ภาค "ธนาคารเงา" ซึ่งมีมูลค่า 60 ล้านล้านดอลลาร์จะมีเวลาจนถึงปี 2015 ในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ระดับโลกชุดแรกอย่างเต็มที่ หลังจาก คณะกรรมการด้านเสถียรภาพทางการเงิน (FSB) ซึ่งเป็นหน่วยงานเฉพาะกิจด้านกฎระเบียบระหว่างประเทศ เปิดเผยแผนการในการควบคุม ความเสี่ยงในภาคธนาคารดังกล่าว โดยไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางการฟื้นตัว ทางเศรษฐกิจ
ผู้นำกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 19 ประเทศ รวมทั้ง สหภาพยุโรป (จี-20) จะประชุมกันที่รัสเซียในสัปดาห์หน้าเพื่ออนุมัติกฎระเบียบที่ร่างโดย FSB โดยกฎดังกล่าวจะบรรจุเงื่อนไขสำหรับภาคธนาคารเงา และแนวทางการกำกับดูแลภาคธนาคารดังกล่าว
FSB จะรายงานความคืบหน้าให้จี-20 รับทราบในปีหน้า โดยจะมี การตรวจสอบเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปีหน้า
ภาคธนาคารเงาประกอบด้วยกิจการหลากหลายประเภทที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงิน และยังคงถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อระบบที่อาจสร้างความเสียหายต่อผู้เสียภาษี โดยวิกฤติการเงินในปี 2007-2009 ได้ แสดงให้เห็นถึงปัญหาในภาคธนาคารเงา และปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อเนื่องจนทำให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่งจำเป็นต้องขอรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล
การปฏิรูปในครั้งนี้รวมถึงการที่ผู้กำกับดูแลรวบรวมข้อมูลอย่างละเอียด ในส่วนต่างๆของภาคธนาคารเงา เพื่อจะได้ระบุถึงปัจจัยเสี่ยงในวงกว้าง
ผู้ควบคุมกฎระเบียบในแต่ละประเทศจำเป็นต้องมีเครื่องมือในการควบคุมภาคธนาคารเงา โดยเครื่องมือดังกล่าวรวมถึงความสามารถในการกำหนดเงื่อนไขด้านเงินกองทุนและสภาพคล่อง และการกำหนดเพดานเงินสดที่ลูกค้า สามารถถอนได้เป็นการชั่วคราว เพื่อที่จะไม่เกิดภาวะขาดแคลนเงินทุนในตลาดเงินเหมือนในช่วงที่เกิดวิกฤติในสหรัฐ
กฎเกณฑ์เหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อควบคุมภาคธนาคารเงาไม่ให้ทำธุรกิจ แบบเสี่ยงสูงเกินไป โดยกิจการประเภทนี้จัดหาสินเชื่อให้แก่ภาคการเงิน แต่แตกต่างจากธนาคารในแง่ที่ว่า กิจการเหล่านี้ไม่มีช่องทางขอรับความช่วยเหลือจากธนาคารกลาง และไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการคุ้มครอง เช่น มาตรการค้ำประกันหนี้สินและมาตรการรับประกันเงินฝาก
FSB พยายามสร้างความสมดุลให้แก่ข้อเสนอของตนเอง เพื่อที่จะได้ ไม่สร้างความเสียหายต่อภาคธนาคารเงา ซึ่งเป็นภาคที่มีบทบาทสำคัญในการจัดสรรเงินทุนในระบบเศรษฐกิจ
สหภาพยุโรป (อียู) จะเปิดเผยแผนโรดแมพ ของตนเองในสัปดาห์หน้า และส่งสัญญาณบ่งชี้ว่า อียูอาจออกกฎที่เข้มงวดกว่าของจี-20 โดยอียูจะออกกฎบังคับภาคธนาคารเงาในเรื่องการดำรงเงินกองทุนด้วย
รัฐบาลหลายประเทศได้บังคับให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ดำรงเงินกองทุน มากยิ่่งขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยนายมาร์ค คาร์นีย์ ประธาน FSB กล่าวว่า มาตรการปฏิรูปล่าสุดนี้เป็นขั้นตอนแรกที่จำเป็นต้องทำเพื่อแปลงธนาคารเงา ให้กลายเป็นผู้จัดหาเงินทุนอย่างแข็งแกร่งโดยอิงกับตลาด
นายคาร์นีย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) อีกตำแหน่ง กล่าวว่า "มาตรการนี้จะช่วยกระจายแหล่งที่มาของเงินทุนในระบบเศรษฐกิจของเราในแนวทางที่ยั่งยืน และส่งเสริมเป้าหมายหลักของกลุ่มจี-20 ในการทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่ง, ยั่งยืน และสมดุล"
นายแดเนียล ทารุลโล ซึ่งเป็นสมาชิก FSB และเป็นผู้ว่าการคนหนึ่งของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า กฎเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะว่าการคุมเข้มธนาคารพาณิชย์มากเกินไปอาจเป็นการกระตุ้นให้การดำเนินงาน ที่มีความเสี่ยงสูงย้ายไปอยู่ในภาคธุรกิจที่ได้รับการควบคุมน้อยกว่า
FSB ระบุว่าจุดสนใจสำคัญมุ่งไปที่การระบุว่าสิ่งใดถือเป็นกิจกรรมของธนาคารเงา แต่ไม่ได้มุ่งไปที่ธุรกิจแต่ละแห่งอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งวิธีการแบบนี้แตกต่่างไปจากแนวทางที่ใช้ในการควบคุมธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และบริษัทประกัน
ที่ประชุมสุดยอดของกลุ่มจี-20 ในครั้งนี้จะอนุมัติการคุมเข้มกฎระเบียบสำหรับบริษัทประกัน 9 แห่งด้วย หลังจากกลุ่มจี-20 ได้ทำเช่นนี้กับธนาคาร ขนาดใหญ่เกือบ 30 แห่ง อย่างไรก็ดี กลุ่มจี-20 ยังไม่ได้จัดทำรายชื่อ ธนาคารเงาที่ตกเป็นเป้าหมาย
กิจกรรมธนาคารเงาที่ตกเป็นเป้าหมายในครั้งนี้รวมถึงกองทุนการลงทุน ในสินเชื่อ, กองทุน ETF, เฮดจ์ฟันด์สินเชื่อ, กองทุนร่วมทุนเอกชน, บริษัทโบรกเกอร์-ดีลเลอร์หลักทรัพย์, บริษัทประกันสินเชื่อ, บริษัท แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และบริษัทการเงิน
จะมีการออกกฎจำกัดความสามารถของโบรกเกอร์ในการนำสินทรัพย์ ของลูกค้ามาใช้ในการทำธุรกรรมอื่นๆ โดยกฎนี้เป็นบทเรียนที่ได้รับจากการล้มละลายของบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส เพราะการล้มละลายในครั้งนั้น ก่อให้เกิดปัญหาตามมาว่าผู้ใดถือครองสินทรัพย์รายการใดบ้าง
ถึงแม้ FSB เสนอวิธีการที่ไม่เข้มงวดในการกำกับดูแลธนาคารเงา แต่มาตรการปฏิรูปนี้ก็จะสร้างความไม่พอใจให้แก่ธนาคารเงาบางแห่งอย่าง แน่นอน
FSB ตัดสินใจเดินหน้าแผนการกำหนด haircut เป็นครั้งแรก ของโลก โดยมาตรการนี้เป็นการปรับลดมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมในขั้นต่ำ ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่ธนาคารเงารับมาเพื่อค้ำประกันการปล่อยกู้หลักทรัพย์และการทำรีโป เป้าหมายของการออกกฎนี้คือการรับประกันว่าหลักทรัพย์ค้ำประกัน การกู้ยืมดังกล่าวจะเป็นกันชนที่มีขนาดใหญ่พอ ถ้าหากมูลค่าในตลาดดิ่งลง โดยอัตรา haircut นี้อาจได้รับการกำหนดให้อยู่ในระดับราว 0.5- 7.5 % ทั้งนี้ การทำรีโป (ซื้อคืนพันธบัตร) คือการที่ลูกหนี้ขายหลักทรัพย์ ให้แก่เจ้าหนี้ในฐานะหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืม และตกลงที่จะเข้าซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวคืนในภายหลังตามราคาและกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้
สมาคมการปล่อยกู้หลักทรัพย์ระหว่างประเทศ (ISLA) และบริษัท แบล็คร็อคคัดค้านกฎนี้ โดยให้เหตุผลว่าอาจเป็นอุปสรรคขัดขวางการซื้อขายในตลาดในช่วงเวลาที่จำเป็นต้องมีการระดมทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
FSB รับฟังคำเตือนในเรื่องนี้ และได้นำกฎ haircut นี้เข้าสู่กระบวนการปรึกษาหารือ โดยจะยังไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ขั้นสุดท้ายจนกว่าจะถึงปีหน้า
FSB ระบุว่าพันธบัตรรัฐบาลจะได้รับการยกเว้นจากการทำ haircut อย่างไรก็ดี ธุรกิจธนาคารเงาระบุว่า กฎใหม่นี้จะยังคงก่อให้เกิดปัญหาอยู่ดี
นายก็อดฟรีด เดอ วิดส์ ประธานคณะกรรมการรีโปยุโรปกล่าวว่า "กฎนี้ไม่ส่งผลดีต่อการจัดสรรเงินทุนให้แก่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง เพราะหุ้นกู้เอกชนจะยังคงต้องทำ haircut ดังนั้นกฎนี้จึงเป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่การระดมทุนในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดีในเวลานี้"
FSB ระบุว่า การนำกฎมาใช้จะยังไม่เริ่มต้นจนกว่าตลาดจะมีสภาพเหมาะสม และทางการกับภาคธนาคารเงามีเวลามากพอในการปรับระบบของตนเอง
ผู้ควบคุมกฎระเบียบกำลังจัดทำมาตรการใหม่เพื่อจำกัดความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารพาณิชย์ทั่วไปกับธนาคารเงาด้วย อย่างไรก็ดี FSB ยังไม่ได้กำหนดเวลาในการประกาศมาตรการนี้
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group
ผู้นำกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 19 ประเทศ รวมทั้ง สหภาพยุโรป (จี-20) จะประชุมกันที่รัสเซียในสัปดาห์หน้าเพื่ออนุมัติกฎระเบียบที่ร่างโดย FSB โดยกฎดังกล่าวจะบรรจุเงื่อนไขสำหรับภาคธนาคารเงา และแนวทางการกำกับดูแลภาคธนาคารดังกล่าว
FSB จะรายงานความคืบหน้าให้จี-20 รับทราบในปีหน้า โดยจะมี การตรวจสอบเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปีหน้า
ภาคธนาคารเงาประกอบด้วยกิจการหลากหลายประเภทที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงิน และยังคงถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อระบบที่อาจสร้างความเสียหายต่อผู้เสียภาษี โดยวิกฤติการเงินในปี 2007-2009 ได้ แสดงให้เห็นถึงปัญหาในภาคธนาคารเงา และปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อเนื่องจนทำให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่งจำเป็นต้องขอรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล
การปฏิรูปในครั้งนี้รวมถึงการที่ผู้กำกับดูแลรวบรวมข้อมูลอย่างละเอียด ในส่วนต่างๆของภาคธนาคารเงา เพื่อจะได้ระบุถึงปัจจัยเสี่ยงในวงกว้าง
ผู้ควบคุมกฎระเบียบในแต่ละประเทศจำเป็นต้องมีเครื่องมือในการควบคุมภาคธนาคารเงา โดยเครื่องมือดังกล่าวรวมถึงความสามารถในการกำหนดเงื่อนไขด้านเงินกองทุนและสภาพคล่อง และการกำหนดเพดานเงินสดที่ลูกค้า สามารถถอนได้เป็นการชั่วคราว เพื่อที่จะไม่เกิดภาวะขาดแคลนเงินทุนในตลาดเงินเหมือนในช่วงที่เกิดวิกฤติในสหรัฐ
กฎเกณฑ์เหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อควบคุมภาคธนาคารเงาไม่ให้ทำธุรกิจ แบบเสี่ยงสูงเกินไป โดยกิจการประเภทนี้จัดหาสินเชื่อให้แก่ภาคการเงิน แต่แตกต่างจากธนาคารในแง่ที่ว่า กิจการเหล่านี้ไม่มีช่องทางขอรับความช่วยเหลือจากธนาคารกลาง และไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการคุ้มครอง เช่น มาตรการค้ำประกันหนี้สินและมาตรการรับประกันเงินฝาก
FSB พยายามสร้างความสมดุลให้แก่ข้อเสนอของตนเอง เพื่อที่จะได้ ไม่สร้างความเสียหายต่อภาคธนาคารเงา ซึ่งเป็นภาคที่มีบทบาทสำคัญในการจัดสรรเงินทุนในระบบเศรษฐกิจ
สหภาพยุโรป (อียู) จะเปิดเผยแผนโรดแมพ ของตนเองในสัปดาห์หน้า และส่งสัญญาณบ่งชี้ว่า อียูอาจออกกฎที่เข้มงวดกว่าของจี-20 โดยอียูจะออกกฎบังคับภาคธนาคารเงาในเรื่องการดำรงเงินกองทุนด้วย
รัฐบาลหลายประเทศได้บังคับให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ดำรงเงินกองทุน มากยิ่่งขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยนายมาร์ค คาร์นีย์ ประธาน FSB กล่าวว่า มาตรการปฏิรูปล่าสุดนี้เป็นขั้นตอนแรกที่จำเป็นต้องทำเพื่อแปลงธนาคารเงา ให้กลายเป็นผู้จัดหาเงินทุนอย่างแข็งแกร่งโดยอิงกับตลาด
นายคาร์นีย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) อีกตำแหน่ง กล่าวว่า "มาตรการนี้จะช่วยกระจายแหล่งที่มาของเงินทุนในระบบเศรษฐกิจของเราในแนวทางที่ยั่งยืน และส่งเสริมเป้าหมายหลักของกลุ่มจี-20 ในการทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่ง, ยั่งยืน และสมดุล"
นายแดเนียล ทารุลโล ซึ่งเป็นสมาชิก FSB และเป็นผู้ว่าการคนหนึ่งของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า กฎเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะว่าการคุมเข้มธนาคารพาณิชย์มากเกินไปอาจเป็นการกระตุ้นให้การดำเนินงาน ที่มีความเสี่ยงสูงย้ายไปอยู่ในภาคธุรกิจที่ได้รับการควบคุมน้อยกว่า
FSB ระบุว่าจุดสนใจสำคัญมุ่งไปที่การระบุว่าสิ่งใดถือเป็นกิจกรรมของธนาคารเงา แต่ไม่ได้มุ่งไปที่ธุรกิจแต่ละแห่งอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งวิธีการแบบนี้แตกต่่างไปจากแนวทางที่ใช้ในการควบคุมธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ และบริษัทประกัน
ที่ประชุมสุดยอดของกลุ่มจี-20 ในครั้งนี้จะอนุมัติการคุมเข้มกฎระเบียบสำหรับบริษัทประกัน 9 แห่งด้วย หลังจากกลุ่มจี-20 ได้ทำเช่นนี้กับธนาคาร ขนาดใหญ่เกือบ 30 แห่ง อย่างไรก็ดี กลุ่มจี-20 ยังไม่ได้จัดทำรายชื่อ ธนาคารเงาที่ตกเป็นเป้าหมาย
กิจกรรมธนาคารเงาที่ตกเป็นเป้าหมายในครั้งนี้รวมถึงกองทุนการลงทุน ในสินเชื่อ, กองทุน ETF, เฮดจ์ฟันด์สินเชื่อ, กองทุนร่วมทุนเอกชน, บริษัทโบรกเกอร์-ดีลเลอร์หลักทรัพย์, บริษัทประกันสินเชื่อ, บริษัท แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และบริษัทการเงิน
จะมีการออกกฎจำกัดความสามารถของโบรกเกอร์ในการนำสินทรัพย์ ของลูกค้ามาใช้ในการทำธุรกรรมอื่นๆ โดยกฎนี้เป็นบทเรียนที่ได้รับจากการล้มละลายของบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส เพราะการล้มละลายในครั้งนั้น ก่อให้เกิดปัญหาตามมาว่าผู้ใดถือครองสินทรัพย์รายการใดบ้าง
ถึงแม้ FSB เสนอวิธีการที่ไม่เข้มงวดในการกำกับดูแลธนาคารเงา แต่มาตรการปฏิรูปนี้ก็จะสร้างความไม่พอใจให้แก่ธนาคารเงาบางแห่งอย่าง แน่นอน
FSB ตัดสินใจเดินหน้าแผนการกำหนด haircut เป็นครั้งแรก ของโลก โดยมาตรการนี้เป็นการปรับลดมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมในขั้นต่ำ ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่ธนาคารเงารับมาเพื่อค้ำประกันการปล่อยกู้หลักทรัพย์และการทำรีโป เป้าหมายของการออกกฎนี้คือการรับประกันว่าหลักทรัพย์ค้ำประกัน การกู้ยืมดังกล่าวจะเป็นกันชนที่มีขนาดใหญ่พอ ถ้าหากมูลค่าในตลาดดิ่งลง โดยอัตรา haircut นี้อาจได้รับการกำหนดให้อยู่ในระดับราว 0.5- 7.5 % ทั้งนี้ การทำรีโป (ซื้อคืนพันธบัตร) คือการที่ลูกหนี้ขายหลักทรัพย์ ให้แก่เจ้าหนี้ในฐานะหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืม และตกลงที่จะเข้าซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวคืนในภายหลังตามราคาและกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้
สมาคมการปล่อยกู้หลักทรัพย์ระหว่างประเทศ (ISLA) และบริษัท แบล็คร็อคคัดค้านกฎนี้ โดยให้เหตุผลว่าอาจเป็นอุปสรรคขัดขวางการซื้อขายในตลาดในช่วงเวลาที่จำเป็นต้องมีการระดมทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
FSB รับฟังคำเตือนในเรื่องนี้ และได้นำกฎ haircut นี้เข้าสู่กระบวนการปรึกษาหารือ โดยจะยังไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ขั้นสุดท้ายจนกว่าจะถึงปีหน้า
FSB ระบุว่าพันธบัตรรัฐบาลจะได้รับการยกเว้นจากการทำ haircut อย่างไรก็ดี ธุรกิจธนาคารเงาระบุว่า กฎใหม่นี้จะยังคงก่อให้เกิดปัญหาอยู่ดี
นายก็อดฟรีด เดอ วิดส์ ประธานคณะกรรมการรีโปยุโรปกล่าวว่า "กฎนี้ไม่ส่งผลดีต่อการจัดสรรเงินทุนให้แก่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง เพราะหุ้นกู้เอกชนจะยังคงต้องทำ haircut ดังนั้นกฎนี้จึงเป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่การระดมทุนในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดีในเวลานี้"
FSB ระบุว่า การนำกฎมาใช้จะยังไม่เริ่มต้นจนกว่าตลาดจะมีสภาพเหมาะสม และทางการกับภาคธนาคารเงามีเวลามากพอในการปรับระบบของตนเอง
ผู้ควบคุมกฎระเบียบกำลังจัดทำมาตรการใหม่เพื่อจำกัดความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารพาณิชย์ทั่วไปกับธนาคารเงาด้วย อย่างไรก็ดี FSB ยังไม่ได้กำหนดเวลาในการประกาศมาตรการนี้
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group