แหล่งข่าวกล่าวว่า คณะกรรมการที่ปรึกษาที่จัดตั้งโดยสำนักงานบริการการเงินของญี่ปุ่น (FSA) จะพิจารณาเรื่องการปลดอำนาจของสมาคมธนาคารญี่ปุ่นในการกำกับดูแลอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร ณ ตลาดโตเกียว (Tibor) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับสกุลเงินเยน
ความเคลื่อนไหวในครั้งนี้จะส่งผลให้การกำกับดูแล Tibor มีความใกล้เคียงกับการกำกับดูแลอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร ณ ตลาดลอนดอน (Libor) มากยิ่งขึ้น โดยมีการปฏิรูป Libor ครั้งใหญ่ในช่วงก่อนหน้านี้ หลังจากมีการเปิดเผยว่า ธนาคารขนาดใหญ่บางแห่งปั่น Libor เพื่อทำกำไรจากการค้าหรือเพื่อนำเสนอต้นทุนการกู้ยืมที่ไม่ตรงกับความจริง
ผู้เกี่ยวข้องกับตลาดการเงินบางรายตั้งข้อสงสัยในช่วงก่อนหน้านี้ว่า มีการปั่น Tibor ด้วยหรือไม่ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระยะ 3 เดือนในตลาดโตเกียวและในตลาดลอนดอนปรับตัวแตกต่างจากกัน นับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา หลังจากที่ได้ปรับตัวสอดคล้องกันเป็นเวลานานถึง 10 ปี
อย่างไรก็ดี ผลการสอบสวนของสมาคมธนาคารญี่ปุ่นไม่พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า มีการปั่น Tibor
FSA ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกฎระเบียบทางการเงินในญี่ปุ่น ประกาศในสัปดาห์นี้ว่า FSA ได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยสมาชิก 12 คน เพื่อให้ศึกษา Tibor และตัวเลขทางการเงินอื่นๆ โดยคณะกรรมการชุดนี้มีนายคาสึฮิโตะ อิเคโอะ อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเคอิโอะดำรงตำแหน่งเป็นประธาน โดยคณะกรรมการชุดนี้จะจัดประชุมเป็นครั้งแรกในวันนี้ และตั้งเป้าจะดำเนินการตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายในเดือนมี.ค.2014
คณะกรรมการที่ปรึกษาชุดนี้จะศึกษาประเด็นที่ว่า จะมีการโอนย้ายความรับผิดชอบในการกำกับดูแล Tibor ออกจากสมาคมธนาคารญี่ปุ่น เพื่อโอนไปให้แก่ FSA หรือหน่วยงานอิสระแห่งอื่นๆหรือไม่ สมาคมธนาคารญี่ปุ่นระบุว่า ทางสมาคมมีความพึงพอใจต่อการตรวจสอบในครั้งนี้
ทั้งนี้ นายทาเกชิ คุนิเบะ ซีอีโอของสุมิโตโม่ มิตซุย แบงกิง คอร์ป ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมธนาคารญี่ปุ่นในปัจจุบัน สมาคมธนาคารญี่ปุ่นระบุว่า "เรามีความเข้าใจอย่างเต็มที่ว่า การพิจารณากรอบการทำงานด้านกฎระเบียบของ Tibor ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นสิ่งที่มีความหมายมาก เมื่อพิจารณาจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ"
สมาคมธนาคารญี่ปุ่นระบุว่า "เราคาดว่าจะมีการยื่นข้อเสนอสำหรับแผนการด้านกฎระเบียบ ซึ่งจะช่วยรับประกันความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของ Tibor ในระดับระหว่างประเทศ"
สมาคมธนาคารญี่ปุ่นได้ตรวจสอบ Tibor เองด้วยเช่นกัน โดยระบุว่าการตรวจสอบนี้มีสาเหตุมาจากข่าวอื้อฉาวเรื่อง Libor และจากความ จำเป็นในการส่งเสริมความน่าเชื่อถือของ Tibor
สมาคมธนาคารญี่ปุ่นระบุว่า "เราไม่เชื่อว่าการบริหารจัดการ Tibor มีปัญหาแต่อย่างใด"
สมาคมธนาคารญี่ปุ่นเคยระบุในเดือนก.ค.ว่า ทางสมาคมจะพิจารณา เรื่องการจัดตั้งองค์การแห่งใหม่ภายในสมาคมนี้เพื่อบริหารจัดการ Tibor ร่วมกับคณะกรรมการอิสระแห่งหนึ่งและผู้ตรวจสอบบัญชีจากภายนอก เพื่อตรวจสอบการกำกับดูแลกลไกในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย
วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีที่ไม่เข้มงวดมากเท่ากับการปฏิรูป Libor ขณะที่กฎหมายอังกฤษในปี 2012 ได้มอบอำนาจให้แก่ผู้ควบคุมกฎระเบียบอังกฤษในการกำกับดูแล Libor โดยตรง และกำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้ที่พยายามจะปั่นตลาด Libor
นายฮิเดโอะ ทากาตะ อดีตเทรดเดอร์ตลาดเงินเยนของบริษัทดอยช์ ซีเคียวริตีส์ กล่าวว่า "ญี่ปุ่นดำเนินการอย่างเชื่องช้าในการเสริมความแข็งแกร่งให้แก่การกำกับดูแลทางกฎระเบียบ"
นายทากาตะออกจากธุรกิจการเงินในเดือนมี.ค. 2008 และเขาได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งในเดือนก.พ.ปีนี้ โดยเขาระบุ ในหนังสือเล่มนั้นว่า Tibor เสี่ยงต่อการถูกบิดเบือนให้ไม่ตรงกับความเป็นจริงมาเป็นเวลานานหลายปี โดยเฉพาะเสี่ยงต่อการถูกปั่นอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารขนาดใหญ่ในญี่ปุ่น
ภายใต้กระบวนการในปัจจุบันนี้ คณะกรรมการที่ประกอบด้วยธนาคาร 15 แห่งเป็นผู้กำหนด Tibor สำหรับสกุลเงินเยน โดยธนาคาร 15 แห่งนี้จะแจ้งอัตราดอกเบี้ยต่อสมาคมธนาคารญี่ปุ่นในเวลา 11.00 น.ของทุกวันทำการ และหลังจากนั้นสมาคมธนาคารญี่ปุ่นก็จะตัดอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 2 อัตรา และ ต่ำสุด 2 อัตราออกจากการคำนวณ และนำอัตราดอกเบี้ยที่เหลือมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย เพื่อจะได้จัดทำอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับวันนั้น
ธนาคาร 15 แห่งนี้มีหน้าที่แจ้งอัตราดอกเบี้ยที่ทางธนาคารประเมินว่า เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการกู้ยืมระหว่างธนาคารชั้นนำ แต่ไม่ใช่แจ้งต้นทุนการกู้ยืมของตนเอง สมาคมธนาคารญี่ปุ่นเสนอในเดือนต.ค.ว่า ควรมีการปรับลดการจัดทำ Tibor สำหรับระยะเวลาต่างๆที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ลงครึ่งหนึ่ง เพื่อจะได้มุ่งความสนใจไปยังตลาดการกู้ยืมสกุลเงินเยน ที่มีสภาพคล่องสูง โดยตลาดดังกล่าวครอบคลุมอัตราดอกเบี้ย Tibor สำหรับระยะเวลา 1 สัปดาห์จนถึง 3 เดือน และสำหรับระยะเวลา 1 ปี
ทั้งนี้ FSA มีอำนาจในการกำกับดูแลเครือข่ายการชำระบัญชีระหว่างธนาคาร และกำกับดูแลระบบการคลี่คลายข้อพิพาทระหว่างสถาบันการเงินในญี่ปุ่น
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group
ความเคลื่อนไหวในครั้งนี้จะส่งผลให้การกำกับดูแล Tibor มีความใกล้เคียงกับการกำกับดูแลอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร ณ ตลาดลอนดอน (Libor) มากยิ่งขึ้น โดยมีการปฏิรูป Libor ครั้งใหญ่ในช่วงก่อนหน้านี้ หลังจากมีการเปิดเผยว่า ธนาคารขนาดใหญ่บางแห่งปั่น Libor เพื่อทำกำไรจากการค้าหรือเพื่อนำเสนอต้นทุนการกู้ยืมที่ไม่ตรงกับความจริง
ผู้เกี่ยวข้องกับตลาดการเงินบางรายตั้งข้อสงสัยในช่วงก่อนหน้านี้ว่า มีการปั่น Tibor ด้วยหรือไม่ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระยะ 3 เดือนในตลาดโตเกียวและในตลาดลอนดอนปรับตัวแตกต่างจากกัน นับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา หลังจากที่ได้ปรับตัวสอดคล้องกันเป็นเวลานานถึง 10 ปี
อย่างไรก็ดี ผลการสอบสวนของสมาคมธนาคารญี่ปุ่นไม่พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า มีการปั่น Tibor
FSA ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกฎระเบียบทางการเงินในญี่ปุ่น ประกาศในสัปดาห์นี้ว่า FSA ได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยสมาชิก 12 คน เพื่อให้ศึกษา Tibor และตัวเลขทางการเงินอื่นๆ โดยคณะกรรมการชุดนี้มีนายคาสึฮิโตะ อิเคโอะ อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเคอิโอะดำรงตำแหน่งเป็นประธาน โดยคณะกรรมการชุดนี้จะจัดประชุมเป็นครั้งแรกในวันนี้ และตั้งเป้าจะดำเนินการตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายในเดือนมี.ค.2014
คณะกรรมการที่ปรึกษาชุดนี้จะศึกษาประเด็นที่ว่า จะมีการโอนย้ายความรับผิดชอบในการกำกับดูแล Tibor ออกจากสมาคมธนาคารญี่ปุ่น เพื่อโอนไปให้แก่ FSA หรือหน่วยงานอิสระแห่งอื่นๆหรือไม่ สมาคมธนาคารญี่ปุ่นระบุว่า ทางสมาคมมีความพึงพอใจต่อการตรวจสอบในครั้งนี้
ทั้งนี้ นายทาเกชิ คุนิเบะ ซีอีโอของสุมิโตโม่ มิตซุย แบงกิง คอร์ป ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมธนาคารญี่ปุ่นในปัจจุบัน สมาคมธนาคารญี่ปุ่นระบุว่า "เรามีความเข้าใจอย่างเต็มที่ว่า การพิจารณากรอบการทำงานด้านกฎระเบียบของ Tibor ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นสิ่งที่มีความหมายมาก เมื่อพิจารณาจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ"
สมาคมธนาคารญี่ปุ่นระบุว่า "เราคาดว่าจะมีการยื่นข้อเสนอสำหรับแผนการด้านกฎระเบียบ ซึ่งจะช่วยรับประกันความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของ Tibor ในระดับระหว่างประเทศ"
สมาคมธนาคารญี่ปุ่นได้ตรวจสอบ Tibor เองด้วยเช่นกัน โดยระบุว่าการตรวจสอบนี้มีสาเหตุมาจากข่าวอื้อฉาวเรื่อง Libor และจากความ จำเป็นในการส่งเสริมความน่าเชื่อถือของ Tibor
สมาคมธนาคารญี่ปุ่นระบุว่า "เราไม่เชื่อว่าการบริหารจัดการ Tibor มีปัญหาแต่อย่างใด"
สมาคมธนาคารญี่ปุ่นเคยระบุในเดือนก.ค.ว่า ทางสมาคมจะพิจารณา เรื่องการจัดตั้งองค์การแห่งใหม่ภายในสมาคมนี้เพื่อบริหารจัดการ Tibor ร่วมกับคณะกรรมการอิสระแห่งหนึ่งและผู้ตรวจสอบบัญชีจากภายนอก เพื่อตรวจสอบการกำกับดูแลกลไกในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย
วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีที่ไม่เข้มงวดมากเท่ากับการปฏิรูป Libor ขณะที่กฎหมายอังกฤษในปี 2012 ได้มอบอำนาจให้แก่ผู้ควบคุมกฎระเบียบอังกฤษในการกำกับดูแล Libor โดยตรง และกำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้ที่พยายามจะปั่นตลาด Libor
นายฮิเดโอะ ทากาตะ อดีตเทรดเดอร์ตลาดเงินเยนของบริษัทดอยช์ ซีเคียวริตีส์ กล่าวว่า "ญี่ปุ่นดำเนินการอย่างเชื่องช้าในการเสริมความแข็งแกร่งให้แก่การกำกับดูแลทางกฎระเบียบ"
นายทากาตะออกจากธุรกิจการเงินในเดือนมี.ค. 2008 และเขาได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งในเดือนก.พ.ปีนี้ โดยเขาระบุ ในหนังสือเล่มนั้นว่า Tibor เสี่ยงต่อการถูกบิดเบือนให้ไม่ตรงกับความเป็นจริงมาเป็นเวลานานหลายปี โดยเฉพาะเสี่ยงต่อการถูกปั่นอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารขนาดใหญ่ในญี่ปุ่น
ภายใต้กระบวนการในปัจจุบันนี้ คณะกรรมการที่ประกอบด้วยธนาคาร 15 แห่งเป็นผู้กำหนด Tibor สำหรับสกุลเงินเยน โดยธนาคาร 15 แห่งนี้จะแจ้งอัตราดอกเบี้ยต่อสมาคมธนาคารญี่ปุ่นในเวลา 11.00 น.ของทุกวันทำการ และหลังจากนั้นสมาคมธนาคารญี่ปุ่นก็จะตัดอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 2 อัตรา และ ต่ำสุด 2 อัตราออกจากการคำนวณ และนำอัตราดอกเบี้ยที่เหลือมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย เพื่อจะได้จัดทำอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับวันนั้น
ธนาคาร 15 แห่งนี้มีหน้าที่แจ้งอัตราดอกเบี้ยที่ทางธนาคารประเมินว่า เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการกู้ยืมระหว่างธนาคารชั้นนำ แต่ไม่ใช่แจ้งต้นทุนการกู้ยืมของตนเอง สมาคมธนาคารญี่ปุ่นเสนอในเดือนต.ค.ว่า ควรมีการปรับลดการจัดทำ Tibor สำหรับระยะเวลาต่างๆที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ลงครึ่งหนึ่ง เพื่อจะได้มุ่งความสนใจไปยังตลาดการกู้ยืมสกุลเงินเยน ที่มีสภาพคล่องสูง โดยตลาดดังกล่าวครอบคลุมอัตราดอกเบี้ย Tibor สำหรับระยะเวลา 1 สัปดาห์จนถึง 3 เดือน และสำหรับระยะเวลา 1 ปี
ทั้งนี้ FSA มีอำนาจในการกำกับดูแลเครือข่ายการชำระบัญชีระหว่างธนาคาร และกำกับดูแลระบบการคลี่คลายข้อพิพาทระหว่างสถาบันการเงินในญี่ปุ่น
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group