xs
xsm
sm
md
lg

คนไทยยอมยกเลิกวันหยุดเพราะติดทำงานสูง 75% สูงสุดในโลก การฟื้นฟูสภาพจิตใจให้กลับมามีพลังจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทำงาน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

การฟื้นฟูสภาพจิตใจให้กลับมามีพลังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทำงาน

เอ็กซ์พีเดีย (Expedia.co.th®) เว็บไซต์บริการด้านการท่องเที่ยวออนไลน์แบบครบวงจรอันดับหนึ่งของโลก เปิดเผยข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้พักผ่อนระหว่างการเดินทางอย่างแท้จริง (Vacation Deprivation Study) ประจำปี 2560 โดยทำการสำรวจพฤติกรรมของกลุ่มคนวัยทำงานจำนวน 15,000 คน ใน 30 ประเทศทั่วโลก ว่าเหตุใดจึงไม่สามารถใช้ช่วงเวลาพักผ่อนในวันหยุดของตนเองได้อย่างเต็มที่ จากการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกของพนักงานประจำ จำนวน 300 คน ในประเทศไทย ปรากฏว่า คนไทยส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าพวกเขาสมควรได้รับวันลาพักร้อนมากขึ้นถึงร้อยละ 81 ติดโผ 1 ใน 5 อันดับสูงสุดในเอเชีย โดยเกาหลีใต้ครองอันดับหนึ่ง ร้อยละ 88 อันดับสองฮ่องกง ร้อยละ 86 อันดับสามไต้หวันร้อยละ 84 และอินเดียเท่ากับไทยคือร้อยละ 81 ผลสำรวจยังพบว่าร้อยละ 76 ของคนไทยใช้เวลาว่างช่วงพักร้อนในการทำงานตามความฝัน

นายซิมอน ฟิเก้ ผู้จัดการทั่วไป เอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย กล่าวว่า การฟื้นฟูสภาพจิตใจให้กลับมามีพลังจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทำงาน การฟื้นฟูสภาพจิตใจให้กลับมามีพลังจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทำงาน “เอ็กซ์พีเดียทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ขัดขวางการลาพักร้อนเป็นประจำทุกปี โดยจะพิจารณาถึงพฤติกรรมของการลาพักร้อนที่แตกต่างกันในหลายทวีป ในขณะที่ความแตกต่างของลักษณะนิสัยและผลกระทบทางอารมณ์ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นต้นเหตุที่หยุดพักร้อนไม่ได้ คนส่วนใหญ่ในบางประเทศจำนวนร้อยละ 80-90 บอกว่าการลาพักร้อนทำให้พวกเขารู้สึกมีความสุขมากขึ้น พักผ่อนได้ดีขึ้นและใกล้ชิดกับครอบครัวมากขึ้น เครียดน้อยลงและผ่อนคลายมากขึ้น ความรู้สึกเหล่านี้สัมพันธ์กับอารมณ์ซึ่งส่งผลให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น”

จำนวนของคนที่ไม่ใช้วันลาพักร้อนสูงขึ้นทั่วโลก ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกขึ้นนำ

จากผลการศึกษาถึงปัจจัยที่ขัดขวางการลาพักร้อนนั้นเพิ่มขึ้นทั่วโลก ในปี 2560 กลุ่มผู้ใหญ่ที่ทำงานเต็มเวลาทั่วโลกรู้สึกว่าไม่อยากลาหยุดพักร้อนมีจำนวนร้อยละ 53 เพิ่มขึ้นกว่าปี 2559 ที่มีจำนวนร้อยละ 49 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับอเมริกาและยุโรป ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังเป็นผู้นำในเรื่องที่คนไม่ใช้วันลาพักร้อนเพื่อหยุดพักผ่อน โดยกลุ่มคนทำงานในประเทศเกาหลีใต้มีจำนวนมากที่สุดถึงร้อยละ 81 ที่รู้สึกว่าพวกเขาถูกลิดรอนวันลาพักร้อน

นายจ้างไทยสนับสนุนให้มีวันลาพักร้อนประจำปีเพิ่มขึ้น แต่ลูกจ้างยังคงใช้วันลาพักร้อนน้อยกว่าที่กำหนด

จากการศึกษาข้อมูลเชิงลึกพบว่าเหตุผลจริงๆ ที่ทำให้ลูกจ้างประจำชาวไทยรู้สึกว่าเขาไม่ได้ใช้วันลาพักร้อนประจำปีอย่างเต็มที่มีถึงร้อยละ 51 ของจำนวนลูกจ้างประจำที่ใช้วันลาพักร้อนเพียง 2-3 วันต่อปี ซึ่งน้อยกว่าวันลาพักร้อนประจำปีที่พวกเขาได้รับ โดยที่เหตุผลนั้นก็ไม่ใช่ว่านายจ้างไม่สนับสนุน

ที่จริงแล้ว ลูกจ้างคนไทยจำนวนร้อยละ 55 เห็นด้วยที่นายจ้างของพวกเขาให้การสนับสนุนการลาหยุดพักร้อน ซึ่งลูกจ้างส่วนใหญ่จะใช้วันลาพักร้อนโดยเฉลี่ย 8 วันต่อปี ซึ่งน้อยกว่าวันหยุดประจำปีที่พวกเขาได้รับโดยเฉลี่ย 10 วัน ต่อปี ด้วยเหตุผลส่วนใหญ่ คือ

•ลูกจ้างต้องการที่จะเก็บวันลาพักร้อนไว้ เผื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นในอนาคตร้อยละ ร้อยละ 45
•ตารางการทำงานลูกจ้างไม่สามารถลาพักร้อนได้หรือจำนวนบุคลากรไม่เพียงพอกับงาน ร้อยละ 37
•มีความยุ่งยากในการจัดตารางเวลาวันหยุดพักร้อนที่เหมาะกับครอบครัว คู่รักหรือเพื่อน ร้อยละ 30
•ลูกจ้างต้องการที่จะมีลาพักร้อนไว้ใช้ในปีถัดไปเพื่อจะได้มีวันลามากขึ้น ร้อยละ 30

สาเหตุของการถูกลิดรอนวันหยุด

คนทำงานส่วนใหญ่ในหลากหลายสาขาอาชีพต่างถูกลิดรอนวันลาพักร้อน บ้างก็ให้เหตุผลว่าเพราะขาดรายได้และอีก หลายคนบอกว่าเขาไม่สามารถหยุดงานได้

ทั้งนี้ 1 ใน 3 ของลูกจ้างประจำทั่วโลกใช้วันลาพักร้อนน้อยกว่าที่พวกเขาได้รับ ใกล้เคียงกับผลสำรวจที่พบในปี 2559 ลูกจ้างชาวเอเชียค่อนข้างมากจะทิ้งวันลาพักร้อนของตัวเองไว้ที่โต๊ะทำงาน ในจำนวนนั้นเป็นชาวญี่ปุ่นร้อยละ 65 ชาว มาเลเซียร้อยละ 63 และชาวอินเดียร้อยละ 55 ซึ่งส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะใช้วันลาพักร้อนน้อยกว่าที่พวกเขาได้รับ ลูกจ้างจำนวนมากให้เหตุผลว่า พวกเขามีงานยุ่งมากเกินกว่าที่จะจัดสรรเวลาไปใช้วันหยุดได้หมด ซึ่งกรณีนี้ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างชาวเกาหลีใต้ร้อยละ 70 ชาวอินเดียร้อยละ 64 และชาวญี่ปุ่นร้อยละ 62

อาชีพที่ถูกลิดรอนวันหยุดมากที่สุดได้แก่

•งานการตลาด และสื่อสารมวลชน ร้อยละ 66
•งานด้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 62
•งานด้านการศึกษา ร้อยละ 47
•องค์กรภาครัฐ ร้อยละ 49

อาชีพที่ส่วนใหญ่ไม่สามารถลาหยุดพักร้อนได้ ได้แก่

•ด้านเกษตรกรรม ร้อยละ 52
•ด้านการตลาดและสื่อสารมวลชน ร้อยละ 45
•ด้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 41
•ธุรกิจขายปลีก ร้อยละ 40
•ด้านการศึกษาร้อยละ 37

อาชีพที่รายงานระบุว่าไม่สามารถหาเวลาว่างจากการทำงานได้ คือ งานด้านการเงินและกฎหมาย ร้อยละ 39

การลาพักร้อนไม่ใช่เรื่องที่ต้องรอแพทย์สั่ง

การลาหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นมีประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพและภาวะทางอารมณ์อย่างมาก โดยจำนวน 2 ใน 3 ของลูกจ้างทั่วโลกบอกว่าพวกเขากลับมาทำงานด้วยความรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งลูกจ้างที่อยู่ในประเทศกำลัง พัฒนาส่วนใหญ่บอกว่าพวกขารู้สึกว่าพวกเขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้นหลังจากลาพักร้อน โดยชาวบราซิล มีจำนวนมากถึงร้อยละ 70 ชาวอินเดียร้อยละ 66 และชาวเอมิเรตร้อยละ 60

ทัศนคติที่ดีขึ้นก็ส่งผลให้คนในหลายๆ ประเทศลาพักผ่อนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเม็กซิโกมีจำนวนร้อยละ 64 อาร์เจนตินาร้อยละ 62 สหรัฐอเมริการ้อยละ 60 และอินเดียร้อยละ 59 จำนวนครึ่งหนึ่งของนักท่องเที่ยวทั่วโลกยังรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นและมีจำนวนสูงขึ้นที่กล่าวถึงข้อดีเรื่องนี้ โดยในทวีปเอเชียนั้น ชาวไทยสูงเป็นอันดับหนึ่งร้อยละ 66 ชาวอินเดียร้อยละ 65 และไต้หวันร้อยละ 64

ลูกจ้างในทวีปเอเชียจำนวนมากมีแนวโน้มและความคิดว่าควรจะนับ “วันสุขภาพจิต (mental health day)” รวมเป็น วันหยุดพักผ่อนประจำปี ซึ่งลูกจ้างที่มีแนวคิดที่ชัดเจนด้านนี้เป็นชาวไต้หวันร้อยละ 80 ชาวเกาหลีใต้ร้อยละ 77 และ ชาวไทยร้อยละ 73

คุณหมอกริช-นพ.สกิทา ม่วงไหมทอง คุณหมอพิธีกรรายการ “The Dr. Oz by Siriraj หรือ เดอะ ดร. ออซ ไทยแลนด์” แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสุขภาพและประโยชน์ที่ได้จากการลาหยุดพักผ่อน อย่างน่าสนใจว่า “มีงานวิจัยทางการแพทย์จำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่า การลาหยุดเพื่อพักผ่อนไม่เพียงแต่เป็นผลดีสำหรับตัวคุณ แต่ยัง สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นได้ ซึ่งหมายความว่านั่นส่งผลดีกับองค์กรและอาชีพของคุณด้วยเช่นกัน การศึกษาวิจัยเรื่อง Vacation Deprivation ของเอ็กซ์พีเดีย จึงทำให้รู้ว่าเหตุใดนักท่องเที่ยวจึงถูกลิดรอนวันหยุดและไม่ได้พักผ่อนระหว่างการเดินทางอย่างแท้จริงนั้น โดยเห็นได้ชัดว่า ลูกจ้างชาวไทยมีแนวโน้มที่จะยอมละทิ้งแผนการเดินทางพักผ่อนของพวกเขาเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ ในทางกลับกัน ผมคิดว่านายจ้างควรเริ่มต้นการปลูกฝังและการฝึกให้ลูกจ้างรู้จักวางแผนการเรื่องความสมดุลในชีวิตระหว่างการทำงานและการพักผ่อนเพื่อสร้างแรงงานมุ่งมั่นและมีสุขภาพที่ดีในการทำงาน”

เสพติดเทคโนโลยี

อาจเป็นเรื่องโชคร้ายหรืออย่างไร ที่โลกเรากลายเป็นโลกที่ให้ความสำคัญต่อดิจิตอลมากขึ้นทุกวัน บ่อยครั้งที่ผู้คนมัวแต่เช็กอีเมลที่ทำงานว่ามีข้อความเข้าหรือไม่ บ้างก็เช็กดูว่ามีฝากข้อความเสียงไว้หรือเปล่าในขณะที่ลาหยุดพักร้อน ซึ่งจากข้อมูลการสำรวจปี 2560 คนกลุ่มนี้จำนวนร้อยละ 27 เข้าเช็กอีเมลอย่างน้อยวันละครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มีจำนวนร้อยละ 24

ประเทศที่คนส่วนใหญ่เช็กอีเมลที่ทำงานอย่างน้อยวันทุกวันระหว่างลาพักร้อนได้แก่ ชาวไต้หวัน ร้อยละ 48 ชาวอินเดียร้อยละ 39 ชาวบราซิลและชาวดัตช์ ร้อยละ 36 ส่วนคนไทยร้อยละ 28

นักท่องเที่ยวชาวยุโรปมีแนวโน้มว่าปล่อยวางได้มากกว่าชาติอื่น มีคนเพียงจำนวนน้อยที่เช็กอีเมลที่ทำงานทุกวัน เป็นชาวเดนมาร์ก ร้อยละ 8 ชาวฟินแลนด์ ร้อยละ 12 และชาวเยอรมัน ร้อยละ 16 การเข้าเช็คและตอบอีเมลตลอดเวลานี้เป็นสาเหตุให้เกิดความเครียดมากขึ้นสำหรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นมีจำนวนถึงร้อยละ 61 ชาวเยอรมันร้อยละ 51 ชาวอาร์เจนตินาร้อยละ 51 ชาวสเปนและชาวอาร์เจนตินาร้อยละ 51 เทียบกับคนไทยที่มีจำนวนร้อยละ 30

จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกหรือร้อยละ 45 กล่าวว่า ปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้นตามมาหลังลาหยุดนั้นขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาวางแผนการลานานแค่ไหน ตัวอย่างเช่น คนไทยถึงร้อยละ 74 ฮ่องกงร้อยละ 67 และญี่ปุ่นร้อยละ 64 จะพิจารณาการวางแผนลาพักร้อนมากที่สุด นอกจากนี้ ในจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 48 บอกว่า พวกเขาต้องยกเลิกหรือเลื่อนวันลาพักร้อนออกไปเนื่องจากการทำงาน ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย โดยเป็นคนไทยร้อยละ 75 ชาวเอมิเรตร้อยละ 70 และชาวอินเดียร้อยละ 67

เทย่า โรเจอร์ส นักแสดงนางแบบและวีเจชื่อดัง ได้แบ่งปันมุมมองของเธอในการบริหารเวลาอย่างสมดุล โดยจัดสรรตารางการทำงานงานไปพร้อมกับความสนุกตื่นเต้นในการท่องเที่ยวสำรวจโลก “งานของเทย่าเป็นงานในวงการบันเทิงจนอาจจะเอาเวลาทั้งหมดของเทย่าไป แล้วก็เหลือเวลาน้อยมากที่จะไปท่องเที่ยวสำรวจโลกและผ่อนคลายกับคนที่เทย่ารัก แต่ก็ยังมีข้อดีที่ว่าการที่เทย่าต้องเดินทางไปทำงานในที่ต่างๆ บ่อยครั้ง เทย่าถือโอกาสได้ท่องเที่ยวไปด้วย ซึ่งเทย่าคิดว่านี่เป็นสิ่งช่วยในการวางแผนตารางการทำงานของคุณเป็นอย่างดีและยังเตือนให้ตัวเองได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศและผ่อนคลายไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปบำบัดในสปาท้องถิ่นหรือสปาที่มีชื่อเสียงแต่ละแห่ง หรือการขับรถไปตามถนนชมวิวเลียบชายฝั่ง ไม่มีอะไรที่ทำให้เทย่ามีความสุขมากไปกว่าการผจญภัย ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ล้วนแล้วแต่ทำให้เทย่ารู้สึกกระปรี้กระเปร่าและผ่อนคลายยิ่งขึ้นและพร้อมที่จะกลับมาทำงานได้ดีขึ้นไปอีก”

“นับเป็นความภูมิใจของเอ็กซ์พีเดีย ที่เราทำให้การเดินทางท่องเที่ยวเป็นเรื่องง่ายในราคาที่ไม่แพง เราช่วยให้ผู้คนเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อหาประสบการณ์และมุมมองใหม่ในการเดินทาง เราหวังว่าจะได้เห็นคนไทยและครอบครัวใช้เวลาว่างในการเดินทางไปพักผ่อนท่องเที่ยวด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นท่องเที่ยวตามจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย หรือจะบินไปเที่ยวยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงในวันหยุดสุดสัปดาห์” นายซิมอน กล่าวสรุป

ข้อมูลการวิจัย

The 2017 Vacation Deprivation™ Study เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้พักผ่อนระหว่างการเดินทางอย่างแท้จริง ประจำปี 2560 ของเอ็กซ์พีเดีย ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทนอร์ธสตาร์ รีเสิร์ช พาร์ทเนอร์ส (Northstar Research Partners) ในเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2560 ครอบคลุมทวีปอเมริกา เอเชียแปซิฟิกและยุโรป โดยใช้กลุ่มตัวอย่างวัดผลที่ดีที่สุด จากกลุ่มคนทำงานแบบเต็มเวลาจำนวน 15,000 คน ใน 30 ประเทศทั่วโลก เน้นการวิจัยเน้นเจาะกลุ่มตลาดเอเชียแปซิฟิก รวมถึงออสเตรเลีย ฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซ๊แลนด์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นกลุ่มคนทำงานชาวสิงคโปร์ประมาณ 300 คน

ข้อมูลเกี่ยวกับเอ็กซ์พีเดีย

Expedia.co.th® คือเว็บไซต์บริการด้านการท่องเที่ยวชั้นนำของโลกแบบครบวงจร ทั้งโรงแรมที่พัก กิจกรรมและการเดินทางท่องเที่ยวที่มีให้เลือกมากมายจากโรงแรมชั้นนำทั่วโลกที่มีมากกว่า 100,000 โรงแรม ที่ Expedia.co.th®นักท่องเที่ยวสามารถจองทุกสิ่งที่ต้องการอย่างง่ายดาย สำหรับวันหยุดพักผ่อนไม่ว่าจะเป็นห้องพักในราคาที่ดีที่สุดกิจกรรมทุกประเภทและการบริการท่องเที่ยวเพื่อความพึงพอใจแก่ลูกค้า

Expedia.co.th® บริหารงานโดยบริษัท เอเออี ทราเวล จำกัด (AAETravelPteLtdหรือ "AAETravel") ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างเอ็กซ์พีเดียอิงค์ (Expedia, Inc.) บริษัทชั้นนำการท่องเที่ยวออนไลน์ของโลกและแอร์เอเชีย (AirAsia) สายการบินสายการบินโลว์คอสต์ที่ดีที่สุดของโลก AAE Travel มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สิงคโปร์และเป็นผู้ดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวให้กับเอ็กซ์เดียทั่วทั้งเอเชีย (ยกเว้นประเทศจีน) รวมถึงชื่อผลิตภัณฑ์และบริษัทอื่นที่อ้างถึงที่กล่าวถึงในเอกสารฉบับนี้เป็นเป็นกรรมสิทธิ์และสงวนลิขสิทธิ์โดย © 2016 Expedia, Inc. / ExpediaSoutheastAsiaPteLtd / AAETravelPteLtd.


กำลังโหลดความคิดเห็น