xs
xsm
sm
md
lg

Good Morning News 16/09/56

เผยแพร่:   โดย: MGR Online



  • สหรัฐและรัสเซียบรรลุกรอบข้อตกลงที่กำหนดให้ซีเรียมอบรายชื่ออาวุธเคมีที่มีอยู่ทั้งหมดอย่างละเอียดภายในหนึ่งสัปดาห์ หลังจากนั้นคณะผู้ตรวจสอบจะลงพื้นที่ภายในเดือน พ.ย. โดยจะทำลายอาวุธเคมีให้แล้วเสร็จในกลางหน้า หากซีเรียไม่ปฏิบัติตามจะต้องได้รับผลตามมาตรา 7 ของกฎบัติสหประชาชาติซึ่งครอบคลุมเรื่องมาตรการคว่ำบาตรและปฏิบัติการทางทหาร

  • อัตราเงินเฟ้อรายปีของสเปนเดือน ส.ค. ลดลงสู่ 1.5% โดยราคาน้ำมันที่ลดลงส่งผลให้ค่าขนส่งปรับตัวลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลคาดหวังให้อัตราเงินเฟ้อลดลงสู่ 1% เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันค้าขายในเวทีโลก

  • รมว.คลังยูโรโซนอนุมัติวงเงินช่วยเหลือ 1.5 พันล้านยูโรให้ไซปรัส เนื่องจากไซปรัสได้ดำเนินการอย่างเพียงพอที่จะได้รับเงินช่วยเหลือแต่แนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่แน่นอน ดังนั้นการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบจึงยังคงมีความจำเป็น

  • ยอดค้าปลีกเดือน ส.ค.ของสหรัฐขยายตัว 0.2% จากเดือนก่อน จากยอดขายยานยนต์  เฟอร์นิเจอร์ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 4 เดือน ซึ่งอาจส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ได้ เนื่องจากการบริโภคมีสัดส่วน 70% ของ GDP

  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐต้นเดือน ก.ย. ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนที่ 76.8 จาก 82.1 เมื่อปลายเดือน ส.ค.  เนื่องจากผู้คนเริ่มกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการจ้างงาน

  • ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐเดือนส.ค. ขยายตัว  0.3% จากเดือน ก.ค. จากราคาพลังงานที่สูงขึ้น ทั้งนี้ หากไม่รวมอาหารและพลังงานแล้ว PPI ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน จึงบ่งชี้ได้ว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐยังไม่สามารถขึ้นสู่ระดับเป้าหมายของ FED ที่ 2% ได้ในระยะอันใกล้นี้

  • นสพ. นิกเกอิ รายงานว่า บารัค โอบามา เตรียมเสนอชื่อ ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส อดีตรมว.คลังสหรัฐเป็นประธาน FED แทน เบน เบอร์นันเก้ ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนกลยุทธ์ของFED เนื่องจากซัมเมอร์สไม่นิยมนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเท่า เจเนท เยลเลน ซึ่งเป็นคู่แข่ง

  • ดัชนีภาคการผลิต (PMI) ของนิวซีแลนด์เดือน ส.ค. อยู่ที่ 57.5 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งเป็น 59.8 แต่ยังอยู่ในขอบเขตการขยายตัวจากอุปสงค์ภายในที่มีสัญญาณบวกโดยเฉพาะการก่อสร้าง

  • รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.ย. ของรัฐบาลญี่ปุ่น ระบุว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัวขึ้นในอัตราปานกลางและใกล้จะยุติภาวะเงินฝืดได้แล้ว เนื่องมาจากการลงทุนภาคธุรกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวโดยได้รับแรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทั้งนี้ ยังได้ยืนยันว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นแข็งแกร่งพอที่จะรับมือกับการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

  • ก. เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ปรับเพิ่มตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค.ขึ้นเป็น 3.4% เมื่อเทียบรายเดือนจากเดิมที่เป็น 3.2% เป็นผลจากการขยายตัวของการผลิตสิ่งทอรวมทั้งผลผลิตด้านอาหารและผลิตภัณฑ์ยาสูบ

  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอินเดียเดือน ก.ค.ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 เดือนที่ 2.6% เมื่อเทียบรายปี โดยมีการผลิตสินค้าทุนและพลังงานเพิ่มขึ้น อาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าอุปสงค์ภายในประเทศปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการลดลงของค่าเงินรูปีได้

  • สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจอินเดียปรับลดประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีงบประมาณนี้มาอยู่ที่ 5.3% จากเดิม 6.4% แม้ว่าสถานการณ์ภาคการผลิตจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังรัฐบาลจึงยังต้องควบคุมการขาดดุลงบประมาณและบัญชีเดินสะพัด

  • ธปท. รายงานว่า เงินทุนสำรองระหว่างประเทศประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 ก.ย. เพิ่มขึ้น 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาอยู่ที่ 1.689 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย ธปท.ได้ลดการเข้าแทรกแซงค่าเงินเนื่องจากความผันผวนในตลาดค่าเงินเริ่มผ่อนคลาย




  • SET Index ปิดที่ 1,401.08 จุด เพิ่มขึ้น 3.18 จุด หรือ +0.23% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 39,271 ล้านบาท โดยดัชนีหุ้นในช่วงเช้าแกว่งตัวผันผวนก่อนที่จะปรับตัวขึ้นในช่วงบ่ายด้วยแรงซื้อในหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในประเทศ จากการเตรียมนำร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเข้าพิจารณาในสภาผู้แทนฯ สำหรับปัจจัยที่ควรติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การเสนอชื่อประธาน FED คนใหม่ รวมถึงการประชุม FOMC ในวันที่ 17-18 ก.ย. ที่อาจส่งผลต่อกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย

  • สมาคม บล. กำหนดแนวทางควบคุมการซื้อขายหุ้นระยะสั้น (Day Trade) ของ บ.หลักทรัพย์ เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ โดยให้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. เป็นต้นไปโดยแต่ละ บล. ต้อง 1.) มีต้นทุนการซื้อขายที่ไม่เอาเปรียบลูกค้า 2.) ปรับลดวงเงินการซื้อขายระยะสั้นเป็นไม่เกิน 50% ของส่วนผู้ถือหุ้นจากเดิมที่เป็น 75%  และ 3.) กำหนดให้มีระบบตรวจสอบภายในเพื่อให้การซื้อขายอยู่ในลักษณะที่เหมาะสม




  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในช่วงระยะกลางถึงยาวปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ +0.01% ด้วยมูลค่าซื้อขายรวม 88,479 ล้านบาท โดยตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยได้ปรับตัวลดลงประมาณ -0.02% ถึง -0.04% จากการที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาซื้อพันธบัตรไทย สำหรับวันนี้ไม่มีการประมูลพันธบัตร


กำลังโหลดความคิดเห็น