“กรมการท่องเที่ยว” เปิดแผนปฏิบัติการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพของประเทศ ชี้แหล่งท่องเที่ยวที่เสนอของบประมาณเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจะต้องสอดคล้องกับแผนฉบับนี้เท่านั้น
น.ส.วรรณสิริ โมรากุล รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า กรมการท่องเที่ยวได้จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพของประเทศ พ.ศ. 2558-2560 โดยมีวิทยาลัยนวัตกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ปรึกษาโครงการซึ่งจะใช้เป็นกรอบแนวทางการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และความจำเป็นในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของประเทศให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนตลอดไป และจะใช้เป็นกรอบในการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ทั่วประเทศด้วย โดยคำนึงถึงผลที่จะได้รับจากการพัฒนาความคุ้มค่าของการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศสามารถนำไปสู่เป้าหมายในการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่มีคุณค่า การสร้างประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนท้องถิ่น การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติวัฒนธรรมวิถีชุมชนและการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ในแผนปฏิบัติการฉบับนี้มุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์การพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศที่นำไปสู่การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ การเติบโตอย่างสมบูรณ์และมีความยั่งยืน โดยแหล่งท่องเที่ยวที่มีความประสงค์จะเสนอโครงการเพื่อรับงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาแหล่งนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวในระดับประเทศหรือระดับภูมิภาค ดังนี้ 1. นโยบายการท่องเที่ยววิถีไทยซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ 2. นโยบายการพัฒนา 12 เมืองต้องห้ามพลาด ซึ่งเป็นนโยบายการพัฒนาของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่เน้นการพัฒนาเมืองที่มีศักยภาพ เป็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ให้นักท่องเที่ยวรู้จัก 3. นโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ประกอบด้วยจังหวัด ตาก สระแก้ว ตราด มุกดาหาร สงขลา เชียงราย กาญจนบุรี หนองคาย นครพนม และนราธิวาส
4. เขตพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่ เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันออก เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก และเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน 5. นโยบายการพัฒนา GMS Priority Tourism Zone ภายใต้กรอบความร่วมมือของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ด้านการพัฒนาท่องเที่ยว ที่มุ้งเน้นการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวของ 6 ประเทศ ประกอบด้วยจังหวัดต่างๆที่มีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มนี้ 6. การพัฒนา GMS Economic Corridors เป็นการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของอุตสาหกรรมการเกษตรการค้าการลงทุนและบริการเพื่อ ให้เกิดการจ้างงานยกระดับการครองชีพการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน โดยการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในสาขาการพัฒนาที่สำคัญ 7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวอาเซียน 2011-2015 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเส้นทางแนวพื้นที่และกลุ่มพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เชิงวัฒนธรรม นอกเหนือจากพื้นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวจะต้องมีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวดังกล่าวแล้ว
โครงการใดๆ ที่แหล่งท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเสนอเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนในอีก 3 ปีข้างหน้า คือ พ.ศ. 2558-2560 นั้น จะต้องเป็นโครงการที่มุ่งเป้าการพัฒนา 3 ด้าน คือ การสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ การสร้างประโยชน์ต่อสังคม ชุมชนในพื้นที่ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม รวมถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์พัฒนาการท่องเที่ยวของกรมการท่องเที่ยว ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “กรมการท่องเที่ยวเป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวในระดับสากลทั้งสนับสนุนการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักรเพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของเอเชีย” โดยมียุทธศาสตร์ทั้งหมด 4 ด้าน คือ 1. การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว 2. การพัฒนาการบริการจัดการด้านการท่องเที่ยว 3. การเสริมสร้างเครือข่ายและพันธมิตรกับประเทศอาเซียนและนานาชาติเพื่อเชื่อมโยงให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 4. การพัฒนาองค์กรและระบบงาน
นอกจากนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาตามกรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าว แผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้ จึงมีแผนการดำเนินงานทั้งหมด 5 ด้าน คือ 1. การฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนฐานความยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเหมาะสมกับขีดความสามารถของแหล่งในการรับการท่องเที่ยว 2. การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ทุพพลภาพ 3. การพัฒนาด้านการสื่อความหมาย ศูนย์ข้อมูลและศูนย์เรียนรู้ในแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ 4. การส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยววิถีไทย การท่องเที่ยวสีเขียว กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น 5. การพัฒนาเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
รักษาการอธิบดีกรมการท่องเที่ยวกล่าวต่อว่า เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนฐานของความยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเหมาะสมกับขีดความสามารถของแหล่งท่องเที่ยวในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในอีก 3 ปีข้างหน้า จะเน้นการสนับสนุนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีการเสนอโครงการที่มี theme หรือแนวคิดในการพัฒนาประเภทต่างๆ เช่น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเชิงสุขภาพ เป็นต้น อีกทั้งในแผนปฏิบัติการฉบับนี้ยังคำนึงถึงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและมีความปลอดภัยกับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพ ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกประเภทต่างๆ เช่น ห้องน้ำ ที่จอดรถ การจัดบริเวณหรือศาลาที่พัก และจุดชมวิวสำหรับแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่อาจจำเป็นต้องมีการจัดการคมนาคมภายในแหล่ง รวมถึงป้ายบอกทาง ป้ายข้อมูลภายในแหล่งท่องเที่ยว
นอกจากนี้จะมีการสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาการปรับปรุงศูนย์ข้อมูลพิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวรวมถึงการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ ในการพัฒนารูปแบบสื่อความหมายเพื่อบอกเล่าเรื่องราวความโดดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวด้วย โดยแหล่งท่องเที่ยว หรือผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดของแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวได้ที่ http://www.tourism.go.th/subweb/content/4
น.ส.วรรณสิริ โมรากุล รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า กรมการท่องเที่ยวได้จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพของประเทศ พ.ศ. 2558-2560 โดยมีวิทยาลัยนวัตกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ปรึกษาโครงการซึ่งจะใช้เป็นกรอบแนวทางการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และความจำเป็นในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของประเทศให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนตลอดไป และจะใช้เป็นกรอบในการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ทั่วประเทศด้วย โดยคำนึงถึงผลที่จะได้รับจากการพัฒนาความคุ้มค่าของการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศสามารถนำไปสู่เป้าหมายในการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่มีคุณค่า การสร้างประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนท้องถิ่น การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติวัฒนธรรมวิถีชุมชนและการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ในแผนปฏิบัติการฉบับนี้มุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์การพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศที่นำไปสู่การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ การเติบโตอย่างสมบูรณ์และมีความยั่งยืน โดยแหล่งท่องเที่ยวที่มีความประสงค์จะเสนอโครงการเพื่อรับงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาแหล่งนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวในระดับประเทศหรือระดับภูมิภาค ดังนี้ 1. นโยบายการท่องเที่ยววิถีไทยซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติ 2. นโยบายการพัฒนา 12 เมืองต้องห้ามพลาด ซึ่งเป็นนโยบายการพัฒนาของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่เน้นการพัฒนาเมืองที่มีศักยภาพ เป็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ให้นักท่องเที่ยวรู้จัก 3. นโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ประกอบด้วยจังหวัด ตาก สระแก้ว ตราด มุกดาหาร สงขลา เชียงราย กาญจนบุรี หนองคาย นครพนม และนราธิวาส
4. เขตพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่ เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันออก เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก และเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน 5. นโยบายการพัฒนา GMS Priority Tourism Zone ภายใต้กรอบความร่วมมือของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ด้านการพัฒนาท่องเที่ยว ที่มุ้งเน้นการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวของ 6 ประเทศ ประกอบด้วยจังหวัดต่างๆที่มีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มนี้ 6. การพัฒนา GMS Economic Corridors เป็นการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของอุตสาหกรรมการเกษตรการค้าการลงทุนและบริการเพื่อ ให้เกิดการจ้างงานยกระดับการครองชีพการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน โดยการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในสาขาการพัฒนาที่สำคัญ 7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวอาเซียน 2011-2015 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเส้นทางแนวพื้นที่และกลุ่มพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เชิงวัฒนธรรม นอกเหนือจากพื้นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวจะต้องมีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวดังกล่าวแล้ว
โครงการใดๆ ที่แหล่งท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเสนอเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนในอีก 3 ปีข้างหน้า คือ พ.ศ. 2558-2560 นั้น จะต้องเป็นโครงการที่มุ่งเป้าการพัฒนา 3 ด้าน คือ การสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ การสร้างประโยชน์ต่อสังคม ชุมชนในพื้นที่ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม รวมถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์พัฒนาการท่องเที่ยวของกรมการท่องเที่ยว ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “กรมการท่องเที่ยวเป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวในระดับสากลทั้งสนับสนุนการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักรเพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของเอเชีย” โดยมียุทธศาสตร์ทั้งหมด 4 ด้าน คือ 1. การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว 2. การพัฒนาการบริการจัดการด้านการท่องเที่ยว 3. การเสริมสร้างเครือข่ายและพันธมิตรกับประเทศอาเซียนและนานาชาติเพื่อเชื่อมโยงให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 4. การพัฒนาองค์กรและระบบงาน
นอกจากนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาตามกรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าว แผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้ จึงมีแผนการดำเนินงานทั้งหมด 5 ด้าน คือ 1. การฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนฐานความยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเหมาะสมกับขีดความสามารถของแหล่งในการรับการท่องเที่ยว 2. การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ทุพพลภาพ 3. การพัฒนาด้านการสื่อความหมาย ศูนย์ข้อมูลและศูนย์เรียนรู้ในแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ 4. การส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยววิถีไทย การท่องเที่ยวสีเขียว กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น 5. การพัฒนาเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
รักษาการอธิบดีกรมการท่องเที่ยวกล่าวต่อว่า เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนฐานของความยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเหมาะสมกับขีดความสามารถของแหล่งท่องเที่ยวในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในอีก 3 ปีข้างหน้า จะเน้นการสนับสนุนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีการเสนอโครงการที่มี theme หรือแนวคิดในการพัฒนาประเภทต่างๆ เช่น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเชิงสุขภาพ เป็นต้น อีกทั้งในแผนปฏิบัติการฉบับนี้ยังคำนึงถึงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและมีความปลอดภัยกับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพ ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกประเภทต่างๆ เช่น ห้องน้ำ ที่จอดรถ การจัดบริเวณหรือศาลาที่พัก และจุดชมวิวสำหรับแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่อาจจำเป็นต้องมีการจัดการคมนาคมภายในแหล่ง รวมถึงป้ายบอกทาง ป้ายข้อมูลภายในแหล่งท่องเที่ยว
นอกจากนี้จะมีการสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาการปรับปรุงศูนย์ข้อมูลพิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวรวมถึงการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ ในการพัฒนารูปแบบสื่อความหมายเพื่อบอกเล่าเรื่องราวความโดดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวด้วย โดยแหล่งท่องเที่ยว หรือผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดของแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวได้ที่ http://www.tourism.go.th/subweb/content/4