บอร์ดบีโอไอเห็นชอบ “ร่างยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี” (2558-2564) มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป เน้นส่งเสริมฯ 7 กลุ่มอุตฯที่มีเทคโนโลยีสูงเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทย เลิกเขต 1-3 เน้นโซนคลัสเตอร์
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บอร์ดบีโอไอ ซึ่งมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบ “ร่างยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี” (พ.ศ. 2558 - 2564) โดยให้มีผลบังคับใช้สำหรับคำขอรับส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ทั้งนี้ จะมีการออกประกาศนโยบายและหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในเดือนกันยายนนี้ และในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม 2557 จะมีการเดินสายจัดสัมมนาชี้แจงทำความเข้าใจแก่นักลงทุน ทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค และในต่างประเทศ
สำหรับการส่งเสริมฯภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่ จะส่งเสริมที่มีเป้าหมายชัดเจนและมีการจัดลำดับความสำคัญมากขึ้น (Focus & Prioritized) และมีการทบทวนบัญชีประเภทกิจการที่เน้นอุตสาหกรรมที่จะช่วยนำไปสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ให้สามารถก้าวไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงขึ้น และเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ยกเลิกเขตพื้นที่ 1-3เดิมเป็นการส่งเสริมให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ในภูมิภาค (New Regional Clusters) และเพิ่มบทบาทให้บีโอไอส่งเสริมการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้เอกชนได้แสวงหาโอกาสจากการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
“การส่งเสริมการลงทุนยังคงเป็น 7 กลุ่มเช่นเดิม แต่จะเน้นประเภทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มีมูลค่าเพิ่มสูง มีการวิจัยและพัฒนาหรือการออกแบบ รวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร 2) อุตสาหกรรม แร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน 3) อุตสาหกรรมเบา 4) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง 5) อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 6) อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ และ7) อุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค”นายอุดมกล่าว
ที่ประชุมยังเห็นชอบมาตรการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ซึ่งเดิมจะสิ้นสุดภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2557 นี้ โดยให้ขยายเวลามาตรการส่งเสริมการลงทุนแก่เอสเอ็มอีออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการ ทั้งนี้ จะต้องยื่นขอรับส่งเสริมภายใต้มาตรการนี้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2560
ขณะเดียวกันยังเห็นชอบให้ขยายเวลาของมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ออกไปอีก 3 ปี โดยเป็นมาตรการที่ครอบคลุมทุกประเภทกิจการที่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริมการลงทุน และจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2560
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บอร์ดบีโอไอ ซึ่งมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบ “ร่างยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี” (พ.ศ. 2558 - 2564) โดยให้มีผลบังคับใช้สำหรับคำขอรับส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ทั้งนี้ จะมีการออกประกาศนโยบายและหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในเดือนกันยายนนี้ และในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม 2557 จะมีการเดินสายจัดสัมมนาชี้แจงทำความเข้าใจแก่นักลงทุน ทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค และในต่างประเทศ
สำหรับการส่งเสริมฯภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่ จะส่งเสริมที่มีเป้าหมายชัดเจนและมีการจัดลำดับความสำคัญมากขึ้น (Focus & Prioritized) และมีการทบทวนบัญชีประเภทกิจการที่เน้นอุตสาหกรรมที่จะช่วยนำไปสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ให้สามารถก้าวไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงขึ้น และเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ยกเลิกเขตพื้นที่ 1-3เดิมเป็นการส่งเสริมให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ในภูมิภาค (New Regional Clusters) และเพิ่มบทบาทให้บีโอไอส่งเสริมการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้เอกชนได้แสวงหาโอกาสจากการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
“การส่งเสริมการลงทุนยังคงเป็น 7 กลุ่มเช่นเดิม แต่จะเน้นประเภทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มีมูลค่าเพิ่มสูง มีการวิจัยและพัฒนาหรือการออกแบบ รวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร 2) อุตสาหกรรม แร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน 3) อุตสาหกรรมเบา 4) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง 5) อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 6) อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ และ7) อุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค”นายอุดมกล่าว
ที่ประชุมยังเห็นชอบมาตรการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ซึ่งเดิมจะสิ้นสุดภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2557 นี้ โดยให้ขยายเวลามาตรการส่งเสริมการลงทุนแก่เอสเอ็มอีออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการ ทั้งนี้ จะต้องยื่นขอรับส่งเสริมภายใต้มาตรการนี้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2560
ขณะเดียวกันยังเห็นชอบให้ขยายเวลาของมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ออกไปอีก 3 ปี โดยเป็นมาตรการที่ครอบคลุมทุกประเภทกิจการที่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริมการลงทุน และจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2560