xs
xsm
sm
md
lg

แสงสว่างปลายทาง “แรงงานไทย” ในอนาคต

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพจากอินเทอร์เน็ต
สถานการณ์แรงงานในประเทศ - การพัฒนาแรงงาน - ความต้องการแรงงาน - แรงงานที่มีประสิทธิภาพ...เหล่านี้คือ “วงล้อ” ของการเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีศักยภาพ

“แรงงาน” เปรียบเสมือนขุมทรัพย์ของกำลังพลที่กำลังเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศในทุกภาคส่วนงานอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ แรงงานคนและบุคลากรคือส่วนสำคัญในการควบคุมการขับเคลื่อนแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่ได้นำเอาเทคโนโลยีมาใช้แทนที่มนุษย์อันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน มีคุณภาพการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีตำแหน่งงานใหม่ๆ เกิดขึ้นท่ามกลางอีกหลายตำแหน่งที่ต้องปิดตัวไป แต่ขณะเดียวกันหากองค์กรและแรงงานปรับตัวไม่ทันต้องปิดกิจการจะเกิดภาวะเลิกจ้างงานซึ่งนั่นจะเป็นผลลัพธ์สุดท้ายที่เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้น

สถานการณ์แรงงานปัจจุบัน ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนไปตามการหมุนของวัฏจักรเศรษฐกิจภายในประเทศ ส่งผลให้สถานการณ์แรงงานก็ทำการหมุนเปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน ดังที่ น.ส.สุธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ได้ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ แรงงานในปัจจุบันได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากอดีต ทำให้กลุ่ม Generations X ในปัจจุบันก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งแรงงานระดับบริหารมากขึ้น การทำงาน วิธีคิด พฤติกรรมจึง “แตกต่าง” จากนักบริหารยุคก่อนและมีความทันสมัยมากขึ้น รวมถึงมีระเบียบแบบแผนและพร้อมที่จะก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ตลอดจนความมั่นคง

การเป็นนักปกครองและการเป็นนักบริหารของกลุ่มคน Generations X จึงต้องเดินหน้าท้าทายในการทำงาน คือ

ปกครองร่วมกับคน Generations Y กับพฤติกรรมที่เป็นตัวของตัวเอง เห็นศักยภาพตัวเองเป็นที่ตั้งเหนือกว่างานที่ทำอยู่ ต้องการตอบสนองในตำแหน่งหน้าที่และอิสระในการปฏิบัติงาน

ปกครองคน พร้อมรับมือกับการนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรเข้ามามีบทบาทในองค์กรให้มีความสมดุลในการเดินหน้าบริหารจัดการภายในองค์กร

ปกครองคนพร้อมบริหารงานภายในองค์กร รับมือกับสถานการณความเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายนอก ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมที่มีความผันผวนตลอดเวลา

ปัจจุบันสถานการณ์แรงงาน ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมีทิศทางที่เห็นชัดเจนอยู่ 3 ประการคือ ความไม่สมดุลระหว่างปริมาณและคุณภาพ กล่าวง่ายๆ คือ
1.การผลิตบุคลากรไม่ต้องกับความต้องการที่แท้จริงในตลาดแรงงานกับภาคอุตสาหกรรม
2.การเลือกงานของกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มบัณฑิตจบใหม่
3.คุณสมบัติ ความสามารถไม่ตรงกับความต้องการในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

เพียงแค่ 3 ประการของข้อจำกัดอาจส่งผลให้เกิดการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม ทำให้การเดินหน้าประเทศไทยอาจช้าลงและอาจพัฒนาไม่ทันต่อความต้องการในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การเตรียมความพร้อมแรงงานไทยเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง หากเกิดการพัฒนาที่เป็นระบบ เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วน เดินหน้าผลักดันอย่างจริงจัง โดยมองภาพรวมวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งในประเทศและในแถบอาเซียน รวมทั้งในตลาดโลก พร้อมหาทางออกไปพร้อมกันในหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ร่วมแก้ไขปัญหา 3 จุดหลักของปัญหาแรงงานในวันนี้

จากความชำนาญของ “แมนพาวเวอร์กรุ๊ป” ที่มีกว่า 84 ประเทศทั่วโลก เห็นถึงประเทศที่พัฒนาเติบโตอย่างจริงจัง การเดินหน้าในพัฒนาศักยภาพแรงงานต้องก้าวไปพร้อมกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา เพราะการผลิตคนและบุคลากรที่มีศักยภาพไม่เกิดมาเพียงชั่วข้ามคืน หากต้องจับมือบูรณาการอย่างเป็นระบบ วางรากฐานในแก้ไขตั้งแต่ต้นทาง โดยจุดเริ่มต้นของแรงงานในวันนี้ แรงงานในอนาคตและความพร้อมของการเป็นแรงงานคุณภาพที่มีประสิทธิภาพในการทำงานให้ตรงกับความต้องการในตลาดแรงงานในอนาคตต้องจับมือกันและเดินหน้าไปพร้อมกัน

หากแต่ปลายทางและทางออกของการเปลี่ยนแปลงแรงงานต้องเรียนรู้ที่จะเปลี่ยน กล้าที่จะทำ ปรับตั้งแต่จุดเริ่มต้นทัศนคติ ความคิด พฤติกรรมของคน ปรับรากฐานของความรู้ การศึกษา วิธีคิดของอนาคตแรงงานกับเป้าหมายของอาชีพสถานการณ์ความจริงในสังคม ปรับภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมให้เกิดความคล่องตัว พร้อมที่จะเดินหน้าประเทศ พัฒนาศักยภาพรองรับตลาดในภาคส่วนต่างๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายในภาพรวมของภาครัฐที่มีความชัดเจนสำหรับกลุ่มคนทำงานในทุกภาคส่วน

ความพร้อมของประเทศไทยวันนี้ สถานการณ์เริ่มเปลี่ยน การบริหารงานเริ่มเปลี่ยน กลุ่มคนทำงานนักบริหารเริ่มเป็นคนรุ่นใหม่ กล้าที่จะเปลี่ยนสู่อนาคตที่ดี การพัฒนาแรงงานที่ตอบโจทย์สังคมของธุรกิจและอุตสาหกรรมมากขึ้น แล้วการเดินหน้าในการพัฒนาประเทศสู่การพัฒนาภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม สู่การพัฒนาตลาดแรงงานและวางรากฐานของบุคลากรก่อนก้าวสู่ตลาดแรงงาน

ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเริ่มต้นมองถึงปัญหาและอนาคตของประเทศไปในทิศทางเดียวกันกับแสงสว่างของปลายทางอุโมงค์ของ “แรงงานไทย” ในอนาคต



กำลังโหลดความคิดเห็น