใช้เก็บน้ำมันเกือบเต็มทั้งหมดแล้ว ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐฯ ลดลง 20-30%
นายมนูญกล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบในสหรัฐฯ จะมีความผันผวนเฉพาะในช่วง 1-2 วันนี้เท่านั้น เพราะเมื่อวันที่ 22 เม.ย. ซึ่งเป็นวันเริ่มสัญญาส่งมอบเดือน มิ.ย.ก็จะเห็นราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวขึ้นมา เพราะราคาสัญญาส่งมอบเดือน มิ.ย.ยังอยู่ที่ราว 20 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล โดยราคาดังกล่าวเกิดขึ้นเฉพาะในสหรัฐฯ เท่านั้น ไม่ได้สะท้อนมาที่ตลาดน้ำมันดูไบ ดังนั้น ราคาน้ำมันเบรนต์ และดูไบยังอยู่ในระดับกว่า 20 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
ส่วนทิศทางราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศไทยนั้น ต้องรอดูทิศทางราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ตลาดสิงคโปร์ที่จะปิดในช่วงเย็นนี้ว่าจะสะท้อนราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับลดลงอย่างไร แต่เบื้องต้นมองว่าไม่น่าจะมีผลมากนัก
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นคาดว่าทิศทางราคาขายปลีกน้ำมันของไทยในไตรมาส 2/63 เฉลี่ยน่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงไตรมาสแรก หลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในไทยเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ก็จะทำให้มีการผ่อนคลายการล็อกดาวน์พื้นที่เสี่ยงบางส่วน และกลับมาเปิดเศรษฐกิจได้บ้าง ทำให้คาดว่าทิศทางการใช้น้ำมันน่าจะเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่สถานการณ์โควิดทำให้การใช้น้ำมันในไทยลดลงราว 5-10%
ด้านภาพรวมทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกช่วงไตรมาส 2/63 น่าจะยังอยู่ในระดับต่ำต่อไปบริเวณ 25-30 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล