xs
xsm
sm
md
lg

“นานมีบุ๊คส์” ตัวอักษรมีชีวิต จากหนังสือสู่การสร้างนวัตกรรม ปรับตัวรับโลกดิจิทัล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การตลาด - การปรับตัวด้วยการต่อยอดทางธุรกิจเดิมของ “นานมี บุ๊คส์” เพื่อรับมือกับการเข้ามาของเทคโนโลยีหรือการถูกดิสรัปชัน มีมาก่อนหน้านี้ที่โลกดิจิทัลจะเข้ามากระทบธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์อย่างรุนแรงในช่วง 2-3 ปีนี้

ถือเป็นวิสัยทัศน์ องผู้บริหารนานมีบุ๊คส์ที่มองการณ์ไกล ที่ต้องตระเตรียมว่าจะรับมือกับอนาคตได้หรือไม่และได้อย่างไร

“เราปรับตัวปรับกลยุทธ์มานานเกือบ 5 ปีแล้ว ด้วยการขยายธุรกิจใหม่ๆที่ไม่ใช่ธุรกิจหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ แต่ก็เป็นสิ่งที่ใกล้เคียงและเกื้อหนุนกันหรือต่อยอดกันได้เป็นอย่างดี ซึ่งกว่าจะมาถึงวันนี้ได้ที่เริ่มเห็นผลชัดขึ้นๆ มันก็ต้องใช้เวลาในการเริ่ม การสั่งสม การดำเนินการ ในกลุ่มธุรกิจที่ไม่ใช่หนังสือ หรือการพิมพ์ เพราะเป็นธุรกิจใหม่ถึงแม้ว่าจะเป็นการต่อยอดจากธุรกิจเดิมที ที่เรามีความชำนาญมานานตั้งแต่ปี 2537”


เป็นคำกล่าวเปิดใจของ นางสาวเจน จงสถิตย์วัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด กับ “ผู้จัดการรายวัน 360” เจนเป็นทายาทของ “สุวดี-พิชิต จงสถิตย์วัฒนา” ผู้ก่อตั้งนานมีบุ๊คส์ ที่ขณะนี้ถือได้ว่าเป็นสำนักพิมพ์ชั้นนำแห่งหนึ่งของไทย

สอดรับกับแนวคิดของ คิม จงสถิตย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการบริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด ที่เป็นพี่สาวของเจน ซึ่งเคยกล่าวกับ “ผู้จัดการรายวัน 360” ก่อนหน้านี้ว่า วิวัฒนาการนานมีบุ๊คส์ไม่ใช่เป็นเพียงสำนักพิมพ์ แต่ต้องเป็นผู้ให้บริการด้านการเรียนรู้ โดยแบ่งไลน์ออกเป็นสินค้าและบริการ คำว่าสินค้าหมายถึงหนังสือ ขณะที่บริการคือนวัตกรรมการเรียนรู้ ภายใต้ร่มนานมีบุ๊คส์อินโนเวชั่น ทำให้นานมีบุ๊คส์มีการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรมเสริมศักยภาพการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์มากมายสารพัดโครงการ





“เราต้องตีความเชิงลึกมากพอที่จะบูรณาการโปรดักต์หลายๆ อย่างให้เป็นโซลูชัน จะสังเกตได้ว่านานมีบุ๊คส์ออกแบบหนังสือมีกิมมิกอย่างเช่นเป็นป๊อปอัพ มีการจัดกิจกรรมอบรมครู-ผู้ปกครองให้พวกเขารู้สึกว่าไม่ใช่แค่อ่านอย่างเดียว แต่อ่านแล้วสามารถต่อยอดกิจกรรมได้ด้วย ทีมงานของเราจึงไม่ใช่แค่คนขายของ แต่ต้องเป็นที่ปรึกษาด้านการเรียนรู้ (Learning Advisor)”


“ดังนั้น หนังสือของนานมีบุ๊คส์จึงเป็นเพียงแค่หนึ่งเครื่องมือในการเรียนรู้ เพราะตอนนี้เรามีทั้งค่ายอบรม ศูนย์วิทยาศาสตร์ เราจึงต้องรู้จักผสมผสานเครื่องมือเหล่านี้ให้กลายเป็นหนึ่งโซลูชั่นซึ่งเราขับเคลื่อนแนวทางนี้มา 6-7 ปีแล้ว คือคุณแม่เป็นคนก้าวหน้า หลายๆ โปรเจกต์ที่สำเร็จเพราะคุณแม่ให้แนวทางและสนับสนุน ส่วนเราเป็นคนรันงาน”

ทุกวันนี้ธุรกิจนอนบุ๊คส์ของนานมีบุ๊คส์ อยู่ภายใต้การบริหารดูแลของ เจน ซึ่งเข้ามารับงานเต็มตัว หลังจากที่นานมีได้ตัดธุรกิจนำเข้าและจัดจำหน่ายรองเท้าหลายแบรนด์ ในนาม บริษัท เอ เอ ฟุตแวร์ จำกัด ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายรองเท้าแบรนด์ GEOX , pierre cardin , AEROSOLES ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว

ปัจจุบันธุรกิจในกลุ่มที่ไม่ใช่หนังสือหรือสิ่งพิมพ์ หรือที่เรียกว่ากลุ่มนอนบุ๊คส์ (Non Books) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. นวัตกรรมการเรียนรู้ (Innovation) 2. การบริการทางการเรียนรู้ หรือเลิร์นนิ่งเซอร์วิส (Learning Service) และ 3. ศูนย์การเรียนรู้ หรือเลิร์นนิ่งสเปซ (Learning Space)


ทั้งนี้ นวัตกรรมการเรียนรู้ กลุ่มนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นความร่วมมือกับต่างประเทศ ในการนำหลักสูตรหรือระบบวิธีการคิดการทำ มาจากต่างประเทศ รวมทั้งการที่พัฒนาและคิดค้นขึ้นมาเองด้วย

ที่ทำมาแล้วมีหลายโครงการที่น่าสนใจ เช่น 1. การจับมือกับองค์กรการศึกษาระดับโลกอย่าง Gakken จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาดำเนินงานในไทยชื่อว่า Gakken Classroom โดยเป็นการนำเอาหลักสูตร ระบบ แนวคิด และการศึกษาการเรียนการสอนตามสไตล์ของGakken ที่ใช้ในญี่ปุ่นมาประยุกต์ให้เด็กไทยได้ทำกัน เปิดเป็นสถาบันสอนวิทยาศาสตร์ในไทย เป็นโมเดลที่สอนให้เด็กมีทักษะในการใช้ชีวิต การเรียนรู้ด้วยตัวเอง คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้อย่างเข้าใจง่ายและสนุกสนาน ไม่ใช่เน้นแต่การเรียนท่องจำหรือวิชาการเท่านั้น แต่เน้นทดลองจริง

รูปแบบธุรกิจจะเป็นการขายแฟรนไชส์ ซึ่งขณะนี้มีมากว่า 20 แห่งแล้วที่ใช้หลักสูตรนี้

2. โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ซึ่งเป็นศูนย์เสริมสร้างและพัฒนาเด็กปฐมวัย อายุ 0-8 ปี รวมไปถึงมีของเล่นเพื่อการเรียนรู้ชื่อ วีเพลย์ (We Play) และ ดุสซีม่า (Dusyma) และหลักสูตรคิดดี้ จีเนียส แอด กักเคน คลาสรูม (Kiddy Genius @ Gakken Classroom)

3. การพัฒนาด้าน STEM Education(Science, Technology, Engineering, Mathematics) ได้แก่ โครงการห้องเรียนทดลองวิทย์ จาก Gakken ระบบเรียนรู้ออนไลน์ Maths-Whizz เซียนคณิตศาสตร์ สื่อการเรียนรู้วิทย์-คณิฒ ศูนย์วิทยาศาสตร์PHANOMENTA

4. การพัฒนาภาษา ได้แก่ ระบบการเรียนรู้อินเทอร์แอคทีฟภาษาอังกฤษ E-English Club สำหรับบริการด้านการเรียนรู้ ก็จะเป็นลักษณะที่เกี่ยวกับการให้บริการ การจัดค่าย การจัดฝึกอบรม การสัมมนา เพื่อพัฒนาเด็ก ทั้งครู ผู้ปกครองและองค์กรต่างๆ ซึ่งในแต่ละปีก็จะมีกลุ่มองค์กรต่างๆด้นการศึกษา ธุรกิจที่ให้บริการนี้เป็นจำนวนมาก พอสมควร


ส่วนสุดท้าย คือ ศูนย์การเรียนรู้เลิร์นนิ่งสเปซ ซึ่งจะประกอบไปด้วย นานมีบุ๊คส์ เลิร์นนิ่งเซ็นเตอร์ สุขุมวิท31, โกจีเนียสเลิร์นนิ่งเซ็นเตอร์เขาใหญ่ เพื่อการจัดค่าย กิจกรรม โดยเฉพาะ กลุ่มโรงเรียน ครอบครัวองค์กร เน้นคอนเซ็ปท์ธรรมชาติสร้างแรงบันดาลใจให้อยากเรียนรู้และขยายต่อไป สู่ เรนทรีเรสซิเดนซ์ (Rain Tree Residence) ที่พักบูติกที่ตกแต่งตามธีมของนักเขียนระดับโลก จำนวน 27 คน เปิดรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเติมพลังธรรมชาติ

สำหรับ เรนทรี เรสซิเดนซ์ แม้ว่าวันนี้จะเป็นเพียงธุรกิจใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นก็ตามที แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นธุรกิจดาวรุ่งอีกดวงหนึ่งของนานมีบุ๊คส์

เรนทรีเรสซิเดนซ์ เพิ่งจะเปิดบริการเป็นทางการเมื่อเดือนมิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา โดยเปิดให้บริการทั้งกลุ่มทั่วไปเช่น ครอบครัว นักท่องเที่ยว ที่ต้องการมาพักผ่อน และกลุ่มองค์กรหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการนำหมู่คณะมาจัดอบรม เข้าแคมป์กิจกรรมต่างๆ

จุดเด่นของที่นี่ คือ ห้องพัก ที่การตกแต่งจะเป็นธีมของนักเขียนแต่ละคน ทั้งคนไทยและต่างชาติ และหนึ่งในนั้นคือห้องแว่นแก้ว นามแฝงของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือสำหรับเด็ก


ที่สำคัญ คือ การจัดเอาต์ดอร์และอินดอร์ เทรนนิ่ง สเปซ ในพื้นที่นี้ ที่เน้นกระตุ้นการเรียนรู้ เช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติ สถานีการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ อาทิ จักรยานล้อสี่เหลี่ยม เกลียวอาร์คิมีมิส ลานครึ่งวงกลมแอมฟิเทียเตอร์ สำหรับทำกิจกรรม ลานราตรี สำหรับกิจกรรมดาราศาสตร์ เป็นต้น

เรนทรี เรสซิเดนซ์ จะไม่เหมือนโรงแรมหรือรีสอร์ตหรือที่พักทั่วไปที่อยู่ตามต่างจังหวัดท่องเที่ยว เพราะจะเป็นที่พักสไตล์กิจกรรมการเรียนรู้ มีสิ่งสันทนาการมากมาย มากกว่าแค่การมาพักผ่อน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมในที่พัก หรือกิจกรรมนอกที่พักตามพื้นที่ชุมชนที่จะร่วมมือกันทำกิจกรรมต่างๆขึ้นมา

อีกทั้งห้องพักก็มีความแตกต่างอย่างที่กล่าวไป ด้วยการนำเอาจุดแข็งของนานมีที่เกี่ยวกับการถือลิขสิทธิ์วรรณกรรมดังๆ ต่างๆ เข้ามาใช้ประยุกต์สร้างรเป็นธีมห้องพักได้อย่างลงตัวและมีเสน่ห์อย่างมาก เช่น ห้องพักแว่นแก้ว ห้องพักทอมอู๋ ห้องพักแฮรี่พอตเตอร์ ห้องพักโจฮันนา บาสฟอร์ต เป็นต้น

กว่า 5 ปีที่ค่อยๆ เรียนรู้และสร้างมาและพัฒนามาตามลำดับ มาถึงวันนี้ ทุกธุรกิจที่เป็นนอนบุ๊คส์ของนานมีบุ๊คส์ มีสัดส่วนรายได้รวมกันแล้วประมาณ 21% โดยที่ธุรกิจหลักคือ หนังสือและการพิมพ์และร้านหนังสือยังคงเป็นรายได้หลักในสัดส่วน 79% ซึ่งรวมถึงรายได้จากช่องทางการขายด้วย ที่มีทั้งการขายผ่านร้านหนังสือ เช่น ซีเอ็ด, นายอินทร์, บีทูเอส เป็นหลัก และขายผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย

แต่ก็ต้องถือได้ว่า ธุรกิจนอนบุ๊กของนานมีบุ๊คส์เดินมาถูกทางและเป็นที่ยอมรับเพราะเพียงเวลาแค่5ปีสัดส่วนรายได้เกือบ 1 ใน 5 แล้ว

“ธุรกิจหนังสือในภาพรวมก็ยังมีการเติบโตอยู่เช่นกันแต่ไม่มากเหมือนในอดีตแล้ว บางหมวดอาจจะโตดีบางช่วงเวลาเช่น ตอนนี้ที่เติบโตดีก็คือ หนังสือเกี่ยวกับเด็ก ส่วนกลุ่มที่ตกลงเช่น นิยายของผู้ใหญ่ ขณะที่ในส่วนของนานมีบุ๊คส์เอง ก็ยังคงมีงานพิมพ์ต่อเนื่อง ซึ่งเฉลี่ยแล้วตอนนี้เราผลิตหนังสือออกมาประมาณ 300 ปกต่อปี จากเดิมที่เคยสูงถึงประมาณ 400 กว่าปกต่อปี แต่ส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าคนหันไปอ่านในรูปแบบอื่นมากขึ้นเช่น อีบุ๊คส์ ออนไลน์ หรือโซเชียล ที่ไม่ใช่เป็นหนังสือ” เจน กล่าว

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของนานมีบุ๊คส์ที่ตั้งไว้ คือ ในอนาคต 3 ปีจากนี้ สัดส่วนรายได้




กำลังโหลดความคิดเห็น