เอ็นไวโรเซล (ไทยแลนด์) เปิดเผยงานวิจัย 2 หัวเมืองหลักของพม่า ย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ เมืองสำคัญทางเศรษฐกิจ ชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของคนพม่าในปี 2559 เปิดรับสิ่งใหม่ด้วยกระแสจากภายนอก เปลี่ยนจากทานาคาสู่มอยส์เจอไรเซอร์ จากรถมือสองสู่รถนำเข้า จากกาแฟชงแบบซองสู่กาแฟสด
น.ส.สรินพร จิวานันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวโรเซล ประเทศไทย จำกัด บริษัทในเครือของบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) ผู้นำแห่งความคิดสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยว่า “จากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองของเมียนมา ที่เป็นที่จับตามองของนักลงทุนจากทั่วโลก เอ็นไวโรเซล เดินหน้าศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้ได้มีการสำรวจข้อมูลใน 3 หัวเมืองใหญ่ของประเทศพม่า คือ ย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็น 2 เมืองหลัก ที่เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศพม่า และมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจ ด้วยกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป และมีรายได้ ในระดับล่างถึงบน (A, B, C และ D) พบว่าสังคมพม่ามีการเปลี่ยนอย่างมาก และมีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปอย่างน่าจับตามอง ดังนี้
1. เปลี่ยนรสนิยม คนพม่าปัจจุบันนั้นยอมใช้จ่ายเงินมากขึ้นเพื่อประสบการณ์ใหม่ๆ เห็นได้จากตัวบ่งชี้หลายอย่าง เช่น ร้านกาแฟสดที่เริ่มมีมากขึ้นในย่างกุ้ง เกิดขึ้นจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นในตลาด คนพม่าบางกลุ่มนั้น เริ่มจะเปลี่ยนจากร้านกาแฟริมถนนที่อยู่คู่กับชาวพม่ามาอย่างยาวนาน แต่มายอมจ่ายแพงขึ้นถึง 10 เท่าโดยเฉลี่ย เพื่อกินกาแฟในคาเฟ่สมัยใหม่ที่ปัจจุบันในย่างกุ้งนั้นมีร้านกาแฟสดเพิ่มมาขึ้นราว 30 ร้าน ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา หนึ่งปัจจัยที่ทำให้ชาวพม่าสนใจในกาแฟสดนั้น ก็มีอิทธิพลมาจากการเสพสื่อ ที่เห็นไลฟสไตล์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต รวมทั้งละครเกาหลี ถึงแม้บางคนอาจจะยังสั่งไม่ถูก ยังไม่เข้าใจความแตกต่างของกาแฟสดแต่ละชนิด แต่อย่างไรก็ตาม กาแฟสดก็ได้เข้ามามีบทบาทกับไลฟ์สไตล์ของชาวพม่ามากยิ่งขึ้น เปลี่ยนวิถีชาวพม่าจากนั่งยองกินกาแฟเป็นนั่งเก้าอี้มากขึ้น
2. ท่องเที่ยว ไม่เพียงแค่ชาวต่างชาติสนใจพม่า แต่ชาวพม่าก็สนใจโลกภายนอกเช่นกัน กำลังซื้อที่มีมากขึ้นจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และค่าเงินที่แข็งขึ้นกว่า 30% นั้นทำให้ชาวพม่าสนใจไปเที่ยวนอกประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศในเอเชียแปซิฟิกอย่างไทย เวียดนาม กัมพูชา เป็นต้น โดยมีอัตราส่วนการเติบโตของนักท่องเที่ยวที่เดินทางออกนอกประเทศมากกว่า 200% ตั้งแต่ปี 2011 ทั้งนี้ตัวเลขนี้ ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก เพราะประเทศต่างๆ เริ่มใช้นโยบายลดหย่อนวีซ่า เพื่อชาวพม่าบ้างแล้ว
3. ทันโลก ไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ หรือสื่อออนไลน์ ชาวพม่ามีทางเลือ และโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ มากขึ้น คนพม่ามีสัดส่วนการติดจานดาวเทียมเพื่อรับสื่อนอกประเทศมากขึ้นกว่า 200% จากปีที่แล้ว และกว่า 95% มีโทรศัพท์ใช้ โดย 80% ของโทรศัพท์ทั้งหมดเป็นสมาร์ทโฟน นอกจากนั้น 60% ของผู้ใช้โทรศัพท์ยังใช้บริการบนโลกออนไลน์ที่เติบโตขึ้นจากปี 2012 ซึ่งในขณะนั้นมีตัวเลขเพียงแค่ 2% เท่านั้น รวมทั้งเทรนด์การใช้ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟน ยังเติบโตขึ้นถึง 200% ซึ่งเป็นตัวเลขการเติบโตสะท้อนถึงพฤติกรรมการเสพข้อมูลของชาวพม่าที่เพิ่มสูงมากขึ้นได้เป็นอย่างดี
4. ลองของ เมื่อคนพม่าเสพสื่อ และเปิดรับกับสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มากขึ้น คนพม่ายังมีทางเลือกในแง่ของความหลากหลายของสินค้ารวมถึงแบรนด์มากขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น ตลาดเครื่องใช้อุปโภคบริโภค (FMCG) ในพม่านั้นเติบโตราว 14% ใน 4 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยส่วนหนึ่งเกิดจากการแข่งขันทางการตลาดในพม่านั้นเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ทั้งแบรนด์ในประเทศ และแบรนด์ต่างชาติ งบโฆษณาของแบรนด์ต่างชาติเพิ่มขึ้นราว 3 เท่า จากปี 2010 เช่นเดียวกับแบรนด์ท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้นราว 2.3 เท่าเช่นกัน หากย้อนกลับไปเปรียบเทียบกับปี 2001 งบโฆษณาโดยรวมนั้น เพิ่มขึ้นกว่า 13 เท่า ซึ่งสามารถชี้ชัดได้ว่าตลาดที่กำลังเติบโต และการแข่งขันที่จะทำให้ความภักดีของแบรนด์สินค้าลดลงด้วยเช่นกัน จากค่าเฉลี่ยที่เคยใช้สินค้ายี่ห้อเดียวก็เป็น 2 แบรนด์ 2 ยี่ห้อไปโดยปริยาย
5. สำอาง คนพม่านั้นเริ่มรู้จักและใช้สินค้าเพื่อดูแลตัวเองเพิ่มขึ้น เช่น สินค้าในประเภทครีม หรือโลชั่น มีการเติมโตถึง 2 เท่าใน 3 ปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ประเภทครีมนวดผม ที่เติบโตแบบก้าวกระโดดขึ้นสูงสุด จาก 5% ในปี 56 สู่ 50% ในปีนี้ นอกจากนั้นในเรื่องของการดูแลผิวพรรณของชาวพม่า ในอดีตเป็นเรื่องของผู้หญิงเสียส่วนใหญ่ หากแต่ในปัจจุบันนั้นกลุ่มผู้ชายก็เริ่มปรับตัวมาสนใจสินค้าใหม่ๆ และดูแลผิวพรรณของตัวเองด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น อัตราการใช้โฟมล้างหน้าในกลุ่มผู้ชายนั้นเติบโตมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ 24% สู่ 29% และ 36% ในปีนี้ตามลำดับ
6. พกบัตร แน่นอนว่าเมื่อการใช้อินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้น การซื้อขาย จ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์นั้นก็มีแนวโน้มเติบโตด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับระบบการจ่ายเงินแบบเครดิตในพม่านั้น แต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้องก็ได้มีการร่วมมือ และกระตุ้นการใช้งานมากขึ้น เช่น Myanmar Payment Union ได้ร่วมมือกับ 2C2P ผู้ให้บริการ Online Payment และแบงก์ในประเทศเพื่อออกบัตรเดบิตสำหรับชาวพม่า หรือ MPU cards ขึ้น มีเป้าหมายเพื่อเปิดประตูให้ชาวพม่าได้ซื้อสินค้าจากในประเทศ และต่างประเทศ โดยปัจจุบันผู้ใช้บริการอยู่มากกว่า 900,000 คน นับเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับตลาด E-commerce ในพม่า นอกจากนั้น รัฐบาลพม่ายังให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์ประกอบพื้นฐาน และการศึกษา โดยมีการใช้เงินสำรอง และกู้เงินต่างชาติกว่า 2,300 ล้านดอลลาร์ ในการพัฒนาระบบไฟฟ้าในประเทศ และในส่วนของการศึกษา โดยมีการเพิ่มงบประมาณจาก 1,000 ล้านดอลลาร์เป็น 1,300 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำไปใช้ในการจ้างครู ให้การศึกษาฟรี ให้ทุนรัฐบาลในมหาวิทยาลัยในระดับที่สูงขึ้น มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคคลากรระดับบัณฑิตศึกษาให้มากขึ้น ทั้งนี้จะทำให้พม่ามีปัจจัยพื้นฐาน และมีบุคลากรที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นคลังสมองในการพัฒนาประเทศได้ในอนาคตอย่างรวดเร็ว
น.ส.สรินพร จิวานันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวโรเซล ประเทศไทย จำกัด บริษัทในเครือของบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) ผู้นำแห่งความคิดสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยว่า “จากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองของเมียนมา ที่เป็นที่จับตามองของนักลงทุนจากทั่วโลก เอ็นไวโรเซล เดินหน้าศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้ได้มีการสำรวจข้อมูลใน 3 หัวเมืองใหญ่ของประเทศพม่า คือ ย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็น 2 เมืองหลัก ที่เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศพม่า และมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจ ด้วยกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป และมีรายได้ ในระดับล่างถึงบน (A, B, C และ D) พบว่าสังคมพม่ามีการเปลี่ยนอย่างมาก และมีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปอย่างน่าจับตามอง ดังนี้
1. เปลี่ยนรสนิยม คนพม่าปัจจุบันนั้นยอมใช้จ่ายเงินมากขึ้นเพื่อประสบการณ์ใหม่ๆ เห็นได้จากตัวบ่งชี้หลายอย่าง เช่น ร้านกาแฟสดที่เริ่มมีมากขึ้นในย่างกุ้ง เกิดขึ้นจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นในตลาด คนพม่าบางกลุ่มนั้น เริ่มจะเปลี่ยนจากร้านกาแฟริมถนนที่อยู่คู่กับชาวพม่ามาอย่างยาวนาน แต่มายอมจ่ายแพงขึ้นถึง 10 เท่าโดยเฉลี่ย เพื่อกินกาแฟในคาเฟ่สมัยใหม่ที่ปัจจุบันในย่างกุ้งนั้นมีร้านกาแฟสดเพิ่มมาขึ้นราว 30 ร้าน ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา หนึ่งปัจจัยที่ทำให้ชาวพม่าสนใจในกาแฟสดนั้น ก็มีอิทธิพลมาจากการเสพสื่อ ที่เห็นไลฟสไตล์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต รวมทั้งละครเกาหลี ถึงแม้บางคนอาจจะยังสั่งไม่ถูก ยังไม่เข้าใจความแตกต่างของกาแฟสดแต่ละชนิด แต่อย่างไรก็ตาม กาแฟสดก็ได้เข้ามามีบทบาทกับไลฟ์สไตล์ของชาวพม่ามากยิ่งขึ้น เปลี่ยนวิถีชาวพม่าจากนั่งยองกินกาแฟเป็นนั่งเก้าอี้มากขึ้น
2. ท่องเที่ยว ไม่เพียงแค่ชาวต่างชาติสนใจพม่า แต่ชาวพม่าก็สนใจโลกภายนอกเช่นกัน กำลังซื้อที่มีมากขึ้นจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และค่าเงินที่แข็งขึ้นกว่า 30% นั้นทำให้ชาวพม่าสนใจไปเที่ยวนอกประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศในเอเชียแปซิฟิกอย่างไทย เวียดนาม กัมพูชา เป็นต้น โดยมีอัตราส่วนการเติบโตของนักท่องเที่ยวที่เดินทางออกนอกประเทศมากกว่า 200% ตั้งแต่ปี 2011 ทั้งนี้ตัวเลขนี้ ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก เพราะประเทศต่างๆ เริ่มใช้นโยบายลดหย่อนวีซ่า เพื่อชาวพม่าบ้างแล้ว
3. ทันโลก ไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ หรือสื่อออนไลน์ ชาวพม่ามีทางเลือ และโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ มากขึ้น คนพม่ามีสัดส่วนการติดจานดาวเทียมเพื่อรับสื่อนอกประเทศมากขึ้นกว่า 200% จากปีที่แล้ว และกว่า 95% มีโทรศัพท์ใช้ โดย 80% ของโทรศัพท์ทั้งหมดเป็นสมาร์ทโฟน นอกจากนั้น 60% ของผู้ใช้โทรศัพท์ยังใช้บริการบนโลกออนไลน์ที่เติบโตขึ้นจากปี 2012 ซึ่งในขณะนั้นมีตัวเลขเพียงแค่ 2% เท่านั้น รวมทั้งเทรนด์การใช้ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟน ยังเติบโตขึ้นถึง 200% ซึ่งเป็นตัวเลขการเติบโตสะท้อนถึงพฤติกรรมการเสพข้อมูลของชาวพม่าที่เพิ่มสูงมากขึ้นได้เป็นอย่างดี
4. ลองของ เมื่อคนพม่าเสพสื่อ และเปิดรับกับสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มากขึ้น คนพม่ายังมีทางเลือกในแง่ของความหลากหลายของสินค้ารวมถึงแบรนด์มากขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น ตลาดเครื่องใช้อุปโภคบริโภค (FMCG) ในพม่านั้นเติบโตราว 14% ใน 4 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยส่วนหนึ่งเกิดจากการแข่งขันทางการตลาดในพม่านั้นเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ทั้งแบรนด์ในประเทศ และแบรนด์ต่างชาติ งบโฆษณาของแบรนด์ต่างชาติเพิ่มขึ้นราว 3 เท่า จากปี 2010 เช่นเดียวกับแบรนด์ท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้นราว 2.3 เท่าเช่นกัน หากย้อนกลับไปเปรียบเทียบกับปี 2001 งบโฆษณาโดยรวมนั้น เพิ่มขึ้นกว่า 13 เท่า ซึ่งสามารถชี้ชัดได้ว่าตลาดที่กำลังเติบโต และการแข่งขันที่จะทำให้ความภักดีของแบรนด์สินค้าลดลงด้วยเช่นกัน จากค่าเฉลี่ยที่เคยใช้สินค้ายี่ห้อเดียวก็เป็น 2 แบรนด์ 2 ยี่ห้อไปโดยปริยาย
5. สำอาง คนพม่านั้นเริ่มรู้จักและใช้สินค้าเพื่อดูแลตัวเองเพิ่มขึ้น เช่น สินค้าในประเภทครีม หรือโลชั่น มีการเติมโตถึง 2 เท่าใน 3 ปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ประเภทครีมนวดผม ที่เติบโตแบบก้าวกระโดดขึ้นสูงสุด จาก 5% ในปี 56 สู่ 50% ในปีนี้ นอกจากนั้นในเรื่องของการดูแลผิวพรรณของชาวพม่า ในอดีตเป็นเรื่องของผู้หญิงเสียส่วนใหญ่ หากแต่ในปัจจุบันนั้นกลุ่มผู้ชายก็เริ่มปรับตัวมาสนใจสินค้าใหม่ๆ และดูแลผิวพรรณของตัวเองด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น อัตราการใช้โฟมล้างหน้าในกลุ่มผู้ชายนั้นเติบโตมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ 24% สู่ 29% และ 36% ในปีนี้ตามลำดับ
6. พกบัตร แน่นอนว่าเมื่อการใช้อินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้น การซื้อขาย จ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์นั้นก็มีแนวโน้มเติบโตด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับระบบการจ่ายเงินแบบเครดิตในพม่านั้น แต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้องก็ได้มีการร่วมมือ และกระตุ้นการใช้งานมากขึ้น เช่น Myanmar Payment Union ได้ร่วมมือกับ 2C2P ผู้ให้บริการ Online Payment และแบงก์ในประเทศเพื่อออกบัตรเดบิตสำหรับชาวพม่า หรือ MPU cards ขึ้น มีเป้าหมายเพื่อเปิดประตูให้ชาวพม่าได้ซื้อสินค้าจากในประเทศ และต่างประเทศ โดยปัจจุบันผู้ใช้บริการอยู่มากกว่า 900,000 คน นับเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับตลาด E-commerce ในพม่า นอกจากนั้น รัฐบาลพม่ายังให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์ประกอบพื้นฐาน และการศึกษา โดยมีการใช้เงินสำรอง และกู้เงินต่างชาติกว่า 2,300 ล้านดอลลาร์ ในการพัฒนาระบบไฟฟ้าในประเทศ และในส่วนของการศึกษา โดยมีการเพิ่มงบประมาณจาก 1,000 ล้านดอลลาร์เป็น 1,300 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำไปใช้ในการจ้างครู ให้การศึกษาฟรี ให้ทุนรัฐบาลในมหาวิทยาลัยในระดับที่สูงขึ้น มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคคลากรระดับบัณฑิตศึกษาให้มากขึ้น ทั้งนี้จะทำให้พม่ามีปัจจัยพื้นฐาน และมีบุคลากรที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นคลังสมองในการพัฒนาประเทศได้ในอนาคตอย่างรวดเร็ว