ผู้จัดการรายวัน360 – บิ๊กธุรกิจ ทั้ง”เซเว่นฯ-ซีพีเอ็น-ซีพีเอฟ-ไฮเออร์-แฟลชเอ็กซ์เพรส” เดินหน้าลงทุนต่อเนื่องในปี2563 ยันไม่หวั่นภาพรวมเศรษฐกิจเป็นอย่างไร ธุรกิจต้องลงทุนและขยายตัวเพื่อเติบโต ในระยะยาว แต่ต้องปรับแผนปรับตัวตามให้ทัน
ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโดยรวมของไทยที่อาจจะยังไม่กระเตื้องมากขึ้นเท่าใดนัก ซึ่งหลายฝ่ายยังคงเฝ้ารอดูแนวโน้มว่าจะเป็นอย่างไร แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจรายใหญ่ต่างก็ยังคงมีแผนลงทุนต่อเนื่องในปี2563
นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ยืนยันว่า บริษัทฯยังคงมีการลงทุนต่อเนื่องในการขยายสาขาร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในปี2563ทั่วประเทศ เพื่อสร้างการเติบโต อีกทั้งยั’,uความมั่นใจในภาพรวมเศรษฐกิจระยะยาวของไทย รวมทั้งยังมีพื้นที่อีกมากที่ยังสามารถเปิดได้
โดยบริษัทฯตั้งเป้าหมายที่จะเปิดร้านเซเว่นฯ ประมาณ 700 สาขา ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับที่มีการขยายในปี2562 จากปัจจุบันที่ประเทศไทยมีเซเว่นอีเลฟเว่น ประมาณ 10,000 สาขา มากที่สุดลำดับที่2ในเอเชีย ขณะที่ปรัเทศที่มากที่สุดในเอเชียคือญี่ปุ่น
สำหรับผลประกอบการช่วง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย. 62) ซีพี ออลล์มีรายได้รวม 423,184 ล้านบาท เติบโต 9.1% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยเฉพาะไตรมาส 3 ปี มีรายได้รวม 141,072 ล้านบาท เติบโต 8.72% จากไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นอกจากการขยายสาขาเพิ่มแล้ว เซเว่นฯยังมีการเปิดดัวบริการใหม่ๆตามมาอย่างต่อเนื่อง เช่นบริการฟู้ดดีลิเวอรี่ ที่เพิ่งเปิดตัวแอพพลิเคชัรนปิ 7 ELEVEN Delivery ในเดือนธันวาคมนี้ หรือแม้แต่การเปิดบริการซักผ้าชื่อ ออล ลอนดรี้ ซึ่งเริ่มทดลองในบางสาขาเพื่อเป็นการเก็บข้อมูล
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวถึงทิศทางการลงทุนในปี 2563 ว่า สร้างการเติบโตในปี 2563 ซีพีเอฟจะมุ่งสร้างการเติบโต รวมถึงขยายธุรกิจในประเทศที่มีศักยภาพ รวมทั้งใน 17 ประเทศที่บริษัทมีพื้นฐานอยู่แล้วหากมีโอกาส เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีการเติบโตมาก
ทั้งนี้ การลงทุนตลาดต่างประเทศโดยเฉพาใน 17 ประเทศที่ผ่านมา ถือได้ว่าแป็นฐานสำคัญในการสร้างรายได้หลัก และทำให้รายได้ของบริษัทฯเติบโต และสร้างสัดส่วนรายได้ให้มากถึง 70% ของรายได้รวมที่มีประมาณ 500,000 กว่าล้านบาท ส้วนรายได้ในประเทศมีเพียง 27-28% เท่านั้น และที่เหลืออีกไม่ถึง 5%มาจาการส่งออกจากประเทศไทย
ธุรกิจอาหารยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค แม้ว่าภาวะกำลังซื้อในประเทศที่อ่อนตัว มองว่า ประชาชนยังจำเป็นต้องบริโภคอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่ปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ มีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และชุมชน ส่งผลให้ผู้บริโภคให้การตอบรับสินค้าของซีพีเอฟเป็นอย่างดี
"ซีพีเอฟ เป็นผู้ผลิตอาหารโปรตีนราคาไม่แพง ไม่ว่าจะเป็น ไก่ หมู กุ้ง ปลา ไข่ไก่ ล้วนเป็นอาหารพื้นฐานที่คนต้องบริโภค และที่สำคัญ การผลิตของบริษัทเป็นการผลิตแบบครบวงจร จึงเชื่อมั่นว่า ธุรกิจของบริษัทไม่ได้รับผลกระทบและสามารถเติบโตต่อเนื่อง" นายอดิเรกกล่าว
ส่วนปัจจยลบที่น่าเป็นกังวลมากในปี2563ก็คือ เรื่องของภัยแล้ง ที่ นายอดิเรก กล่าวว่า ในปี2563สถานการณ์ภัยแล้งอาจจะรุนแรงกว่าปี2562และจะสงผลกระทบต่อภาคการเกษตรอย่างรุนแรงแน่นอน อย่างไรก็ตามในส่วนของซีพีเอฟนั้น การผลิตปศุสัตว์ของบริษัทฯไม่น่าจะโดนกระทบเพราะเรามีแหล่งน้ำอยู่เพียงพอ
ด้านราคาสินค้าที่คาดว่าวัตถุดิบจะมีราคาเพิ่มขึ้นนั้นถือว่าเป็นวงจรปกติของสินค้าเกษตร ทีอาจมีผลให้ต้นทุนของซีพีเอฟปรับขึ้นได้เล็กน้อย ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการผลิต การบริหารต้นทุน เน้นคุณภาพและบริการ
นายปรีชา เอกคุณากูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และผู้ค้าปลีกในกลุ่มเซ็นทรัล มองว่า สถานการณ์การค้าปลีกในปี 2563 คาดว่าจะไม่เลวร้ายไปกว่าปี 2562แล้ว เนื่องจากภาพรวมตลาดในปี 2562 ต้องเชิญปัญหามากมายตั้งแต่กลางปี เนื่องจากการเลือกตั้งล่าช้าของประเทศส่งผลให้การใช้งบประมาณล่าช้า เศรษฐกิจทั่วโลกท่ะลอตัวลง เกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยวที่ชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม นายปรีชา กล่าวว่า เนื่องจากซีพีเอ็นเป็นบริษัทที่มีการวางแผนในการลงทุนระยะยาวอยู่แล้ว จึงไม่สามารถเอาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของปี2563มาเป็นตัวกำหนดได้เท่านั้น เพราะไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดีก็ตาม บริษัทฯจะยังมีการลงทุนต่อไปตามแผนงานที่ได้ประกาศไปแล้ว เช่น โครงการใหญ่ๆระยะยาว จะจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการพัฒนาที่มีอยู่ในพระราม 4 และพระราม 9 ต่อไป คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 4-5 ปีข้างหน้า
นายปรีชา ยังกล่าวให้ความเห็นด้วยว่า ขณะนี้ยังไม่มีปัญหาในเชิงลบใดๆที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยจะแย่ลงในปี2563 เราจึงจะขยายธุรกิจของเราต่อไปในปี2563 เราเชื่อว่ารัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นการบริโภคในระยะสั้นในช่วงที่เศรษฐกิจโลกประสบปัญหา ประกอบกับรัฐบาลน่าจะออกมาตจรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆในระยะยาวเพื่อสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนต่อไป
“อีกเรื่องหนึ่งที่น่าห่วงคือ เทคโนโลยีที่เขจ้ามามีบทบาท ซึ่งถือเป็นอีกความท้าทายของเรา ที่เราจะต้องทำการปรับรูปแบบธุรกิจเพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง ผ่านพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อช่วยให้ธุรกิจของเราขยายตัวเติบโตต่อไปได้ "นายปรีชากล่าว
นายธเนศร์ บินอาซัน รองประธานคณะผู้บริหารบริษัท ไฮเออร์ อีเลคทริคอล แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ไฮเออร์วางแผนที่จะขยายธุรกิจในส่วนของตลาดแอร์ในปี2563มากขึ้นในส่วนของตลาดเช่า โดยมีแผนจะนำแอร์ให้เช่าในรูปแบบเติมเงินเข้ามาทำตลาดในไทย เมื่อระบบ5Gเกิดขึ้น ซึ่งไฮเออร์ทำตลาดรูปแบบนี้ในจีนมาแล้วเมื่อ3 ปีที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จอย่างดี
บริษัทฯมองว่าเป็นตลาดใหม่ที่น่าสนใจและยังไม่มีใครทำตลาดแบบนี้อย่างชัดเจน ซึ่งเชื่อมั่นว่าเมื่อไฮเออร์รุกตลาดจริงจัง จะช่วยทำให้ยอดขายแอร์ไฮเออร์โดยรวมเติบโตเพิ่มขึ้นอีก เป็นไปตามเป้าหมายที่จะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดแอร์รวมในไทยให้ได้ ในปี2565 จากปัจจุบันไฮเออร์เป็นอันดับ3 มีส่วนแบ่งการตลาด 11% จากตลาดแอร์รวมมูลค่า 21,300 ล้านบาท
กลุ่มเป้าหมายหลักคือ พวกหอพักนักศึกษา คนทำงาน ที่ยังไม่ติดตั้งแอร์หรือกำลังกลุ่มที่ต้องการจะเปลี่ยนแอร์เก่าเป็นแอร์ใหม่ ซึ่งขณะนี้เริ่มมีการเตรียมระบบแอพพลิชั่นไว้รองรับ และอยู่ระหว่างการเจรจากับโครงการและหอพักต่างๆ ที่มีจำนวน 20-30 ห้องขึ้นไป โดยที่เจ้าของอาคารหรือหอพัก แค่ทำสัญญาข้อตกลงเงื่อนไขต่างๆเช่น ระยะเวลาการติดตั้ง โดยที่ไม่เจ้าของอาคารหรือหอพักไม่ต้องลงทุนอะไรทั้งนั้น เพราะบริษัทจะเข้าไปติดตั้งให้ฟรี
ส่วนการใช้งานนั้นคือ ผู้ใช้งานแต่ละห้องต้องมีบัตรเติมเงินหรือมีแอพพลิเคชั่นที่เชื่อมต่อกับแอร์ สั่งข้อมูลระยะเวลาการเช่าให้แอร์ทำงาน เช่น 10 ชั่วโมง 20 บาท หรือ 12 ชั่วโมง 22 บาท แล้วชำระเงินตามอัตราที่กำหนดผ่านแอพพลิเคชั่นในมือถือ แอร์ก็จะทำงานตามระยะเวลาที่เรากำหนด
นายคมสันต์ ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ แฟลช (FLASH GROUP) ผู้ให้บริการด้านอี-คอมเมิร์ซ E-Commerce ของไทย เปิดเผยว่า ในปี2563 แฟลช เอ็กซ์เพรส มีแผนที่จะขยายการให้บริการใหม่ๆที่เพิ่มมากขึ้น คือ การบริการทางการเงิน (Money Service) รวมไปถึงการพัฒนาและจะยกระดับการให้บริการ พัฒนาขีดความสามารถใหม่ๆ ทั้งในส่วนของ Express, Logistics และทุกบริษัทในเครือ
นอกกจากนั้นจะให้ความสำคัญในด้านการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้ามากขึ้น ธุรกิจการให้บริการขนส่งจะไม่เป็นเพียงแค่ขนส่งอีกต่อไป เราจะใส่ความคล่องตัว เพื่อให้ลูกค้าสามารถมองเห็นภาพได้แบบ Real time และชัดเจนมากยิ่งขึ้น พร้อมผนึกกับพันธมิตรทางธุรกิจที่จะสามารถตอบโจทย์การให้บริการของอี-คอมเมิร์ซ (E-commerce )ได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ และตอบสนองต่อความต้องการของตลาด, ผู้บริโภคได้อย่างเต็มรูปแบบในระยะยาว
หลังจากที่แฟลชเข้ามาลงทุนในธุรกิจเอ็กซ์เพรสในไทยประมาณ 1-2 ปี ได้ลงทุนมากกว่าหลายร้อยล้านบาทแล้ว โดยมีบริการต่างๆดังนี้ บริการขนส่งด่วน (Flash Express), บริการด้านโลจิสติกส์ (Flash Logistics) ส่งสินค้าชิ้นใหญ่, บริการฟูลฟิลเมนท์ (Flash Fulfillment) จัดเก็บดูแล และส่งสินค้า และในปี2562มียอดส่งพัสดุมากกว่า 100 ล้านชิ้น มีรายได้รวมมากกว่า 5,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10 เท่า เป็นผู้เล่น Top3 ของตลาดขนส่งไทย มีศูนย์ให้บริการ และจุดรับ-ส่งพัสดุทั่วประเทศ รวมกว่า 3,500 แห่ง มีรถขนส่งทุกประเภทกว่า 10,000 คัน ให้บริการครบ 77 จังหวัด.