แบงคอก งานสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2559 โดยมีการเชิญกูรูชั้นนำวงการดิจิทัลมีเดียมาร่วมแบ่งปันความรู้และจุดประกายความคิดการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ นอกจากนี้ เดนท์สุ มีเดียฯ ได้เปิดตัวมีเดียแพลตฟอร์มใหม่ล่าสุด ‘ทีวี พลัส’ (TV PlusTM) และ ‘วีดีโอ พลัส’ (VDO PlusTM) เพื่อประโยชน์ด้านการบริหารจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการซื้อสื่อให้ประสบความสำเร็จเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้นในงานดังกล่าว
ภายในงานสัมมนามีการพูดคุยหัวข้อเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวข้อสัมมนาที่เป็นไฮไลท์เกี่ยวกับ มีเดียแพลตฟอร์ม ‘ทีวี พลัส’ (TV PlusTM) และ ‘วีดีโอ พลัส’ (VDO PlusTM) จะเข้ามาช่วยยกระดับการวางแผนสื่อทีวีในยุคดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ซึ่งมีเดียแพลตฟอร์มดังกล่าว ถือเป็นนวัตกรรมล่าสุดที่ถูกพัฒนาขึ้นมาภายใต้โปรแกรม iGRP ทั้งนี้ เดนท์สุ มีเดียฯ มุ่งมั่น พัฒนา แพลตฟอร์มดังกล่าวขึ้นมาเพื่อช่วยสนับสนุนธุรกิจและแบรนด์ต่างๆให้สามารถวางแผนการบริหารจัดการสื่อที่รวบรวมสื่อโทรทัศน์ และ สื่อวีดีโอออนไลน์เข้าด้วยกัน เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ต้องการเน้นความคุ้มค่าของสื่อ และลูกค้าที่ต้องการสร้างแบรนด์กับเป้าหมายเฉพาะกลุ่มด้วยเนื้อหาที่ถูกออกแบบให้เหมาะสม รวมถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการขับเคลื่อนธุรกิจที่เน้นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น (Brand Engagement)
นายนรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร หุ้นส่วนผู้จัดการ บริษัท เดนท์สุ มีเดีย ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า จุดเด่นของแพลตฟอร์มใหม่ในการวางแผนทีวี ‘ทีวี พลัส’ (TV PlusTM) และ ‘วีดีโอ พลัส’ (VDO PlusTM) คือ การผสมผสานเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการงบประมาณเพื่อการวางแผนการซื้อสื่อทีวีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (Cost Efficiency) โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวได้บูรณาการสื่อโทรทัศน์ และ สื่อวีดีโอออนไลน์เข้าด้วยกัน เราพัฒนาการวางแผนสื่อแบบใหม่นี้ภายใต้แนวคิด “สื่อเสมือนทีวี” (TV-similar concept) อาจกล่าวได้ว่า แพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้ลูกค้าสามารถกำหนดทิศทางการใช้งบประมาณการซื้อสื่อได้อย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกันยังช่วยคงประสิทธิผลการซื้อสื่อโดยรวมไว้ได้ ถือเป็นนวัตกรรมทางเลือกใหม่เพื่อการวางแผนสื่อที่เข้ากับยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี
“ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิทัลทำให้วงการสื่อในไทย ต้องคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจุบันนี้ สื่อโทรทัศน์ที่ผลิตเนื้อหาเอง กระจายช่องทางของเนื้อหาไปสู่สื่อใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น โลกของการสื่อสารของผู้บริโภคทุกวันนี้ก็มีความเปลี่ยนแปลง และย้ายไปสื่อใหม่อย่าง สมาร์ทโฟน (smart phone) แล็ปท๊อป (Laptop) และ แท็บเล็ต (Tablet) มากขึ้น ดังนั้น หากต้องการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการให้เข้าถึงลูกค้าได้ทันกับสื่อที่เปลี่ยนไป นักการตลาดควรวางแผนเลือกใช้ช่องทางในการสื่อสารให้ตรงกับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นเช่นกัน ซึ่งวีธีการวางแผนสื่อแพลตฟอร์มใหม่ตัวนี้ เป็นการคิดขึ้นมาเพื่อแก้โจทย์ ที่สามารถวางแผนรวมสื่อที่แต่งต่างกัน เข้าด้วยกันอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน ซึ่งผลที่ได้จากการใช้วีธีใหม่นี้ให้ผลที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก ซึ่งแตกต่างจากการแค่นับรวม GRP เข้าด้วยกันของสื่อออนไลน์และ ออฟไลน์แบบทั่วไป ที่นักการตลาดสมัยใหม่ยังสงสัยในประสิทธิภาพของการวัดผลอยู่ ”นายนรสิทธิ์ กล่าว
ด้าน นายรัฐธีร์ ฉัตรดำรงค์ศักดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์กลยุทธ์การสื่อสาร บริษัท เดนท์สุ มีเดีย ประเทศไทย จำกัด หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบนวัตกรรมการสื่อสารในแวดวงดิจิทัลเอเจนซี่ร่วมเป็นวิทยากร แนะนำวิธีการเพื่อการวางแผนการใช้สื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่เข้ามาทดแทนการวางแผนสื่อทีวีในรูปแบบเดิม ซึ่งแพลตฟอร์ม ‘ทีวี พลัส’ (TV PlusTM) และ ‘วีดีโอ พลัส’ (VDO PlusTM) จะเข้ามาช่วยเสริมเทคนิคการซื้อสื่อทีวีที่เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
“เดนท์สุ มีเดียฯ ดำเนินการเชิงรุกในการพัฒนา นวัตกรรมรูปแบบการวางแผนสื่อแพลตฟอร์มใหม่ เรามั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจาก‘ทีวี พลัส’ (TV PlusTM) และ ‘วีดีโอ พลัส’ (VDO PlusTM) นอกเหนือจากการนำเสนอหนังโฆษณาให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ช่วยในการวางแผนได้คุ้มค่ามากขึ้น แพลตฟอร์มใหม่ยังช่วยส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนและผู้บริโภค (brand engagement) และ ช่วยให้การออกแบบเนื้อหาของหนังโฆษณาทางโทรทัศน์ (TVC) ให้ตรงกับ Big Idea ที่แบรนด์ต้องการให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย”นายรัฐธีร์ กล่าวว่า
นายรัฐธีร์ กล่าวเสริม “ โลกธุรกิจทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และ ซับซ้อนอย่างมาก จากการปฎิวัติอุตสาหกรรมของดิจิทัลเทคโนโลยี ช่องทางโทรทัศน์ไม่ได้เป็นช่องทางเดียวอีกต่อไปในการเข้าถึงผุ้บริโภค ดังที่จะได้เห็นว่า ผู้ผลิตเนื้อหาของช่องโทรทัศน์ต่างๆ ได้กระจายเนื้อหาไปสู่สื่อออนไลน์กันอย่างกว้างขวาง คนดูในยุคนี้ไม่ได้ถูกบังคับให้อยู่แค่หน้าโทรทัศน์ แต่สามารถที่จะเข้าถึงเนื้อหาที่สนใจ ในทุกที่ ทุกเวลา ในช่องทางที่สะดวกต่อผู้บริโภคที่สุด”
ยิ่งไปกว่านั้น ภายในงานสัมมนา ยังได้รับเกียรติจากตัวแทนบริษัท ดับเบิ้ล คลิ๊ก (กูเกิล ประเทศไทย) มาร่วมพูดคุยหัวข้อเรื่องการซื้อสื่อแบบโปรแกรมเมติก (Programmatic) นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก มร.เรียวตะ มูรายามะ ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมเมติก จาก บริษัท เดนท์สุ อิงค์ ประเทศญี่ปุ่นมาร่วมแชร์มุมมองในเรื่องดังกล่าวร่วมด้วย ในด้านของเทคโนโลยี ทีม dmLab ประเทศไทย มีการนำเสนอ Neuro Technology หรือ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดที่สมองทำงานและสั่งการนำมาวัดความรู้สึกของมนุษย์ เครื่องมือดังกล่าวจะเข้ามาช่วยให้นักการตลาดสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์วิจัยเพื่อก่อให้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้อีกด้วย และนี่ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่จะเข้ามาช่วยยกระดับวงการโฆษณาให้ก้าวไปอีกขั้น
ทั้งนี้ งานสัมมนา “Media Decoded 2016” ทำให้ภาคธุรกิจรับรู้และตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยี และ นวัตกรรมดิจิทัลที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้มีการเติบโตและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเดนท์สุ มีเดียฯ ต้องการจุดประกายความรู้ให้แก่ทุกภาคส่วนได้ทราบถึงหลักและวิธีการโฆษณาในรูปแบบใหม่ๆ ที่มีการผสานเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับสื่อต่างๆเพื่อนำไปสู่การสร้างโอกาสและเพิ่มผลผลิตทางธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ งานสัมมนาดังกล่าวได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน องค์กรธุรกิจ และกลุ่มบริษัทโฆษณาดิจิทัลชั้นนำในประเทศไทยเข้าสนใจเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง
“งานสัมมนาดังกล่าว นับเป็นการยกระดับวงการโฆษณาและกลุ่มธุรกิจเอเจนซี่ในประเทศไทย นับได้ว่า บริษัท เดนท์สุ มีเดียฯ มุ่งมั่นและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างต่อเนื่องเพื่อการนำมาใช้ให้สอดคล้องกับตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคในไทย รวมถึงการคิดค้นนวัตกรรมรูปแบบใหม่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักการตลาด เพื่อส่งเสริมพัฒนาองค์กรธุรกิจให้เติบโตในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน” นายนรสิทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย
(ข่าวประชาสัมพันธ์)