กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ในประเทศไทย จัดงานเปิดอาคารสำนักงาน “ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์” บนถนนพระราม 9 บ้านหลังใหม่ในประเทศไทย ออฟฟิศล้ำสมัยรองรับการทำงานในอนาคต เพื่อเป็นฐานทัพสำคัญในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทยนับล้าน ด้วยมูลค่าการลงทุน 2,600 ล้านบาท โดยยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ ออกแบบตามแนวคิด “แผนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน” (Unilever Sustainable Living Plan) ที่เน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน โดยได้รับการรับรองจาก Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) ระดับ Gold สาขา Commercial Interior (CI) พร้อมพื้นที่ใช้งานที่ออกแบบเพื่อการทำงานที่คล่องตัว และสะดวกสบายมากขึ้น รองรับไลฟ์สไตล์การทำงานของคนรุ่นใหม่
>
> นางสุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ในประเทศไทย กล่าวว่า “การที่แผนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของยูนิลีเวอร์ ที่มุ่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจไปพร้อมๆ กับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมลงครึ่งหนึ่ง และเพิ่มผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมจะประสบความสำเร็จได้นั้น ยูนิลีเวอร์ตระหนักดีว่าควรต้องเริ่มต้นจากบ้านของเราก่อนเป็นลำดับแรก นี่จึงเป็นที่มาของการออกแบบและก่อสร้างยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ บ้านหลังที่ 5 ของยูนิลีเวอร์ในประเทศไทย บ้านหลังใหม่ที่สร้างขึ้นตามแนวคิดแผนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของยูนิลีเวอร์ที่มีต่อการลงทุนและการดำเนินธุรกิจระยะยาวในประเทศไทย โดยยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ มีแนวคิดการออกแบบที่โดดเด่น 3 ประการ คือ
>
> Sustainability หรือความยั่งยืน ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ ได้รับการรับรองจาก Leadership in Energy and Environmental Design หรือ LEED Certification ของสภาอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา โดยคว้ารางวัลระดับ Gold สาขา Commercial Interior (CI) โดยมีจุดเด่นคือ เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ 20% ของตัวอาคารใช้วัสดุรีไซเคิลในการผลิต และใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในปริมาณต่ำ เช่นกระจก เราใช้กระจกที่หลอมและนำมาใช้ใหม่ ซึ่งหลังคาและกระจกรอบอาคารมีประสิทธิภาพสูงในการสะท้อนแสงและกันความร้อนภายนอกอาคารเพื่อลดการใช้เครื่องปรับอากาศในอาคาร นอกจากนี้ยังนำน้ำฝนและน้ำที่ใช้แล้วกลับมาบำบัดและใช้ใหม่ในระบบแอร์และรดน้ำต้นไม้รอบอาคาร รวมถึงห้องน้ำทุกแห่งใช้อุปกรณ์และสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ ส่วนถังขยะรีไซเคิลสำหรับกระดาษ พลาสติก และโลหะ ถูกจัดเตรียมไว้ในพื้นที่ที่สะดวกภายในสำนักงาน เพื่อกระตุ้นให้พนักงานทุกคนสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ที่หล่อหลอมจากการกระทำเล็กๆ
>
> Agile Working หรือการทำงานแบบคล่องตัว ความทันสมัยของยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานทุกคนในการสร้างสรรค์ทุกวันที่ดีกว่าให้แก่ผู้บริโภค โดยพื้นที่ใช้งานภายในอาคาร และสิ่งอำนวยความสะดวกออกแบบให้เอื้อต่อการทำงานแบบคล่องตัว หรือ Agile Working ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ เพราะการสร้างและพัฒนาตลาดในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์ผสานกับนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างยั่งยืน คือ หัวใจสำคัญที่ทำให้ยูนิลีเวอร์ยืนหยัดอยู่คู่สังคมและผู้บริโภคไทยมา 83 ปี และเพื่อต่อยอดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อทุกวันที่ดีกว่าเดิม บรรยากาศในการทำงานมีส่วนสำคัญอย่างมาก ยูนิลีเวอร์จึงออกแบบพื้นที่การทำงานภายในอาคาร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เอื้อต่อการทำงานแบบคล่องตัว ไร้ขีดจำกัด อาทิ พื้นที่สำหรับการประชุมภายในสำนักงานทั้งการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ หรือการประชุมขนาดใหญ่ พร้อมด้วยพื้นที่สำหรับการเติมพลังด้วยมุมกาแฟ และมุมพักผ่อนที่กระจายอยู่ในทุกชั้นของพื้นที่ทำงาน ทั้งหมดเพื่อให้ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ เป็นสถานที่ทำงานที่ดีเยี่ยม เหมาะสำหรับบุคลากรที่ยอดเยี่ยม
>
> Connectivity in the Building หรือการเชื่อมต่อ แม้ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ เป็นอาคารสำนักงานทันสมัย 12 ชั้น และมีพื้นที่อาคารรวม 48,000 ตารางเมตร แต่ภายในอาคารแห่งนี้เชื่อมต่อกันได้อย่างไม่สะดุด ในแต่ละชั้นของอาคารจะมีบันไดเชื่อมต่อตลอดและตั้งอยู่ในจุดที่สะดวกต่อการเดิน เพื่อให้พนักงานใช้บันไดเชื่อมแต่ละชั้นแทนการใช้ลิฟต์ ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงาน ลดการใช้ไฟฟ้าภายในอาคาร รวมถึงเทคโนโลยีแบบคล่องตัวด้วยระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายที่ครอบคลุมทุกพื้นที่การทำงาน
>
> ขณะเดียวกัน ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ ยังมีรูปทรงอาคารที่สวย โดดเด่น สะดุดตา เพราะได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบมาจากผลิตภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์ นั่นคือ บรรจุภัณฑ์ของ ผลิตภัณฑ์ลักส์ ผลิตภัณฑ์ปรนนิบัติและทำความสะอาดผิวยอดนิยมอันดับหนึ่งทั่วโลก โดยสะท้อนลักษณะที่เป็นอัตลักษณ์ของแบรนด์ที่สร้างพลังและความมีชีวิตชีวาให้แก่สำนักงานได้เป็นอย่างดี
>
> “ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ เอื้ออำนวยให้พนักงานทุกคนทำงานอย่างมีความสุข และทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยการทำงานที่คล่องตัวจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจในประเทศไทย และช่วยให้เราพร้อมสร้างสรรค์ทุกวันที่ดีกว่า ในการปรับปรุงความเป็นอยู่ของผู้บริโภคนับล้าน เพื่อให้ผู้บริโภคชาวไทยได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพต่อไป” นางสุพัตรากล่าวปิดท้าย
>
> นางสุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ในประเทศไทย กล่าวว่า “การที่แผนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของยูนิลีเวอร์ ที่มุ่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจไปพร้อมๆ กับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมลงครึ่งหนึ่ง และเพิ่มผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมจะประสบความสำเร็จได้นั้น ยูนิลีเวอร์ตระหนักดีว่าควรต้องเริ่มต้นจากบ้านของเราก่อนเป็นลำดับแรก นี่จึงเป็นที่มาของการออกแบบและก่อสร้างยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ บ้านหลังที่ 5 ของยูนิลีเวอร์ในประเทศไทย บ้านหลังใหม่ที่สร้างขึ้นตามแนวคิดแผนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของยูนิลีเวอร์ที่มีต่อการลงทุนและการดำเนินธุรกิจระยะยาวในประเทศไทย โดยยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ มีแนวคิดการออกแบบที่โดดเด่น 3 ประการ คือ
>
> Sustainability หรือความยั่งยืน ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ ได้รับการรับรองจาก Leadership in Energy and Environmental Design หรือ LEED Certification ของสภาอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา โดยคว้ารางวัลระดับ Gold สาขา Commercial Interior (CI) โดยมีจุดเด่นคือ เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ 20% ของตัวอาคารใช้วัสดุรีไซเคิลในการผลิต และใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในปริมาณต่ำ เช่นกระจก เราใช้กระจกที่หลอมและนำมาใช้ใหม่ ซึ่งหลังคาและกระจกรอบอาคารมีประสิทธิภาพสูงในการสะท้อนแสงและกันความร้อนภายนอกอาคารเพื่อลดการใช้เครื่องปรับอากาศในอาคาร นอกจากนี้ยังนำน้ำฝนและน้ำที่ใช้แล้วกลับมาบำบัดและใช้ใหม่ในระบบแอร์และรดน้ำต้นไม้รอบอาคาร รวมถึงห้องน้ำทุกแห่งใช้อุปกรณ์และสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ ส่วนถังขยะรีไซเคิลสำหรับกระดาษ พลาสติก และโลหะ ถูกจัดเตรียมไว้ในพื้นที่ที่สะดวกภายในสำนักงาน เพื่อกระตุ้นให้พนักงานทุกคนสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ที่หล่อหลอมจากการกระทำเล็กๆ
>
> Agile Working หรือการทำงานแบบคล่องตัว ความทันสมัยของยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานทุกคนในการสร้างสรรค์ทุกวันที่ดีกว่าให้แก่ผู้บริโภค โดยพื้นที่ใช้งานภายในอาคาร และสิ่งอำนวยความสะดวกออกแบบให้เอื้อต่อการทำงานแบบคล่องตัว หรือ Agile Working ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ เพราะการสร้างและพัฒนาตลาดในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์ผสานกับนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างยั่งยืน คือ หัวใจสำคัญที่ทำให้ยูนิลีเวอร์ยืนหยัดอยู่คู่สังคมและผู้บริโภคไทยมา 83 ปี และเพื่อต่อยอดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อทุกวันที่ดีกว่าเดิม บรรยากาศในการทำงานมีส่วนสำคัญอย่างมาก ยูนิลีเวอร์จึงออกแบบพื้นที่การทำงานภายในอาคาร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และลงทุนกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เอื้อต่อการทำงานแบบคล่องตัว ไร้ขีดจำกัด อาทิ พื้นที่สำหรับการประชุมภายในสำนักงานทั้งการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ หรือการประชุมขนาดใหญ่ พร้อมด้วยพื้นที่สำหรับการเติมพลังด้วยมุมกาแฟ และมุมพักผ่อนที่กระจายอยู่ในทุกชั้นของพื้นที่ทำงาน ทั้งหมดเพื่อให้ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ เป็นสถานที่ทำงานที่ดีเยี่ยม เหมาะสำหรับบุคลากรที่ยอดเยี่ยม
>
> Connectivity in the Building หรือการเชื่อมต่อ แม้ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ เป็นอาคารสำนักงานทันสมัย 12 ชั้น และมีพื้นที่อาคารรวม 48,000 ตารางเมตร แต่ภายในอาคารแห่งนี้เชื่อมต่อกันได้อย่างไม่สะดุด ในแต่ละชั้นของอาคารจะมีบันไดเชื่อมต่อตลอดและตั้งอยู่ในจุดที่สะดวกต่อการเดิน เพื่อให้พนักงานใช้บันไดเชื่อมแต่ละชั้นแทนการใช้ลิฟต์ ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงาน ลดการใช้ไฟฟ้าภายในอาคาร รวมถึงเทคโนโลยีแบบคล่องตัวด้วยระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายที่ครอบคลุมทุกพื้นที่การทำงาน
>
> ขณะเดียวกัน ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ ยังมีรูปทรงอาคารที่สวย โดดเด่น สะดุดตา เพราะได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบมาจากผลิตภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์ นั่นคือ บรรจุภัณฑ์ของ ผลิตภัณฑ์ลักส์ ผลิตภัณฑ์ปรนนิบัติและทำความสะอาดผิวยอดนิยมอันดับหนึ่งทั่วโลก โดยสะท้อนลักษณะที่เป็นอัตลักษณ์ของแบรนด์ที่สร้างพลังและความมีชีวิตชีวาให้แก่สำนักงานได้เป็นอย่างดี
>
> “ยูนิลีเวอร์ เฮ้าส์ เอื้ออำนวยให้พนักงานทุกคนทำงานอย่างมีความสุข และทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยการทำงานที่คล่องตัวจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจในประเทศไทย และช่วยให้เราพร้อมสร้างสรรค์ทุกวันที่ดีกว่า ในการปรับปรุงความเป็นอยู่ของผู้บริโภคนับล้าน เพื่อให้ผู้บริโภคชาวไทยได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพต่อไป” นางสุพัตรากล่าวปิดท้าย