THAILAND LAB 2015 ประสบความสำเร็จ คึกคัก ตลาดเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขยายตัว 15%จากมูลค่าเกือบ60,000 ล้านบาท งานนี้มีการซื้อขายสะพัดกว่า 3,000 ล้านบาท มีผู้ชมงาน กว่า 8,800 คนจาก 40 ประเทศ ทั่วโลก เหตุผลพวงนโยบายรัฐบาล สนับสนุนการพัฒนางานวิจัยเพื่อภาคการผลิตเพิ่ม ด้านปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปาฐกถาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ การลงทุนเพื่ออนาคตประเทศไทย ชู อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เชื่อมโยงงานวิจัยสู่ธุรกิจ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจ 8,500 ล้านบาทปี2561 มีการจ้างงานบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3,500 ราย
งาน THAILAND LAB 2015 ประสบความสำเร็จ มีการจัดแสดงสินค้าเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครื่องมือทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงมีการประชุมระดับนานาชาติ ให้องค์ความรู้มากมาย เมื่อวันที่ 9-11 ก.ย.2558ที่ผ่านมา เปิดงานมีการปาฐกถาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ การลงทุนเพื่ออนาคตประเทศไทย โดย รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวในการปาฐกถา “โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ การลงทุนเพื่ออนาคตประเทศไทย” ว่า ในปัจจุบันไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการเติบโต ทางเศรษฐกิจจากการผลิตที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency-Driven)มีจุดเด่นด้านแรงงานที่มีคุณภาพและราคาไม่สูง มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตมากขึ้น แต่ในอนาคตยังไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนได้
ทางออกสำคัญคือ เร่งพัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นเศรษฐกิจที่เติบโตด้วยนวัตกรรม (Innovation-Driven)คือการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์และมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้เป็นที่ต้องการในตลาด ซึ่งจะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ในระยะยาว กระทรวงวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี จึงได้ทำโครงการ “อุทยานวิทยาศาสตร์” เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางนโยบายและกลไกสำคัญที่ช่วยสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนทำวิจัยและพัฒนา มีอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค : เชื่อมโยงงานวิจัยสู่ธุรกิจ ผลักดันให้เอกชนมีการพัฒนา วิจัยในภาคการผลิตเพิ่มในสัดส่วน เอกชนร้อยละ70ต่อภาครัฐบาลร้อยละ30
ประโยชน์และความสำคัญของอุทยานวิทยาศาสตร์ เป็นตัวกลางและกลไกสนับสนุนที่สำคัญในการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน ระหว่างเอกชน ภาครัฐ และภาคการศึกษาด้วยกลไกส่งเสริมต่าง ๆ (เช่น ร่วมวิจัย รับจ้างวิจัยถ่ายทอดเทคโนโลยี แลกเปลี่ยนความรู้ พัฒนานวัตกรรม ร่วมพัฒนางานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์) ตลอดจนการเชื่อมโยงกับผู้กำหนดนโยบายและผู้สนับสนุนสิทธิประโยชน์ ทางการเงินและภาษี (ระบบนิเวศอุทยานวิทยาศาสตร์) ผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นทำวิจัยพัฒนาและกิจกรรมนวัตกรรมได้เร็วขึ้น เสี่ยงน้อยลง ต้นทุนรวมน้อยลง และสร้างมูลค่าเพิ่มได้เร็วขึ้น
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (Thailand Science Park) เป็นอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งแรกของ ไทย ภายใต้การบริหารงานของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีอุทยานวิทยาศาสตร์ ในส่วน ภูมิภาค ได้แก่ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2007 มีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นแกนหลัก เพื่อดำเนินงาน ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยในพื้นที่ โดยยังไม่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ได้ทำงานเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภาคเอกชน นำ ผลงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์
รศ.ดร.วีระพงษ์ กล่าวต่อว่า การบริการอุทยานวิทยาศาสตร์ มี ห้องปฏิบัติการเพื่อให้บริการภาคเอกชน ห้องปฏิบัติการ634 ห้อง เครื่องมือวิทยาศาสตร์ 2,552 รายการ นักวิจัย/ผู้เชี่ยวชาญ 11,629 คน ผลงานวิจัย 42,428 ผลงาน มี“ห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง”มหาวิทยาลัยนเรศวร“ห้องปฏิบัติการกลางด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์”คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น “ห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์” ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบโลโก้
ทั้งนี้ได้วิจัยร่วมกับภาคเอกชน การผลิตพอลิเมอร์ ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพบริษัท ปตท. (จำกัด) มหาชน จุลินทรีย์เพื่อการย่อยสลายสารพิษตกค้างของดินในนาข้าวบริษัท วอน ซิสเต็มส์ จำกัด การพัฒนาสายพันธุ์ไก่เนื้อไทย (Thai broilers) เพื่ออุตสาหกรรม บริษัท ตะนาวศรีไก่ไทย จำกัด โครงการพัฒนาสายพันธุ์สุกรทางการค้าด้วยการคัดเลือกจีโนม เครือเบทาโกร การพัฒนาการหล่อเพื่อขึ้นรูปโลหะกึ่งของแข็งแบบ GISS ด้วยระบบใหม่ บริษัท GISSCO จำกัดโรงงานต้นแบบเทคโนโลยีการลดความชื้นและกำจัดแมลงในข้าวด้วยคลื่นวิทยุ โรงงานต้นแบบเทคโนโลยีการอบผลไม้ด้วยไอน้ำ
อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เชื่อมโยงงานวิจัยสู่ธุรกิจ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจ 8,500 ล้านบาท มีการจ้างงานบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3,500 ราย ด้านตลาดเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการจะยายตัวเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะเอกชนลงทุนวิจัยเพิ่ม
ด้านนาย ธีรยุทธ์ ลีลาขจรกิจ ผู้อำนวยการสายงานธุรกิจวิทยาศาสตร์เละเทคโนโลยี บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด เปิดเผยว่า จากทิศทางการขยายตัวของตลาดเทคโนโลยี เครื่องมือวิทยาศาสตร์ บริษัทฯ จึงได้ปรับรูปแบบงาน Thailand LAB 2015 ให้ยิ่งใหญ่ขึ้น ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ในเมื่อวันที่ 9-11กันยายน 2558 ที่ผ่านมา ที่ EH 105 และ EH 107 ณ ไบเทค บางนา ผู้ชมงานกว่า 8,800 คนจาก 40 ประเทศ ทั่วโลก ส่งผลตลาดรวมเครื่องมือวิทยาศาสตร์และห้องปฏิบัติการ เกือบ 60,000 ล้านบาทขยายตัว 15%
นอกจากนี้ Thailand LAB 2015 ได้พัฒนาช่องทางการจับคู่ธุรกิจสำหรับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน กับผู้ประกอบการเครื่องมือแล็บโดยตรงได้ที่ WWW.THAILANDLAB.COM เพื่อกระตุ้นตลาดรวมเครื่องมือแล็บเพิ่มขึ้น 15% ประมาณตัวเลขการซื้อขายในงานประมาณ 3,000 ล้านบาท
(ข่าวประชาสัมพันธ์)