ผลสำรวจความคิดเห็นการลงทุนในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ASEAN Business outlook survey เปิดเผยเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2558 โดยหอการค้าสหรัฐอเมริกา หรือ US Chamber of Commerce ร่วมกับหอการค้าอเมริกันในประเทศประชาคมอาเซียน
ผลสำรวจดังกล่าวพบว่า บริษัทสหรัฐฯ โดยรวมยังคงมีความเชื่อมั่นต่อโอกาสการลงทุนในประชาคมอาเซียน จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารอาวุโส 471 คนจากบริษัทสหรัฐฯ ในสิบประเทศประชาคมอาเซียนพบว่า ร้อยละ 72 มีระดับการซื้อขายลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา และร้อยละ 82 ของกลุ่มสำรวจคาดว่าระดับการลงทุนซื้อขายจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในห้าปีข้างหน้า
ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะมีความเชื่อมั่นจากนักลงทุนสูงแต่แนวโน้มของทัศนคติเชิงบวกกลับลดลง นักลงทุนกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53 ของกลุ่มสำรวจกล่าวว่าตลาดประชาคมอาเซียนได้กลายเป็นตลาดสำคัญด้านรายได้ทั่วโลกของบริษัทในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา ซึ่งลดลงประมาณร้อยละ 10 จากผลสำรวจสองปีที่แล้ว นอกจากนี้ สองในสาม หรือร้อยละ 66 ของกลุ่มสำรวจในปีนี้คาดว่าอาเซียนจะมีบทบาทสำคัญต่อรายได้ทั่วโลกของบริษัทในสองปีข้างหน้า แม้ตัวเลขรายงานจะสูงแต่เมื่อเทียบกับผลการสำรวจเมื่อสองปีที่ผ่านมากลับลดลงถึงร้อยละ 7
กลุ่มสำรวจในประเทศไทยร้อยละ 44 กล่าวว่า ตลาดอาเซียนได้มีความสำคัญเพิ่มขึ้นในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา และร้อยละ 61 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในสองปีข้างหน้า ในด้านของการขยายธุรกิจ ร้อยละ 57 ของผู้บริหารจากกลุ่มสำรวจในประเทศไทยรายงานว่าบริษัทมีแผนที่จะขยายธุรกิจในประเทศไทย รวมทั้งครึ่งหนึ่งของกลุ่มสำรวจคาดว่าบริษัทจะมีอัตราแรงงานเพิ่มขึ้นในปี 2016
ทัศนคติเชิงบวกของนักลงทุนที่ลดลงทั่วภูมิภาคอาเซียนได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเช่นกัน จากการสำรวจติดตามความพึงพอใจของนักลงทุนสหรัฐฯ ที่มีต่อสภาพธุรกิจใน 16 หลักเกณฑ์ตั้งแต่ปี 2006 ถึง 2015 พบว่าห้าปีที่ผ่านมานักลงทุนมีความพึงพอใจต่อสภาพธุรกิจในประเทศไทยลดลง 14 ด้านจากตัววัดทั้งหมด 16 หลักเกณฑ์ ในบางกรณีลดลงกว่าร้อยละ 20 เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลกับความเชื่อมั่นของนักลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย, เวียดนาม และกัมพูชา พบว่านักลงทุนมีความเชื่อมั่นในประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากตัวอย่างเช่นระดับความพึงพอใจของนักลงทุนที่มีต่อผลตอบแทนจากการลงทุนที่ให้โดยรัฐบาลประเทศมาเลเซียเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 28 ในระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประเทศไทยกลับลดลงถึงร้อยละ 5
“ผลการสำรวจเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า เราไม่สามารถที่จะสร้างสมรรถภาพในการแข่งขันทางธุรกิจขึ้นมาครั้งเดียวและจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดไป การที่เราจะรักษาสมรรถภาพในการแข่งขันนั้นถือเป็นกระบวนการที่ต้องใช้พันธสัญญาที่หนักแน่นและการปรับปรุงแก้ไขตัวกฎหมายและกฎข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน หากประเทศไทยต้องการที่จะรักษาระดับความน่าสนใจในการลงทุน ประเทศไทยจะต้องก้าวไปพร้อมๆ กับประเทศเพื่อนบ้านที่เปิดระบบเศรษฐกิจและดึงดูดนักลงทุนด้วยผลตอบแทนจากการลงทุนที่น่าสนใจ” Darren Buckley ประธานหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยกล่าว
จากข้อมูลการสำรวจในประชาคมอาเซียนยกเว้นบรูไนและสิงคโปร์ปีที่ผ่านมา บริษัทสหรัฐฯ ระบุถึงความกังวลและอุปสรรค์ที่มีต่อการเจริญเติบโตทางธุรกิจในภูมิภาคว่า ปัญหาการทุจริตเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในประชาคมอาเซียน บริษัทสหรัฐฯ ยังได้เน้นถึงกฎหมายและกฎข้อบังคับที่สร้างภาระให้แก่การลงทุน การขาดความโปร่งใส โครงสร้างพื้นฐานที่ขาดคุณภาพและความยากลำบากในการขนถ่ายสินค้าผ่านด่านศุลกากรในบางประเทศว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนขนาดใหญ่
ร้อยละ 77 ของนักลงทุนจากการสำรวจในปีนี้รายงานว่า ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศส่งผลกระทบ “อย่างยิ่ง” หรือ “ค่อนข้างมาก” ต่อการทำธุรกิจในภูมิภาค ในส่วนของประเทศไทยนักลงทุนส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานของศุลกากรว่าเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่เป็นอุปสรรค์ต่อการเจริญเติบโตทางธุรกิจมากที่สุด ซึ่งข้อมูลนี้สอดคล้องกับข้อมูลจากผลการสำรวจในปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ การสำรวจพบว่าร้อยละ 63 ของผู้บริหารจากกลุ่มสำรวจในประเทศไทยกล่าวว่า รัฐบาลไม่ค่อยหรือไม่เคยพิจารณาข้อเสนอแนะในด้านกฎหมายและกฎข้อบังคับใหม่จากภาคเอกชนเลย (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45 ในผลการสำรวจของปีที่ผ่านมา)
ผลสำรวจดังกล่าวพบว่า บริษัทสหรัฐฯ โดยรวมยังคงมีความเชื่อมั่นต่อโอกาสการลงทุนในประชาคมอาเซียน จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารอาวุโส 471 คนจากบริษัทสหรัฐฯ ในสิบประเทศประชาคมอาเซียนพบว่า ร้อยละ 72 มีระดับการซื้อขายลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา และร้อยละ 82 ของกลุ่มสำรวจคาดว่าระดับการลงทุนซื้อขายจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในห้าปีข้างหน้า
ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะมีความเชื่อมั่นจากนักลงทุนสูงแต่แนวโน้มของทัศนคติเชิงบวกกลับลดลง นักลงทุนกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53 ของกลุ่มสำรวจกล่าวว่าตลาดประชาคมอาเซียนได้กลายเป็นตลาดสำคัญด้านรายได้ทั่วโลกของบริษัทในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา ซึ่งลดลงประมาณร้อยละ 10 จากผลสำรวจสองปีที่แล้ว นอกจากนี้ สองในสาม หรือร้อยละ 66 ของกลุ่มสำรวจในปีนี้คาดว่าอาเซียนจะมีบทบาทสำคัญต่อรายได้ทั่วโลกของบริษัทในสองปีข้างหน้า แม้ตัวเลขรายงานจะสูงแต่เมื่อเทียบกับผลการสำรวจเมื่อสองปีที่ผ่านมากลับลดลงถึงร้อยละ 7
กลุ่มสำรวจในประเทศไทยร้อยละ 44 กล่าวว่า ตลาดอาเซียนได้มีความสำคัญเพิ่มขึ้นในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา และร้อยละ 61 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในสองปีข้างหน้า ในด้านของการขยายธุรกิจ ร้อยละ 57 ของผู้บริหารจากกลุ่มสำรวจในประเทศไทยรายงานว่าบริษัทมีแผนที่จะขยายธุรกิจในประเทศไทย รวมทั้งครึ่งหนึ่งของกลุ่มสำรวจคาดว่าบริษัทจะมีอัตราแรงงานเพิ่มขึ้นในปี 2016
ทัศนคติเชิงบวกของนักลงทุนที่ลดลงทั่วภูมิภาคอาเซียนได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเช่นกัน จากการสำรวจติดตามความพึงพอใจของนักลงทุนสหรัฐฯ ที่มีต่อสภาพธุรกิจใน 16 หลักเกณฑ์ตั้งแต่ปี 2006 ถึง 2015 พบว่าห้าปีที่ผ่านมานักลงทุนมีความพึงพอใจต่อสภาพธุรกิจในประเทศไทยลดลง 14 ด้านจากตัววัดทั้งหมด 16 หลักเกณฑ์ ในบางกรณีลดลงกว่าร้อยละ 20 เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลกับความเชื่อมั่นของนักลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย, เวียดนาม และกัมพูชา พบว่านักลงทุนมีความเชื่อมั่นในประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากตัวอย่างเช่นระดับความพึงพอใจของนักลงทุนที่มีต่อผลตอบแทนจากการลงทุนที่ให้โดยรัฐบาลประเทศมาเลเซียเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 28 ในระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประเทศไทยกลับลดลงถึงร้อยละ 5
“ผลการสำรวจเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า เราไม่สามารถที่จะสร้างสมรรถภาพในการแข่งขันทางธุรกิจขึ้นมาครั้งเดียวและจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดไป การที่เราจะรักษาสมรรถภาพในการแข่งขันนั้นถือเป็นกระบวนการที่ต้องใช้พันธสัญญาที่หนักแน่นและการปรับปรุงแก้ไขตัวกฎหมายและกฎข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน หากประเทศไทยต้องการที่จะรักษาระดับความน่าสนใจในการลงทุน ประเทศไทยจะต้องก้าวไปพร้อมๆ กับประเทศเพื่อนบ้านที่เปิดระบบเศรษฐกิจและดึงดูดนักลงทุนด้วยผลตอบแทนจากการลงทุนที่น่าสนใจ” Darren Buckley ประธานหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยกล่าว
จากข้อมูลการสำรวจในประชาคมอาเซียนยกเว้นบรูไนและสิงคโปร์ปีที่ผ่านมา บริษัทสหรัฐฯ ระบุถึงความกังวลและอุปสรรค์ที่มีต่อการเจริญเติบโตทางธุรกิจในภูมิภาคว่า ปัญหาการทุจริตเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในประชาคมอาเซียน บริษัทสหรัฐฯ ยังได้เน้นถึงกฎหมายและกฎข้อบังคับที่สร้างภาระให้แก่การลงทุน การขาดความโปร่งใส โครงสร้างพื้นฐานที่ขาดคุณภาพและความยากลำบากในการขนถ่ายสินค้าผ่านด่านศุลกากรในบางประเทศว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนขนาดใหญ่
ร้อยละ 77 ของนักลงทุนจากการสำรวจในปีนี้รายงานว่า ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศส่งผลกระทบ “อย่างยิ่ง” หรือ “ค่อนข้างมาก” ต่อการทำธุรกิจในภูมิภาค ในส่วนของประเทศไทยนักลงทุนส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานของศุลกากรว่าเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่เป็นอุปสรรค์ต่อการเจริญเติบโตทางธุรกิจมากที่สุด ซึ่งข้อมูลนี้สอดคล้องกับข้อมูลจากผลการสำรวจในปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ การสำรวจพบว่าร้อยละ 63 ของผู้บริหารจากกลุ่มสำรวจในประเทศไทยกล่าวว่า รัฐบาลไม่ค่อยหรือไม่เคยพิจารณาข้อเสนอแนะในด้านกฎหมายและกฎข้อบังคับใหม่จากภาคเอกชนเลย (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45 ในผลการสำรวจของปีที่ผ่านมา)