จัดรูปที่ดินกลางจับมือสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ ระบบชลประทาน ไปพร้อมๆ กับการจัดรูปที่ดิน เผยลดปัญหาเกษตรกรที่อยู่ติดคลองส่งน้ำไม่ยอมร่วมจัดรูปที่ดิน ระบุงานจัดรูปที่ดินจะผนวกอยู่ภายใต้โครงการ-งบประมาณก้อนเดียวกัน เพื่อขยายพื้นที่จัดรูปที่ดินให้บรรลุผลอย่างจริงจัง
นายเอกจิต ไตรภาควาสิน ผู้อำนวยการสำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง กรมชลประทาน เปิดเผยว่า สำนักงานจัดรูปที่ดินกลางเตรียมลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) กับสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ในการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่และระบบชลประทาน พร้อมๆ กับการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมภายใต้พื้นที่ชลประทานด้วยกัน
ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดรูปที่ดินสามารถขยายพื้นที่รองรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่จนประสบผลสำเร็จ ซึ่งต้องเร่งลงมือจัดรูปที่ดินในขณะที่เกษตรกรกำลังต้องการน้ำจากระบบชลประทานที่จะผ่านพื้นที่โครงการ และทำให้เห็นภาพการพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำอย่างชัดเจน จากต้นน้ำคือการพัฒนาแหล่งน้ำ กลางน้ำคือการพัฒนาระบบชลประทาน และปลายน้ำได้แก่การพัฒนาระบบแพร่กระจายน้ำด้วยคูส่งน้ำถึงระดับไร่นา
ตามเอ็มโอยูดังกล่าว จะมีการวางแผนร่วมของ 2 หน่วยงานดังกล่าวเพื่อผนวกรวมงานอยู่ภายใต้โครงการเดียวกัน และของบประมาณร่วมเป็นแพกเกจเดียวกัน หากถูกตัดทอนงบประมาณในส่วนของการจัดรูปที่ดินก็เป็นหน้าที่ของสำนักงานจัดรูปที่ดินกลางเป็นผู้ดำเนินการของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนจัดรูปที่ดิน
“จริงๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียว กรมชลประทานเคยจัดทำโครงการเงินกู้ธนาคารโลกในลักษณะแพกเกจเดียวกันที่โครงการสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เมื่อปี 2530 มีทั้งก่อสร้างคลองส่งน้ำและจัดรูปที่ดินไปด้วยกัน” นายเอกจิตกล่าว
ปัจจุบันพื้นที่จัดรูปที่ดินทั่วประเทศมีประมาณ 1.98 ล้านไร่
นายเอกจิต ไตรภาควาสิน ผู้อำนวยการสำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง กรมชลประทาน เปิดเผยว่า สำนักงานจัดรูปที่ดินกลางเตรียมลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) กับสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ในการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่และระบบชลประทาน พร้อมๆ กับการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมภายใต้พื้นที่ชลประทานด้วยกัน
ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดรูปที่ดินสามารถขยายพื้นที่รองรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่จนประสบผลสำเร็จ ซึ่งต้องเร่งลงมือจัดรูปที่ดินในขณะที่เกษตรกรกำลังต้องการน้ำจากระบบชลประทานที่จะผ่านพื้นที่โครงการ และทำให้เห็นภาพการพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำอย่างชัดเจน จากต้นน้ำคือการพัฒนาแหล่งน้ำ กลางน้ำคือการพัฒนาระบบชลประทาน และปลายน้ำได้แก่การพัฒนาระบบแพร่กระจายน้ำด้วยคูส่งน้ำถึงระดับไร่นา
ตามเอ็มโอยูดังกล่าว จะมีการวางแผนร่วมของ 2 หน่วยงานดังกล่าวเพื่อผนวกรวมงานอยู่ภายใต้โครงการเดียวกัน และของบประมาณร่วมเป็นแพกเกจเดียวกัน หากถูกตัดทอนงบประมาณในส่วนของการจัดรูปที่ดินก็เป็นหน้าที่ของสำนักงานจัดรูปที่ดินกลางเป็นผู้ดำเนินการของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนจัดรูปที่ดิน
“จริงๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียว กรมชลประทานเคยจัดทำโครงการเงินกู้ธนาคารโลกในลักษณะแพกเกจเดียวกันที่โครงการสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เมื่อปี 2530 มีทั้งก่อสร้างคลองส่งน้ำและจัดรูปที่ดินไปด้วยกัน” นายเอกจิตกล่าว
ปัจจุบันพื้นที่จัดรูปที่ดินทั่วประเทศมีประมาณ 1.98 ล้านไร่