ASTVผู้จัดการรายวัน - “บ้านปู” สรุปผลศึกษาการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่มองโกเลีย ชี้มีความต้องการใช้ไฟฟ้าและความร้อนมาก แต่รัฐต้องปรับโครงสร้างราคาค่าไฟใหม่เพื่อเอื้อให้เกิดการลงทุน และหากรัฐมองโกเลียไฟเขียวตั้งโรงไฟฟ้าขายลูกค้าโดยตรงได้ก็สนใจลงทุน ส่วนโรงงานนำร่องแปลงถ่านหินเป็นเคมีนั้นอยู่ระหว่างทดลองตลาด คาดจ่อขยายผลิตเชิงพาณิชย์ในปีหน้า
นายวรวุฒิ ลีลานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในประเทศมองโกเลียว่า ตามที่บริษัทฯ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับหน่วยงานรัฐบาลมองโกเลีย โดยจะศึกษาโอกาสการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Heat and Power Plant - CHP หรือโรงไฟฟ้า Co-gen) ในปีที่แล้ว ขณะนี้ผลการศึกษาใกล้จะแล้วเสร็จและเตรียมเสนอต่อกระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรมของมองโกเลียในกลางปีนี้ ซึ่งเบื้องต้นพบว่ามองโกเลียยังมีความต้องการใช้ไฟฟ้าและไอน้ำมาก แต่เนื่องจากโครงสร้างราคาค่าไฟที่ต่ำเกินไปทำให้ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดโรงไฟฟ้าใหม่ได้
ดังนั้น รัฐบาลมองโกเลียจำเป็นต้องปรับโครงสร้างราคาค่าไฟฟ้าและค่าความร้อน (Heat) ใหม่เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนโรงไฟฟ้าใหม่ หากภาคเอกชนสามารถสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อขายให้ลูกค้าที่ต้องการใช้ไฟโดยตรงที่มีกำลังซื้อพอที่จะจ่ายค่าไฟในอัตราที่สูงกว่า บ้านปูก็สนใจที่จะลงทุนโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่มองโกเลีย ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลมองโกเลียมีการอุดหนุนราคาค่าไฟฟ้าให้ต่ำให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ต่ำ
ส่วนการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการแปลงถ่านหินเป็นเคมี (Coal Chemical) ในมองโกเลียนั้น บริษัทฯ ได้สร้างโรงงานนำร่อง Coal Chemical นำถ่านหินมาผลิตเป็นทาร์เพื่อทดลองตลาดในปีนี้ โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 1-2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 30-60 ล้านบาท ซึ่งหลังจากทำตลาดระยะหนึ่งหากพบว่ามีศักยภาพที่ดีก็พร้อมที่จะลงทุนเป็นโครงการขนาดใหญ่เพื่อผลิตเชิงพาณิชย์ในปีหน้า
ก่อนหน้านี้บ้านปูได้เข้าไปถือหุ้นในบริษัท Hunnu Coal ซึ่งมีแหล่งถ่านหินประเภทให้ความร้อน (Thermal Coal) และถ่านหินคุณภาพสูงสำหรับอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก (Coking Coal) อยู่ 15 แหล่ง โดยโครงการซานต์ อูล คาดว่ามีปริมาณถ่านหินสำรอง 50-60 ล้านตัน ซึ่งบ้านปูอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกระบวนการผลิตของโรงงานดังกล่าวจะอุ่นถ่านหินทำให้เกิดก๊าซฯ มีเทนเพื่อขายไปยังโรงไฟฟ้า ขณะเดียวกันก็จะมีทาร์ออยล์ขายให้โรงงานผลิตเป็นน้ำมันดีเซลต่อไป ส่วนถ่านหินที่ผ่านกระบวนการผลิตแล้วยังสามารถขายได้อีกแต่ราคาต่ำลง
นายวรวุฒิกล่าวต่อไปว่า บริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นได้ในการขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าที่ลั่วหนาน ซึ่งมีศักยภาพที่จะขยายกำลังการผลิตได้แต่คงไม่ใช่การลงทุนในปีนี้ ส่วนที่เมืองโจวผิง ขณะนี้อยู่ระหว่างการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มอีก 10-20 เมกะวัตต์ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าว
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสนใจที่จะลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในจีน โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนสร้างเสร็จเร็ว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคืนทุนได้เร็ว แต่มีข้อเสียคือ มีขนาดเล็ก
ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ญี่ปุ่น บ้านปูก็มีความสนใจเช่นกัน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับพาร์ตเนอร์ญี่ปุ่นอยู่ โดยเขาเสนอให้บ้านปูเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้
“เราใช้เวลาทั้งปีในการเข้าไปดูโรงไฟฟ้า โดยปีนี้จะเน้นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ฟิลิปปินส์ จีน และออสเตรเลีย ส่วนญี่ปุ่นจะเป็นโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ โดยจะดูรายละเอียดแต่ละโครงการ โดยยังบอกไม่ได้ว่าปีนี้จะลงทุนโรงไฟฟ้าเพิ่มได้กี่เมกะวัตต์”
นายวรวุฒิ ลีลานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในประเทศมองโกเลียว่า ตามที่บริษัทฯ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับหน่วยงานรัฐบาลมองโกเลีย โดยจะศึกษาโอกาสการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Heat and Power Plant - CHP หรือโรงไฟฟ้า Co-gen) ในปีที่แล้ว ขณะนี้ผลการศึกษาใกล้จะแล้วเสร็จและเตรียมเสนอต่อกระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรมของมองโกเลียในกลางปีนี้ ซึ่งเบื้องต้นพบว่ามองโกเลียยังมีความต้องการใช้ไฟฟ้าและไอน้ำมาก แต่เนื่องจากโครงสร้างราคาค่าไฟที่ต่ำเกินไปทำให้ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดโรงไฟฟ้าใหม่ได้
ดังนั้น รัฐบาลมองโกเลียจำเป็นต้องปรับโครงสร้างราคาค่าไฟฟ้าและค่าความร้อน (Heat) ใหม่เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนโรงไฟฟ้าใหม่ หากภาคเอกชนสามารถสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อขายให้ลูกค้าที่ต้องการใช้ไฟโดยตรงที่มีกำลังซื้อพอที่จะจ่ายค่าไฟในอัตราที่สูงกว่า บ้านปูก็สนใจที่จะลงทุนโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่มองโกเลีย ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลมองโกเลียมีการอุดหนุนราคาค่าไฟฟ้าให้ต่ำให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ต่ำ
ส่วนการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการแปลงถ่านหินเป็นเคมี (Coal Chemical) ในมองโกเลียนั้น บริษัทฯ ได้สร้างโรงงานนำร่อง Coal Chemical นำถ่านหินมาผลิตเป็นทาร์เพื่อทดลองตลาดในปีนี้ โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 1-2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 30-60 ล้านบาท ซึ่งหลังจากทำตลาดระยะหนึ่งหากพบว่ามีศักยภาพที่ดีก็พร้อมที่จะลงทุนเป็นโครงการขนาดใหญ่เพื่อผลิตเชิงพาณิชย์ในปีหน้า
ก่อนหน้านี้บ้านปูได้เข้าไปถือหุ้นในบริษัท Hunnu Coal ซึ่งมีแหล่งถ่านหินประเภทให้ความร้อน (Thermal Coal) และถ่านหินคุณภาพสูงสำหรับอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก (Coking Coal) อยู่ 15 แหล่ง โดยโครงการซานต์ อูล คาดว่ามีปริมาณถ่านหินสำรอง 50-60 ล้านตัน ซึ่งบ้านปูอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกระบวนการผลิตของโรงงานดังกล่าวจะอุ่นถ่านหินทำให้เกิดก๊าซฯ มีเทนเพื่อขายไปยังโรงไฟฟ้า ขณะเดียวกันก็จะมีทาร์ออยล์ขายให้โรงงานผลิตเป็นน้ำมันดีเซลต่อไป ส่วนถ่านหินที่ผ่านกระบวนการผลิตแล้วยังสามารถขายได้อีกแต่ราคาต่ำลง
นายวรวุฒิกล่าวต่อไปว่า บริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นได้ในการขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าที่ลั่วหนาน ซึ่งมีศักยภาพที่จะขยายกำลังการผลิตได้แต่คงไม่ใช่การลงทุนในปีนี้ ส่วนที่เมืองโจวผิง ขณะนี้อยู่ระหว่างการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มอีก 10-20 เมกะวัตต์ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าว
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสนใจที่จะลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในจีน โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนสร้างเสร็จเร็ว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคืนทุนได้เร็ว แต่มีข้อเสียคือ มีขนาดเล็ก
ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ญี่ปุ่น บ้านปูก็มีความสนใจเช่นกัน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับพาร์ตเนอร์ญี่ปุ่นอยู่ โดยเขาเสนอให้บ้านปูเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้
“เราใช้เวลาทั้งปีในการเข้าไปดูโรงไฟฟ้า โดยปีนี้จะเน้นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ฟิลิปปินส์ จีน และออสเตรเลีย ส่วนญี่ปุ่นจะเป็นโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ โดยจะดูรายละเอียดแต่ละโครงการ โดยยังบอกไม่ได้ว่าปีนี้จะลงทุนโรงไฟฟ้าเพิ่มได้กี่เมกะวัตต์”