xs
xsm
sm
md
lg

กกพ.เคาะ 42 ราย “SPP Hybrid Firm” ผ่านเทคนิครอชิงดำราคา 14 ธ.ค.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


“กกพ.” ไฟเขียว “โรงไฟฟ้าฯ SPP Hybrid Firm” 42 โครงการสอบผ่านเทคนิคจาก 85 โครงการ ที่เหลือไม่ผ่านเกณฑ์ เหตุเอกสารไม่ครบ เตรียมพิจารณาด้านราคา คาดได้รายชื่อผู้ผ่านคัดเลือกภายใน 14 ธันวาคมนี้ เผยรายชื่อมีทั้งไทยเบฟเวอร์เรจ เอ็นเนอร์ยี่ ซุปเปอร์โซล่าร์ฯ กลุ่มมิตรผล กลุ่มน้ำตาลขอนแก่น บ้านปูเพาเวอร์ ฯลฯ

นางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะรองโฆษกสำนักงาน กกพ. เปิดเผยว่า มีผู้เสนอขายไฟฟ้า ภายใต้โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรูปแบบ SPP Hybrid Firm ปี 2560 จากทั่วประเทศ จำนวน 42 โครงการ ขนาดกำลังผลิตติดตั้งรวม 1,062.2 เมกะวัตต์ โดยมีปริมาณพลังงานไฟฟ้าเสนอขายรวมทั้งสิ้น 755.3 เมกะวัตต์ผ่านการพิจารณาข้อเสนอทางเทคนิค เพื่อที่จะเข้าสู่ขั้นตอนของการพิจารณาข้อเสนอทางด้านราคา โดยกำหนดจะประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้ได้ภายในวันที่ 14 ธันวาคม 2560 ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ.

“ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการต้องเร่งดำเนินการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หรือรายงานการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Code of Practice : CoP) ตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้ทันลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายในวันที่ 13 ธันวาคม 2562 และสามารถดำเนินการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึงภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564” น.ส.นฤภัทรกล่าว

รายชื่อผู้ผ่านมีดังนี้ 1. บ.เกษตรผลเพาเวอร์แพลน จำกัด เสนอขาย 27 เมกะวัตต์ 2. บ.ไทยเบฟเวอร์เรจเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด อุบลราชธานี 12.8 เมกะวัตต์ 3. บ.ไทยเบฟเวอร์เรจ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด จ.ขอนแก่น 12.8 เมกะวัตต์ 4. บ.บางไทรภูมิพัฒน์ 16 จำกัด โครงการจ.สุโขทัย 13.29 เมกะวัตต์ 5. บ.บางไทร ภูมิพัฒน์ 20 จำกัด ที่พิจิตร 21 เมกะวัตต์ 6. บมจ.บ้านปูเพาเวอร์ 10.1 เมกะวัตต์ 7. บ.เพชรรเกษม กรีนโฮลดิ้ง จำกัด 27 เมกะวัตต์ 8. บ.ไทยโก้เทคโนโลยีที่กระบี่ 24 เมกะวัตต์ 9. บ.ไทยโก้เทคโนโลยี ที่ปะทิว-ชุมพร 16 เมกะวัตต์ 10. บ.ไทยโก้เทคโนโลยี สมี-ชุมพร 16 เมกะวัตต์

11. บ.ไทยโก้เทคโนโลยี จ.อุดร 16 เมกะวัตต์ 12. บ.เอาท์โกรว์ดี จก. 20 เมกะวัตต์ 13. บ.อุตสาหกรรมโคราช ชีวมวลโครงการ 3 จำนวน 13.84 เมกะวัตต์ 14. พิจิตรผลิตไฟฟ้า 35 เมกะวัตต์ 15. บ.ลพบุรีไบโอเอทานอล 35 เมกะวัตต์ 16. บ.ชัวร์กรีน 20 เมกะวัตต์ 17. บ.ซุปเปอร์โซลาร์เอ็นเนอร์ยี่16 เมกะวัตต์ 18. บ.ซุปเปอร์โซลาร์เอ็นเนอร์ยี่ 16 เมกะวัตต์ 19. บ.ไฟฟ้าสุรินทร์ 11.29 เมกะวัตต์ 20. เอสซีจี พาวเวอร์แพลนท์ 10.1 เมกะวัตต์

21. บ.ซุปเปอร์เอิร์ธ เอ็นเนอร์ยี่ 3 15 เมกะวัตต์ 22. บ.พีเอสที เอ็นเนอร์ยี่ 1 จำกัด 25 เมกะวัตต์ 23. บ.พีเอสทีเอ็นเนอร์ยี่ 4 จำกัด 25 เมกะวัตต์ 24. บ.มิตรผลไบโอพาวเวอร์ ภูเวียง 16 เมกะวัตต์ 25. บ.พาเนลพลัส ไบโอพาวเวอร์ 18 เมกะวัตต์ 26. บ.มิตรผลไบโอพาวเวอร์ สงขลา 20 เมกะวัตต์ 27. บ.ซุปเปอร์เอิร์ธเอ็นเนอร์ยี่ 3 จำกัด 15 เมกะวัตต์ 28. บ.เสริมสร้างคอร์ปอเรชั่น สุราษฎร์ธานี 22 เมกะวัตต์ 29. บ.เสริมสร้างคอร์ปอเรชั่น หนองคายไบโอพาวเวอร์ 16 เมกะวัตต์ 30. บ.เสริมสร้างคอร์ปอเรชั่น กระบี่ไบโอพาวเวอร์ 22 เมกะวัตต์

31. บ.เสริมสร้างคอร์ปอเรชั่น สตูลไบโอพาวเวอร์ 22 เมกะวัตต์ 32. บ.เอราวัณ เพาเวอร์ 15 เมกะวัตต์ 33. บ.บลูโซลาร์ฟาร์ม 1 จำกัด 12 เมกะวัตต์ 34. อุบลพาวเวอร์ 10.1 เมกะวัตต์ 35. บ.บีกริม โซลาร์ เพาเวอร์ 1 จำกัด 30 เมกะวัตต์ 36. บมจ.บีกริม เพาเวอร์ 30 เมกะวัตต์ 37. ศรีเจ้าพระยา จ.ระนอง 20 เมกะวัตต์ 38. บ.ศรีเจ้าพระยาทุ่งใหญ่ 1 จำนวน 21.5 เมกะวัตต์ 39. บ.ไบโอพาวเวอร์แพลนท์ ทุ่งใหญ่ 2 จำนวน 21.5 เมกะวัตต์ 40. บ.ไบโอพาวเวอร์แพลนท์ คลองขลุง 13.31 เมกะวัตต์ 41. บ.แอ๊ดวานซ์เอเชีย เพาเวอร์แพลนท์ 13.84 เมกะวัตต์ 42. บ.น้ำตาลขอนแก่น จำกัด น้ำพอง 10.5 เมกะวัตต์

ทั้งนี้ ก่อนหน้าสำนักงาน กกพ.ได้เปิดให้ผู้สนใจเข้ายื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าจากโครงการ SPP Hybrid Firm เมื่อวันที่ 16-20 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา ได้มีผู้มายื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าจำนวน 85 โครงการ ซึ่งจากการตรวจสอบคุณสมบัติและประเมินข้อเสนอขอขายไฟฟ้าด้านเทคนิค พบว่ามีโครงการที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจำนวน 42 โครงการ ขนาดกำลังผลิตติดตั้งรวม 1,062.2 เมกะวัตต์ โดยมีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายรวมทั้งสิ้น755.3 เมกะวัตต์

สำหรับโครงการที่ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกอีก 43 โครงการนั้น จากการตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่ได้ยื่นมา พบว่าเอกสารหลักฐานขาดความสมบูรณ์ ไม่ถูกต้องครบถ้วน และไม่เป็นไปตามที่หลักเกณฑ์กำหนด เช่น ไม่มีความพร้อมด้านเชื้อเพลิง ที่ดิน และแหล่งเงินทุนในการประกอบกิจการ เป็นต้น

“โครงการนี้เป็นการรับซื้อแบบ Feed-in Tariffs หรือ FiT ในอัตราการรับซื้อไฟฟ้าเริ่มต้นที่ 3.66 บาทต่อหน่วย แบ่งเป็นอัตรา FiT คงที่ 1.81 บาทต่อหน่วย และอัตรา FiT ผันแปร 1.85 บาทต่อหน่วย (ตามอัตราเงินเฟ้อขั้นพื้นฐานที่เพิ่มขึ้นจากปี 2560) ซึ่งจะแข่งกันทุกประเภทเชื้อเพลิง โดยให้ผู้ยื่นข้อคำร้องเสนอส่วนลด (%) จากอัตรา FiT คงที่” นางสาวนฤภัทรกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น