EGA สำรวจความพร้อมหน่วยงานรัฐไทยก้าวสู่รัฐบาลดิจิตอล เผยกระทรวงการต่างประเทศครองอันดับหนึ่ง แนวโน้มทั้งอีเซอร์วิส อีเพย์เมนต์ บิ๊กดาต้า และอื่นๆ กำลังมาแรง ปีหน้าภาครัฐระดมอัปเกรดบริการใหม่อีกเพียบ
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA เปิดเผยว่า จากผลการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ ประจำปี 2559 ของ EGA ในระดับกระทรวง พบว่าหน่วยงานที่มีพัฒนาการยอดเยี่ยมในภาพรวม 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย อันดับ 1 กระทรวงการต่างประเทศ อันดับ 2 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และอันดับ 3 กระทรวงมหาดไทย
สำหรับการสำรวจครั้งนี้ได้จัดกลุ่มความพร้อมตามคุณลักษณะเด่น เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่ม Developed หรือกลุ่มที่มีระดับความพร้อมฯ ที่ดีอยู่แล้วและสามารถพัฒนาความพร้อมฯ ให้เติบโตอย่างดีต่อเนื่องในปีนี้ 2. กลุ่ม Rising Star หรือกลุ่มที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด 3. กลุ่ม Maintainer หรือกลุ่มที่มีระดับความพร้อมฯ ที่ดีอยู่แล้ว และยังคงรักษาระดับการพัฒนาความพร้อมฯ อย่างต่อเนื่อง และ 4. กลุ่ม Developing หรือกลุ่มที่มีความพร้อมฯ ระดับกลาง และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การสำรวจครั้งนี้ EGA จัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แล้ว เพื่อติดตามระดับพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐระดับกรมในประเทศไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ สามารถใช้อ้างอิงในการดำเนินงานด้านการจัดทำนโยบายและพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ในปีนี้ทำการสำรวจหน่วยงานภาครัฐระดับกรม 272 หน่วยงาน แบ่งเป็น หน่วยงานภาครัฐ 146 หน่วยงาน, รัฐวิสาหกิจ 47 หน่วยงาน, องค์การมหาชน และหน่วยงานอิสระ 79 หน่วยงาน โดยมีหน่วยงานตอบกลับจำนวนทั้งสิ้น 234 หน่วยงาน หรือ 86% ของหน่วยงานทั้งหมด
คะแนนความพร้อมด้านการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในภาพรวมตามมิติทั้ง 6 ด้าน จาก 100 คะแนนเต็ม ดังนี้ ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีความมั่นคงปลอดภัยและประสิทธิภาพ (Secure and Efficient Infrastructure) และด้านระบบบริหารจัดการภายใน ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Smart Back Office Practices) เป็นด้านที่มีระดับความพร้อมมากที่สุด โดยมีค่าคะแนน 79/100 ด้านนโยบายและแนวปฏิบัติในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (Policies and Practices) เป็นด้านที่มีระดับความพร้อมมากรองลงมา โดยมีค่าคะแนน 75/100 ด้านเทคโนโลยีอัจฉริยะและการนำมาใช้ (Smart technologies and practices) เป็นด้านที่มีระดับความพร้อมปานกลาง โดยมีคะแนน 64/100 ด้านศักยภาพของเจ้าหน้าที่ภาครัฐด้านดิจิทัล (E-Officer with digital capability) และด้านการบริการภาครัฐที่สะดวกและเข้าถึงได้ง่าย (Accessible and convenient public services) เป็นด้านที่มีความพร้อมน้อยที่สุด โดยมีคะแนน60/100
ในหมวดของการให้บริการ E-Services ในภาครัฐ พบว่า มีการให้บริการ E-Services ผ่านช่องทางต่างๆ แล้วถึง 79.9% โดยแบ่งเป็น บริการผ่านเว็บไซต์ 72% บริการผ่านแอปพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือ 51% และผ่านเครื่องคีออสก์ 13%
การสำรวจยังพบว่า หน่วยงานต่างๆ มีแนวปฏิบัติในการให้บริการ การรับข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการแตกต่างกัน โดยหน่วยงานที่มีการกำหนดแนวปฏิบัติมีถึง 90% แบ่งเป็น มีขั้นตอนวิธีการตอบรับที่ชัดเจน76%, มีรูปแบบสำหรับการตอบกลับที่ชัดเจน 46%, มีการกำหนดเวลาในการตอบกลับที่แน่นอน 33% และอื่นๆ รวม 21% ประกอบด้วย มีช่องทางในการให้บริการ การรับข้อร้องเรียนฯ 50%, ดำเนินการตามระเบียบ ข้อกำหนดของหน่วยงาน 32%, อยู่ระหว่างการปรับปรุงและการดำเนินการ 9%, พิจารณาเป็นรายกรณี 7% และจัดจ้างหน่วยงานภายนอกในการดำเนินการ 2% ส่วนหน่วยงานที่ยังไม่มีการกำหนดแนวยังมีสูงถึง 10% ของหน่วยงานทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม การให้บริการ E-Service นั้นจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงความต้องการใหม่ๆ ของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น โดยในปีนี้หน่วยงานรัฐมีการทบทวนและปรับปรุงคุณภาพของบริการ E-Services มากถึง 67% โดยเป็นปรับปรุงบริการทุกปีสูงถึง 83.3% จึงถือว่าหน่วยงานรัฐไทยมีความทันสมัยในการให้บริการกับประชาชนอย่างมาก ส่วนหน่วยงานรัฐที่ไม่มีการทบทวนและปรับปรุงคุณภาพนั้นแม้จะมีถึง33% ของการสำรวจ แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแล้วพบว่า 45% เป็นหน่วยงานไม่ได้มีหน้าที่ในการให้บริการ และ 24% อยู่ระหว่างการจัดทำการทบทวนปรับปรุงคุณภาพของบริการ
สำหรับการบริการเกี่ยวกับสังคมออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมในขณะนี้ การสำรวจยังพบว่าหน่วยงานรัฐมีแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของภาครัฐแตกต่างกันออกไป โดยพบว่ามีหน่วยงานถึง 69% ได้จัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียแล้ว โดยทำการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ 42.86%, เผยแพร่ให้พนักงานภายในรับทราบ 40% และอื่นๆ 17.14% ประกอบด้วย ผู้บริหารมีนโยบายในการดำเนินการ 42%, อยู่ระหว่างดำเนินการ 33%, ผ่านสัมมนา/บทความวิชาการ 17% และผ่านแผ่นพับประชาสัมพันธ์8%
ส่วนเรื่องการใช้ระบบ e-payment ที่จะกลายเป็นบริการใหม่ๆ ที่จะเป็นมาตรฐานการใช้งานภาครัฐต่อไปพบว่า การรับ/จ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ยังมีไม่สูงมากนัก คือ มีการรับ/จ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพียงแค่ 31% แบ่งเป็น การใช้งานผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ 60%, ผ่านเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM) 42%, ระบบบัตรเครดิต 35% และอื่นๆ 28% ซึ่งมีนัยสำคัญอย่างมาคือ เป็นการใช้งานผ่านระบบเคาน์เตอร์เซอร์วิสถึง 50% และผ่านอีเพย์เม้นท์ใหม่ๆ ถึง 20% รวมถึงเป็นการรับจ่ายผ่านระบบ GFMIS ของกรมบัญชีกลาง 15% แต่คาดว่าหลังจากการผลักดันนโยบายพร้อมเพย์ของรัฐบาลแล้ว จำนวน 69% ที่ยังไม่มีระบบอีเพย์เม้นท์จะเริ่มเข้าสู่ระบบมากขึ้นตามลำดับ
ในด้านของการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ หรือ Open Data ที่รัฐบาลกำลังเร่งผลักดันในขณะนี้ก็พบว่า 95.73%ของหน่วยงานทั้งหมดมีการเปิดเผยข้อมูลที่อนุญาตให้ผู้ใช้นำไปใช้ แบบไม่มีเงื่อนไขและอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก โดยมีผู้นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งานประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ 83%และภาคประชาชน 60% ที่สำคัญคือข้อมูลที่เปิดเผยมีผู้นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นถึง 31% ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดีมาก
อีกจุดหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันมากก็คือ การให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย หรือ WiFi Hotspot ของหน่วยงานราชการ ซึ่งในการสำรวจครั้งนี้ได้มีการระบุถึงด้วย โดยพบว่า หน่วยงานรัฐ 99% มีการเปิดให้ใช้เรียบร้อยแล้ว แต่ยังเปิดให้ผู้มาติดต่อขอรับบริการใช้งานเพียง 41% นอกนั้นเป็นการเปิดให้เจ้าหน้าที่และหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาทำงานร่วมกันใช้งาน ส่วนรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน/หน่วยงานอิสระ มีสัดส่วนที่เท่ากันคือ มี WiFi Hotspotให้ใช้แล้ว 95% และทั้งสองหน่วยงานมีแนวโน้มให้ผู้มาติดต่อใช้งานในปริมาณที่สูงขึ้น โดยในปีนี้อยู่ที่ 65% เลยทีเดียว จุดที่น่าสนใจคือ วิธีการใช้งาน พบว่าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจกำหนดให้ต้องลงทะเบียนก่อนเข้าใช้งานถึง 100%ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีมาก
ด้านการใช้งานระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) พบว่ามีการใช้ถึง 64% โดยเป็น ด้านซอฟต์แวร์ (SaaS) 43%, ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS) 63%, ด้านแพลตฟอร์ม (PaaS) 29% และด้านอื่นๆ 11% ขณะที่ภาครัฐเองก็มีการบริหารระบบสำรองข้อมูลสารสนเทศในยามฉุกเฉินด้วย พบว่ามีการใช้งานในขณะนี้ถึง 97%
ในการสำรวจความต้องการเจ้าหน้าที่ภาครัฐด้าน IT นั้นพบว่า ตำแหน่งที่ต้องการได้แก่ เจ้าหน้าที่ด้าน ICTและ Network Security สูงเป็นอันดับหนึ่งคือ 76% อันดับสอง คือ โปรแกรมเมอร์ 75% และอันดับสาม คือ เว็บมาสเตอร์ 48% นอกจากนั้นเป็นตำแหน่งอื่นๆ 31% เช่น System Administration หรือเจ้าหน้าที่ดูและระบบ/ Database Officer หรือเจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล 41%, System Analyst หรือนักวิเคราะห์ระบบ 29% เป็นต้น
ส่วนของเทคโนโลยีใหม่ที่หน่วยงานภาครัฐเริ่มใช้งานกันแล้ว ปรากฏว่า เทคโนโลยี Big Data หรือการจัดการข้อมูลมหาศาล พบว่ามีหน่วยงานที่ริเริ่มใช้งานแล้วถึง 36% ขณะที่เทคโนโลยี IoT หรือ Internet of Things เริ่มมีการใช้งานในหน่วยงานภาครัฐแล้ว 11% และจากการสำรวจยังพบว่าแนวโน้มที่ภาครัฐที่อยู่ระหว่างการติดตั้งเทคโนโลยีทั้งสองเพื่อนำมาใช้งานเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
“ในภาพรวมแล้วผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงทิศทางการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยและนับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน” ดร.ศักดิ์ กล่าวสรุป
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) หรือชื่อภาษาอังกฤษ Electronic Government Agency (EGA) เป็นองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาบริหารจัดการและให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำหรับหน่วยงานรัฐ ตลอดจนส่งเสริมให้ความรู้เพื่อยกระดับทักษะความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่รัฐให้พร้อมก้าวสู่สู่รัฐบาลดิจิทัล
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA เปิดเผยว่า จากผลการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ ประจำปี 2559 ของ EGA ในระดับกระทรวง พบว่าหน่วยงานที่มีพัฒนาการยอดเยี่ยมในภาพรวม 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย อันดับ 1 กระทรวงการต่างประเทศ อันดับ 2 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และอันดับ 3 กระทรวงมหาดไทย
สำหรับการสำรวจครั้งนี้ได้จัดกลุ่มความพร้อมตามคุณลักษณะเด่น เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่ม Developed หรือกลุ่มที่มีระดับความพร้อมฯ ที่ดีอยู่แล้วและสามารถพัฒนาความพร้อมฯ ให้เติบโตอย่างดีต่อเนื่องในปีนี้ 2. กลุ่ม Rising Star หรือกลุ่มที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด 3. กลุ่ม Maintainer หรือกลุ่มที่มีระดับความพร้อมฯ ที่ดีอยู่แล้ว และยังคงรักษาระดับการพัฒนาความพร้อมฯ อย่างต่อเนื่อง และ 4. กลุ่ม Developing หรือกลุ่มที่มีความพร้อมฯ ระดับกลาง และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การสำรวจครั้งนี้ EGA จัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แล้ว เพื่อติดตามระดับพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐระดับกรมในประเทศไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ สามารถใช้อ้างอิงในการดำเนินงานด้านการจัดทำนโยบายและพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ในปีนี้ทำการสำรวจหน่วยงานภาครัฐระดับกรม 272 หน่วยงาน แบ่งเป็น หน่วยงานภาครัฐ 146 หน่วยงาน, รัฐวิสาหกิจ 47 หน่วยงาน, องค์การมหาชน และหน่วยงานอิสระ 79 หน่วยงาน โดยมีหน่วยงานตอบกลับจำนวนทั้งสิ้น 234 หน่วยงาน หรือ 86% ของหน่วยงานทั้งหมด
คะแนนความพร้อมด้านการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในภาพรวมตามมิติทั้ง 6 ด้าน จาก 100 คะแนนเต็ม ดังนี้ ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีความมั่นคงปลอดภัยและประสิทธิภาพ (Secure and Efficient Infrastructure) และด้านระบบบริหารจัดการภายใน ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Smart Back Office Practices) เป็นด้านที่มีระดับความพร้อมมากที่สุด โดยมีค่าคะแนน 79/100 ด้านนโยบายและแนวปฏิบัติในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (Policies and Practices) เป็นด้านที่มีระดับความพร้อมมากรองลงมา โดยมีค่าคะแนน 75/100 ด้านเทคโนโลยีอัจฉริยะและการนำมาใช้ (Smart technologies and practices) เป็นด้านที่มีระดับความพร้อมปานกลาง โดยมีคะแนน 64/100 ด้านศักยภาพของเจ้าหน้าที่ภาครัฐด้านดิจิทัล (E-Officer with digital capability) และด้านการบริการภาครัฐที่สะดวกและเข้าถึงได้ง่าย (Accessible and convenient public services) เป็นด้านที่มีความพร้อมน้อยที่สุด โดยมีคะแนน60/100
ในหมวดของการให้บริการ E-Services ในภาครัฐ พบว่า มีการให้บริการ E-Services ผ่านช่องทางต่างๆ แล้วถึง 79.9% โดยแบ่งเป็น บริการผ่านเว็บไซต์ 72% บริการผ่านแอปพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือ 51% และผ่านเครื่องคีออสก์ 13%
การสำรวจยังพบว่า หน่วยงานต่างๆ มีแนวปฏิบัติในการให้บริการ การรับข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการแตกต่างกัน โดยหน่วยงานที่มีการกำหนดแนวปฏิบัติมีถึง 90% แบ่งเป็น มีขั้นตอนวิธีการตอบรับที่ชัดเจน76%, มีรูปแบบสำหรับการตอบกลับที่ชัดเจน 46%, มีการกำหนดเวลาในการตอบกลับที่แน่นอน 33% และอื่นๆ รวม 21% ประกอบด้วย มีช่องทางในการให้บริการ การรับข้อร้องเรียนฯ 50%, ดำเนินการตามระเบียบ ข้อกำหนดของหน่วยงาน 32%, อยู่ระหว่างการปรับปรุงและการดำเนินการ 9%, พิจารณาเป็นรายกรณี 7% และจัดจ้างหน่วยงานภายนอกในการดำเนินการ 2% ส่วนหน่วยงานที่ยังไม่มีการกำหนดแนวยังมีสูงถึง 10% ของหน่วยงานทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม การให้บริการ E-Service นั้นจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงความต้องการใหม่ๆ ของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น โดยในปีนี้หน่วยงานรัฐมีการทบทวนและปรับปรุงคุณภาพของบริการ E-Services มากถึง 67% โดยเป็นปรับปรุงบริการทุกปีสูงถึง 83.3% จึงถือว่าหน่วยงานรัฐไทยมีความทันสมัยในการให้บริการกับประชาชนอย่างมาก ส่วนหน่วยงานรัฐที่ไม่มีการทบทวนและปรับปรุงคุณภาพนั้นแม้จะมีถึง33% ของการสำรวจ แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแล้วพบว่า 45% เป็นหน่วยงานไม่ได้มีหน้าที่ในการให้บริการ และ 24% อยู่ระหว่างการจัดทำการทบทวนปรับปรุงคุณภาพของบริการ
สำหรับการบริการเกี่ยวกับสังคมออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมในขณะนี้ การสำรวจยังพบว่าหน่วยงานรัฐมีแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของภาครัฐแตกต่างกันออกไป โดยพบว่ามีหน่วยงานถึง 69% ได้จัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียแล้ว โดยทำการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ 42.86%, เผยแพร่ให้พนักงานภายในรับทราบ 40% และอื่นๆ 17.14% ประกอบด้วย ผู้บริหารมีนโยบายในการดำเนินการ 42%, อยู่ระหว่างดำเนินการ 33%, ผ่านสัมมนา/บทความวิชาการ 17% และผ่านแผ่นพับประชาสัมพันธ์8%
ส่วนเรื่องการใช้ระบบ e-payment ที่จะกลายเป็นบริการใหม่ๆ ที่จะเป็นมาตรฐานการใช้งานภาครัฐต่อไปพบว่า การรับ/จ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ยังมีไม่สูงมากนัก คือ มีการรับ/จ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพียงแค่ 31% แบ่งเป็น การใช้งานผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ 60%, ผ่านเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM) 42%, ระบบบัตรเครดิต 35% และอื่นๆ 28% ซึ่งมีนัยสำคัญอย่างมาคือ เป็นการใช้งานผ่านระบบเคาน์เตอร์เซอร์วิสถึง 50% และผ่านอีเพย์เม้นท์ใหม่ๆ ถึง 20% รวมถึงเป็นการรับจ่ายผ่านระบบ GFMIS ของกรมบัญชีกลาง 15% แต่คาดว่าหลังจากการผลักดันนโยบายพร้อมเพย์ของรัฐบาลแล้ว จำนวน 69% ที่ยังไม่มีระบบอีเพย์เม้นท์จะเริ่มเข้าสู่ระบบมากขึ้นตามลำดับ
ในด้านของการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ หรือ Open Data ที่รัฐบาลกำลังเร่งผลักดันในขณะนี้ก็พบว่า 95.73%ของหน่วยงานทั้งหมดมีการเปิดเผยข้อมูลที่อนุญาตให้ผู้ใช้นำไปใช้ แบบไม่มีเงื่อนไขและอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก โดยมีผู้นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งานประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ 83%และภาคประชาชน 60% ที่สำคัญคือข้อมูลที่เปิดเผยมีผู้นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นถึง 31% ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดีมาก
อีกจุดหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันมากก็คือ การให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย หรือ WiFi Hotspot ของหน่วยงานราชการ ซึ่งในการสำรวจครั้งนี้ได้มีการระบุถึงด้วย โดยพบว่า หน่วยงานรัฐ 99% มีการเปิดให้ใช้เรียบร้อยแล้ว แต่ยังเปิดให้ผู้มาติดต่อขอรับบริการใช้งานเพียง 41% นอกนั้นเป็นการเปิดให้เจ้าหน้าที่และหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาทำงานร่วมกันใช้งาน ส่วนรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน/หน่วยงานอิสระ มีสัดส่วนที่เท่ากันคือ มี WiFi Hotspotให้ใช้แล้ว 95% และทั้งสองหน่วยงานมีแนวโน้มให้ผู้มาติดต่อใช้งานในปริมาณที่สูงขึ้น โดยในปีนี้อยู่ที่ 65% เลยทีเดียว จุดที่น่าสนใจคือ วิธีการใช้งาน พบว่าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจกำหนดให้ต้องลงทะเบียนก่อนเข้าใช้งานถึง 100%ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีมาก
ด้านการใช้งานระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) พบว่ามีการใช้ถึง 64% โดยเป็น ด้านซอฟต์แวร์ (SaaS) 43%, ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS) 63%, ด้านแพลตฟอร์ม (PaaS) 29% และด้านอื่นๆ 11% ขณะที่ภาครัฐเองก็มีการบริหารระบบสำรองข้อมูลสารสนเทศในยามฉุกเฉินด้วย พบว่ามีการใช้งานในขณะนี้ถึง 97%
ในการสำรวจความต้องการเจ้าหน้าที่ภาครัฐด้าน IT นั้นพบว่า ตำแหน่งที่ต้องการได้แก่ เจ้าหน้าที่ด้าน ICTและ Network Security สูงเป็นอันดับหนึ่งคือ 76% อันดับสอง คือ โปรแกรมเมอร์ 75% และอันดับสาม คือ เว็บมาสเตอร์ 48% นอกจากนั้นเป็นตำแหน่งอื่นๆ 31% เช่น System Administration หรือเจ้าหน้าที่ดูและระบบ/ Database Officer หรือเจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล 41%, System Analyst หรือนักวิเคราะห์ระบบ 29% เป็นต้น
ส่วนของเทคโนโลยีใหม่ที่หน่วยงานภาครัฐเริ่มใช้งานกันแล้ว ปรากฏว่า เทคโนโลยี Big Data หรือการจัดการข้อมูลมหาศาล พบว่ามีหน่วยงานที่ริเริ่มใช้งานแล้วถึง 36% ขณะที่เทคโนโลยี IoT หรือ Internet of Things เริ่มมีการใช้งานในหน่วยงานภาครัฐแล้ว 11% และจากการสำรวจยังพบว่าแนวโน้มที่ภาครัฐที่อยู่ระหว่างการติดตั้งเทคโนโลยีทั้งสองเพื่อนำมาใช้งานเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
“ในภาพรวมแล้วผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงทิศทางการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยและนับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน” ดร.ศักดิ์ กล่าวสรุป
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) หรือชื่อภาษาอังกฤษ Electronic Government Agency (EGA) เป็นองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาบริหารจัดการและให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำหรับหน่วยงานรัฐ ตลอดจนส่งเสริมให้ความรู้เพื่อยกระดับทักษะความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่รัฐให้พร้อมก้าวสู่สู่รัฐบาลดิจิทัล