สถานการณ์ภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องในหลายภาคส่วน ทั้งภาคการผลิตสินค้าเกษตร เช่น ผัก ผลไม้ สินค้าปศุสัตว์ เช่น ไก่ สุกร และไข่ไก่ ที่อาจจะมีปัญหาด้านผลผลิตเสียหาย ไม่ได้คุณภาพ และผลผลิตขาดแคลน และการครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะในด้านปากท้องที่ราคาสินค้าบางรายการได้ปรับตัวสูงขึ้น หรืออาจจะมีปัญหาสินค้าขาดแคลน ไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค
การแก้ปัญหาในภาพรวม รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยบริหารจัดการน้ำในเขื่อนให้มีเพียงพอต่อภาคการเกษตร และการบริโภค และดูแลในด้านการเพาะปลูก โดยขอให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทนพืชที่ใช้น้ำมาก ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ ก็ได้เตรียมแผนรับมือสถานการณ์ภัยแล้งในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะการดูแลเกษตรกร และผู้บริโภค
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงแผนการรับมือสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ว่า กระทรวงฯ ได้จัดทำแผนและมาตรการรับมือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เริ่มจากการสั่งการให้พาณิชย์จังหวัดที่มีประจำอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ลงพื้นที่ติดตาม ตรวจสอบ สถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งอย่างใกล้ชิด โดยให้สำรวจว่าตัวใดจะมีปัญหาผลผลิตขาดแคลน ผลผลิตได้รับความเสียหาย หรืออาจมีแนวโน้มราคาสูงขึ้น ก็ให้รายงานเข้ามายังส่วนกลาง เพื่อที่จะเตรียมมาตรการรับมือได้ทันท่วงที
ทั้งนี้ ที่ในส่วนของผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการส่งเสริมให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยและอายุสั้น แทนการปลูกข้าวใน 22 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ข้าวโพด มันสำปะหลัง ตะไคร้ ฟักทอง หอมแดง มะเขือเทศ และผลไม้ตามฤดูกาล อาทิ มะพร้าวอ่อน มะพร้าวน้ำหอม ทุเรียน กล้วยหอมทอง และเสาวรส เป็นต้น กระทรวงฯ ได้ทำการเชื่อมโยงตลาด หาแหล่งรับซื้อ และประสานผู้ประกอบการ เช่น ห้างค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า ทำความตกลงซื้อผลผลิตจากเกษตรกร ซึ่งได้สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้น
ส่วนเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลแหล่งน้ำ และไม่สามารถปลูกพืชทดแทนได้ กระทรวงฯ ได้เข้าไปส่งเสริมและแนะนำให้เกษตรกรหันไปทำอาชีพเสริม โดยเฉพาะการผลิตสินค้าชุมชนเป็นการทดแทน ซึ่งมีทั้งเครื่องจักสาน เสื้อผ้า ของใช้และของแต่งบ้าน เช่น ไม้แกะสลัก โดยกระทรวงฯ เป็นผู้หาตลาด และหาผู้ซื้อเข้ามารับซื้อสินค้าให้ เพื่อให้เกษตรกรมีงานทำ และยังคงมีรายได้จากการที่ไม่สามารถเพาะปลูกพืชเกษตรได้
นอกจากนี้ ยังได้เข้าไปดูแลพืชเกษตรสำคัญที่จะออกสู่ตลาดตามฤดูกาล เพื่อป้องกันปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำจนกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร โดยได้มีแผนรับมือสินค้าสำคัญๆ แล้ว เช่น มันสำปะหลัง ได้ใช้มาตรการชะลอการเก็บเกี่ยว เพื่อให้เกษตรกรทยอยขุด และยังเร่งผลักดันการส่งออกมันเส้นไปจีน รวมทั้งกวดขันเรื่องการลักลอบการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน , พืชหัว เช่น หอมแดง หอมหัวใหญ่ และกระเทียม ได้เข้มงวดในการตรวจสอบการลักลอบนำเข้าและการสำแดงราคาให้ตรงตามข้อเท็จจริง และผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ที่ผลผลิตกำลังออกสู่ตลาด กระทรวงฯ ได้เตรียมพร้อมในการบริหารจัดการ โดยได้ทำการเชื่อมโยงตลาดผลักดันผลผลิตไปสู่ตลาดปลายทางในจังหวัดต่างๆ และขายผ่าน Farm Outlet ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าส่งค้าปลีก รวมทั้งการระบายผลผลิตออกสู่ตลาดต่างประเทศ ทั้งการไปจัดแสดงและจำหน่ายผลไม้ไทย และการนำคณะผู้ซื้อเข้ามาซื้อผลไม้ไทย เป็นต้น
นางอภิรดีกล่าวว่า สำหรับผักสดต่างๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ผลผลิตได้รับความเสียหาย และราคาปรับตัวสูงขึ้น กระทรวงฯ ได้แก้ไขปัญหา โดยมีแผนที่จะทำการเชื่อมโยงนำผลผลิตจากพื้นที่อื่น ที่ผลผลิตไม่ได้รับความเสียหาย เข้าไปแทรกแซงตลาด เพื่อไม่ให้เกิดการขาดแคลน และเป็นการดึงไม่ให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการครองชีพของประชาชน ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์ล่าสุด ยังไม่พบว่ามีความผิดปกติแต่อย่างใด
ส่วนสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาจะปรับตัวสูงขึ้น เช่น ผักสด พริก มะนาว ผลไม้ สุกร ไข่ไก่ ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพราะช่วงหน้าแล้ง ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง และผลผลิตบางส่วนได้รับความเสียหาย ซึ่งได้มีการติดตาม เพื่อแก้ปัญหาได้ทันสถานการณ์ หากมีปัญหาเกิดขึ้น และยังให้มีการติดตามสถานการณ์การผลิต และสถานการณ์การตลาด ทั้งในและต่างประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรสำคัญ เพื่อสามารถรักษาเสถียรภาพของราคา ไม่ให้เกิดความผันผวนมากจนเกิดความเดือดร้อนต่อเกษตรกรภายในประเทศ และกระทบต่อผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพริก ล่าสุดพบว่า แนวโน้มราคาเริ่มปรับตัวสูงขึ้น เพราะเข้าสู่หน้าแล้งและอากาศร้อน ทำให้ผลผลิตเสียหายและเข้าสู่ตลาดน้อยลง ซึ่งกระทรวงฯ ได้สั่งการให้พาณิชย์จังหวัดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และหากพบว่าพื้นที่ใดมีปัญหาขาดแคลน ก็ให้ประสานนำผลผลิตจากแหล่งผลิตอื่นเข้าไปแทรกแซงตลาดในทันที รวมทั้งให้มีการติดตามการนำเข้าพริกแห้งจากอินเดียและจีน และการลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบทางด้านราคาต่อผลผลิตภายในประเทศ
ล่าสุด กระทรวงฯ ได้เชิญผู้เลี้ยงสุกร ไก่เนื้อ และไข่ไก่ มาหารือเกี่ยวกับผลกระทบจากภัยแล้ง ซึ่งผู้เลี้ยงสุกรและไก่เนื้อ ได้ยืนยันตรงกันว่าผลผลิตในช่วงนี้มีเพียงพอต่อความต้องการ ผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดเป็นปกติ และราคาสุดท้ายที่จะขายสู่ผู้บริโภคจะยังไม่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน แม้ว่าต้นทุนน้ำจะสูงขึ้นบ้าง แต่ราคาอาหารสัตว์ ซึ่งมีสัดส่วนถึง 50% ของต้นทุนการเลี้ยงยังไม่เพิ่มขึ้น จึงไม่มีแรงกดดันต่อต้นทุน โดยขณะนี้ ราคาหมูมีชีวิตหน้าฟาร์มอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 68 บาท ส่วนหมูเนื้อแดงเฉลี่ย กก.ละ 120-130 บาท และน่าจะยืนราคานี้ได้
ส่วนไข่ไก่ กลุ่มผู้เลี้ยง ระบุว่า โดยภาพรวมปริมาณไข่ไก่ในปีนี้จะอยู่ที่ 15,560 ล้านฟอง หรือวันละ 42 ล้านฟอง ถือว่าเพียงพอต่อการบริโภค และไม่ขาดแคลน แต่ยอมรับว่า ในช่วงอากาศร้อนอาจทำให้ไข่ไก่เล็กกว่าปกติ โดยราคาอาจจะขยับขึ้นเล็กน้อย ซึ่งล่าสุดไข่คละอยู่ที่เฉลี่ยฟองละ 2.90 บาท แต่เชื่อว่าจะสามารถบริหารจัดการได้
นางอภิรดีกล่าวว่า ในด้านการดูแลค่าครองชีพ กระทรวงฯ ได้จัดให้มีการจำหน่ายสินค้าธงฟ้าช่วยภัยแล้ง เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนผู้ประสบปัญหาภัยแล้ง โดยมีแผนดำเนินการใน 22 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ตาก นครปฐม นครนายก นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี สุโขทัย อ่างทอง อุตรดิตถ์ และกรุงเทพฯ รวม 200 ครั้ง ซึ่งได้เริ่มมาแล้วตั้งแต่เดือนพ.ย.2558 และจะสิ้นสุดในเดือนเม.ย.2559 โดยจนถึงวันที่ 15 มี.ค.2559 มีผลดำเนินการแล้ว 301 ครั้ง มียอดจำหน่ายสินค้ารวม 34.61 ล้านบาท ซึ่งสามารถลดค่าครองชีพให้ประชาชนจำนวน 139,743 คน มูลค่า 23.07 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ ได้สั่งการให้พาณิชย์จังหวัดตรวจสอบราคาสินค้าและบริการในพื้นที่ที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อกำกับดูแลให้ผู้ค้าปิดป้ายแสดงราคา ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งจนถึงขณะนี้ ยังไม่พบการกักตุนสินค้า สินค้าขาดแคลน หรือราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติแต่อย่างใด แต่หากพบว่าสถานการณ์ไม่ปกติ ก็จะเข้าไปจัดการในทันที
นางอภิรดีกล่าวว่า สำหรับการดูแลราคาน้ำดื่มในช่วงหน้าแล้ง ที่อาจจะมีปัญหาน้ำดื่มไม่เพียงพอนั้น กระทรวงฯ ได้มีการหารือกับผู้ผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด และสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยไปแล้ว โดยได้ขอความร่วมมือผู้ผลิตน้ำดื่มให้เพิ่มปริมาณสต็อกเก็บน้ำดื่มบรรจุขวดจากเดิม 5-7 วัน เป็น 10 วัน เริ่มตั้งแต่เดือนมี.ค.จนสิ้นสุดภัยแล้ง เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคว่าน้ำดื่มจะไม่ขาดแคลนในช่วงหน้าร้อนหรือช่วงภัยแล้งของปีนี้
“ผลการหารือ กลุ่มผู้ผลิตน้ำดื่ม ได้ยืนยันว่าได้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำจากช่วงปกติแล้ว 20-30% เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคทั่วประเทศ และขอให้ทุกฝ่ายสบายใจได้ว่าน้ำดื่มในประเทศไทยจะไม่ขาดแคลน และไม่อยากให้ร้านค้าหรือผู้บริโภคเกิดการกักตุน เพราะจะไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้กักตุน”นางอภิรดีกล่าว
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีการติดตามสถานการณ์น้ำดื่มได้อย่างใกล้ชิด กระทรวงฯ ได้ขยับสินค้าน้ำดื่มบรรจุภาชนะผนึก เข้าไปอยู่ในรายการสินค้าจับตาเป็นพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.2559 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะติดตามการเคลื่อนไหวของราคาและปริมาณทุกวัน เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทัน หากพบเหตุผิดปกติ
ขณะเดียวกัน ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบปริมาณน้ำดื่มตามร้านและห้างต่างๆ ว่าปริมาณมีเพียงพอหรือไม่ ซึ่งเบื้องต้นพบว่าทุกแห่งมีปริมาณน้ำเป็นจำนวนมาก แต่หากพื้นที่ใด จังหวัดใด มีปัญหา โดยเฉพาะจังหวัดที่ได้ถูกประกาศให้เป็นเขตภัยแล้ง ถ้ามีการขาดแคลนน้ำดื่ม กระทรวงฯ จะประสานให้ผู้ประกอบการจัดส่งน้ำดื่มเข้าไป โดยผู้ประกอบการได้ยืนยันว่าจะสามารถจัดส่งได้ทันทีเช่นเดียวกัน เพราะมีรถขนส่งน้ำเพียงพอ
นางอภิรดีกล่าวว่า ล่าสุดได้รับรายงานจากกรมการค้าภายในว่าได้มีการหารือกับการประปานครหลวง (กปน.) และการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ว่าสามารถจ่ายน้ำให้กับผู้ผลิตน้ำดื่มได้อย่างเพียงพอจนสิ้นฤดูแล้ง หรือประมาณเดือนก.ค.2559 ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงหน้าฝน ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าหน้าแล้งปีนี้ ประเทศไทยจะไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
การแก้ปัญหาในภาพรวม รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยบริหารจัดการน้ำในเขื่อนให้มีเพียงพอต่อภาคการเกษตร และการบริโภค และดูแลในด้านการเพาะปลูก โดยขอให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทนพืชที่ใช้น้ำมาก ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ ก็ได้เตรียมแผนรับมือสถานการณ์ภัยแล้งในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะการดูแลเกษตรกร และผู้บริโภค
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงแผนการรับมือสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ว่า กระทรวงฯ ได้จัดทำแผนและมาตรการรับมือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เริ่มจากการสั่งการให้พาณิชย์จังหวัดที่มีประจำอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ลงพื้นที่ติดตาม ตรวจสอบ สถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งอย่างใกล้ชิด โดยให้สำรวจว่าตัวใดจะมีปัญหาผลผลิตขาดแคลน ผลผลิตได้รับความเสียหาย หรืออาจมีแนวโน้มราคาสูงขึ้น ก็ให้รายงานเข้ามายังส่วนกลาง เพื่อที่จะเตรียมมาตรการรับมือได้ทันท่วงที
ทั้งนี้ ที่ในส่วนของผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการส่งเสริมให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยและอายุสั้น แทนการปลูกข้าวใน 22 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ข้าวโพด มันสำปะหลัง ตะไคร้ ฟักทอง หอมแดง มะเขือเทศ และผลไม้ตามฤดูกาล อาทิ มะพร้าวอ่อน มะพร้าวน้ำหอม ทุเรียน กล้วยหอมทอง และเสาวรส เป็นต้น กระทรวงฯ ได้ทำการเชื่อมโยงตลาด หาแหล่งรับซื้อ และประสานผู้ประกอบการ เช่น ห้างค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า ทำความตกลงซื้อผลผลิตจากเกษตรกร ซึ่งได้สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้น
ส่วนเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลแหล่งน้ำ และไม่สามารถปลูกพืชทดแทนได้ กระทรวงฯ ได้เข้าไปส่งเสริมและแนะนำให้เกษตรกรหันไปทำอาชีพเสริม โดยเฉพาะการผลิตสินค้าชุมชนเป็นการทดแทน ซึ่งมีทั้งเครื่องจักสาน เสื้อผ้า ของใช้และของแต่งบ้าน เช่น ไม้แกะสลัก โดยกระทรวงฯ เป็นผู้หาตลาด และหาผู้ซื้อเข้ามารับซื้อสินค้าให้ เพื่อให้เกษตรกรมีงานทำ และยังคงมีรายได้จากการที่ไม่สามารถเพาะปลูกพืชเกษตรได้
นอกจากนี้ ยังได้เข้าไปดูแลพืชเกษตรสำคัญที่จะออกสู่ตลาดตามฤดูกาล เพื่อป้องกันปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำจนกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร โดยได้มีแผนรับมือสินค้าสำคัญๆ แล้ว เช่น มันสำปะหลัง ได้ใช้มาตรการชะลอการเก็บเกี่ยว เพื่อให้เกษตรกรทยอยขุด และยังเร่งผลักดันการส่งออกมันเส้นไปจีน รวมทั้งกวดขันเรื่องการลักลอบการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน , พืชหัว เช่น หอมแดง หอมหัวใหญ่ และกระเทียม ได้เข้มงวดในการตรวจสอบการลักลอบนำเข้าและการสำแดงราคาให้ตรงตามข้อเท็จจริง และผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ที่ผลผลิตกำลังออกสู่ตลาด กระทรวงฯ ได้เตรียมพร้อมในการบริหารจัดการ โดยได้ทำการเชื่อมโยงตลาดผลักดันผลผลิตไปสู่ตลาดปลายทางในจังหวัดต่างๆ และขายผ่าน Farm Outlet ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าส่งค้าปลีก รวมทั้งการระบายผลผลิตออกสู่ตลาดต่างประเทศ ทั้งการไปจัดแสดงและจำหน่ายผลไม้ไทย และการนำคณะผู้ซื้อเข้ามาซื้อผลไม้ไทย เป็นต้น
นางอภิรดีกล่าวว่า สำหรับผักสดต่างๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ผลผลิตได้รับความเสียหาย และราคาปรับตัวสูงขึ้น กระทรวงฯ ได้แก้ไขปัญหา โดยมีแผนที่จะทำการเชื่อมโยงนำผลผลิตจากพื้นที่อื่น ที่ผลผลิตไม่ได้รับความเสียหาย เข้าไปแทรกแซงตลาด เพื่อไม่ให้เกิดการขาดแคลน และเป็นการดึงไม่ให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการครองชีพของประชาชน ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์ล่าสุด ยังไม่พบว่ามีความผิดปกติแต่อย่างใด
ส่วนสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาจะปรับตัวสูงขึ้น เช่น ผักสด พริก มะนาว ผลไม้ สุกร ไข่ไก่ ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพราะช่วงหน้าแล้ง ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง และผลผลิตบางส่วนได้รับความเสียหาย ซึ่งได้มีการติดตาม เพื่อแก้ปัญหาได้ทันสถานการณ์ หากมีปัญหาเกิดขึ้น และยังให้มีการติดตามสถานการณ์การผลิต และสถานการณ์การตลาด ทั้งในและต่างประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรสำคัญ เพื่อสามารถรักษาเสถียรภาพของราคา ไม่ให้เกิดความผันผวนมากจนเกิดความเดือดร้อนต่อเกษตรกรภายในประเทศ และกระทบต่อผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพริก ล่าสุดพบว่า แนวโน้มราคาเริ่มปรับตัวสูงขึ้น เพราะเข้าสู่หน้าแล้งและอากาศร้อน ทำให้ผลผลิตเสียหายและเข้าสู่ตลาดน้อยลง ซึ่งกระทรวงฯ ได้สั่งการให้พาณิชย์จังหวัดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และหากพบว่าพื้นที่ใดมีปัญหาขาดแคลน ก็ให้ประสานนำผลผลิตจากแหล่งผลิตอื่นเข้าไปแทรกแซงตลาดในทันที รวมทั้งให้มีการติดตามการนำเข้าพริกแห้งจากอินเดียและจีน และการลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบทางด้านราคาต่อผลผลิตภายในประเทศ
ล่าสุด กระทรวงฯ ได้เชิญผู้เลี้ยงสุกร ไก่เนื้อ และไข่ไก่ มาหารือเกี่ยวกับผลกระทบจากภัยแล้ง ซึ่งผู้เลี้ยงสุกรและไก่เนื้อ ได้ยืนยันตรงกันว่าผลผลิตในช่วงนี้มีเพียงพอต่อความต้องการ ผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดเป็นปกติ และราคาสุดท้ายที่จะขายสู่ผู้บริโภคจะยังไม่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน แม้ว่าต้นทุนน้ำจะสูงขึ้นบ้าง แต่ราคาอาหารสัตว์ ซึ่งมีสัดส่วนถึง 50% ของต้นทุนการเลี้ยงยังไม่เพิ่มขึ้น จึงไม่มีแรงกดดันต่อต้นทุน โดยขณะนี้ ราคาหมูมีชีวิตหน้าฟาร์มอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 68 บาท ส่วนหมูเนื้อแดงเฉลี่ย กก.ละ 120-130 บาท และน่าจะยืนราคานี้ได้
ส่วนไข่ไก่ กลุ่มผู้เลี้ยง ระบุว่า โดยภาพรวมปริมาณไข่ไก่ในปีนี้จะอยู่ที่ 15,560 ล้านฟอง หรือวันละ 42 ล้านฟอง ถือว่าเพียงพอต่อการบริโภค และไม่ขาดแคลน แต่ยอมรับว่า ในช่วงอากาศร้อนอาจทำให้ไข่ไก่เล็กกว่าปกติ โดยราคาอาจจะขยับขึ้นเล็กน้อย ซึ่งล่าสุดไข่คละอยู่ที่เฉลี่ยฟองละ 2.90 บาท แต่เชื่อว่าจะสามารถบริหารจัดการได้
นางอภิรดีกล่าวว่า ในด้านการดูแลค่าครองชีพ กระทรวงฯ ได้จัดให้มีการจำหน่ายสินค้าธงฟ้าช่วยภัยแล้ง เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนผู้ประสบปัญหาภัยแล้ง โดยมีแผนดำเนินการใน 22 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ตาก นครปฐม นครนายก นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี สุโขทัย อ่างทอง อุตรดิตถ์ และกรุงเทพฯ รวม 200 ครั้ง ซึ่งได้เริ่มมาแล้วตั้งแต่เดือนพ.ย.2558 และจะสิ้นสุดในเดือนเม.ย.2559 โดยจนถึงวันที่ 15 มี.ค.2559 มีผลดำเนินการแล้ว 301 ครั้ง มียอดจำหน่ายสินค้ารวม 34.61 ล้านบาท ซึ่งสามารถลดค่าครองชีพให้ประชาชนจำนวน 139,743 คน มูลค่า 23.07 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ ได้สั่งการให้พาณิชย์จังหวัดตรวจสอบราคาสินค้าและบริการในพื้นที่ที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อกำกับดูแลให้ผู้ค้าปิดป้ายแสดงราคา ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งจนถึงขณะนี้ ยังไม่พบการกักตุนสินค้า สินค้าขาดแคลน หรือราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติแต่อย่างใด แต่หากพบว่าสถานการณ์ไม่ปกติ ก็จะเข้าไปจัดการในทันที
นางอภิรดีกล่าวว่า สำหรับการดูแลราคาน้ำดื่มในช่วงหน้าแล้ง ที่อาจจะมีปัญหาน้ำดื่มไม่เพียงพอนั้น กระทรวงฯ ได้มีการหารือกับผู้ผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด และสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทยไปแล้ว โดยได้ขอความร่วมมือผู้ผลิตน้ำดื่มให้เพิ่มปริมาณสต็อกเก็บน้ำดื่มบรรจุขวดจากเดิม 5-7 วัน เป็น 10 วัน เริ่มตั้งแต่เดือนมี.ค.จนสิ้นสุดภัยแล้ง เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคว่าน้ำดื่มจะไม่ขาดแคลนในช่วงหน้าร้อนหรือช่วงภัยแล้งของปีนี้
“ผลการหารือ กลุ่มผู้ผลิตน้ำดื่ม ได้ยืนยันว่าได้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำจากช่วงปกติแล้ว 20-30% เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคทั่วประเทศ และขอให้ทุกฝ่ายสบายใจได้ว่าน้ำดื่มในประเทศไทยจะไม่ขาดแคลน และไม่อยากให้ร้านค้าหรือผู้บริโภคเกิดการกักตุน เพราะจะไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้กักตุน”นางอภิรดีกล่าว
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีการติดตามสถานการณ์น้ำดื่มได้อย่างใกล้ชิด กระทรวงฯ ได้ขยับสินค้าน้ำดื่มบรรจุภาชนะผนึก เข้าไปอยู่ในรายการสินค้าจับตาเป็นพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.2559 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะติดตามการเคลื่อนไหวของราคาและปริมาณทุกวัน เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทัน หากพบเหตุผิดปกติ
ขณะเดียวกัน ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบปริมาณน้ำดื่มตามร้านและห้างต่างๆ ว่าปริมาณมีเพียงพอหรือไม่ ซึ่งเบื้องต้นพบว่าทุกแห่งมีปริมาณน้ำเป็นจำนวนมาก แต่หากพื้นที่ใด จังหวัดใด มีปัญหา โดยเฉพาะจังหวัดที่ได้ถูกประกาศให้เป็นเขตภัยแล้ง ถ้ามีการขาดแคลนน้ำดื่ม กระทรวงฯ จะประสานให้ผู้ประกอบการจัดส่งน้ำดื่มเข้าไป โดยผู้ประกอบการได้ยืนยันว่าจะสามารถจัดส่งได้ทันทีเช่นเดียวกัน เพราะมีรถขนส่งน้ำเพียงพอ
นางอภิรดีกล่าวว่า ล่าสุดได้รับรายงานจากกรมการค้าภายในว่าได้มีการหารือกับการประปานครหลวง (กปน.) และการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ว่าสามารถจ่ายน้ำให้กับผู้ผลิตน้ำดื่มได้อย่างเพียงพอจนสิ้นฤดูแล้ง หรือประมาณเดือนก.ค.2559 ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงหน้าฝน ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าหน้าแล้งปีนี้ ประเทศไทยจะไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มเกิดขึ้นอย่างแน่นอน