จากรายงานการสำรวจ Towers Watson Staying@Work Survey ประจำปี 2013/2014 [LINK] ซึ่งจัดทำโดย ทาวเวอร์ส วัทสัน (Towers Watson) (NYSE, NASDAQ: TW) บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลธุรกิจระดับมืออาชีพที่มีเครือข่ายการดำเนินงานทั่วโลก ระบุว่า หลายบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการดูแลสุขภาพของพนักงานและการจัดการทรัพยากรบุคคล มีแนวโน้มที่จะนำแนวทางแบบองค์รวมและรอบด้านมาใช้กับการดูแลสุขภาพและผลิตภาพ (Health and Productivity, H&P) มากขึ้น โดยแนวทางดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่การให้ความสำคัญต่อข้อมูล ความมุ่งมั่น และการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง ตลอดจนเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่บูรณาการกันอย่างมีประสิทธิผล
“องค์กรชั้นนำที่มีประสิทธิผลในการดำเนินงานสูงต่างเร่งวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมด้านสุขภาพของพนักงานและความเสี่ยงต่างๆ” ดร.ราเจชรี พาเร็ค ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ฝ่าย Global Health and Group Benefits ของทาวเวอร์ส วัทสันกล่าว “แนวทางนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้แน่ใจว่าผลประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างสอดคล้องกัน และยังสะท้อนว่านายจ้างมีมุมมองสร้างความสำเร็จในระยะยาว นับเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ความเครียดกลายประเด็นความเสี่ยงอันดับหนึ่งของแรงงานในเอเชีย เมื่อก่อนที่มาของสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดถือเป็นเรื่องยากสำหรับนายจ้างที่จะจัดการ และงานวิจัยของเราชี้ให้เห็นว่านายจ้างกำลังพยายามรับมือกับมัน”
“บ่อยครั้งปัจจัยภายนอกอาจเป็นบ่อเกิดของความเครียด ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง” คริส เม ผู้อำนวยการฝ่าย Benefits ทาวเวอร์ส วัทสันประเทศไทยกล่าว “ในประเทศไทย การประท้วงทางการเมืองที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องอาจก่อให้เกิดความวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัวในหมู่พนักงาน การสำรวจล่าสุดโดยกรมสุขภาพจิต พบว่า 2 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างเผชิญกับความเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อาศัยและทำงานอยู่ใกล้พื้นที่ชุมนุมประท้วง สถานการณ์เช่นนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่ความวิตกกังวลและความก้าวร้าวไปจนถึงอาการนอนไม่หลับและความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ แม้ว่ามีการประท้วงและปิดถนนสายหลักอยู่ ธุรกิจต่างๆ ยังต้องดำเนินต่อไปในขณะที่ภาระงานสำหรับพนักงานยังคงอยู่ สถานการณ์เหล่านี้อาจทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้นและขัดขวางการดำเนินงานของพนักงาน จึงมีความจำเป็นที่นายจ้างต้องมีโครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อช่วยให้พนักงานของพวกเขาผ่านพ้นความท้าทายเหล่านี้ไปได้”
ความเครียดถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งในการดำเนินชีวิต แซงหน้าการขาดการออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยและโรคอ้วน จากข้อมูลของนายจ้างในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นจีน ซึ่งความเครียดมาเป็นอันดับที่สอง อย่างไรก็ตาม เมื่อถูกถามเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญว่าคิดถึงอะไรเป็นเรื่องแรกเมื่อจัดทำโครงการ H&P เพียง 1 ใน 3 (33%) อ้างถึงการพัฒนาสุขภาพทางอารมณ์/สุขภาพจิต ของพนักงาน ในเรื่องนี้พวกเขาแซงหน้าบางบริษัทในตลาดที่พัฒนาแล้ว ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีเพียง 15% ที่กล่าวถึงเรื่องนี้
นอกจากนี้ มีเพียงประมาณ 1 ใน 4 (26%) ของนายจ้างในเอเชียในปัจจุบันที่มีโครงการจัดการความเครียดหรือความสามารถในการฟื้นตัวหลังเผชิญวิกฤต
“แม้ความเครียดอาจช่วยกระตุ้นให้พนักงานบรรลุเป้าหมายที่ท้าทาย แต่มันก็อาจถาโถมใส่พวกเขาและบั่นทอนการทำงานได้เช่นกัน” ดร.พาเร็ค กล่าว
“ความเครียดมีความเชื่อมโยงอย่างแยกไม่ออกกับสุขภาพกาย สุขภาพทางอารมณ์ เป้าหมายส่วนบุคคลและชุมชน ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน แต่หากนายจ้างไม่ตระหนักว่าอะไรทำให้เกิดความเครียด พวกเขาเสี่ยงที่จะทุ่มเทเวลาและทรัพยากรไปกับการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกจุด และในขณะเดียวกันก็สร้างความแปลกแยกให้พนักงาน”
การดำเนินการกิจกรรม 3 อันดับแรกที่มีการดำเนินการโดยนายจ้างเพื่อจัดการกับความเครียดคือ กิจกรรมให้ความรู้และสร้างความตระหนัก (41% ของนายจ้างดำเนินการเรื่องนี้) เสนอทางเลือกในการทำงานที่ยืดหยุ่น (40%) และการแทรกแซงการจัดการกับความเครียด เช่น การฝึกอบรมโยคะและไทชิ (38%) อย่างไรก็ตาม นายจ้างจำนวนมากยังคงไม่ดำเนินการใดๆ ร้อยละ 14 ของนายจ้างในเอเชียแปซิฟิกระบุว่าพวกเขาไม่ได้ดำเนินการใดๆ ในกิจกรรมที่แนะนำไว้ในแบบสำรวจของเรา (ซึ่งรวมถึง 22% ของนายจ้างในประเทศจีน 16% ในสิงคโปร์ และ 10% ในอินเดีย) ส่วนนายจ้างในสหรัฐอเมริกา มีนายจ้างเพียง 5% จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันนี้
“นี่ไม่เพียงเป็นประเด็นปัญหาด้านการขาดการดำเนินการ แต่นายจ้างในเอเชียยังก้าวไม่พ้นการจัดการแบบ low-cost/no-cost หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เน้นต้นทุนต่ำและไม่อยากลงทุนนั่นเอง” ดร.พาเร็ค กล่าว
“กิจกรรม 3 อันดับแรกล้วนเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างต่ำ ทั้งในแง่ของเวลาและทรัพยากร นายจ้างอาจจะทำได้ดีเมื่อพิจารณาที่ตัวเลือกระยะยาว เช่น การส่งเสริมโครงการให้ความช่วยเหลือพนักงาน (Employee Assistance Program: EAP) ซึ่งต้องมีการวางแผนและทุ่มเททรัพยากรมากกว่า แต่อาจนำไปสู่ผลตอบแทนที่มากขึ้นในระยะยาว”
• การแก้ปัญหา : การสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม •
สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนายจ้างในการออกแบบโครงการ H&P คือ การสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ วัฒนธรรมในการทำงานที่ใส่ใจสุขภาพ หมายถึง การที่พนักงานมีความรับผิดชอบต่อสุขภาพของตัวเองและเข้าใจถึงความสำคัญของมัน อย่างไรก็ตาม เฉพาะบริษัทที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงทำตามขั้นตอนต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรมในทิศทางนี้ ด้วยวิธีการที่เปิดรับความเปลี่ยนแปลง รวมถึงมีฐานด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ และได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง
วิธีการเหล่านี้ให้ผลตอบแทน คือ:
• องค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงในเอเชียแปซิฟิกได้คะแนนการมีส่วนร่วมในโครงการสร้างเสริมพฤติกรรมการใช้ชีวิตมากกว่าองค์กรที่มีประสิทธิภาพต่ำ 20% และมีคะแนนการมีส่วนร่วมในโครงการให้ความช่วยเหลือพนักงาน (EAP) มากกว่ากลุ่มองค์กรที่มีประสิทธิภาพต่ำถึง 21%
• 66% ของพนักงานในองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงผ่านการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพครบถ้วน เมื่อเทียบกับ 61% ของพนักงานในองค์กรที่มีประสิทธิภาพต่ำ
• หลายบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีโครงการที่ให้ผลสัมฤทธิ์สูงมีอัตราพนักงานลาออกโดยสมัครใจต่ำกว่าถึง 2%
เกี่ยวกับการสำรวจ
Towers Watson Staying@Work Survey ประจำปี 2013/2014 ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ ระหว่างเดือนพฤษภาคมกับกรกฎาคม 2013 ในทวีปอเมริกาเหนือ ละตินอเมริกา ยุโรป และเอเชีย โดยทำการสำรวจนายจ้างรวม 892 คน สำหรับเอเชีย การสำรวจครั้งนี้มีผู้ตอบแบบสอบถาม 372 คนจากประเทศจีน อินเดีย ฮ่องกง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
เกี่ยวกับ ทาวเวอร์ส วัทสัน
ทาวเวอร์ส วัทสัน (NYSE, NASDAQ: TW) เป็นบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจชั้นนำระดับโลกที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานผ่านการจัดการบุคลากร การบริหารความเสี่ยง และการจัดการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ โดยบริษัทนำเสนอโซลูชันในส่วนของสิทธิประโยชน์สำหรับพนักงาน การจัดการทักษะความสามารถ ผลตอบแทน รวมถึงการจัดการความเสี่ยงและเงินทุน ด้วยบุคลากรร่วมงาน (associate) 14,000 คนทั่วโลก อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บได้ที่ towerswatson.com