ผู้จัดการรายวัน 360 - อิปซอสส์ปล่อยข้อมูลวิจัยชุด “ชิมช้อปใช้” ประชาชนนิยมชอป ตามด้วยชิม และใช้ที่แทบไม่ใช้ ในสัดส่วน 61 : 35 : 4 ตามลำดับ และประชาชนส่วนใหญ่พอใจ เข้าใจโครงการ และอยากให้รัฐบาลสนับสนุนต่อ
นางสาวอุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิปซอสส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงผลวิจัยชุด - ชิมช้อปใช้ ที่เจาะลึกถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายและความพึงพอใจ ภาพรวมโครงการ “ชิมช้อปใช้” ว่า เป็นกระแสตอบรับดี โดยเฉพาะกลุ่มสูงวัยอายุ 50-59 ปี เห็นว่าเป็นนโยบายที่ดีซึ่งช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย ส่วนกลุ่มหนุ่มสาว ที่มีอายุ 18-29 ปี มองว่าเป็นสิ่งที่เขาควรจะได้รับ เนื่องจากเงินสนับสนุนจำนวนนี้เป็นเงินส่วนหนึ่งที่มาจากภาษีที่พวกเขาที่จ่ายให้แก่ประเทศ ปรากฏการณ์ “ชิมช้อปใช้” ที่มีผู้ลงทะเบียน 10 ล้านคน มีเงินใน “เป๋าตัง” คนละ 1,000 บาท นับเป็นการส่งผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผลทันตาทันใจรัฐบาล การใช้เงินกระฉูดตามเป้าหมายในระยะเวลาสั้นๆ ทั้งการ “ชิม” “ชอป” และ “ใช้”
สำหรับผลสำรวจนโยบาย “ชิมช้อปใช้” จากอิปซอสส์ ได้มีการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศเป็นจำนวน 500 คน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ถึง 60 ปีขึ้นไป โดยผลวิจัยได้มีการศึกษาแนวทางซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การมีส่วนร่วม ความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของรัฐบาลในการออกมาตรการ ตลอดจนพฤติกรรมการใช้จ่ายและความคิดเห็นต่อโครงการ “ชิมช้อปใช้” นี้
ภาพรวมนับว่าโครงการ “ชิมช้อปใช้” ได้กระแสการตอบรับที่ดีมาก จากการสำรวจพบว่าสัดส่วนของผู้ที่เข้าร่วมโครงการเมื่อเทียบกับสถิติคนที่ไม่ร่วมแล้วอยู่ในอัตรา 59 : 41 โดยกว่า 97% ของคนลงทะเบียนรับสิทธิมีความรู้ความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ และอีก 95% ของพวกเขายังยินดีที่จะแนะนำให้ ครอบครัว ญาติ และเพื่อนฝูงร่วมรับเงินสนับสนุนส่วนนี้จากรัฐบาลอีกด้วย ทั้งนี้ เมื่อศึกษาถึงเหตุผลที่บางคนเลือกที่จะเข้าร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมแล้ว สามารถสรุปเป็นประเด็นสาระสำคัญ ได้ดังนี้
62% ของกลุ่มคนที่เข้าร่วมนโยบายและลงทะเบียนรับสิทธิ์ “ชิมช้อปใช้” มีความคิดที่ว่า นโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดีในการกระตุ้นการใช้จ่าย ในขณะที่อีก 44 % เข้าร่วมเพราะคิดว่าเงินจำนวนนี้มาจากภาษีของพวกตน นอกจากนั้นอีก 41% มองว่าเป็นสิทธิ์ที่พวกเขาควรจะได้รับจากรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม หากแบ่งตามกลุ่มอายุจะเห็นได้ชัดว่า กลุ่มผู้สูงวัย และวัยทำงานมีความคิดเห็นต่อเหตุผลที่ลงทะเบียนในการรับเงินจากรัฐบาลที่แตกต่างกัน โดย 73% ของคนที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี มองว่า “ชิมช้อปใช้” เป็นนโยบายที่ดีซึ่งช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย แต่กลุ่มผู้รับสิทธิ์ที่มีอายุ 18-29 ปี มองว่านี่เป็นสิ่งที่เขาควรจะได้รับ เนื่องจากเงินสนับสนุนจำนวนนี้เป็นเงินส่วนหนึ่งที่มาจากภาษีที่พวกเขาจ่ายให้แก่ประเทศ
ในทางกลับกัน ผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ให้เหตุผลที่ตัดสินใจไม่เข้าร่วม คือ ขั้นตอนเยอะ และมองว่าเป็นเรื่องยาก / กดรับสิทธิ์ไม่ทัน / ระบบไม่เสถียร / อื่นๆ / ไม่เข้าใจการใช้แอปฯ เป๋าตัง - G Wallet / ไม่สามารถยืนยันตัวตนได้ / ไม่มีสมาร์ทโฟน / ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ในอัตรา 44%, 42%, 22%, 20%, 13%, 7%, 2%, 1% ตามลำดับ
นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญด้านความเชื่อของประชาชนในหัวข้อที่ว่า โครงการ “ชิมช้อปใช้” สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและกระจายรายได้ไปสู่ธุรกิจขนาดเล็กได้หรือไม่นั้น ผลปรากฏว่า 72% เชื่อว่า เศรษฐกิจ และร้านค้าขนาดเล็กได้รับผลประโยชน์ ในขณะที่มีเพียง 28% เท่านั้นที่คิดว่านโยบายนี้ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจและกระจายรายได้สู่ร้านค้าขนาดเล็กได้ โดยกลุ่มคน 72% คิดว่ารายได้สามารถกระจายไปสู่ร้านค้าขนาดเล็กได้นั้น เนื่องจาก 71% ของพวกเขามีการวางแผนและมีความตั้งใจที่จะไปใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กหรือร้านค้ารายย่อยเท่านั้น นอกจากนั้น อีก 56% ยังมองว่าการรณรงค์ให้ใช้จ่ายนับเป็นตัวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดี สำหรับอีก 28% ของกลุ่มคนที่มีแนวคิดเห็นตรงกันข้าม 63% ของพวกเขายังฝังใจว่าร้านค้าขนาดใหญ่เท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์ และอีก 49% ไม่เชื่อว่ามาตรการนี้จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงในระยะยาว
เมื่อศึกษาถึงหมวดของสินค้าหรือบริการ ตลอดจนประเภทร้านค้าที่ผู้รับสิทธิ์ส่วนมากเลือกที่จะใช้จ่ายด้วยนั้น ปรากฏว่า หมวด “ชอป” ถูกเลือกในสัดส่วนที่สูงสุด ตามด้วย ชิม และ ใช้ โดยสัดส่วนระหว่าง ชิม : ชอป : ใช้ อยู่ในอัตรา 35 : 61 : 4 โดยรูปแบบร้านที่ผู้มีสิทธิ์เลือกเป็นจุดซื้อนั้นสามารถเรียงลำดับได้ ดังนี้
47% เป็นร้านธงฟ้า 39% ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ท็อปส์ มาร์เก็ต เทสโก้ โลตัส 36% ร้านค้า OTOP ท้องถิ่น 23% ร้านค้าขนาดเล็ก เช่น แฟมิลี่ มาร์ท 14% ร้านค้าขนาดกลาง เช่น บลูช็อป 11% ห้างสรรพสินค้า เช่น เซ็นทรัล สยามพารากอน 10% ผู้ค้ารายใหญ่ เช่น แม็คโคร
สำหรับคำถามที่ว่าร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวนเพียงพอหรือไม่ สัดส่วนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการระหว่าง เพียงพอ กับไม่เพียงพอ มีสัดส่วนเท่าๆ กันคือ 50 : 50 โดยกลุ่มคนที่ระบุว่าร้านค้าที่ลงทะเบียนกับรัฐบาลมีจำนวนไม่มากพอนั้น มองว่าการหาร้าน “ถุงเงิน” เป็นเรื่องยาก
สถิติถึง 70% เห็นว่าจำนวนวงเงิน 1,000 นี้เหมาะสม และ 75% มีการใช้เงินทั้งพันบาทหมดในครั้งเดียว และมีจำนวนไม่น้อยที่จบโครงการแล้วยังใช้วงเงินไม่หมด
ในส่วนของพฤติกรรมการใช้จ่าย ได้ถามถึงวงเงินที่ได้รับมาจำนวน 1,000 บาทนั้น มีความเหมาะสมหรือ ไม่ ปรากฏว่า 70% ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความเห็นว่า 1,000 บาทเป็นวงเงินที่มากพอ มีเพียง 30% เท่านั้นที่เห็นว่ารัฐบาลควรเพิ่มวงเงิน โดยมีการถามต่อถึงการใช้จ่ายเงินจำนวนนี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างกว่า 75% มีการใช้เงิน 1,000 บาทในครั้งเดียว อีก 25% ทยอยจ่ายหลายครั้ง และมีคนจำนวนไม่น้อยที่หลังจากจบโครงการแล้วใช้จ่ายน้อยกว่าจำนวนเงินที่ได้รับมา โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้
1.22% ใช้จ่ายน้อยกว่า 500
2.15% ใช้จ่ายเป็นจำนวน 500-999 บาท
3.38% ใช้จ่ายเป็นจำนวน 1,000 บาท
4.26% ใช้จ่ายมากกว่า 1,000 บาท
สำหรับเหตุผลที่อาจจะสามารถอธิบายได้ว่าทำไมบางคนถึงมีการใช้จ่ายผ่านแอปฯ “เป๋าตัง” น้อยกว่าจำนวนเงินที่ได้รับ พบว่า 21% เป็นผลมาจากการที่ผู้ใช้พบปัญหาระหว่างการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านทางตัวแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ซึ่ง 16% ของพวกเขาต้องสำรองเงินจ่ายค่าสินค้าและบริการเอง ส่วนอีก 5% ตัดสินใจยกเลิกการซื้อโดยสิ้นเชิง
หนึ่งในความเป็นไปได้คือการที่ผู้ใช้เกือบครึ่งยังไม่คุ้นชินกับการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Wallet โดยผลสำรวจพบว่า ผู้รับสิทธิ์ 43% มีการใช้จ่ายผ่าน E-Wallet เป็นครั้งแรก และไม่คุ้นชินกับการใช้แอปพลิเคชัน อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่ายินดีที่ 78% ไม่มีปัญหาระหว่างการชำระเงิน และอีก 57% ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความคุ้นเคยในการใช้ E-Wallet อยู่แล้ว
จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดของนโยบาย “ชิมช้อปใช้” คือความคาดหวังว่าประชาชนจะจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ โดยสามารถสรุปจากผลสำรวจได้ว่า 56% ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้สึกว่าตนเองมีการใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ในขณะที่ 17% ไม่รู้สึกว่าพวกเขามีการใช้จ่ายที่มากกว่าเดิม และอีก 18% นั้นไม่แน่ใจว่าตัวเองมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นหรือไม่
โครงการ “ชิมช้อปใช้” ถือเป็นหนึ่งในโครงการของรัฐบาลที่ถูกวิจารณ์ในหลายด้าน อย่างไรก็ตาม 74% ของประชาชนชาวไทยอยากให้รัฐบาลดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องหลังจบมาตรการแล้ว มีเพียงแค่ 14% และ 12% เท่านั้นที่ไม่แน่ใจ หรือรู้สึกอยากให้รัฐบาลยกเลิกโครงการนี้ไปเลย
นางสาวอุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิปซอสส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงผลวิจัยชุด - ชิมช้อปใช้ ที่เจาะลึกถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายและความพึงพอใจ ภาพรวมโครงการ “ชิมช้อปใช้” ว่า เป็นกระแสตอบรับดี โดยเฉพาะกลุ่มสูงวัยอายุ 50-59 ปี เห็นว่าเป็นนโยบายที่ดีซึ่งช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย ส่วนกลุ่มหนุ่มสาว ที่มีอายุ 18-29 ปี มองว่าเป็นสิ่งที่เขาควรจะได้รับ เนื่องจากเงินสนับสนุนจำนวนนี้เป็นเงินส่วนหนึ่งที่มาจากภาษีที่พวกเขาที่จ่ายให้แก่ประเทศ ปรากฏการณ์ “ชิมช้อปใช้” ที่มีผู้ลงทะเบียน 10 ล้านคน มีเงินใน “เป๋าตัง” คนละ 1,000 บาท นับเป็นการส่งผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผลทันตาทันใจรัฐบาล การใช้เงินกระฉูดตามเป้าหมายในระยะเวลาสั้นๆ ทั้งการ “ชิม” “ชอป” และ “ใช้”
สำหรับผลสำรวจนโยบาย “ชิมช้อปใช้” จากอิปซอสส์ ได้มีการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศเป็นจำนวน 500 คน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ถึง 60 ปีขึ้นไป โดยผลวิจัยได้มีการศึกษาแนวทางซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การมีส่วนร่วม ความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของรัฐบาลในการออกมาตรการ ตลอดจนพฤติกรรมการใช้จ่ายและความคิดเห็นต่อโครงการ “ชิมช้อปใช้” นี้
ภาพรวมนับว่าโครงการ “ชิมช้อปใช้” ได้กระแสการตอบรับที่ดีมาก จากการสำรวจพบว่าสัดส่วนของผู้ที่เข้าร่วมโครงการเมื่อเทียบกับสถิติคนที่ไม่ร่วมแล้วอยู่ในอัตรา 59 : 41 โดยกว่า 97% ของคนลงทะเบียนรับสิทธิมีความรู้ความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ และอีก 95% ของพวกเขายังยินดีที่จะแนะนำให้ ครอบครัว ญาติ และเพื่อนฝูงร่วมรับเงินสนับสนุนส่วนนี้จากรัฐบาลอีกด้วย ทั้งนี้ เมื่อศึกษาถึงเหตุผลที่บางคนเลือกที่จะเข้าร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมแล้ว สามารถสรุปเป็นประเด็นสาระสำคัญ ได้ดังนี้
62% ของกลุ่มคนที่เข้าร่วมนโยบายและลงทะเบียนรับสิทธิ์ “ชิมช้อปใช้” มีความคิดที่ว่า นโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดีในการกระตุ้นการใช้จ่าย ในขณะที่อีก 44 % เข้าร่วมเพราะคิดว่าเงินจำนวนนี้มาจากภาษีของพวกตน นอกจากนั้นอีก 41% มองว่าเป็นสิทธิ์ที่พวกเขาควรจะได้รับจากรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม หากแบ่งตามกลุ่มอายุจะเห็นได้ชัดว่า กลุ่มผู้สูงวัย และวัยทำงานมีความคิดเห็นต่อเหตุผลที่ลงทะเบียนในการรับเงินจากรัฐบาลที่แตกต่างกัน โดย 73% ของคนที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี มองว่า “ชิมช้อปใช้” เป็นนโยบายที่ดีซึ่งช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย แต่กลุ่มผู้รับสิทธิ์ที่มีอายุ 18-29 ปี มองว่านี่เป็นสิ่งที่เขาควรจะได้รับ เนื่องจากเงินสนับสนุนจำนวนนี้เป็นเงินส่วนหนึ่งที่มาจากภาษีที่พวกเขาจ่ายให้แก่ประเทศ
ในทางกลับกัน ผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ให้เหตุผลที่ตัดสินใจไม่เข้าร่วม คือ ขั้นตอนเยอะ และมองว่าเป็นเรื่องยาก / กดรับสิทธิ์ไม่ทัน / ระบบไม่เสถียร / อื่นๆ / ไม่เข้าใจการใช้แอปฯ เป๋าตัง - G Wallet / ไม่สามารถยืนยันตัวตนได้ / ไม่มีสมาร์ทโฟน / ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ในอัตรา 44%, 42%, 22%, 20%, 13%, 7%, 2%, 1% ตามลำดับ
นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญด้านความเชื่อของประชาชนในหัวข้อที่ว่า โครงการ “ชิมช้อปใช้” สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและกระจายรายได้ไปสู่ธุรกิจขนาดเล็กได้หรือไม่นั้น ผลปรากฏว่า 72% เชื่อว่า เศรษฐกิจ และร้านค้าขนาดเล็กได้รับผลประโยชน์ ในขณะที่มีเพียง 28% เท่านั้นที่คิดว่านโยบายนี้ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจและกระจายรายได้สู่ร้านค้าขนาดเล็กได้ โดยกลุ่มคน 72% คิดว่ารายได้สามารถกระจายไปสู่ร้านค้าขนาดเล็กได้นั้น เนื่องจาก 71% ของพวกเขามีการวางแผนและมีความตั้งใจที่จะไปใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กหรือร้านค้ารายย่อยเท่านั้น นอกจากนั้น อีก 56% ยังมองว่าการรณรงค์ให้ใช้จ่ายนับเป็นตัวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดี สำหรับอีก 28% ของกลุ่มคนที่มีแนวคิดเห็นตรงกันข้าม 63% ของพวกเขายังฝังใจว่าร้านค้าขนาดใหญ่เท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์ และอีก 49% ไม่เชื่อว่ามาตรการนี้จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงในระยะยาว
เมื่อศึกษาถึงหมวดของสินค้าหรือบริการ ตลอดจนประเภทร้านค้าที่ผู้รับสิทธิ์ส่วนมากเลือกที่จะใช้จ่ายด้วยนั้น ปรากฏว่า หมวด “ชอป” ถูกเลือกในสัดส่วนที่สูงสุด ตามด้วย ชิม และ ใช้ โดยสัดส่วนระหว่าง ชิม : ชอป : ใช้ อยู่ในอัตรา 35 : 61 : 4 โดยรูปแบบร้านที่ผู้มีสิทธิ์เลือกเป็นจุดซื้อนั้นสามารถเรียงลำดับได้ ดังนี้
47% เป็นร้านธงฟ้า 39% ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ท็อปส์ มาร์เก็ต เทสโก้ โลตัส 36% ร้านค้า OTOP ท้องถิ่น 23% ร้านค้าขนาดเล็ก เช่น แฟมิลี่ มาร์ท 14% ร้านค้าขนาดกลาง เช่น บลูช็อป 11% ห้างสรรพสินค้า เช่น เซ็นทรัล สยามพารากอน 10% ผู้ค้ารายใหญ่ เช่น แม็คโคร
สำหรับคำถามที่ว่าร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวนเพียงพอหรือไม่ สัดส่วนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการระหว่าง เพียงพอ กับไม่เพียงพอ มีสัดส่วนเท่าๆ กันคือ 50 : 50 โดยกลุ่มคนที่ระบุว่าร้านค้าที่ลงทะเบียนกับรัฐบาลมีจำนวนไม่มากพอนั้น มองว่าการหาร้าน “ถุงเงิน” เป็นเรื่องยาก
สถิติถึง 70% เห็นว่าจำนวนวงเงิน 1,000 นี้เหมาะสม และ 75% มีการใช้เงินทั้งพันบาทหมดในครั้งเดียว และมีจำนวนไม่น้อยที่จบโครงการแล้วยังใช้วงเงินไม่หมด
ในส่วนของพฤติกรรมการใช้จ่าย ได้ถามถึงวงเงินที่ได้รับมาจำนวน 1,000 บาทนั้น มีความเหมาะสมหรือ ไม่ ปรากฏว่า 70% ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความเห็นว่า 1,000 บาทเป็นวงเงินที่มากพอ มีเพียง 30% เท่านั้นที่เห็นว่ารัฐบาลควรเพิ่มวงเงิน โดยมีการถามต่อถึงการใช้จ่ายเงินจำนวนนี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างกว่า 75% มีการใช้เงิน 1,000 บาทในครั้งเดียว อีก 25% ทยอยจ่ายหลายครั้ง และมีคนจำนวนไม่น้อยที่หลังจากจบโครงการแล้วใช้จ่ายน้อยกว่าจำนวนเงินที่ได้รับมา โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้
1.22% ใช้จ่ายน้อยกว่า 500
2.15% ใช้จ่ายเป็นจำนวน 500-999 บาท
3.38% ใช้จ่ายเป็นจำนวน 1,000 บาท
4.26% ใช้จ่ายมากกว่า 1,000 บาท
สำหรับเหตุผลที่อาจจะสามารถอธิบายได้ว่าทำไมบางคนถึงมีการใช้จ่ายผ่านแอปฯ “เป๋าตัง” น้อยกว่าจำนวนเงินที่ได้รับ พบว่า 21% เป็นผลมาจากการที่ผู้ใช้พบปัญหาระหว่างการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านทางตัวแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ซึ่ง 16% ของพวกเขาต้องสำรองเงินจ่ายค่าสินค้าและบริการเอง ส่วนอีก 5% ตัดสินใจยกเลิกการซื้อโดยสิ้นเชิง
หนึ่งในความเป็นไปได้คือการที่ผู้ใช้เกือบครึ่งยังไม่คุ้นชินกับการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Wallet โดยผลสำรวจพบว่า ผู้รับสิทธิ์ 43% มีการใช้จ่ายผ่าน E-Wallet เป็นครั้งแรก และไม่คุ้นชินกับการใช้แอปพลิเคชัน อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่ายินดีที่ 78% ไม่มีปัญหาระหว่างการชำระเงิน และอีก 57% ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความคุ้นเคยในการใช้ E-Wallet อยู่แล้ว
จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดของนโยบาย “ชิมช้อปใช้” คือความคาดหวังว่าประชาชนจะจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ โดยสามารถสรุปจากผลสำรวจได้ว่า 56% ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้สึกว่าตนเองมีการใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ในขณะที่ 17% ไม่รู้สึกว่าพวกเขามีการใช้จ่ายที่มากกว่าเดิม และอีก 18% นั้นไม่แน่ใจว่าตัวเองมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นหรือไม่
โครงการ “ชิมช้อปใช้” ถือเป็นหนึ่งในโครงการของรัฐบาลที่ถูกวิจารณ์ในหลายด้าน อย่างไรก็ตาม 74% ของประชาชนชาวไทยอยากให้รัฐบาลดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องหลังจบมาตรการแล้ว มีเพียงแค่ 14% และ 12% เท่านั้นที่ไม่แน่ใจ หรือรู้สึกอยากให้รัฐบาลยกเลิกโครงการนี้ไปเลย